รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ดรรชนี
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2010  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 6:05:29
บริการสื่อโสตทัศน์ » KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/) ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test) หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์ 18 พฤศจิกายน 2562 ---------------------------------- ชื่อผู้ทดสอบ …………………………………………………… 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ……………… 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles) 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) […] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (ตอบได้>1) …………………… ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น ……………………………………………. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. ------------------------ แนวคำตอบ 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) [./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS] 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok] 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) [./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) …OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น …………. …แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….……………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่ (add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร. 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App. 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ …. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) 1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย 2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ 3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้) 4. อื่นๆ (ระบุ) ………………………………………………………………………………….. ------------------------
คำสำคัญ : KM  การจัดการความรู้  ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2289  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/11/2562 9:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 0:11:45
บริการสื่อโสตทัศน์ » ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาพยนตร์เป็นทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่า สามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ที่มี 5 ประการคือ การให้ความรู้ (education) ข่าวสาร (information) วิจัย (research) ความบันดาลใจ (inspiration) และนันทนาการ (recreation) หรือ EIRIR ได้หลายข้อ โดยเฉพาะด้านการให้ความรู้ นันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันดาลใจ ทิศทางของบริการภาพยนตร์ในห้องสมุดต่างๆ ก็ให้ความสำคัญและมีการจัดซื้อจัดหามาบริการผู้ใช้ในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ให้มีจำนวนมากขึ้น และคัดสรรภาพยนตร์ที่มีคุณค่ามาบริการผู้ใช้มากขึ้น จัดระบบสารสนเทศภาพยนตร์ให้มีความละเอียดสำหรับการสืบค้นเรื่องที่ต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสืบค้นให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการใช้โปรแกรมสืบค้น OPAC แบบปกติของห้องสมุด โดยตั้งชื่อว่า “ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น” ผู้สนใจสามารถใช้งานบริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้ที่ https://lib.mju.ac.th/film/ หรือสามารถพิมพ์คำค้นจาก Google เช่น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ หรือ แม่โจ้ ภาพยนตร์ เป็นต้น ระบบสืบค้นของ Google ก็จะแสดงข้อมูลเว็บต่างๆ ซึ่งเว็บเพจฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอันดับผลการสืบค้นที่ดี สามารถขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของแหล่งข้อมูลในไทยได้ การใช้งานจะมีเมนูต่างๆ ให้ผู้สนใจเลือกค้นหาได้หลากหลายลักษณะ นักศึกษา คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหาภาพยนตร์ที่ต้องการชมหรือใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งจากชื่อเรื่อง หรือจากคำค้นอื่นๆ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รางวัลภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ครู การศึกษา เกษตรกร นักธุรกิจ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ ข้อมูลโดยละเอียดยังมีอีกมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจใช้สื่อภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิงหรือด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นแง่ส่วนบุคคลหรือแง่การเรียนการสอนทางวิชาการหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัธยาศัย หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2247  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:49:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2567 19:53:01
บริการสื่อโสตทัศน์ » PMEST facet กับการทำดรรชนี
งานสำคัญประการหนึ่งของการจัดระบบเอกสารหรือสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดคือ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร (cataloging) ซึ่งบางกรณีเรียกว่างานเทคนิคห้องสมุด เป็นงานที่อาศัยความรู้ ทักษะ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ PMEST เป็นหลักการหรือมุมมองในการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่จะให้บริการของห้องสมุด โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาหรือการใช้มุมมองสิ่งใดๆ เป็นแง่มุม (facet) เฉพาะด้านหลายๆ ด้าน (มุมมอง) เพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นๆ รอบด้านและถี่ถ้วนขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับการทำงานวิเคราะห์เอกสาร ก็จะทำให้สามารถกำหนดคำดรรชนีได้ละเอียดขึ้น เพื่อช่วยการเข้าถึงเนื้อหาเอกสารต่างๆ ได้ครอบคลุมประเด็นเนื้อหาให้ครบถ้วน (รอบด้าน) มากขึ้น ผู้ใช้ห้องสมุดก็สามารถสืบค้นเรื่องที่ต้องการจากคำดรรชนีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น PMEST เป็นอักษรย่อจากคำว่า Pesronality Material Energy Space Time P = Pesronality = บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร เช่น ภูมิพลอดุลยเดชฯ กษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ M = Material วัตถุ สิ่งของ เช่น วัง บ้าน รถยนต์ เสื้อผ้า อาหาร E = Energy พลังงาน สิ่งไร้รูป สิ่งนามธรรม กิจกรรมและการกระทำ เช่น ดนตรี แสงสว่าง ความดี การเล่นกีฬา วิทยาศาสตร์ S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น ไทย เชียงใหม่ สันทราย มหาวิทยาลัย ฟาร์ม T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น กลางคืน ศตวรรษที่ 21 แผ่นดินไหว น้ำท่วม เมื่อนำ PMEST มาใช้กับการวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด จะทำให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศมีมุมมองกำหนดคำดรรชนีได้มากขึ้น และตรวจสอบได้ว่าวิเคราะห์เนื้อหาสื่อได้ครบถ้วนทุกมุมมองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น สื่อโสตทัศน์ CD ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody (2018) ซึ่งเป็นเรื่องชีวประวัติของ Freddie Mercury นักร้องนำวงดนตรี Queen สามารถใช้หลักการ PMEST กำหนดดรรชนีได้ดังนี้ P = Pesronality = Mercury, Freddie ; นักร้อง ; นักดนตรี ; Queen (วงดนตรี) ; วงดนตรี M = Material เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] E = Energy เช่น ดนตรีร็อค ความใฝ่ฝัน การร้องเพลง S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงดนตรี การนำไปใช้กับสื่อหรือเอกสารเรื่องอื่น เช่น Titanic หรือสื่อลักษณะอื่น เช่น เอกสารวิชาการ ตำรา นวนิยาย ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อนึ่ง การนำเสนอแนวคิด PMEST ในครั้งนี้ให้ข้อมูลเพียงสังเขป พร้อมกับได้ทำสไลด์ Powerpoint 17 ภาพ และตัวอย่างแบบทดสอบประกอบ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Titanic มีเนื้อหาสามารถกำหนดดรรชนีตาม PMEST ได้ครบทุกมุมมอง (facet) โดยสไลด์ดังกล่าวใช้ในกิจกรรม KM ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้อมูลโดยละเอียดและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้สนใจสามารถติดต่อผู้เขียน blog ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : PMEST  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  ทรัพยากรสารสนเทศ  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2147  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:25:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 4:15:51
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » การพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลงานวิจัยและวิเคราะห์องค์ความรู้งานวิจัยสาขา พืชศาสตร์ด้วยระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ : กรณีฐานข้อมูล งานวิจัยกล้วยไม้และลำไยของประเทศ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะดรรชนีหัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ ด้าน พืชศาสตร์รายชนิด และพัฒนาบัญชีคำหัวเรื่องแบบแผน (pattern heading) ของพืช กรณีกล้วยไม้ และลำไย (2) เพื่อพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์กล้วยไม้ และลำไย ในด้านดรรชนีหัวเรื่อง (3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบ ศัพท์สัมพันธ์ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศ (4) เพื่อศึกษาองค์ความรู้หรือสถานภาพงานวิจัยด้านกล้วยไม้และลำไย ในแง่การผลิต การกระจายสารสนเทศ และขอบเขตเนื้อหาที่มีการศึกษากันมากซึ่งพิจารณาจากหัวเรื่องในผลงานนั้น ดำเนินการรวบรวมข้อมูลประชากรคือ (1) รายการคำดรรชนีหัวเรื่อง จากคู่มือและฐานข้อมูลหัวเรื่องฉบับมาตรฐาน และจากฐานข้อมูลห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (2) คำดรรชนีหัวเรื่องของเอกสารงานวิจัย จากฐานข้อมูลบรรณานุกรมงานวิจัยกล้วยไม้และลำไยที่รวบรวมจากแหล่งสารสนเทศสำคัญๆ ของประเทศ เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS, Elib สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การพัฒนาบัญชีคำดรรชนีหัวเรื่องย่อยของพืชรายชนิด (กล้วยไม้ ลำไย) ตามแนวหัวเรื่องแบบแผน (pattern heading) ได้ชุดคำประมาณ 300 คำ และการศึกษาลักษณะดรรชนีที่สร้างขึ้น พบว่าหัวเรื่องย่อยภาษาอังกฤษที่กำหนดเป็นภาษาไทยแล้วมีจำนวนน้อย บางกรณีมีรูปแบบทางภาษาของคำต่างกัน หัวเรื่องย่อยบางคำอาจไม่เหมาะสมกับพืชบางชนิด หัวเรื่องหลักที่มีหัวเรื่องย่อยประกอบมีข้อมูลโยงไปศัพท์สัมพันธ์อื่นน้อยกว่าหัวเรื่องหลักทั่วไป หัวเรื่องสำหรับพันธุ์พืชของกล้วยไม้มีปัญหากำหนดคำ 2. การใช้ระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศ Elib ประยุกต์ใช้งานได้ ฐานข้อมูลงานวิจัยกล้วยไม้ 962 รายชื่อ และฐานข้อมูลงานวิจัยลำไย 844 รายชื่อ 3. การประเมินคุณภาพดรรชนีหัวเรื่องในฐานข้อมูลที่ทำดรรชนีใหม่ (re-cataloging) พบว่า (1) ฐานข้อมูลกล้วยไม้ : จำนวนหัวเรื่องเฉลี่ย 5.26 คำ/ชื่อเรื่อง เพิ่มขึ้น 2.39 คำ/ชื่อเรื่อง จำนวนคำดรรชนีหัวเรื่องในระบบที่ค้นคืนได้ (index postings) เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.20 และจำนวนหัวเรื่องกล้วยไม้ที่มีหัวเรื่องย่อยเพื่อแสดงความชี้เฉพาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.60 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ว่าจะมีจำนวนคำเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30.00 (2) ฐานข้อมูลลำไย : จำนวนหัวเรื่องเฉลี่ย 5.91 คำ/ชื่อเรื่อง เพิ่มขึ้น 2.65 คำ/ชื่อเรื่อง จำนวนคำดรรชนีหัวเรื่องในระบบที่ค้นคืนได้ (index postings) เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.39 และจำนวนหัวเรื่องลำไยที่มีหัวเรื่องย่อยเพื่อแสดงความชี้เฉพาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.32 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ว่าจะมีจำนวนคำเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30.00 4. องค์ความรู้หรือสถานภาพงานวิจัยด้านกล้วยไม้และลำไย ในแง่การผลิต การกระจาย สารสนเทศ และขอบเขตเนื้อหาที่มีการศึกษากันมากซึ่งพิจารณาจากหัวเรื่อง พบว่า (1) หน่วยงานที่ผลิตงานวิจัยด้านกล้วยไม้ 10 อันดับแรกมีผลงานรวมกันร้อยละ 76.03 ของผลงานทั้งหมด ส่วนหน่วยงานที่ผลิตงานวิจัยด้านลำไย 10 อันดับแรกมีผลงานรวมกันร้อยละ 85.24 ของผลงานทั้งหมด (2) ผลงานวิจัยที่จัดพิมพ์ช่วงปี 2550-2556 และ 2540-2549 มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 40 ของผลงานทั้งหมด รวม 2 ช่วงรวมกันประมาณร้อยละ 80 ของผลงานทั้งหมด (3) การเผยแพร่สารสนเทศงานวิจัยกล้วยไม้และลำไยในแหล่งสารสนเทศหรือห้องสมุดต่างๆ พบว่าหน่วยงานเฉพาะ เช่น ศูนย์วิทยาการกล้วยไม้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย และที่เป็นแหล่งกลางของการรวบรวมข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล Thailand Digital Collection (TDC) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะมีจำนวนงานวิจัย แห่งละประมาณร้อยละ 35-60 ของผลงานทั้งหมด (4) ขอบเขตเนื้อหาของงานวิจัยกล้วยไม้และลำไย ที่มีการศึกษากันมาก โดยพิจารณาจากหัวเรื่องหลักและหัวเรื่องย่อยที่จำแนกเนื้อหา พบว่ามีหัวข้อศึกษามากประมาณ 30 หัวข้อ จำนวนคำดรรชนีตามเนื้อหา 30 หัวข้อนี้มีรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของเนื้อหาทั้งหมด คำสำคัญ : ดรรชนี ; หัวเรื่อง ; ศัพท์สัมพันธ์ ; รายงานการวิจัย ; วิทยานิพนธ์ ; กล้วยไม้ ; ลำไย
คำสำคัญ : กล้วยไม้  ดรรชนี  รายงานการวิจัย  ลำไย  วิทยานิพนธ์  ศัพท์สัมพันธ์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3038  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 26/9/2561 9:30:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:31:05