Blog : สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online)
รหัสอ้างอิง : 200
ชื่อสมาชิก : ทุเรียน ทาเจริญ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : turean@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online)
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทุเรียน ทาเจริญเข้าร่วมเรื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่... 24-25 ธันวาคม 2564 ณ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วม..การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 (online) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ 1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม 1.การคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 ที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในเยื่อหุ้มเมล็ด (ช่อทิพาและคณะ,2564)จากการศึกษาและคัดเลือกเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว คือ ยีน OsB1 และ OsB2 จากการสืบค้นตำแหน่งของยีนในฐานข้อมูล GenBank พบว่า ยีน OsB1 อยู่ตำแหน่งที่ 27,948,854 ถึง 27,956,850 คู่เบส ติดกับยีน OsB2 ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง 27,916,190 ถึง 27,916,850 คู่เบส บนโครโมโซมที่ 4 จากนั้นคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 จากฐานข้อมูล Gramene ได้ 22 เครื่องหมาย ที่ขนาบทั้ง 2 ด้าน ของยีน พร้อมทั้งทำการตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ พบ 10 เครื่องหมาย ที่ให้แถบดีเอ็นเอ แบบโพลีมอร์ฟิคซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ โดยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว 2.การทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม สีแดง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง(วราภรณ์ แสงทองและคณะ,2564)พันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographic Indication: GI)) เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index : GI) ต่ำจากประโยชน์ด้านคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยดพัทลุงทำให้คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวนี้แต่เนื่องจากข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้น และเป็นข้าวต้นสูงหักล้มง่ายทำให้ผลผลิตลดลง จึงได้นำข้าวสังข์หยดพัทลุงมาปรับปรุงพันธุ์ให้ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูต้นเตี้ยเพื่อป้องกันการหักล้ม ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดงและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยงานวิจัยนี้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและศึกษาลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่ได้จาการปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2562ในแปลงนาอินทรีย์เพื่อศึกษาศักยภาพของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์เมื่อปลูกในระบบอินทรีย์ได้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์สังข์หยดพัทลุงที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยทำการปลูกทดสอบในฤดูนาปี 2562 ในแปลงนาทดลองอินทรีย์ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 3 พันธุ์ คือ สังหยดพัทลุง ทับทิมชุมแพ และ กข-แม่โจ้ 2 ผลการทดลองพบว่าผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 4 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และผลผลิตของข้าว 7 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ อายุวันออกดอกของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์สั้นกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุงและอายุวันออกดอกของข้าว 6 สายพันธุ์ สั้นกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ นอกจากนี้ความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ เตี้ยกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ ไม่แตกต่างจากของพันธุ์ทับทิมชุมแพสายพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป 3.การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นในไร่เกษตรกรที่เหมาะสมกับพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือตอนบนเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง (ธนพล และคณะ,2564) การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นระดับแปลงเกษตรกรในฤดูแล้ง ปี 2563 จากโครงการปรับปรุง พันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง จังหวัดละ 6 แหล่งปลูก รวม 24 แหล่งปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 2 ซ้ำ 17 พันธุ์ เพื่อทดสอบพันธุ์ที่ให้ ผลผลิต และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดีเหมาะสมกับจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับ แรก คือ UPFC205, UPFC269, UPFC155, UPFC242 และ UPFC319 มีค่าเท่ากับ 1,541, 1,514, 1,506, 1,483 และ 1,439 กก./ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ พันธุ์ PAC339 CP639 DK9979C PAC789 และ NS5 มีค่า เท่ากับ 1,590, 1,589, 1,554, 1,532 และ 1,396 กก./ไร่ตามลำดับ ขณะที่เปอร์เซ็นต์การกะเทาะที่ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ UPFC319, UPFC205, UPFC242, UPFC269 และ UPFC227 มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 82, 81, 78, 77 และ 77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของพันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ DK9979C, PAC789, NK6253, PAC339 และ P4546 มี เปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 83, 82, 81, 80 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพทาง การเกษตรให้เหลือ1-2 พันธุ์ คือ UPFC269 และUPFC242 เพื่อทำการปลูกแปลงสาธิต และปลูกทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไป สรุปจากงานทดลองทั้งสามเรื่องจะสามารถเห็นได้ว่าลักษณะเชิงปริมาณจะถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันสามารถจะนำไปต่อยอดทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อช่วยทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีความแม่นยำ
สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online) » สรุปการนำไปใช้ประโยชน์The international Conference of the Genetics Society of Thailand 2022
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ด้าน DNA markers สามารถนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรมและ Phylogenetics คือ การตรวจสอบวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงออกมาในรูปของต้นไม้สายวิวัฒนาการโดยจะมีการแสดง แผนภูมิต้นไม้ (Phylogenetic tree) โดยใช้กิ่งสาขาแทนสายย่อยในการวิวัฒนาการ จากการพิจารณาจากความเหมือนและความแตกต่างในลักษณะทางกายภาพหรือทางพันธุกรรม ใช้หลักการสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้สายวิวัฒนาการเดียวบ่งบอกถึงบรรพบุรุษเป็นการศึกษาประวัติและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างหน่วยหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น สปีชีส์ กลุ่มประชากร เป็นต้นด้าน geographic distribution ตัวอย่างการศึกษาทางด้าน Mitochondria DNAที่ศึกษาประเภทเต่า (turtle) ในประเทศไทย พบว่ามี 2 genetic clustering 3 haplotypes พบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อย (low genetic diversity)ด้าน Genome-wide association study (GWAS) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเบสที่แตกต่างกันในจีโนมของกลุ่มประชากรหนึ่งๆ ต่อลักษณะฟีโนไทป์หนึ่งๆ ที่มีความแตกต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบบริเวณของดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับลักษณะฟีโนไทป์ ซึ่งสามารถศึกษาร่วมกับการศึกษาทางโอมิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลของบริเวณความก้าวหน้าและประสิทธิภาพในการตรวจสอบ genomic regions และยีนที่มีศักยภาพเฉพาะเจาะจงในการทดลองข้าวและการคัดเลือกจีโนม (genomic selection) ในโปรแกรมปรับปรุงข้าวด้านอีพีเจเนติกส์ (epigenetics) สามารถนำไปใช้ประโยชน์เน้นเกี่ยวกับ Epigenetics marks รวมการเกิดDNA methylation, histone modifications, and non-coding RNAs ที่จะสามารถควบคุมทางชีวภาพเป็นความรู้ทางด้าน หรือเรียกว่าพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ เช่นการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอ เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้น ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้น ๆ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือ epigenetic markings เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาจมีการเปิดปิดการถอดรหัส (transcription) และถ่ายทอดไปยังเซลล์ลูก (daughter cells) ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน ด้าน DNA gaps ช่องว่างของโครงสร้างเกลียวคู่ทำให้การคลายเกลียวไม่ยุ่งยากโดยเมื่อมีอายุน้อยจะดีกว่าตอนอายุมากขึ้น โดยอาจเกี่ยวข้องกับ DNA Methylation เป็นกระบวนการทางชีววิทยาโดยที่กลุ่มเมทิลถูกเติมเข้าไปในโมเลกุลดีเอ็นเอ เมทิลเลชันสามารถเปลี่ยนกิจกรรมของเซ็กเมนต์ DNA ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนลำดับ ร่วมกับการเกิดDNA damage เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของดีเอนเอที่ไม่ได้จำลองตัวเองเมื่อเกิดการจำลองตัวเองของดีเอนเอ ความเสียหายของดีเอนเอสามารถเกิดจากสารเคมีเกิดผิดปกติทั้งสองสายของดีเอน ด้าน DNA Scientific Truth in Court เน้นเรื่องกฎหมายและวิทยาศาสตร์ (Law and Science) ประกอบด้วย 1.Law 2.Truth 3.Fact 4.Science 5.Certainly 6. Possible 7. Propable ส่วนประเด็นในพรบ.ต้องเน้นด้านต่าง ๆเช่น นิติเวชศาสตร์มอบหมายให้กระกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพพัฒนางานนิติเวชให้ครอบคลุมทั่วถึงและมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมทั่วประเทศและฐานข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์ ดีเอนเอ ลายพิมพ์นิ้วมือ แล้วจึงมาใช้ระบบ Intelligent Data Analysis Link (IDAI) การใช้โปรแกรมเนคเทค เชื่อมโยงดีเอนเอ ต้องมีDNA Databases ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลนิวิทยาศาสตร์และซักถาม ตัวอย่างบทความภาคโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลองในข้าวพบว่า ยีน OsERF922 ตั้งอยู่บนโครโมโซมที่ 1 มีขนาด 1,096 bp ประกอบด้วย 1 exon ที่ปราศจาก intron การเปรียบเทียบลำดับยีน OsERF 922 จากความต้านทานและความอ่อนแอของพันธุ์ข้าว ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 base positions ที่แตกต่างกันซึ่งไม่ใช่ที่โดเมน AP2 (AP2 domain) sgRNAs ถูกออกแบบสำหรับในการใช้ CRISPR/Cas9 vector system for OsERF 922 gene แก้ไขยีนในข้าวนอกจากนี้ยังพบว่า มี 2 isolates ของ P. oryzae จากภาคเหนือของประเทศไทยสามารถเป็นสาเหตุเกิด blast lesionsที่ระยะต้นข้าวอายุ 5 สัปดาห์ที่จะเกิดที่ใบข้าวของพันธุ์ที่อ่อนแอ ด้วยวิธี in vitro spot inoculation สรุปคือมีการค้นหายีน OsERF922 ในข้าวไทย แล้วนำข้อมูลลำดับเบสของยีนที่ได้มาทำการออกแบบ sgRNA ของระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อนำไปแก้ไขยีน OsERF922 ให้ข้าวต้านทานต่อโรคไหม้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยาของพืชทางด้าน water logged conditions ในพืชจะทำให้ได้รับออกซิเจนน้อย พืชจะต้องปรับตัวให้มี aerial root โดยจะมี แอเรงคิมา (aerenchyma) เป็นเนื้อเยื่อรูพรุนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดช่องอากาศ ในราก ลำต้น หรือใบของพืชบางชนิด โดยช่องอากาศขนาดใหญ่นี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการแยกตัวออกจากกันของเซลล์พาเรงคิมาแบบ schizogeny โดยเซลล์แยกออกไปอยู่รอบ ๆ ช่องอากาศ หรือเกิดจากการสลายตัวของเซลล์พาเรงคิมาแบบ lysigeny โดยอาจเป็นลักษณะพันธุกรรม หรือเป็นการปรับตัวของพืชเพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนซึ่งจะสมารถจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทุเรียน ทาเจริญ ผู้รายงาน
คำสำคัญ : DNA markers Phylogenetics Epigenetics marks aerenchyma  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2355  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 17/6/2565 8:26:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 5:50:34
สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online) » สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online)
1.การคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 ที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในเยื่อหุ้มเมล็ด (ช่อทิพาและคณะ,2564)จากการศึกษาและคัดเลือกเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว คือ ยีน OsB1 และ OsB2 จากการสืบค้นตำแหน่งของยีนในฐานข้อมูล GenBank พบว่า ยีน OsB1 อยู่ตำแหน่งที่ 27,948,854 ถึง 27,956,850 คู่เบส ติดกับยีน OsB2 ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง 27,916,190 ถึง 27,916,850 คู่เบส บนโครโมโซมที่ 4 จากนั้นคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 จากฐานข้อมูล Gramene ได้ 22 เครื่องหมาย ที่ขนาบทั้ง 2 ด้าน ของยีน พร้อมทั้งทำการตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ พบ 10 เครื่องหมาย ที่ให้แถบดีเอ็นเอ แบบโพลีมอร์ฟิคซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ โดยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว 2.การทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม สีแดง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง(วราภรณ์ แสงทองและคณะ,2564)พันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographic Indication: GI)) เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index : GI) ต่ำจากประโยชน์ด้านคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยดพัทลุงทำให้คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวนี้แต่เนื่องจากข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้น และเป็นข้าวต้นสูงหักล้มง่ายทำให้ผลผลิตลดลง จึงได้นำข้าวสังข์หยดพัทลุงมาปรับปรุงพันธุ์ให้ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูต้นเตี้ยเพื่อป้องกันการหักล้ม ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดงและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยงานวิจัยนี้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและศึกษาลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่ได้จาการปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2562ในแปลงนาอินทรีย์เพื่อศึกษาศักยภาพของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์เมื่อปลูกในระบบอินทรีย์ได้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์สังข์หยดพัทลุงที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยทำการปลูกทดสอบในฤดูนาปี 2562 ในแปลงนาทดลองอินทรีย์ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 3 พันธุ์ คือ สังหยดพัทลุง ทับทิมชุมแพ และ กข-แม่โจ้ 2 ผลการทดลองพบว่าผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 4 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และผลผลิตของข้าว 7 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ อายุวันออกดอกของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์สั้นกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุงและอายุวันออกดอกของข้าว 6 สายพันธุ์ สั้นกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ นอกจากนี้ความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ เตี้ยกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ ไม่แตกต่างจากของพันธุ์ทับทิมชุมแพสายพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป 3.การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นในไร่เกษตรกรที่เหมาะสมกับพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือตอนบนเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง (ธนพล และคณะ,2564) การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นระดับแปลงเกษตรกรในฤดูแล้ง ปี 2563 จากโครงการปรับปรุง พันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง จังหวัดละ 6 แหล่งปลูก รวม 24 แหล่งปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 2 ซ้ำ 17 พันธุ์ เพื่อทดสอบพันธุ์ที่ให้ ผลผลิต และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดีเหมาะสมกับจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับ แรก คือ UPFC205, UPFC269, UPFC155, UPFC242 และ UPFC319 มีค่าเท่ากับ 1,541, 1,514, 1,506, 1,483 และ 1,439 กก./ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ พันธุ์ PAC339 CP639 DK9979C PAC789 และ NS5 มีค่า เท่ากับ 1,590, 1,589, 1,554, 1,532 และ 1,396 กก./ไร่ตามลำดับ ขณะที่เปอร์เซ็นต์การกะเทาะที่ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ UPFC319, UPFC205, UPFC242, UPFC269 และ UPFC227 มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 82, 81, 78, 77 และ 77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของพันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ DK9979C, PAC789, NK6253, PAC339 และ P4546 มี เปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 83, 82, 81, 80 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพทาง การเกษตรให้เหลือ1-2 พันธุ์ คือ UPFC269 และUPFC242 เพื่อทำการปลูกแปลงสาธิต และปลูกทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไป สรุปจากงานทดลองทั้งสามเรื่องจะสามารถเห็นได้ว่าลักษณะเชิงปริมาณจะถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันสามารถจะนำไปต่อยอดทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อช่วยทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีความแม่นยำและย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการทดลองที่รวบรวมมาเป็นตัวอย่างผลงานที่เกี่ยวข้องกับข้าวและข้าวโพดที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยจากผลงานต่าง ๆ อาจจะมีการทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไปพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไปนอกจากนี้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว
คำสำคัญ : SSR anthocyanin สังข์หยด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1645  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 16/1/2565 20:55:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 2:29:45

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้