|
|
|
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ
»
สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมประชุมประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
การตรวจสอบหาพ่อแม่พันธุ์แตงกวาเพื่อผลิตแตงกวาลูกผสมที่มีลักษณะดีเด่น ในการทดลองได้ทดสอบผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ที่มีดอกเป็นดอกกระเทยทั้งหมด 23 พันธุ์และพันธุ์แม่ที่มีแต่ดอกเพศเมียจำนวน 2 พันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ลูกผสม 3 คู่ผสมให้ผลผลิตสู มีลักษณะดีเด่นที่ดีกว่าพ่อแม่ อาจเป็นเพราะสายพันธุ์พ่อแม่ที่ใช้สำหรับคู่ผสมนี้มีฐานพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยเทคนิค RAPD พบว่าฝรั่งพันธุ์สาลี่ทองและพันธุ์กิมจูมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ 0.96 สอดคล้องกับลักษณะฟีโนไทป์ที่มีความหนาเนื้อ จำนวนเมล็ดน้อยใกล้เคียงกันกัน ส่วนพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ ฝรั่งพันธุ์จิตรลดา และพันธุ์หวานพิรุณ ซึ่งฝรั่งพันธุ์จิตรลดาจะมีความแตกต่างจากฝรั่งพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะใบหยิก และมีผลขนาดเล็ก เมื่อแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ (dendrogram) สามารถแบ่งฝรั่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่งค่าความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ฝรั่ง เพราะพันธุ์พ่อและแม่ที่มีฐานทางพันธุกรรมต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันลูกผสมที่ได้จะมีโอกาสเกิดความดีเด่นของลูกผสม (Heterosis) ในอัตราสูง
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3081
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
นฤมล เข็มกลัดเงิน
วันที่เขียน
5/9/2561 13:58:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 22:32:55
|
|
|
|
|
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ
»
การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชดัดแปลงพันธุกรรม
|
ประเทศไทยมีการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม เช่น ถั่วเหลืองต้านทานยาปราบวัชพืช และข้าวโพดต้านทานหนอนเจาะฝัก มาเพื่อใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งในกระบวนการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้จะต้องผ่านการตรวจสอบการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารก่อน โดยกระบวนการประเมินเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่ง สวทช.จะต้องคณะผู้เชี่ยวชาญมาประเมินพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น โดยมีกรอบประเด็นการประเมินอยู่ 4 ด้านคือ ด้านชีววิทยาโมเลกุล ด้านโภชนาการ ด้านการก่อพิษ และการก่อภูมิแพ้ การประเมินจะประเมินบนพื้นฐานความเทียบเท่าโดยสาระสำคัญ (substantial equivalence)โดยพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะนำเข้านั้นจะต้องมียีน ลักษณะการแสดงออก การถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นไปตามคุณสมบัติของพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น พร้อมทั้งมีสารอาหารที่ครบถ้วนไม่แตกต่างจากพืชคู่เทียบ(ไม่มีการตัดแปลงพันธุกรรม) และโปรตีนที่เกิดจากยีนที่ใส่เข้าไปจะต้องไม่ก่อให้เกิดพิษและก่อภูมิแพ้ หรือไม่มีหลักฐานชี้นำที่จะก่อพิษและก่อภูมิแพ้เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลสารพิษและสารก่อภูมิแพ้
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4125
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
นฤมล เข็มกลัดเงิน
วันที่เขียน
15/3/2559 9:46:06
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 22:32:59
|
|
|
|
|