รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : MR
บทความวิชาการ » การพัฒนาทักษะด้านการใช้งาน การพัฒนา หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม AR VR MR และ 3D ในระดับเบื้องต้น
เทคโนโลยีและนวัตกรรม นับเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งสำหรับการดำเนินกิจการงานต่าง ๆ ในเรื่องการสนับสนุนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การขนส่ง และการเกษตร รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะด้านการใช้งานโปรแกรม ที่สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ ที่น่าสนใจได้ ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ได้แก่ AR (Augmented Reality), VR (Virtual Reality), MR (Mixed Reality) และ 3D (3 Dimension) ได้ ดังนั้น โครงการพัฒนาทักษะด้านการใช้งาน การพัฒนา หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม AR VR MR และ 3D ในระดับเบื้องต้น ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ว่างงาน และบุคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยหลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ในการพัฒนาทักษะ ด้วยโปรแกรม Unity, SparkAR, Vuforia, Wornderland Engine ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเนื้อหาทั้งหมดของการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานประจำ เช่น การสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการในวันที่ 8-10 พ.ย. 2564 ของสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบบออนไลน์ เป็นต้น
คำสำคัญ : AR  MR  VR  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2203  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 29/10/2564 15:10:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:43:01
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : การแก้หมันของละอองเรณู  ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  ประชุมวิชาการแม่โจ้  ยีน Mr-RPCH  ลิ้นจี่นครพนม 1  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3198  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 9:57:08