การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใต้โครงการจัดทำสมรรถนะการทำงานด้านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy)
วันที่เขียน 13/3/2568 17:59:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 14:56:21
เปิดอ่าน: 200 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลของมนุษย์ต้องปรับตัวหลายด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและ
มีแนวโน้มพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำงานในอนาคต ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น การพัฒนาสมรรถนะสนับสนุนการทำงานด้านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI Literacy จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนให้สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความสามารถให้แก่เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์ ด้วยอัลกอริทึมและกลุ่มข้อมูลทางสถิติ ด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถเรียนรู้ เลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ หรือบางกรณีอาจถึงขั้นเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

Literacy หมายถึง ความสามารถ หรือ ความรู้ ในการกระทำบางสิ่งบางอย่างตามที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุปได้ว่า AI Literacy คือ ความรู้ ความสามารถในการเข้าใจและใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีประสิทธิภาพ

สมรรถนะ (Competency) คือ การใช้ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่น มาประยุกต์ใช้เพื่อประกอบอาชีพ

สรรถนะสนับสนุนการทำงาน คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคคล ที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการทำงาน หรือการประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถทำงานหรือประกอบอาชพได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือประสบความสำเร็จที่ดีขึ้น

 

ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น Artificial Intelligence / Machine Learning Engineer, Artificial Intelligence Applied Researcher, business Intelligence Director, Data Analyst, Data Engineer, Data Scientist, Machine Learning Engineer เป็นต้น

ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา หรือ นิวซีแลนด์ มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ โดยจัดโครงการส่งเสริมการสร้างความรู้ด้าน AI ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น โครงการ AI Singapore Professional Development Courses เป็นโครงการที่มีหลักสูตรการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับกลุ่มคนวัยทำงาน โดยมีหลักสูตรระดับพื้นฐาน (Basic)
ไปจนถึงระดับกลาง (Intermediate)

ตัวอย่าง การกำหนดเงื่อนไขการได้รับรองมาตรฐานอาชีพ ของประเทศซาอุดิอาระเบียดังนี้      

  1. ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์
  2. ทำงานที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ ตามหน่วยสมรรถนะของอาชีพ
  3. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เช่น Applied AI with Deep Learning ของ IBM
  4. มี Certificate ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เช่น Microsoft Certified Azure AI Engineer Associate
  5. ผ่านการประเมินทักษะทางเทคนิคโดยหน่วยประเมินที่ได้รับการรับรองจาก Saudi Data and Artificial Intelligence Authority (SDAIA)

แนวทางการกำหนดและรับรองความรู้ ความสามารถ หรือสมรรถนะบุคคคล ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพที่จัดทำมาตรฐานอาชีพ ทั้งของไทยและสากล ที่ใช้ในประเทศในปัจจุบัน

  1. การรับรองด้วยใบประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล Critical Career Skills Generative AI Foundations
  2. การรับรองด้วยใบประกาศนียบัตรมาตรฐานสากล ITS: Artificial Intelligence
  3. การรับรองด้วยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ระดับ 5
  4. การรับรองด้วยหลักสูตร Google AI Essentials
  5. การรับรองด้วยหลักสูตร Microsoft Learn: AI
  6. การรับรองด้วยหลักสูตร IBM: AI for Everyone: Master the Basics

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

  1. https://arit.co.th/event/191
  2. เอกสารประกอบการประชุม เรื่อง การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใต้โครงการจัดทำสมรรถนะการทำงานด้านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 โดยบริษัท บริษัท เออาร์ไอที จำกัด

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1560
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
GIS issue » แนวคิดการประยุกต์ใช้ ข้อมูลอาคาร ในการบันทึกข้อมูล โปรแกรม BEC
จากการเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยผู้ตรวจประเมินค่าอนุรักษ์พลังงาน (BEC) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ณ ห้อง co-working space ชั้น 1 อาคารเรียนรวม 70 ปี แม่โจ้ จึงได้เกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้ ข้...
BEC  GIS  QGIS  ฐานข้อมูลอาคาร     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 6/5/2568 10:13:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 7:56:18   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
GIS issue » สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568
สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมโดยสำน้กพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาโปรแก...
Geodatabase  leaflet  Mapserver  PostGIS  PostgreSQL  Web Map Service     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 7/4/2568 22:34:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/5/2568 13:22:31   เปิดอ่าน 175  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ด้วย Microsoft Copilot ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot" ที่จัดโดย Microsoft Learn เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษาในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการสอนและการเรีย...
AI ปัญญาประดิษฐ์  การเรียนการสอนดิจิทัล  การเรียนรู้ Microsoft  เทคโนโลยี Copilot  ประสิทธิภาพ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน จักรกฤช เตโช  วันที่เขียน 4/4/2568 10:52:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 11:22:59   เปิดอ่าน 517  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
STT50  การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  งานวิจัย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์  วันที่เขียน 10/1/2568 14:11:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 14:34:53   เปิดอ่าน 275  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง