Blog : ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 208
ชื่อสมาชิก : ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : chotipas@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 21:19:05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 21:19:05

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 “นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ” session 6 เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรด้านพืช หัวข้อ เรื่อง การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้ การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวไทยด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับความทนแล้ง เครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ และความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต
คำสำคัญ : การแก้ไขยีน  ข้าว  ความทนแล้ง  โฟเลต  ลำไย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 229  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 22/1/2567 22:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/11/2567 17:26:27
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » มะเขือเทศกาบาและปลาแก้ไขยีนในญี่ปุ่น
เทคนิคการแก้ไขยีนหรือการแก้ไขจีโนม (gene/genome editing) เป็นการเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอเป้าหมายโดยการตัดดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิตและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีนในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมดีเอ็นเอ ประเทศญี่ปุ่นใช้เทคนิคแก้ไขยีนระบบ CRISPR/Cas9 ผลิตมะเขือเทศแก้ไขยีน 1 ชนิด และปลาแก้ไขยีน 2 ชนิด ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและบริโภคเป็นอาหารได้แล้ว โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเหมือนอาหารที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากเทคนิคการแก้ไขยีนไม่มีการใส่ดีเอ็นเอแปลกปลอม (foreign gene) เข้าไปในสิ่งมีชีวิต
คำสำคัญ : เทคนิคการแก้ไขยีน  ปลาแก้ไขยีน  มะเขือเทศกาบา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3829  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 20/7/2566 8:41:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 12:47:01
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » เทคโนโลยีการหาลำดับเบส Next Generation Sequencing
Next Generation Sequencing (NGS) คือ เทคโนโลยีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์หรือลำดับเบสของดีเอ็นเอ เพื่อศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ ปัจจุบันเทคนิค NGS ได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยอย่างแพร่หลาย การใช้ NGS ศึกษาด้านการปรับปรุงพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพ เทคนิค NGS สามารถนำมาใช้ในการศึกษา Genotyping-By-Sequencing (GBS) มีประโยชน์ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์และพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอ ซึ่งจะนำมาช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ดีทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
คำสำคัญ : NGS  การใช้ประโยชน์  การหาลำดับเบส  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 20085  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 10/9/2564 14:35:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:14:04
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมพืช
เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) เป็นเทคนิคใหม่ที่นำมาใช้ในการแก้ไขยีนเป้าหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจีโนมได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอสที่ได้ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกิดการเติม ตัด และเปลี่ยนลำดับเบสของยีนที่ต้องการในจีโนม เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมที่เป็นที่นิยมคือ ระบบ CRISPR/Cas9 ได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิดทำให้พืชมีลักษณะที่ดีทางการเกษตร และการปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  คริสเปอร์แคส9  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 23849  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 27/9/2562 12:41:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:17:26
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » สรุปความรู้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561
การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้ การนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ทางด้านการเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ หรือ การเกษตรแม่นยำ การใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสีย การศึกษายีนแก้หมันของละอองเรณูในข้าว สารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายไกและใบดาหลา เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง
คำสำคัญ : การเกษตรอัจฉริยะ  การบำบัดของเสีย  ข้าว  แบคทีเรีย  ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3866  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 11/1/2562 16:15:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:48:31
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ในการวิจัยพืชวงศ์มะเขือ
พืชในวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ที่มีความสำคัญทางการเกษตร เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ เป็นต้น เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ใช้เป็นแหล่งอาหารและประโยชน์ทางยา การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เกษตรกร และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาโรคและแมลง และการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร นักวิจัยได้นำเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  พืชวงศ์ Solanaceae  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3887  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 2/11/2561 11:02:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:38:39
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์
พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ประกอบด้วยแตงกวา มะระ เมล่อน สควอช แตงโม และฟักทอง โดยแตงกวาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นพืชต้นแบบสำหรับการศึกษาการกำหนดเพศและชีววิทยาของท่อลำเลียงในพืช การศึกษาจีโนมของแตงกวาได้มีการหาลำดับเบสได้แล้ว ลำดับเบสของจีโนมจะเป็นประโยชน์ทำให้เข้าใจลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การแสดงออกของเพศ การต้านทานโรค การสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดรสขม (cucurbitacin) และกลิ่นหอม นอกจากนี้ จีโนมแตงกวาจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แตงกวาให้เป็นพันธุ์การค้า และการผลิตสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีฤทธิ์ต้านมะเร็งอีกด้วย
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช  เทคโนโลยีจีโนมิกส์  พืชตระกูลแตง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5626  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/1/2561 8:31:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:29:21
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีโนมในการศึกษายีนของพืชและการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์
การใช้ข้อมูลจีโนมิก (genomic data) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรทางพันธุกรรมกับฟีโนไทป์เพื่อระบุตำแหน่งในจีโนมที่มีหน้าที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจโดยไม่ต้องทำการสร้างประชากรจาการผสมพันธุ์ การศึกษาในพืชโดยใช้ข้อมูล transcriptomics และ proteomics ร่วมด้วย จะสามารถทำให้ได้ข้อมูลของยีนที่ควบคุมการตอบสนองของพืชต่อความเครียดนั้นได้ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจีโนมและ genome-wide association study ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลของ single nucleotide polymorphisms (SNP) ที่ระดับจีโนม ได้นำมาใช้ในการทำ genotyping และใช้ในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทย
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธู์ปศุสัตว์  การศึกษายีนพืช  ข้อมูลจีโนมิก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3523  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 5/9/2560 11:39:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 20:28:02
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอและการประยุกต์ใช้เครื่องหมาย SNP
เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) คือ ชิ้นส่วนดีเอ็นเอสายสั้น ๆ ที่มีลำดับเบสสามารถเข้าคู่กับช่วงใดช่วงหนึ่งบนสายดีเอ็นเอ ทำให้ระบุตำแหน่งบนโครโมโซมและสามารถแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเป้าหมายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ gene mapping, map-based cloning, marker-assisted breeding, plant variety protection, genetic diversity และ purity testing เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็น polymorphic มีการถ่ายทอดแบบ co-dominant เกิดทั่วจีโนม ตรวจสอบได้ง่าย รวดเร็ว และราคาไม่แพง ให้ผลที่ทำซ้ำได้ ตรวจสอบจีโนไทป์ได้ครั้งละหลาย ๆ ตัวอย่าง (high-throughput genotyping) ได้ผลถูกต้องและสม่ำเสมอ เครื่องหมายดีเอ็นเอมีหลายชนิด เช่น restriction fragment length polymorphism (RFLP), amplified fragment length polymorphism (AFLP), random amplified polymorphic DNA (RAPD), simple sequence repeat (SSR) และ single nucleotide polymorphism (SNP)
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธุ์พืช  เครื่องหมายดีเอ็นเอ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 27356  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 14/3/2560 13:11:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:59:37
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » จีโนมและจีโนมิกส์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ สิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model organisms) ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะห้องปฏิบัติการ วงจรชีวิตสั้น จีโนมมีขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ต้นแบบ (non-model organisms) มีการนำมาศึกษาได้ยากกว่า แต่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ กำลังเป็นที่สนใจในการนำมาศึกษาวิจัย เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายทศวรรษ จากระบบ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription-activator like effector nuclease (TALENs) จนถึงเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ระบบ clustered regularly interspaced short palindromic repeats (CRISPR) / CRISPR-associated (Cas) protein 9 เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy) ในโรคทางพันธุกรรมหลายชนิด
คำสำคัญ : การปรับแต่งจีโนม  จีโนม  จีโนมิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6416  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 6/9/2559 17:15:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:34
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » งานประชุมวิชาการประจำปี 2558
การเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย Escherichia coli การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับเบสบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวสี การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับแรงดันสูญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation การตรวจหาสารเควอซิตินในสารสกัดสมุนไพรด้วยเทคนิค HPLC-ELSD และการผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : ก๊าซชีวภาพ  ข้าว  ยีน  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3477  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 13/3/2559 0:21:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:04:45
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์” เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ในงานประชุมได้มีการบรรยายพิเศษ และบรรยายรับเชิญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ สาขามนุษยพันธุศาสตร์ และสาขาพันธุศาสตร์ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และอื่น ๆ นอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ หัวข้อการบรรยายพิเศษและการบรรยายรับเชิญ ได้แก่ พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์สู่พัฒนาการด้านการประมง เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ในพืช การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์กับการศึกษานิเวศวิทยา เป็นต้น และมีการอภิปราย เรื่อง พืชเทคโนชีวภาพ: ความจริงวันนี้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์  จีโนมิกส์  พันธุศาสตร์  พืชเทคโนชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8663  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/9/2558 4:55:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:25
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การเรียนการสอนชีววิทยาในโลกปัจจุบัน
การเรียนการสอนชีววิทยาในโลกปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการสอนเพื่อช่วยให้นักเรียนและนักศึกษาใน generation X, Y และ Z ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 25th Biennial Conference of the Asian Association of Biology Education ณ ประเทศมาเลเซีย ทำให้ได้ทราบการสอนเทคนิค PCR เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชที่ระดับดีเอ็นเอ การจัดกิจกรรม Gallery Walk ทำให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของตนเองกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และการพัฒนาสื่อการสอนทางการทดลอง เรื่อง Central dogma โดยใช้ wheat-germ cell-free protein synthesis systems ทำให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการ transcription และ translation ซึ่งเทคนิคเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาและพันธุศาสตร์เป็นอย่างดี
คำสำคัญ : Central dogma  Gallery Walk  PCR  ชีววิทยา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7817  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 12/3/2558 20:56:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 5:22:33
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีหลักการและเหตุผล คือ ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืช และพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ อนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชเก่า และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุง รักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึง พันธุ์พืช คุณสมบัติของพันธุ์พืชที่สามารถได้รับการคุ้มครอง สิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ และอายุการคุ้มครอง นอกจากนี้ การคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า มีแนวทางปฏิบัติตามที่กำหนดในมาตรา 52 และมาตรา 53 การทราบกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้พันธุ์พืช จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยในการปรับปรุงพันธุ์ และการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ รวมถึงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพืชเก่าได้อย่างถูกต้อง
คำสำคัญ : พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช  พันธุ์พืชใหม่  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4775  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 31/8/2557 18:00:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:41:44

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้