KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:36:58
เปิดอ่าน: 2101 ครั้ง

KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในส่วนของการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสาร จากโปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Control Module) และโปรแกรมระบบ Catalog...
บทความวารสาร  รายการบรรณานุกรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 21/8/2567 11:34:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:44   เปิดอ่าน 164  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ
การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทประเภทหนังสือตั้งแต่สำนักหอสมุดเปิดให้บริการ ถึงเดือน ธันวาคม 2565 แยกตามหมวดหมู่ ของสำนัก...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:49:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:59:06   เปิดอ่าน 144  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การเพิ่มรูปภาพปกหนังสือและการสแกนหน้าสารบัญหนังสือ
การลงรายการบรรณานุกรมหนังสือของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องมีการเพิ่มรายการบทคัดย่อ เรื่องย่อ สาระสังเขป และสารบัญของหนังสือต่าง ๆ ที่จะต้องนำเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST สำหรับรูปภาพปก...
การเพิ่มปกหนังสือ  สแกนสารบัญ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:37:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:31:57   เปิดอ่าน 104  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (item) เพื่อการยืม-คืน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวารสารเย็บเล่มออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การเย็บเล่มวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist 2) เย็บเล่มวารสารโดยการสร้างรายการทรัพยากรเป็นรายฉบับ 3)การเย็บเล่มวารสารจากการถ่า...
item  ทรัพยากรวารสาร  ยืม-คืน  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:25:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:14:00   เปิดอ่าน 54  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical C...
item  รายการทรัพยากรวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:25:24   เปิดอ่าน 224  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง