|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สรุปการใช้ประโยชน์โครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม…
»
โครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม2566
|
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN QA version 4ต้องอาศัยหลักการTeaching methodเพื่อแก้ปัญหาการเรียนที่น่าเบื่อ เช่น อาจารย์พูดคนเดียวตลอดเช่น lecture คนเดียว ไม่ได้ให้ผู้เรียน มีส่วนร่วม ให้เปลี่ยนมาเป็นการเรียนที่สนุกสุด ๆเช่นการที่มีการสอนโดยมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นผู้เรียนให้คิดอาจแบ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์และ คิดเชิงนวัตกรรมโดยความคิดเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในต้องมีการผสมผสานknowledge skill attribute ต้องมีการแลกเปลี่ยนต้องมี creative thinking ต้องทำให้กล้าคิดไม่ยอมแพ้ กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ต้องกระตุ้นเรื่อย ๆ แต่อย่ามากเกินไปจะก่อให้เกิดความเครียดให้ผู้เรียนมากเกินไปส่วนความคิดเชิงนวัตกรรมจะต้องมีการเติมมูลค่าในการทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ต้องมีประโยชน์กับส่วนรวมเช่น ชุมชน หมู่บ้าน ประเทศชาติต้องมีการพลิกมุม ต้องมีการ creative ต้องเป็นประโยชน์ ชัดเจน ต้องมีฐานข้อมูลและต้องมี big data
การสอนที่ดีต้องอาศัยบทบาทที่สำคัญของผู้สอนดังนี้คือ
ลักษณะผู้สอนที่ดีต้องชมด้วยความจริงใจยอมรับความมีค่าของแต่ละบุคคล อาจมีการชมในห้องหรือมีการชมส่วนตัว ห้ามpromote คนใดคนหนึ่งในห้อง ต้องผ่อนคลาย ต้องใส่ใจ สนใจในคุณค่าของทุกคนต้องถามว่าทำไมคิดแบบนี้ ต้องกระตุ้นไปเรื่อย ๆ และะการออกแบบการสอน-ต้องมีการแลกเปลี่ยนลักษณะที่สำคัญ1.ต้องมีแรงจูงใจการกระตุ้นแรงจูงใจต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีการตำหนิ สร้างความภูมิใจ2. การอบรมเลี้ยงดู3.ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี 4.สมองดี และ5.สภาพแวดล้อมดีและเหมาะสมต่อการเรียนการสอน
เทคนิคการสอน
1.LECTURE การสอนแบบบรรยายอย่างเดียว
2.DEMONSTRATION การสาธิตประกอบการสอน
3.EXPERIMENT การมีdirection lab มีการสรุปผลและวิจารณ์ผล
4.DEDUCTION/INDUCTION
DEDUCTION คือต้องมีการพิสูจน์ทฤษฎี
INDUCTIONคือต้องมีการสร้างทฤษฎีใหม่
5.FIELD TRIP ใช้แหล่งเรียนรู้ ร่วมกับcreative สร้างproject
6.SMALL GROUP DISCUSSION การแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆในการเรียนการสอน
7.ROLE PLAYING เป็นบทบาทสมมุติ เป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมให้เขาเป็นผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านมาdebaseกัน
8.DRAMATIZATION เช่น การแสดงละคร ต้องมีการร่างบทสนทนา เช่น Science show
9.SIMULATION เริ่มด้วยการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ
10.COOPERATIVE LEARNING เป็นการร่วมมือแบบจิกซอ
11.WORK-INTEGRATED LEARNING การทำงานร่วมกันคล้ายสถานประกอบการ
12.PHENOMENON-BASED LEARNING เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เช่น โครงการบ้านโป่ง แม่โจ้ จัดเป็นจมูกของเชียงใหม่เป็นต้น
13.PROBLEM-BASED LEARNING เช่น การทำปัญหาพิเศษ
|
คำสำคัญ :
AUN 4 teaching method การออกแบบการสอน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
82
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
9/2/2566 11:10:45
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/3/2566 16:18:34
|
|
|
|
|
ประชุมวิชาการ PACCON 2019
»
ประชุมวิชาการ PACCON 2023
|
ประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference 2023 (PACCON2023) ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2566 ในวันที่ 20-21 มกราคม 2566 ณ หอประชุมสมเด็จย่า (C4) และอาคารพลเอก สาเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมกับสมาคมเคมี แห่งประเทศไทย ในพระอุปภัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ อัคคราช กุมารี ภายใต้หัวข้อ “Chemical Diversity Towards Sustainable Development Goals. ” ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และการประยุกต์
- การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อหลักคือ การประยุกต์เคมีที่หลากหลายเพื่อนำไปพัฒนาประเทศแบบยั้งยืน ซึ่งมีหลายแขนงทางเคมี เช่น เคมีวิเคราะห์ อินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี เป็นต้น จากการประชุมจึงได้รับความรู้ที่นำมาประยุกต์เพื่อนำไปพัฒนาประเทศแบบยั้งยืน ที่เกี่ยวกับเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำ เนินงานและฟื้นฟูความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
-ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่ทันสมัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ ชื่อเรื่อง "Determination of Riboflavin and Folate in Honey and Rice using
High Performance Liquid Chromatography"
|
คำสำคัญ :
HPLC, rice, honey, riboflavin, folate
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2967
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิริรัตน์ ไพศาลสุทธิชล
วันที่เขียน
2/2/2566 12:28:11
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
22/3/2566 23:36:56
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การประชุมวิชาการ
»
อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
|
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้
ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria
ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA
จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
Principle-based QA Model
Role-based QA Model
โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น
ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒)
ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE
จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
Curriculum design
Teaching-Leaning activities
Student Assessment
Co-curricular activities
Lecturer’s competency
Student service
Facilities
โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง
ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓
ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0
จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก
โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Criteria 1 – Expected Learning Outcomes
Requirements:
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4)
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ
ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition
Criteria 2 – Programme Structure and Content
Requirements:
2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้
2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ
2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes
2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ
2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ
2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้
Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach
Requirements:
3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities
3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน
3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ
3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 4 – Student Assessment
ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้
Criteria 5 – Academic Staff
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 6 – Student Support Service
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Criteria 7 – Facilities and Infrastructure
ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน
Criteria 8 – Output and Outcomes
ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้
ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0
2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้
3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้
ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria
ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA
จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
Principle-based QA Model
Role-based QA Model
โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น
ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒)
ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE
จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
Curriculum design
Teaching-Leaning activities
Student Assessment
Co-curricular activities
Lecturer’s competency
Student service
Facilities
โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง
ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓
ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0
จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก
โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Criteria 1 – Expected Learning Outcomes
Requirements:
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4)
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ
ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition
Criteria 2 – Programme Structure and Content
Requirements:
2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้
2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ
2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes
2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ
2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ
2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้
Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach
Requirements:
3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities
3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน
3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ
3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 4 – Student Assessment
ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้
Criteria 5 – Academic Staff
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 6 – Student Support Service
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Criteria 7 – Facilities and Infrastructure
ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน
Criteria 8 – Output and Outcomes
ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้
ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0
2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้
3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1014
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เชิดชัย มีเอียด
วันที่เขียน
30/9/2565 13:58:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/3/2566 15:22:21
|
|
|
|
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
|
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เริ่มจากการใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction เพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอเฉพาะส่วนที่ต้องการ ภายในระยะเวลาอันสั้นในหลอดทดลอง ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 ชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR ในการทำ ซึ่งไม่เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือการทำงานภาคสนาม ดังนั้นจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีเพิ่มขยายยีนด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ขึ้นมา วิธีการนี้สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ถึง 109 เท่า ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเพิ่มปริมาณ DNA จะใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิเดียว (60-65 ํC) โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR และการ run gel electrophoresis มีการใช้ primers 4 ชุด หรือ 6 ชุด ที่จำเพาะต่อกับสาย DNA แม่พิมพ์ 6 ตำแหน่ง จึงทำให้มีความจำเพาะต่อการตรวจสอบสูง และทำการเพิ่มปริมาณ DNA โดยใช้เอนไซม์ Bst DNA polymerase สำหรับการตรวจสอบยีนที่เพิ่มขยายได้ ในเทคนิค LAMP จะเกิดสาร pyrophosphate เป็น by product ในปฏิกิริยา สารดังกล่าวสามารถจับกับ magnesium กลายเป็น magnesium pyrophosphate ซึ่งจะเกิด ตะกอนสีขาวขุ่น ไม่ละลายน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจยืนยันผลด้วยเครื่อง spectrophotometry หรือสารฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณการเพิ่มขยายยีนนั้นๆ
|
คำสำคัญ :
LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
956
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
27/9/2565 15:43:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
23/3/2566 22:20:33
|
|
|
|
|