|
|
|
|
|
|
|
สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online)
»
สรุปการนำไปใช้ประโยชน์The international Conference of the Genetics Society of Thailand 2022
|
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ด้าน DNA markers สามารถนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรมและ Phylogenetics คือ การตรวจสอบวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงออกมาในรูปของต้นไม้สายวิวัฒนาการโดยจะมีการแสดง แผนภูมิต้นไม้ (Phylogenetic tree) โดยใช้กิ่งสาขาแทนสายย่อยในการวิวัฒนาการ จากการพิจารณาจากความเหมือนและความแตกต่างในลักษณะทางกายภาพหรือทางพันธุกรรม ใช้หลักการสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้สายวิวัฒนาการเดียวบ่งบอกถึงบรรพบุรุษเป็นการศึกษาประวัติและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างหน่วยหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น สปีชีส์ กลุ่มประชากร เป็นต้นด้าน geographic distribution ตัวอย่างการศึกษาทางด้าน Mitochondria DNAที่ศึกษาประเภทเต่า (turtle) ในประเทศไทย พบว่ามี 2 genetic clustering 3 haplotypes พบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อย (low genetic diversity)ด้าน Genome-wide association study (GWAS) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเบสที่แตกต่างกันในจีโนมของกลุ่มประชากรหนึ่งๆ ต่อลักษณะฟีโนไทป์หนึ่งๆ ที่มีความแตกต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบบริเวณของดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับลักษณะฟีโนไทป์ ซึ่งสามารถศึกษาร่วมกับการศึกษาทางโอมิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลของบริเวณความก้าวหน้าและประสิทธิภาพในการตรวจสอบ genomic regions และยีนที่มีศักยภาพเฉพาะเจาะจงในการทดลองข้าวและการคัดเลือกจีโนม (genomic selection) ในโปรแกรมปรับปรุงข้าวด้านอีพีเจเนติกส์ (epigenetics) สามารถนำไปใช้ประโยชน์เน้นเกี่ยวกับ Epigenetics marks รวมการเกิดDNA methylation, histone modifications, and non-coding RNAs ที่จะสามารถควบคุมทางชีวภาพเป็นความรู้ทางด้าน หรือเรียกว่าพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ เช่นการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอ เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้น ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้น ๆ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือ epigenetic markings เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาจมีการเปิดปิดการถอดรหัส (transcription) และถ่ายทอดไปยังเซลล์ลูก (daughter cells) ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน ด้าน DNA gaps ช่องว่างของโครงสร้างเกลียวคู่ทำให้การคลายเกลียวไม่ยุ่งยากโดยเมื่อมีอายุน้อยจะดีกว่าตอนอายุมากขึ้น โดยอาจเกี่ยวข้องกับ DNA Methylation เป็นกระบวนการทางชีววิทยาโดยที่กลุ่มเมทิลถูกเติมเข้าไปในโมเลกุลดีเอ็นเอ เมทิลเลชันสามารถเปลี่ยนกิจกรรมของเซ็กเมนต์ DNA ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนลำดับ ร่วมกับการเกิดDNA damage เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของดีเอนเอที่ไม่ได้จำลองตัวเองเมื่อเกิดการจำลองตัวเองของดีเอนเอ ความเสียหายของดีเอนเอสามารถเกิดจากสารเคมีเกิดผิดปกติทั้งสองสายของดีเอน
ด้าน DNA Scientific Truth in Court เน้นเรื่องกฎหมายและวิทยาศาสตร์ (Law and Science) ประกอบด้วย 1.Law 2.Truth 3.Fact 4.Science 5.Certainly 6. Possible 7. Propable ส่วนประเด็นในพรบ.ต้องเน้นด้านต่าง ๆเช่น นิติเวชศาสตร์มอบหมายให้กระกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพพัฒนางานนิติเวชให้ครอบคลุมทั่วถึงและมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมทั่วประเทศและฐานข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์ ดีเอนเอ ลายพิมพ์นิ้วมือ แล้วจึงมาใช้ระบบ Intelligent Data Analysis Link (IDAI) การใช้โปรแกรมเนคเทค เชื่อมโยงดีเอนเอ ต้องมีDNA Databases ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลนิวิทยาศาสตร์และซักถาม
ตัวอย่างบทความภาคโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลองในข้าวพบว่า ยีน OsERF922 ตั้งอยู่บนโครโมโซมที่ 1 มีขนาด 1,096 bp ประกอบด้วย 1 exon ที่ปราศจาก intron การเปรียบเทียบลำดับยีน OsERF 922 จากความต้านทานและความอ่อนแอของพันธุ์ข้าว ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 base positions ที่แตกต่างกันซึ่งไม่ใช่ที่โดเมน AP2 (AP2 domain) sgRNAs ถูกออกแบบสำหรับในการใช้ CRISPR/Cas9 vector system for OsERF 922 gene แก้ไขยีนในข้าวนอกจากนี้ยังพบว่า มี 2 isolates ของ P. oryzae จากภาคเหนือของประเทศไทยสามารถเป็นสาเหตุเกิด blast lesionsที่ระยะต้นข้าวอายุ 5 สัปดาห์ที่จะเกิดที่ใบข้าวของพันธุ์ที่อ่อนแอ ด้วยวิธี in vitro spot inoculation สรุปคือมีการค้นหายีน OsERF922 ในข้าวไทย แล้วนำข้อมูลลำดับเบสของยีนที่ได้มาทำการออกแบบ sgRNA ของระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อนำไปแก้ไขยีน OsERF922 ให้ข้าวต้านทานต่อโรคไหม้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยาของพืชทางด้าน water logged conditions ในพืชจะทำให้ได้รับออกซิเจนน้อย พืชจะต้องปรับตัวให้มี aerial root โดยจะมี แอเรงคิมา (aerenchyma) เป็นเนื้อเยื่อรูพรุนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดช่องอากาศ ในราก ลำต้น หรือใบของพืชบางชนิด โดยช่องอากาศขนาดใหญ่นี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการแยกตัวออกจากกันของเซลล์พาเรงคิมาแบบ schizogeny โดยเซลล์แยกออกไปอยู่รอบ ๆ ช่องอากาศ หรือเกิดจากการสลายตัวของเซลล์พาเรงคิมาแบบ lysigeny โดยอาจเป็นลักษณะพันธุกรรม หรือเป็นการปรับตัวของพืชเพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนซึ่งจะสมารถจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทุเรียน ทาเจริญ ผู้รายงาน
|
คำสำคัญ :
DNA markers Phylogenetics Epigenetics marks aerenchyma
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2612
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
17/6/2565 8:26:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 13:14:01
|
|
|
สรุปรายงานการอบรม
»
การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
|
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills) 2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills) 3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills) เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ และที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนทันเวลาตามสถานการณ์ได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม และนำไปสู่สภาวะซึมเศร้าได้ จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ
|
คำสำคัญ :
4P Active learning Digital skills Look-Smile-Talk Personal skills Teaching skills แบบสอบถามใจ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2296
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช
วันที่เขียน
15/11/2564 16:19:38
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 17:58:11
|
|
|
บทความวิชาการ
»
การพัฒนาทักษะด้านการใช้งาน การพัฒนา หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม AR VR MR และ 3D ในระดับเบื้องต้น
|
เทคโนโลยีและนวัตกรรม นับเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งสำหรับการดำเนินกิจการงานต่าง ๆ ในเรื่องการสนับสนุนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การขนส่ง และการเกษตร รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะด้านการใช้งานโปรแกรม ที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ ที่น่าสนใจได้ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ได้แก่ AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality), MR (Mixed Reality) และ 3D (3 Dimension) ได้
ดังนั้น โครงการพัฒนาทักษะด้านการใช้งาน การพัฒนา หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม AR VR MR และ 3D ในระดับเบื้องต้น ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ว่างงาน และบุคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยหลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ในการพัฒนาทักษะ ด้วยโปรแกรม Unity, SparkAR, Vuforia, Wornderland Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาทั้งหมดของการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานประจำ เช่น การสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการในวันที่ 8-10 พ.ย. 2564 ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบบออนไลน์ เป็นต้น
|
คำสำคัญ :
AR MR VR
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2432
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ภานุวัฒน์ เมฆะ
วันที่เขียน
29/10/2564 15:10:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 20:40:24
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บทความวารสาร
»
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
|
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน
พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็
ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ
รายการบทความวารสารไว้แล้ว
ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ
ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ
"ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น
ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา
พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา
(descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ
เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ
ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง
(subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่
ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้
2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก
หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล
การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า
ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต
ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน
ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ
สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง
มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด
ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ,
tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล
tag 246, tag 6xx
3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี
ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB
หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่
พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ
มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้
รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link
เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด
4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย
การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ
ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ
การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ
5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ
ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก
ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร
มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม
ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้
ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย
สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย
นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต.
---end
|
คำสำคัญ :
MARC format การบริหารองค์ความรู้ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ดรรชนี บทความวารสาร รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2100
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/4/2563 15:51:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 10:10:13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไบโอเซนเซอร์
»
Dopamine, recent research from Biosensors group, Maejo University
|
Dopamine, chemically known as 3,4-dihydroxyphenyl ethylamine, is a chemical found naturally in the human body. A dopamine deficiency occurs due to a loss of dopamine amount that it caused by a problem with the receptors in the brain. The most common conditions linked to a lack of dopamine include depression, Schizophrenia, and Parkinson's disease. In Parkinson's disease, It is a loss of the nerve cells in a specific part of the brain resulting in a lack of dopamine in the same area. Thus, the quantitative determination of this neurotransmitter appears to be important for diagnosis, monitoring, and pharmacological intervention. Dopamine can be diagnosed using various advanced techniques such as High-Performance Liquid Chromatography (HPLC), chemical luminescence, Ultraviolet-visible spectroscopy (UV-Vis) and gas chromatography-mass spectrometry (GC). Although these strategies techniques are effective for the detection of dopamine, there are still some drawbacks, such as time-consuming, low sensitivity and expensive equipment. It is possible to detect dopamine using a modified electrode for diagnosing these diseases. Compared with these techniques, electrochemical determination of DA has acknowledged extensive attention since it allows for fast, simple, decisive and cost-effective way together with super-high sensitivity.
|
คำสำคัญ :
Dopamine biosensors Gold nanoparticles
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2546
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ธานินทร์ แตงกวารัมย์
วันที่เขียน
23/9/2562 16:39:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 15:33:39
|
|
|
|
|