|
|
|
|
|
|
|
|
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
»
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
|
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รมถึงรวบรวมรูปแบบลายหม้อปูรณฆฏะ ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาและนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้วิธีการเขียนอธิบายความพรรณนาและบันทึกภาพถ่าย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่ภาคสนามเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งเป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเก็บรวมรวมรูปแบบลวดลายปูรณฆฏะในศิลปกรรม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วัฒนธรรมล้านนาเป็นทุนทางวัฒนธรรม
ผลการศึกษาการรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในวัฒนธรรมของล้านนามีการใช้พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ มาออกแบบจนเกิดเป็นลวดลายประดับในงานศิลปะที่รับใช้ศาสนา ว่าด้วยลวดลายของเครื่องสักการระบูชา หนึ่งในลวดลายดังกล่าวปรากฏในรูปของ หม้อปูรณฆฏะ หรือในพื้นที่เรียกว่า ลายหม้อดอก ซึ่งปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาโดยการนำเอารูปแบบพันธุ์พฤกษาดอกไม้ต่างๆ มาออกแบบเป็นงานช่างศิลป์ ทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา การเกิดขึ้นของลวดลายในแต่ละพื้นที่ ถึงรูปแบบที่มีพัฒนาการและปรับใช้ในยุคสมัยที่ต่างกัน โดยการเก็บรวบรวมลายหม้อดอกปูรณฆฏะ จำนวน 184 วัดกับ 6 แหล่งมรดกวัฒนธรรม ปรากฏลวดลายหม้อดอกกว่า483 ลาย สู่การทำความเข้าใจรูปแบบลายและความหมายในพื้นที่ผ่านการประดับลายในตำแหน่งต่างๆ ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
นอกจากนี้จากการลงพื้นที่พบเทคนิคการสร้างงาน 3 อันดับแรกคือ งานลายคำมากที่สุด รองลงมาเป็นงานปูนปั้น และงานไม้แกะสลักตามลำดับ นอกจากเทคนิคงานช่างแล้ว จากการลงพื้นที่พบลวดลายหม้อดอกมากที่สุดในจังหวัด 3 อันดับแรกคือ จังหวัดลำปาง รองลงมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแพร่ ตามลำดับ และลวดลายหม้อดอกถูกสร้างขึ้นมาในการเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระธรรมมากที่สุด โดยปรากฏบนหีบธรรม ธรรมมาสน์ และหอธรรม
ส่วนการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ยังปรากฏรูปแบบของหม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเป็นส่วนใหญ่ จนถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนก ซึ่งไม่สามารถระบุการใช้พันธุ์ไม้ในการประดับได้ จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 หม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเริ่มกลับมามีความนิยมอีกครั้ง และครั้งนี้เริ่มมีช่อดอกเอื้องประดับย้อยออกมาทั้งสองข้างของปากหม้อ ซึ่งพบลายในลักษณะนี้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำปางเท่านั้น และในช่วงสุดท้ายพุทธศตวรรษที่ 25ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนกอีกครั้ง โดยมีรูปแบบของลวดลายประดิษฐ์เข้ามาผสมผสาน เช่นลายดอกพุดตาน ลายหน้ากาล ลายกระจังตาอ้อย ซึ่งเป็นลายที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงอิทธิพลจากพม่า จีน และชาติตะวันตกด้วย
จากการศึกษาการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ถือเป็นการรวบรวมข้อมูลซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ถือเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการผูกพันกับธรรมชาติในสังคมล้านนา โดยนำเสนอผ่านมุมมองของความงามและสุนทรียะ เทคนิคงานช่างที่ใช้ใการสร้างสรรค์งาน ความนิยมในแต่ละพื้นที่ ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงและเห็นถึงที่มาของการใช้ลวดลายหม้อดอกสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งงานศึกษาชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ว่าด้วยเรื่องหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ให้ผู้สนใจมองเห็นและเข้าใจความงาม และสามารถนำรูปแบบลวดลายที่ได้เก็บรวบรวมไว้นี้ ไปพัฒนาและปรับใช้ในอนาคตต่อไป
|
คำสำคัญ :
หม้อปูรณฆฏะ, หม้อดอก, ศิลปกรรมล้านนา
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
509
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐาปกรณ์ เครือระยา
วันที่เขียน
25/8/2565 10:00:21
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/3/2566 21:41:50
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation 15th-17th December 2021 via ZOOM Video Conference
|
Plant growth promotion Traits and Antagonistic effect in White Root Disease of Rhizobacteria in Hevea Rubber of Thailand
Mathurot Chaiharn 1* and Saisamorn Lumyong 2
1 Programmed in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University, Chiangmai, 50290, THAILAND
2 Department of Biology, Faculty of Science, Chiangmai University, Chiangmai, 56000, THAILAND
*Corresponding Author for correspondence; e-mail: mathurot@mju.ac.th
White root disease causing by Rigidoporus sp. is a severe problem that decreases latex productivity and can even cause mortality of rubber trees. With the aim to control biologically this disease, antifungal rhizobacteria were isolated from rhizospheric soils of Hevea brasiliensis plants cultivated in Thailand. Among all isolated actinobacteria, an isolate Lac-17, Lac-19 and LRB-14 exhibited distinctive antagonistic activity against the fungus. Lac-17, Lac-19 and LRB-14 were produced ammonia, β-1,3-glucanase, cellulase, chitinase, protease, indole-3-acetic acid, phosphate solubilization, and siderophores. They were inhibited the mycelial growth of Rigidoporus sp. in vitro and the best antagonistic strain were Streptomyces Lac-17. According to cell wall composition analysis and 16S rRNA homology, Lac-17 strains were identified as Streptomyces malaysiensis Lac-17. The plant growth promoting and antifungal activity of Streptomyces malaysiensis Lac-17 in this study highlight its potential suitability as a bioinoculant.
Keywords Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
คำสำคัญ :
Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2149
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
20/12/2564 14:25:59
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 12:52:35
|
|
|
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน”
|
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ดังนี้
1. เนื้อหาที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1.2 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมวัสดุผสมไททาเนียมไดออกไซด์และไฮดรอกซีอะพาไทต์สำหรับใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์บนวัสดุรองรับ” โดย คุณศุภกร เดโช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.3 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก” โดย อ.ร้อยทิศ ญาติเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
1.4 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากชีวมวลหญ้าดอกแดงโดยใช้เอนไซม์” โดย คุณ ณัฐธิดา ประภารัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1.5 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “เจลพอลิเมอร์สำหรับประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณรังสีในงานประจำ” โดย คุณ ธนกร ทองพุ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.6 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและลักษณะเฉพาะของเส้นใยนาโน PVP/SnO2 ด้วยเทคนิคอิเลกโทรสปินนิ่ง” โดย คุณ กชกร ยังให้ผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.7 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์แนวโน้มของอุณหภูมิในเขตเมืองและเขตชนบททางภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ผศ.ดร. จุฑาพร เนียมวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1.8 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของความเข้มข้นสารละลายไคโตซานต่อค่าการส่งผ่านแสงของฟิล์มบางไคโตซานที่สังเคราะห์ด้วยวิธีการจุ่มเคลือบ” โดย คุณ พทรา เหล่าพาณิชยางกูร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.9 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและขึ้นรูปเส้นจากใบสับปะรดเพื่อนำไปเป็นวัสดุกรองอากาศสำหรับกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์” โดย คุณ ธนาภรณ์ วงษ์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.10 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ระบบควบคุมสภาพอากาศสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดเมืองหนาวขนาดเล็กด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์” โดย ผศ. ชาคริต วินิจธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
2.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน
การสอน และการทำงานวิจัย
2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง โดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1098
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
3/10/2564 16:05:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 9:13:54
|
|
|
|
|
|
|
|
|
จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
»
หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
|
สรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการเข้าร่วมการอบรม “หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้
- ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมในการผลิตโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ทราบคุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยต้องเตรียมเพื่อการยื่นเสนอขอรับรอง โครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ ในองค์กรตัวย่อ NECAST
- ทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย
- ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม
- ทราบ หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์
|
คำสำคัญ :
จริยธรรมในคน
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
894
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/9/2564 11:07:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 6:27:22
|
|
|
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม
»
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง
|
ซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ นครลำปาง กับหลักฐานความงามในอดีตจากภาพถ่ายโบราณ
ถ้ากล่าวถึงซุ้มประตูโขงสกุลช่างลำปางที่สวยงามอีกหนึ่งหลัง ในยุคพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ. 2101-2300) คือซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ(หลักฐานจากภาพถ่ายโบราณ) ไม่มีหลักฐานใดระบุปีที่สร้างซุ้มประตูโขงหลังนี้ที่ชัดเจน แต่สิ่งที่ยังคงเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานด้านรูปแบบงานศิลปกรรมคือ “เซรามิคประดับ” และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดพระธาตุเสด็จ เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือและสันนิษฐานได้ว่าซุ้มประตูโขงหลังดังกล่าว ก็น่าจะสร้างขึ้นในคราวเดียวกันกับซุ้มประตูโขงวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน นอกจากนั้นแล้วยังมีบันทึกอีกว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2404 ครูบาปินตา วัดหลวงกลางเวียง(วัดบุญวาทย์วิหาร) และครูบาจินา ปกเสาซ่อมประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ ซึ่งก็หมายความว่าซุ้มประตูโขงได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว และได้ชำรุดเสียหายตามกาลเวลา จนได้มีครูบาทั้งสองมาเป็นประธานในการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันซุ้มประตูโขงวัดพระธาตุเสด็จ ถูกซ่อมแซมใหม่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2475
จากหลักฐานภาพถ่ายโบราณ ด้วยลักษณะทางรูปแบบและการประดับตกแต่งซุ้มประตูโขงคล้ายกับวัดไหล่หินหลวงด้วยงานเซรามิคประดับ อันมีความเกี่ยวเนื่องกับครูบามหาป่าพระมหาปัญญาที่เคยบวชเรียนที่วัดพระธาตุเสด็จมาก่อน จึงเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ารูปแบบการสร้างประตูโขงนั้นน่าจะส่งอิทธิพลถึงกันไม่มากก็น้อย
กรณีความสัมพันธ์ของวัดพระธาตุเสด็จ วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืนและวัดพระธาตุลำปางหลวง เกิดจากความสัมพันธ์ในตัวบุคคลเป็นหลัก ตามบันทึกได้กล่าวถึงสมัยที่พม่าปกครองล้านนา ที่นครลำปางมีพระมหาป่า(พระในตระกูลอรัญวาสี) 2 รูป เป็นพี่น้องกัน คือพระมหาป่าเกสระปัญโญองค์พี่ จำพรรษาวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน และพระมหาปัญญาองค์น้อง จำพรรษาวัดพระธาตุลำปางหลวง องค์น้องเคยบวชเรียนอยู่วัดพระธาตุเสด็จ และพระมหาป่าองค์พี่บวชเรียนที่วัดป่าซางดอยเฮืองเมืองลำพูน ทั้งคู่กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดังกล่าวแล้วก็ได้เป็นต้นแบบหรือ “เค้าครู” ถ่ายทอดรูปแบบศิลปกรรมและพระธรรมให้กับวัดในลำปางยุคนี้ ในขณะนั้นประกอบด้วยวัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดลำปางกลาง วัดปงยางคก วัดพระธาตุเสด็จ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีลูกศิษย์ต่างเมือง คือ ขุนด่านสุตตา เจ้าเมืองเถินที่ได้รับการถ่ายทอดรูปแบบงานศิลปกรรมไปยังเมืองเถิน
จะสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์ของพระมหาป่าและศิษย์สำนักครูเดียวกันนั้น เป็นหนึ่งในมูลเหตุให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายช่างฝีมือและการหยิบยืมแบบแผนในการสร้างงานศิลปกรรมในยุคนี้มาก จากกรณีกลุ่มวัดดังกล่าวนี้ ทั้งวัดพระธาตุเสด็จ วัดไหล่หินแก้วช้างยืน วัดป่าตันหลวง วัดเวียงเถิน วัดล้อมแรด ทำให้มีการสร้างซุ้มประตูโขงในยุคสมัย รูปแบบ และคติการสร้างที่คล้ายๆกัน โดยอาจจะเป็นการใช้ตำรา สูตรช่าง ในรูปของอิทธิพลร่วมกันในช่วง 2 ศตวรรษนี้
|
คำสำคัญ :
ซุ้มประตูโขง
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1878
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐาปกรณ์ เครือระยา
วันที่เขียน
26/8/2564 13:47:29
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 1:48:33
|
|
|
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม
»
ช่อฟ้าแบบลำปาง
|
รูปแบบช่อฟ้ากลุ่มลำปางอันเป็นอัตลักษณ์เชิงช่าง ก็ต้องกล่าวถึงช่อฟ้าเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ ที่เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาค ที่ระบุว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 หรือ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่ชาติหริภุญชัย และช่อฟ้าเซรามิกจากวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวง ที่ปัจจุบันถอดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เพราะรูปแบบของช่อฟ้าทั้งสอง มีลักษณะเหมือนกันคือมีปราสาทผ่าครึ่งต่อสันหลังช่อฟ้า อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้รูปแบบช่อฟ้านั้นสมบูรณ์ และอีกหนึ่งชิ้น คือช่อฟ้าประดับวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง โดยช่อฟ้าทั้งสามชิ้นนี้ทำจากดินเผาเคลือบสีเขียวแกมน้ำตาลเข้ม หรือที่ช่างเรียกว่าน้ำก้าบ ซึ่งเมื่อดูช่วงอายุของงานและอ้างตามจารึกการสร้างวิหารพบว่ามีอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 22
รูปแบบช่อฟ้าดังกล่าว ยังส่งอิทธิพลถึงรูปแบบช่อฟ้าในเมืองลำปางในช่วงระยะเวลาต่อมา แต่เป็นรูปแบบที่ปราสาทผ่าครึ่งหายไปเหลือแต่ตัวช่อฟ้า ดังปรากฏรูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2366 โดยพระเจ้าสุวรรณหอคำดวงทิพย์ ผู้ครองนครลำปาง และช่อฟ้าประดับวิหารไม้โบราณ วัดคะตึกเชียงมั่น ดังจารึกปีที่สร้างคือ พ.ศ. 2375 ซึ่งถึงแม้ว่าจะผ่านการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง แต่รูปแบบช่อฟ้าดังกล่าวก็ยังคงอยู่และยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ช่อฟ้าแบบงานช่างศิลป์ลำปางไว้อย่างชัดเจน
รูปแบบช่อฟ้าอีกแบบหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในเมืองลำปาง ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา คือช่อฟ้าแบบศิลปะเชียงแสน ที่เข้ามาโดยกลุ่มช่างชาวเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาสู่เมืองลำปางในช่วงเวลาดังกล่าว ในยุคของพระเจ้ากาวิละ เกิดวิหารสกุลช่างเชียงแสนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทางรูปทรงที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนกระจัดกระจายหลายพื้นที่ในจังหวัดลำปาง ดังปรากฏรูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารวัดสุชาดาราม ที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2325-2352 รูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารวัดหัวข่วง ที่มีอายุรุ่นเดียวกันกับวิหารวัดสุชาดาราม รูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารวัดป่าดัวะ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยเจ้าวรวงค์และเจ้าอินตุ้ม ณ ลำปาง รูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารวัดนางเหลียว สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2470 และรูปแบบช่อฟ้าประดับวิหารวัดศรีล้อม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496
ช่อฟ้าประดับวิหารทั้ง 5 หลังนี้ แสดงให้เห็นถึงการยังคงไว้ซึ่งงานช่างเชียงแสน ที่ส่งผ่านงานศิลปกรรมประดับศาสนาสถาน ในช่วงระยะเวลาเกือบ 2 ศตวรรษ ถึงแม้ว่าชาวเชียงแสนจะถูกโยกย้ายถิ่นฐาน แต่ก็ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้บนพื้นที่เมืองลำปาง จนท้ายที่สุดกลายเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมเมืองที่สำคัญ
จากเส้นทางเวลาของรูปแบบช่อฟ้าบนพื้นที่จังหวัดลำปาง ก็พอมีเรื่องเล่าเพียงเท่านี้ เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่ส่งถึงกันในพื้นที่เมืองลำปาง จากอดีตถึงปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ
|
คำสำคัญ :
ช่อฟ้าลำปาง
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1238
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐาปกรณ์ เครือระยา
วันที่เขียน
26/8/2564 13:42:04
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/3/2566 23:28:43
|
|
|