งานหนักไม่เคยฆ่าคน vs Life-long Learnings
วันที่เขียน 15/6/2563 10:08:35     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:39:42
เปิดอ่าน: 2862 ครั้ง

วาทะโอวาทที่รู้จักกันดี "งานหนักไม่เคยฆ่าคน" ถอดเป็นปรัชญาการศึกษาของมหาวทิยาลัยแม่โจ้ได้อย่างไร แล้ว Life-long Learnings เข้าไปผูกกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร Stay Tuned

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ Life-long learnings

เสนอโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเกษตร

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เนื่องจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังไม่เคยประกาศปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกมาให้ประชาคมรับรู้ มีแค่เพียงวาทะโอวาทที่ประกาศและเป็นที่รับรู้ของประชาคมทั่วไป คือ “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” ถอดเป็นความหมายได้ว่า งานที่ยากลำบาก ปริมาณเยอะ ความกดดันสูง หรืองานที่ต้องใช้เวลามาก เมื่อยิ่งทำ ยิ่งแต่จะได้ผลประโยชน์แก่ตนเอง ได้เงิน ได้งาน และได้ความรู้ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ส่วนใหญ่จึงมีนิสัยสู้งาน ไม่เกี่ยงงาน (เมื่อเทียบกับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ) งานใดที่ยากลำบาก มีความกดดันหรือความเครียดสูง ก็จะไม่ท้อถอย มีความมานะอดทนสูงยิ่ง นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้อาจจะมีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรทางการศึกษาอื่น ๆ ไม่สมบูรณ์พร้อมเท่ามหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ภาวะขาดแคลนเช่นนี้มักสร้างคนให้มีคุณภาพและมีสมรรถนะสูง เนื่องจากต้องพยายามคิด สร้างสรร ประยุกต์ เพื่อหาวิธีในการแก้ปัญหา ชดเชยภาวะขาดแคลนนั้น คุณลักษณะเช่นนี้ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงเกิดจากวิถีชีวิตในมหาวิทยาลัย หล่อหลอมให้กลายเป็นบัณฑิตที่มีความมานะอดทนและเข้มแข็งในการทำงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เป็นบัณฑิตประเภท “ไม่เคยตาย เพราะงานหนัก” ซึ่งหลักสูตรเราถอดออกมาเป็นปรัชญาการศึกษา มีวัตถุประสงค์ และส่วนอื่น ๆ ดังนี้

ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร: ผลิตมหาบัณฑิตให้สร้างองค์ความรู้ด้านการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพิ่มศักยภาพวิถี เกษตรไทยสู่สากล

วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้  1. สามารถประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการและวิชาชีพที่มีความรู้และความสามารถได้ 2. สามารถสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ ตลอดจนเชื่อมโยงและบูรณาการ ศาสตร์ที่เชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง และ 3. มีคุณธรรมและจริยธรรมเหมาะสมกับสถานภาพของมหาบัณฑิตทุกประการ

บทบาทหน้าที่ของผู้สอนและผู้เรียน: ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Infrastructure) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการกระตุ้นผู้เรียน จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน สำหรับผู้เรียนจะต้องมีบทบาทในกระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนและผู้สอน กระตือรือร้นในการเรียน เชื่อมโยงความรู้ และสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง

เนื้อหาและกลยุทธ์ในการสอน: กลยุทธ์ในการสอนมีทั้งการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) หรือความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotro) และจิตพิสัย (Affective domain) หรือทัศนคติ (Attitude)

Life-long Learnings

หลักสูตรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) ตาม European Reference Framework จาก อาจารย์ ดร.ชนันท์ภัสร์ ราษฎร์นิยม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หลังจากนั้นหลักสูตรจึงได้พยายามวางกิจกรรมทั้งในและนอกรายวิชาเข้าตามเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งอันที่จริงหลักสูตรก็จัดอยู่แล้วเพื่อบ่มเพาะให้นักศึกษามีความใฝ่รู้ หมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) ผ่านรายวิชาและกิจกรรมนอกชั้นเรียน แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการประเมินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรไปเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการตรวจประเมินประกัน แนะนำว่า ควรแนะ Key Competency กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงพฤติกรรมชัดเจนของบัณฑิตของหลักสูตร ทั้งนี้ Key Competency ผ่านการขับเคลื่อนกิจกรรมในและ/หรือนอกรายวิชามีดังต่อไปนี้

 

Level

Key Competency

กิจกรรมใน/นอกรายวิชา

L1

Communication in mother tongue

หลักสูตรมีการพัฒนา “ทักษะการสื่อสารภาษาไทย (การเขียน การอ่าน การพูด และการฟัง)” ในทุกรายวิชา เพื่อให้นักศึกษามีทักษะที่ดี สื่อสารได้ดี เขียนได้ชัดเจน และรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ

 

L2

Communication in foreign language

หลักสูตรฯ มีการพัฒนา “ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ (การเขียน การอ่าน การพูด และการฟัง)” เพื่อให้นักศึกษามีทักษะที่ดี ฟังและพูดโต้ตอบได้ อ่านรู้เรื่อง และเขียนพอได้

 

L3

Mathematics competences and basic science and technology

หลักสูตรมีกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริม “สมรรถนะด้านคณิตศาสตร์ และพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ผ่าน

รายวิชาหรือกิจกรรมของหลักสูตร

L4

Digital competence

หลักสูตรควรมีกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริม “สมรรถนะการใช้ดิจิทัล” ผ่านรายวิชา / กิจกรรมของหลักสูตร

L5

Learning to learn

หลักสูตรมีกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริม “การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง” ผ่านรายวิชาและกิจกรรม

L6

Social and civic competence

หลักสูตรมีกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริม “ความเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม” เช่น การอยู่ในกฏระเบียบของสังคม การไม่ทำตัวเป็นภาระของสังคม และมีจิตสาธารณะ

 

L7

Sense of initiative and entrepreneurship

หลักสูตรควรมีกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริม “ความคิดริเริ่มและความเป็นผู้ประกอบการ” ผ่านรายวิชาที่ผู้เรียนต้องสามารถบริหารจัดการแหล่งความรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้ผู้เรียนเชื่อมั่นในพลังสมอง/สติปัญญา (Brain power) ของตนเองต่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ด้วยการพานักศึกษาไปทัศนศึกษาดูงานจริง ๆ ที่ เพื่อสร้างบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ

L8

Cultural awareness and expression

หลักสูตรควรมีการบ่มเพาะให้บัณฑิตมีการตระหนักรู้ในวัฒนธรรมและการแสดงออกดังต่อไปนี้

- การไม่สร้างข้อมูลเท็จ (Make up data) ส่งเสริมเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และเป็นพลเมืองดีของสังคม

- การอ้างอิงผลงานทางวิชาการของผู้อื่น ส่งเสริมจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

- การนำความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์กับภูมิปัญญาชาวบ้านในระหว่างการออกบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ยังคงอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามไว้

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:19:47   เปิดอ่าน 1976  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง