รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
N/A
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูลเฉพาะทาง  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 552  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:56:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/6/2566 23:45:23
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคลังปัญญา ม.แม่โจ้ [เพิ่มเติม] [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 4of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ [เพิ่มเติม] ในระบบ ALIST (เอกสารออนไลน์แหล่งอื่น) ในที่นี้เฉพาะเอกสารออนไลน์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นภายนอกห้องสมุด ม.แม่โจ้ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ OPAC ห้องสมุดต่างๆ ที่น่าสนใจคือ มช. (อนาคตอาจสืบค้นจาก มก. มข. มศป.) (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 100, 245, 246, 260, 300, 520, 700, 710, 650, 6xx, 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x, ทั้งนี้ 6xx โดยเฉพาะ 650 หัวเรื่องทั่วไปจะได้คำเบื้องต้นมาจากห้องสมุดแหล่งข้อมูลด้วย, โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป, และ 710 อาจกำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aมหาวิทยาลัยแม่โจ้^x[...รอหัวเรื่องย่อย...], โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-pdf], ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF, อนึ่ง ข้อมูลที่นำเข้าระบบตามโครงการ/กิจกรรมรวบรวมเอกสารฯ เป็นการทำรายการเบื้องต้น (pre-catalog). [end]
คำสำคัญ : คลังปัญญาสถาบัน  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดดิจิทัล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 569  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:54:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 23:12:28
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคอลเลกชันภาพยนตร์ดีเด่น [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 3of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน ภาพยนตร์ดีเด่น ในฐานข้อมูล Film_OPAC (ภาพยนตร์ - ข้อมูลอ้างอิง) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ IMDb.com, BoxOfficeMojo.com, Wikipedia-best-films, RottenTomatoes, MetalCritics, Time, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x โดยเฉพาะ 586 (รางวัล, รายได้, อันดับ), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xภาพยนตร์, และ 650 หัวเรื่องเกี่ยวกับรางวัล รายได้ อันดับ เช่น ^aภาพยนตร์^xรางวัลออสการ์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videorecording], ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, ถ่ายเข้า Film_OPAC (Elib). [end]
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูลเฉพาะทาง  ภาพยนตร์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 349  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:51:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/6/2566 11:11:28
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีเอกสารเนื้อหา Green [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 2of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน งานเอกสารเนื้อหา Green ในระบบ ALIST (บทความจาก ThaiJo, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ ฐานข้อมูลวารสาร ThaiJo, ส่วนหนังสือเป็นแหล่งต่างๆ จากการค้น Google search (หรืออนาคตมุ่งไปแหล่งรวบรวมบางแห่งที่มีเอกสารบริการ) (2) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 246, 260, 300, 500 (ใช้แทน 773), 700, 710, 856, นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, URL link ไปยังบทความ, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x (ถ้ามี), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุม ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xบทความอิเล็กทรอนิกส์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-article] กรณีบทความ PDF หรือ ^h[electronic resource-pdf] กรณีหนังสือ PDF, ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF. [end]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 589  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:48:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 18:30:35
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณี Online Clips และภาพยนตร์ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 1of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน งานสื่อโสตทัศน์ในระบบ ALIST (คลิป, ภาพยนตร์) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ตย. กรณีคลิปคือ Youtube.co, ภาพยนตร์ซีดี คือ IMDb.com, หนังดี.com, etc., ภาพยนตร์ฟรี คือ พระนครฟิล์ม, แหล่ง Public domain, etc. (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 245, 246, 260, 300, 508, 511, 520, 655, 700, 710, 856 (ถ้ามี), นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, และกรณีภาพยนตร์ออนไลน์ฟรี จะเก็บ URL link 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 655 (จากรหัส Genre of films), 69x, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[videoclip youtube] หรือ ^h[videorecording-publicthai], ^h[videorecording-shortfilm] ฯลฯ แล้วแต่กรณี, โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป หรือ ^xภาพยนตร์, ^xภาพยนตร์ไทยฟรี, ^xภาพยนตร์สั้นออนไลน์ ฯลฯ แล้วแต่กรณี, ส่วน 008 ชนิด VM บางตำแหน่งลงรหัส q v l, leader=ngm, เข้า ALIST materialtype=VM
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ภาพยนตร์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 423  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:42:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 12:47:31
คอลเล็กชั่นพิเศษ » สิทธิส่วนบุคคลกับการบริหารจัดการงานห้องสมุดและจดหมายเหตุ
การสรุปความจากการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสิทธิส่วนบุคคลกับการบริหารจัดการงานห้องสมุดและจดหมายเหตุ จัดโดยสำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ : PDPA  จดหมายเหตุ  พรบ ข้อมูลข่าวสารราชการ  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1217  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวภา เขื่อนคำ  วันที่เขียน 28/10/2564 9:22:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 1:28:07
บริการสื่อโสตทัศน์ » สื่อดิจิทัล คลิป Youtube หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่ ในห้องสมุด (1) เพื่อเพิ่มความรู้รอบตัว และช่วยการทัศนศึกษาดูงาน
[-] ที่มา จากการที่มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว และห้องสมุดได้พัฒนางานบริการสื่อสมัยใหม่ในรูปสื่อดิจิทัลที่เป็นคลิปจาก Youtube.com มาบริการในห้องสมุด ได้ประมาณ 650 รายการ และได้มีกิจกรรม KM แนะนำสื่อดังกล่าว ในการนี้เห็นว่ามีคลิปจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ “เชียงใหม่” ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และผู้สนใจที่เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (และผู้ใช้ภายนอกอื่นๆ) จึงได้คัดเลือกบางส่วนมานำเสนอ [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [-] คลิปดังกล่าวรวบรวมเบื้องต้นจากประเด็นหัวข้อย่อยคือ กิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียว การจัดการขยะ พลังงานสะอาด เป็นหลัก (หัวข้อย่อยอื่นๆ จะรวบรวมในโอกาสต่อไป) ข้อดีของคลิปเหล่านี้คือผู้ใช้ห้องสมุดที่ค้นหาข้อมูลจากระบบสืบค้น OPAC ของห้องสมุดสามารถค้นหาได้จากหัวเรื่องและคำสำคัญที่หลากหลาย เมื่อได้รายการผลลัพธ์ก็จะมี link เชื่อมโยงไปเปิดคลิปของ Youtube.com ดูได้ทันที คลิปส่วนใหญ่มีความยาวราว 2-5 นาที ทำให้ใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ไม่มากนัก และยังได้ภาพรวมเรื่องสิ่งแวดล้อมในเชียงใหม่หลากหลาย คลิปหลายคลิปเป็นแหล่งเรียนรู้หรือติดตามไปทัศนศึกษา ดูงาน ณ สถานที่จริงในเชียงใหม่ได้สะดวก [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [-] คลิปหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูช่องทางค้นหัวเรื่องจากคำค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และจากคำค้น “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย เช่น –Energy, --Environment, --Garbage, --Organization, ฯลฯ]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ หรือ Keyword ใดๆ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [-] รายการแนะนำใน KM blog นี้คัดเลือกคลิปหัวข้อสิ่งแวดล้อมกรณี “เชียงใหม่” ได้ 57 คลิป โดยไม่ได้รวมคลิปกรณีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่น โรงงานกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยไส้เดือนดิน หนอนแม่โจ้ กาดแม่โจ้ 2477 ไว้ แยกเป็นกลุ่มหัวข้อคือ [ก] แหล่งเรียนรู้และการเรียนการสอน [ข] Green area [ค] Green manufacture, green hotel, etc. [ง] Green food [จ] Green housing [ฉ] Pollution [ช] Garbage [ซ] Green energy [ฌ] Green vehicle อนึ่ง รายการหรือรายชื่อที่นำเสนอบอกกล่าวข้อมูลเพียงชื่อคลิป และชื่อ Youtube channel เท่านั้น ไม่ได้บอกข้อมูล URL link ไว้ เพราะต้องการให้ผู้อ่านที่อ่านรายการคลิปทราบว่ามีคลิปอะไรบ้างในภาพรวม หากต้องการดูคลิปใดๆ สามารถป้ายดำชื่อคลิปไปค้นหาใน Youtube ได้ หรืออาจเข้าถึงจากระบบสืบค้น OPAC ของห้องสมุดก็ได้ [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ก] แหล่งเรียนรู้ และการเรียนการสอน -- [1] Animation ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภาษาไทย [videoclip youtube] / [posted by] boxinbrain [ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ [และ] สำนักงาน กปร. (or, RDPB)] -- [2] วีดิทัศน์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจขากพระราชดำริ ภาษาไทย [videoclip youtube] / [posted by] boxinbrain [ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ [และ] สำนักงาน กปร. (or, RDPB)] -- [3] ร้อยเรื่องเมืองไทย ตอน พระบารมีที่ห้วยฮ่องไคร้ [ฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม] [videoclip youtube] / krajokhokdan [กระจกหกด้าน] -- [4] อุทยานพลังงานเชียงใหม่ แหล่งกระจายความรู้คืนสู่ประชาชน [ศูนย์บริการวิชาการที่ 7 (จังหวัดเชียงใหม่) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน] [videoclip youtube] / Wisdom Media -- [5] Chiang Mai World Green City and Smart Community at adiCET, CMRU, Thailand [วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่] [videoclip youtube] / adicet College -- [6] เด็ก นร.เชียงใหม่สนุกร่วม "โรงเรียนปีนต้นไม้" ฝึกขึ้นต้นไม้ใหญ่ปั้น "รุกขกร" [videoclip youtube] / MGR Online VDO [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ข] Green area -- [7] ECO AND SUSTAINABLE ARCHITECTURE, DR. MARKUS ROSELIEB [โรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่น อ. หางดง จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / Panyaden International School -- [8] 5 สวนไม่ลับ เทศบาลนครเชียงใหม่ :[มีหลายตอน/clips เช่น] สวนบวกหาด สวนกาญจนาภิเษก สวนหลวงล้านนา ร. 9 สวนสุขภาพบ้านเด่น -- [9] ชุมชนล้นสุข ตอน สวนสาธารณะป่ากลางเมือง [สันทรายหลวง จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / Green Thailand -- [10] พืชสวนโลก เชียงใหม่ [อุทยานหลวงราชพฤกษ์] : Ep 1 Royal Park RajaPruck Chiang Mai [videoclip youtube] / bigchang87 -- [11] ถนนต้นไม้ที่สวยที่สุดในไทย ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน [clip 1/3 - 3/3] [videoclip youtube] / feelthai [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ค] Green manufacture, green hotel, etc. -- [12] สารคดีท่องเที่ยว EP.3 ปาริชาติไหมไทย [Green Production ; ชุมชนบ้านปวง อ. ทุ่งหัวช้าง จ. ลำพูน, วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม] [videoclip youtube] / Green Thailand -- [13] เก๊าไม้ล้านนา [อ. สันป่าตอง จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / AMARIN TVHD -- [14] ณ นิรันดร์ เชียงใหม่ : โรงแรมติดริมแม่น้ำปิง กับต้นไม้ยักษ์ 150 ปี [ริมแม่น้ำปิง ตรงข้ามวัดชัยมงคล] [videoclip youtube] / BoomTharis -- [15] สารคดีท่องเที่ยว EP.15 วินทรีซิตี้รีสอร์ท เชียงใหม่ [Wintree City Resort นิมมานเหมินทร์, green hotel] [videoclip youtube] / Green Thailand -- [16] เที่ยวบ้านต้นไม้ ป่าสักงาม เชียงใหม่ [ระเบียงป่าสัก บ้านต้นไม้ (รีสอร์ท)] : Travel 101 : Rabeang Pasak Treehouse [ENG SUB] [videoclip youtube] / Travel 101 : บางวันเที่ยว บางวันก็ไม่เที่ยว -- [17] นักธุรกิจทุ่ม 50 ล้านสร้างแดนเทวดา [แหล่งท่องเที่ยวเลียนแบบธรรมชาติ] : เรื่องดีดีทั่วไทย : 03-03-2564 [videoclip youtube] / TNN Online -- [18] ไม่ธรรมดา # 14 ร้านกาแฟบนต้นไม้ยักษ์แห่งเดียวในเมืองไทย [และโรงแรมบนต้นไม้] The Giant Chiangmai [อ. แม่ออน จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / Mushroom TV [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ง] Green food -- [19] ตลาดนัดข่วงเกษตรอินทรีย์[at]เชียงใหม่ [กว่า 20 แห่ง] [videoclip youtube] / PrachathamTV -- [20] บ้านผักรักษ์คุณ พาแอ่วตลาดข่วงเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ [videoclip youtube] / บ้านผักรักษ์คุณ เกษตรกรยุคใหม่ -- [21] ตลาดจริงใจ Farmers Market จ. เชียงใหม่ [videoclip youtube] / Green Thailand -- [22] Nana Jungle (นานาจังเกิ้ล) Saturday Market, Chiang Mai, Thailand, [Bakery, Organic Food, Arts, Crafts, etc. in Chiang Mai] [คลิปถ่ายโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติ] [videoclip youtube] / Cole Chesnut -- [23] แนะนำร้านสลัดเมนูเพื่อสุขภาพ ในเชียงใหม่ [videoclip youtube] / Km Sspp -- [24] ร้านโอ้กะจู๋ เชียงใหม่ [videoclip youtube] / feelthai [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [จ] Green housing -- [25] สุดยอดไอเดียของฝรั่งหัวใจไทยคนนี้ [มาร์คูส โรเซลีบ หรือ มาร์ค] สร้างบ้าน สร้างโรงเรียนจากไม้ไผ่ และ ดิน ได้อย่างน่าทึ่ง [videoclip youtube] / Made in Thailand -- [26] This School In Thailand Is Made Entirely Out Of Bamboo And Earth [โรงเรียนนานาชาติปัญญาเด่น อ. หางดง จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / Business Insider -- [27] Energy update ตอน โจน จันใด บ้านดินรักษ์โลก [ศูนย์พันพรรณ, อ. แม่แตง, จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / sky breeze rainbow -- [28] Earthen Building with Jon Jandai at New Life Foundation [ภาษาอังกฤษ] [บ้านดินกับ โจน จันใด, เชียงใหม่] [videoclip youtube] / New Life Communities [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ฉ] Pollution -- [29] สารคดี ชุด ฝ่าม่านหมอกควัน Ep.1 ผู้พิกษ์ป่าดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ [videoclip youtube] / Green Thailand -- [30] สารคดีข่าว ตอน หมู่บ้านปลอดการเผา บ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่ [videoclip youtube] / Green Thailand [อ้างอิงจากข่าวโดย SpringNews] -- [31] EP2 ชุมชนบ้านแม่แมะ จ เชียงใหม่ [ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผา] [videoclip youtube] / Green Thailand [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ช] Garbage -- [32] โครงการกำจัดขยะ 1,000 ตันต่อวันระบบ RDF จังหวัดเชียงใหม่ [Refuse Derived Fuel] [videoclip youtube] / ly lt -- [33] โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ จังหวัดเชียงใหม่ [เสนอโดย บ. SMC Power ตามแผนที่จะจัดตั้งโรงไฟฟ้าระบบ RDF] [videoclip youtube] / HEAVYs Mongkol -- [34] ธนาคารขยะ เชียงใหม่ [โครงการธนาคารวัสดุรีไซเคิล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่] [videoclip youtube] / Citizen ThaiPBS -- [35] เอี่ยมดี รีไซเคิล [by] รีวิวเชียงใหม่ [videoclip youtube] / Review Chiang Mai -- [36] คนค้นฅน : โดม เอี่ยมดี รีไซเคิล ช่วงที่ 1/4 (31 ก.ค. 2561) [videoclip youtube] / TvBurabhaOfficial -- [37] การจัดการขยะแบบครบวงจร (ชุมชนต้นแบบ Zero Waste) บ้านหนองบัว ต. ม่อนปิ่น อ. ฝาง [จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / อบต. ม่อนปิ่น ฝาง -- [38] โครงการตลาดนัดขยะ ต. น้ำแพร่ อ. หางดง จ. เชียงใหม่ [Library added title] : ส่องหมู่บ้านเชียงใหม่ ปลุกสำนึกลูกหลานจัดการขยะ ต่อยอดได้ไม่พึ่งรัฐ [videoclip youtube] / MGR Online VDO -- [39] เตาเผาขยะปลอดมลพิษ รุ่น NFI-53 บ้านท้องฝาย อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ [ประชาสัมพันธ์สินค้าคือเตาเผา] [videoclip youtube] / เตาเผาขยะปลอดมลพิษ MP [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ซ] Green energy -- [40] ชุมชนแม่กำปอง [จ. เชียงใหม่] ผลิตไฟฟ้า [โรงไฟฟ้าพลังน้ำตก ; สหกรณ์ไฟฟ้าโครงการหลวงแม่กำปอง จำกัด] [videoclip youtube] / รู้ค่าพลังงาน Watchdog -- [41] ชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทนจากขยะ อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ (ETE) [videoclip youtube] / Peerapon Makkapun -- [42] โรงไฟฟ้าชุมชนจากขยะแห่งแรกที่เทศบาลตำบลบ้านหลวง ดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ [videoclip youtube] / ฤทธิชัย บุญชัย -- [43] โรงไฟฟ้าจากขยะ เชียงใหม่ [บ. ท่าเชียงทอง อ. ฮอด] [videoclip youtube] / MrJarukiat -- [44] บ่อขยะบ้านตาล เชียงใหม่ [clip ถ่ายจากจอภาพของการ presentation] [videoclip youtube] / เก่ง เมืองปราการ -- [45] WETV พลังงานเชียงใหม่เยี่ยมชมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ [โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านแม่ตุงติง ต. แม่สาบ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / WETV Channel -- [46] ขี้หมูผลิตไฟฟ้า [ ฟาร์มซี.พี.จอมทอง และ กิตติวัฒน์ฟาร์ม จ. เชียงใหม่] [videoclip youtube] / รู้ค่าพลังงาน Watchdog -- [47] SMART ENERGY ตอน โรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส ที่เชียงใหม่ [videoclip youtube] / Smart Energy -- [48] Biogas จากขยะ อ ฮอด จ เชียงใหม่ [บ. ท่าเชียงทอง อ. ฮอด] [videoclip youtube] / JiatRuka P. -- [49] พลังงานจังหวัดเชียงใหม่ เยี่ยมชมโครงการต้นแบบการอนุรักษ์พลังงาน ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่[วิสาหกิจชุมชน ถ่านอัดแท่ง] [videoclip youtube] / Toon News TV // Chiangmai & Lanna Channel [-] --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [ฌ] Green vehicle -- [50] เชียงใหม่เปิดตัวรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าครั้งแรกในไทย [videoclip youtube] / สำนักข่าวไทย TNAMCOT -- [51] WETV สุดยอดสาวเชียงใหม่ผลิตตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าต้นแบบติดแอร์คันแรกของโลก [videoclip youtube] / WETV Channel -- [52] 5 จังหวัดนำร่อง รถเมล์ไฟฟ้า [1. กรุงเทพฯ 2. พระนครศรีอยุธยา 3. เชียงใหม่ 4. ภูเก็ต 5. นครราชสีมา] [videoclip youtube] / UpFuture Channel -- [53] มาแล้วเจ้า!! รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ 3 เส้นทาง การคมนาคมใหม่คนเมือง [videoclip youtube] / Railway Channel TH [หมายเหตุ ข้อมูลล่าสุด กระทรวงคมนาคมให้ศึกษารูปแบบรถประจำทางไฟฟ้าล้อยาง เพื่อนำเสนอแทนรถไฟฟ้ารางเบา] -- [54] รื้อโมเดลรถไฟฟ้าต่างจังหวัด "เปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง" ดึงเอกชนลงทุน!! [อัพเดทรถไฟฟ้าต่างจังหวัด 7 จังหวัด] [videoclip youtube] / THT TV -- [55] วีดิทัศน์สรุปผลรายละเอียดโครงการ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะที่ 2 [videoclip youtube] -- [56] เช่าจักรยานผ่านมือถือที่เชียงใหม่ [Mobike] / designdeedee [โครงการในอดีต ปัจจุบันอาจไม่มีแล้ว] -- [57] มช เปิดสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ แห่งแรกในภาคเหนือและเป็นแห่งแรกในเชียงใหม่ [ที่บริเวณด้านหน้าอาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่] [videoclip youtube] / News World Thailand [-] -----[end]-----
คำสำคัญ : คลิป  เชียงใหม่  นโยบายสีเขียว  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1354  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 4/8/2564 10:51:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/6/2566 10:49:06
เบ็ดเตล็ด » การทดลองใช้งานโปรแกรม Microsoft Word ฟรีอย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่านโปรแกรม Hotmail.com
------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [1] เกริ่นนำ สืบเนื่องจากคอมพิวเตอร์ใช้งาน Work from home ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์ไว้ และไม่ต้องการติดตั้งใช้งานโปรแกรมแบบละเมิดลิขสิทธิ์ จึงทำให้ไม่อาจใช้งานโปรแกรม Microsoft Word เพื่อบันทึกแฟ้มข้อมูลผลงานปฏิบัติงานประจำวันที่สำนักหอสมุดกำหนดสำหรับรายงานผลการปฏิบัติงานแบบ Work from home ได้ รวมทั้งไม่ได้นำคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์สถาบันของมหาวิทยาลัยไว้ และไม่ต้องการใช้งานผ่านโปรแกรม Microsoft Office 365 ระบบ Cloud computing ที่สถาบันมีลิขสิทธิ์เนื่องจากข้อจำกัดและความประสงค์ส่วนตัวบางประการ ต่อมาได้พบคลิปวีดิทัศน์หนึ่งที่แนะนำการใช้โปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์ฟรี ซึ่งเป็นการใช้งานผ่านบัญชีผู้ใช้ในระบบโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ของเว็บไซต์ Hotmail.com ซึ่งสามารถสมัครเป็นสมาชิกใช้งานฟรี จากคลิป “รับฟรี Microsoft Office Word Excel Powerpoint Online ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” โดย KennyAdventure ( https://www.youtube.com/watch?v=8Dsiz6aTbwo ) --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [2] การทดลองใช้งาน ในการนี้ได้ทดลองใช้งานพื้นฐานบางประการของโปรแกรม Microsoft Word ที่ตนเองมักใช้งานประจำ พบว่า โดยทั่วไปสามารถใช้งานได้ แม้ว่าจะมีคุณสมบัติบางประการแตกต่างจากปกติ โดยการทดลองใช้งานมีรายละเอียดที่ทดสอบ เช่น การสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ แถบเมนูการใช้งาน (แม้จะไม่มีเมนูหลากหลาย แต่ก็รองรับการใช้งานพื้นฐาน เมนูแบบ Classic robbon และ Simplified ribbon ที่ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน) การแสดงขนาดจอภาพ (View, Zoom in, Zoom out) การกำหนดขอบกระดาษ การแสดงสัญลักษณ์การจัดรูปแบบย่อหน้าหรือ Paragraph (จากไอคอนเมนูรูปพาย) การขึ้นบรรทัดใหม่ด้วย Shift+Enter ดังตัวอย่าง ณ จุดนี้ … (ต่อ) การกั้นหน้า (Page break) การใช้ Font รูปแบบอักษร (มีให้เลือกใช้ไม่มากนัก) การกำหนดรูปแบบตัวเข้ม ขยายหรือลดขนาด การกำหนดสีของตัวอักษร การใช้งานปุ่มยกเลิกการทำงานที่ผ่านมา (Undo) ด้วย Control-Z การใช้งาน Clipboard (ที่ต้องใช้ปุ่มจากคีบอร์ดแทนเม้าส์) การจัดวางข้อความ (เช่น การชิดขอบ การวางศูนย์กลาง) การค้นหาและแทนที่ข้อความ (Find และ Replace) การบันทึก (Save) แฟ้มข้อมูล (แม้ไม่มีเมนู save ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยตรง แต่สามารถ save ลักษณะ Save a copy online ในระบบ One Drive ได้ แม้จะใช้เวลามากกว่าปกติ และสามารถ Download แฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ ณ คอมพิวเตอร์ส่วนตัวในภายหลังได้) การบันทึกผลลัพธ์เป็นช่วงๆ (การทดลองใช้งานไม่พบปุ่มไอคอนดิสเก็ตต์ให้บันทึกทันทีอย่างสะดวก) การแทรกสัญลักษณ์พิเศษ การแทรกตาราง การแทรกรูปภาพ การบันทึกแฟ้มข้อมูลเป็น PDF file ทั้งนี้ไม่ได้ทดสอบการใช้บางคุณสมบัติหรือบางเมนู เช่น (1) Textbox ซึ่งโดยส่วนตัวใช้กับการแทรกภาพประกอบ เนื่องจากหาเมนูหรือไอคอนนี้ไม่พบ เมนู Draw, Texbox ที่พบก็ใช้งานไม่สะดวกดังแบบปกติ (2) การพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) (3) การนำแฟ้มข้อมูลไปเปิดใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นว่าจะมีรูปแบบตัวอักษร Font, การจัดหน้า คลาดเคลื่อนหรือไม่ การใช้งานแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่ อนึ่ง ในขณะใช้งาน พบว่าการพิมพ์ข้อมูลและการตอบสนองของโปรแกรมจะหน่วงหรือล่าช้ากว่าปกติพอสมควร การใช้เม้าส์กำหนดข้อความและจัดการข้อความอาจคลาดเคลื่อนหรือไม่ตอบสนองดังการใช้งานแบบปกติ แต่โดยภาพรวมในแง่ระบบ User interface และคุณสมบัติการทำงานพื้นฐานเป็นไปด้วยดี ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [3] สรุป สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Word อย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่าน Hotmail.com ในลักษณะการใช้งานพื้นฐานตามปกติของตนเอง (ข้าพเจ้า) กับงานพิมพ์เบ็ดเตล็ดหรือเล็กๆ น้อยๆ ได้ แม้จะมีความหน่วงของเวลาตอบสนอง และระบบ User interface ที่แตกต่างจากแบบปกติบ้างเล็กน้อย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [4] อื่นๆ [หมายเหตุ การทดลองทำตาราง และภาพประกอบ แนบท้าย แต่ไม่ได้แนบใน blog KM นี้เนื่องจากแนบในระบบจัดการ KM นี้ไม่สะดวก] ---[end]---
คำสำคัญ : โปรแกรม Hotmail  โปรแกรม Microsoft Word  โปรแกรมลิขสิทธิ์ถูกต้อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1436  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 4/8/2564 10:42:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/5/2566 15:48:36
บทความวารสาร » การทำดรรชนีวารสาร ประเด็นเครื่องมือช่วยงานคือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 5of5 / 2564]
ที่มา (1) การทำดรรชนีบทความวารสารของห้องสมุด เดิมมีการกระจายงานให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงาน แต่ปัจจุบันจัดแบ่งให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศในสายงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (หรืองานด้าน Cataloging) เท่านั้น ดังนั้นการนำเสนอรายละเอียดงานในกิจกรรม KM ของบุคลากรโดยรวมของห้องสมุดจึงอาจไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้จึงจะนำเสนอเพียงบางประเด็นที่อาจช่วยเสริมความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้คือ “ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” (2) ประเด็นการนำเสนอในที่นี้ เฉพาะหัวข้อ “เครื่องช่วยงาน คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง” ซึ่งบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานวิเคราะห์รายการเอกสารสามารถทราบถึงเครื่องมือและเลือกใช้ได้ ส่วนบรรณารักษ์งานบริการอาจนำไปใช้ประโยชน์ในแง่การเลือกคำคำค้นหัวเรื่องเพื่อบริการผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่นำเสนอ (3) ฐานข้อมูลหัวเรื่องที่น่าสนใจมีดังนี้ (1) Red_demo on DOS (2) Red_demo on Winisis [ปัจจุบันทำงานบน Windows 2003 Server] (3) Thaiccweb ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (4) ฐานข้อมูลหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในห้องสมุดบางแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อนึ่ง ในโอกาสนี้นำเสนอเพียงโปรแกรมหรือฐานข้อมูล ไม่ได้กล่าวถึงการจัดการด้านฮาร์ดแวร์ (เช่น การเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ HandyDrive ที่ใช้ boot OS) การเข้าถึง วิธีใช้งานเมนูต่างๆ เทคนิคการใช้งาน หลักการวิเคราะห์และกำหนดหัวเรื่อง ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลหัวเรื่องแต่ละระบบ (4) ในการนี้นำเสนอเพียงแง่มุม “Know What” ว่ามีอะไรบ้าง นำเสนอด้วยรูปภาพและข้อมูลบอกเล่าโดยสังเขป ส่วนวิธีการใช้งาน “Know How” และการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของฐานข้อมูลแต่ละฐาน “Know Why” ไม่ได้นำเสนอ เนื่องจากข้อจำกัดของเวลา และกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม KM ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานี้ ผลลัพธ์ (5) ได้เสนอเนื้อหาโดยสังเขปแก่ผู้สนใจในกิจกรรม KM การเลือกใช้งานหรือไม่ อย่างไร ควรติดตามผลในโอกาสต่อไป อื่นๆ (6) อนึ่ง หากมีการนำเสนอแก่กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ บรรณารักษ์สายงานวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ทั้งหน่วยงานเอง หรือต่างห้องสมุดต่างมหาวิทยาลัย ด้วยเนื้อหาที่ละเอียดและลึกซึ้งขึ้น อาจมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูล  บทความ  วารสาร  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1361  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:10:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 7:57:08
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อดิจิทัล คือหนังสือออนไลน์ บทความออนไลน์ และคลิป หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อม [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 4of5 / 2564]
ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ห้องสมุดบอกรับวารสารฉบับตัวเล่มลดลง บทความออนไลน์มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ห้องสมุดยังไม่ได้ขยายขอบเขตการจัดหาทรัพยากรสื่อเหล่านี้มาบริการผู้ใช้ (ส่วนคลิปออนไลน์ มีลักษณะทำนองเดียวกับข้อ 1 ใหญ่ ที่นำเสนอในตอนต้น) (2) เว็บไซต์ TCI-Thaijo.org เป็นที่นิยมมากขึ้น มีวารสารและบทความที่มีคุณค่าและจำนวนวารสารมากขึ้น แต่ระบบดรรชนีค้นหายังไม่ละเอียด อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถได้รับบทความฉบับเต็ม (full text) มาอ่านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ห้องสมุดสามารถคัดเลือกบทความที่มีคุณค่าภายใต้หัวข้อเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดยังขาดแคลนมาบริการผู้ใช้ได้ (3) มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ซึ่งห้องสมุดควรเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญขององค์กรที่มีสารสนเทศเนื้อหา “Green/สิ่งแวดล้อม” บริการผู้ใช้ (4) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (5) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นหัวข้อด้าน “Green/สิ่งแวดล้อม” โดยตรวจสอบสื่อที่มีในห้องสมุดและค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ คลังทรัพยากรสารสนเทศแบบเปิด https://oer.learn.in.th และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://www.tci-thaijo.org (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือและสื่อบทความวารสาร แต่มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 500 ที่ระบุแหล่งวารสารของบทความ, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็ม (full text ของสิ่งพิมพ์ ที่มักจัดทำเป็นเอกสาร pdf file) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (6) คอลเลคชันสื่อที่บริการผู้ใช้ ข้อมูลหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ปี 2564 นี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถได้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (full text) หรือเนื้อหาจริงฉบับเต็ม (clips on Youtube) จำนวนประมาณ 460 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 200 ชื่อเรื่อง, และเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564 (6.1) กรณีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่าไม่มีแหล่งรวบรวมที่ชัดเจน ในการนี้ได้สำรวจจากแหล่งหนึ่ง และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 20 รายชื่อ (หมายเหตุ ไม่ได้ทำดรรชนีให้ตรวจสอบคอลเลคชันนี้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [ลงรายได้เป็น “ตัวอย่าง” ไว้เท่านั้น] เพราะห้องสมุดมีสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดคำดรรชนีนี้) (6.2) กรณีบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่ามีแหล่งที่น่าสนใจคือ https://www.tci-thaijo.org ในการนี้ได้สำรวจจากหัวข้อ “Green” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนามหาวิทยาลัย และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 80 รายชื่อ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--บทความอิเล็กทรอนิกส์ (6.3) กรณีคลิป เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ “Green” จากหนังสือรูปเล่มปกติที่จัดหาเข้าห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่ถึง 300 รายชื่อตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว จึงได้สำรวจเอกสารจาก Clips เพิ่มเติมจนครบเกณฑ์ (อนึ่งการดำเนินการเรื่อง Clips จัดอยู่ในงาน KM ที่นำเสนออีกประเด็นหนึ่งด้วย) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป (7) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และ “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ (8) ขยายขอบเขต (Scope) ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการผู้ใช้ โดยเฉพาะวารสารที่ไม่ได้บอกรับหรือมีตัวเล่มในห้องสมุด และเป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ (New media) เพิ่มความรวดเร็ว (Speed) ในการเข้าถึง (Access) และใช้เอกสารของผู้ใช้ฉบับเต็มอย่างสะดวก (Ease of use) ด้วยดรรชนีหัวเรื่องที่มีคุณภาพ (Indexes and retrievability) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการบริการห้องสมุดที่ดี -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1368  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:08:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 16:24:08
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ กรณีรายการภาพยนตร์น่าสนใจในรอบปี [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 3of5 / 2564]
ที่มา (1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด (2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้ วิธีการ (3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน (4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป ผลลัพธ์ (5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้ (6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด (7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ภาพยนตร์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1212  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:06:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/6/2566 7:51:25
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อภาพยนตร์ กรณี Online movies (free, public domain) [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 2of5 / 2564]
ที่มา (1) ได้เคยนำเสนอภาพรวมในกิจกรรม KM ปีที่แล้ว ปีนี้นำเสนอเฉพาะงานเพิ่มเติมใหม่ (2) สื่อซีดีภาพยนตร์เริ่มมีการผลิตและร้านจำหน่ายลดลง ธุรกิจภาพยนตร์ออนไลน์แบบสตรีมมิงแพร่หลายมากขึ้น และภาพยนตร์ออนไลน์ฟรีผ่านอินเทอร์เน็ตแบบถูกลิขสิทธิ์มีให้บริการ รวมทั้งภาพยนตร์ฟรีแบบสมบัติสาธารณะ (public domain) ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ แต่เป็นสื่อที่ห้องสมุดทั่วไปยังไม่เคยศึกษาและจัดหามาบริการในห้องสมุด หรือพัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรห้องสมุด (ที่ค้นจาก OPAC software ของห้องสมุด) ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ (3) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (4) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด (ปีที่แล้วเคยทดลองดำเนินการกับภาพยนตร์สตรีมมิง Monomax ไปจำนวนหนึ่ง และภาพยนตร์ไทยฟรีของ พระนครฟิล์ม ไปจำนวนหนึ่ง) (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--xxx และทำดรรชนีหัวเรื่องให้ตามสมควร ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหา (data, ทำนอง full text ของสิ่งพิมพ์) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก หมายเตหุ กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) [จะกล่าวถึงในหัวข้อนำเสนอที่ 3] ผลลัพธ์ (5) งานลักษณะใหม่คือ การวิเคราะห์สื่อภาพยนตร์ Online (5.1) ภาพยนตร์เผยแพร่ฟรี เช่น พระนครฟิล์ม (รวบรวมปีที่แล้วส่วนหนึ่งในลักษณะทดลอง ปีนี้เพิ่มเติมเป็นคอลเลคชันจริง) รวบรวมได้ 70 เรื่อง หากเทียบ CD เรื่องละ 300 บาท เป็นมูลค่าประมาณ 21,000 บาท สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--ภาพยนตร์ไทยฟรี (5.2) ภาพยนตร์สมบัติสาธารณะ (public domain) สำรวจพบทั้งภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ต่างประเทศ (มักเป็นขาวดำ) รวมทั้งภาพยนตร์สั้น ปีนี้ได้รวบรวมภาพยนตร์สั้นนำเสนอจำนวน 40 เรื่อง เน้นภาพยนตร์สั้นรางวัลออสการ์ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--ภาพยนตร์สั้นออนไลน์ (5.3) ภาพยนตร์ Online ระบบสมาชิก Streaming ปีที่แล้วได้เคยบริการของ Monomax แล้ว โดยคัดภาพยนตร์กลุ่มออสการ์/Top250 Imdb ; ปีนี้ได้ทดลองสร้างระเบียนสำหรับ Netflix โดยจะคัดภาพยนตร์ไทยประมาณ 200 เรื่อง แต่ในที่สุดไม่ได้จัดบริการ -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ภาพยนตร์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1167  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:04:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 9:05:41
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อโสตทัศน์วิชาการ กรณี Online Clips [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 1of5 / 2564]
ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่สื่อ CD มีการผลิตน้อย ผู้ใช้นิยมน้อย และขาดอุปกรณ์เล่น (2) Clip ออนไลน์บน Youtube ที่มีคุณค่ามีการจัดทำมากขึ้น หลากหลายสาระ มักมีเนื้อหาเฉพาะหัวข้อเจาะจง บางหัวข้อไม่มีสื่อในห้องสมุด เป็นภาพ/เสียง/วีดิทัศน์ที่สื่อสิ่งพิมพ์ไม่อาจนำเสนอได้ ใช้เวลากระชับ/สั้นไม่ยาวมากนัก (3) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (4) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นด้านการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหา (data, ทำนอง full text ของสิ่งพิมพ์) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (5) การวิเคราะห์และทำรายการ Clip ทำให้ได้คอลเลคชันสาระความรู้เข้าห้องสมุด บางเนื้อหาไม่มีการจัดทำในรูปสื่อสิ่งพิมพ์/CD ที่มีจำหน่าย การนำเสนอแบบวีดิทัศน์ที่ต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสามารถทำรายการดรรชนีช่วยการเข้าถึงได้ลึกซึ้งขึ้น (6) ปีนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ Clip เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ สังคมไทย ได้ประมาณ 450 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1252  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 9:56:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 31/5/2566 2:14:35
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า - 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2 - 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด - 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน) คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
คำสำคัญ : การค้นคืนสารสนเทศ  บริการบรรณานุกรม  ภาพยนตร์ออนไลน์  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2857  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 27/8/2563 8:36:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 7:34:27
คอลเล็กชั่นพิเศษ » ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
คำสำคัญ : จากคำบอกเล่า  แม่โจ้  แม่โจ้ในอดีต  เรื่องเล่า  ศิษย์เก่า  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1662  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวภา เขื่อนคำ  วันที่เขียน 18/8/2563 11:10:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/6/2566 23:52:37
คอลเล็กชั่นพิเศษ » คอลเล็กชั่นสูจิบัตรพระราชทานปริญญาบัตร
คำสำคัญ : คำกราบบังคมทูล  ปริญญาบัตร  รายชื่อผู้ได้รับปริญญา  สูจิบัตร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1508  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวภา เขื่อนคำ  วันที่เขียน 18/8/2563 11:00:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/6/2566 20:59:52
บทความวารสาร » การทำรายการหัวเรื่องด้วยเครื่องมือบรรณารักษ์คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง
[0] บทนำ เนื้อหาใน KM blog ครั้งนี้จะขยายความจากเนื้อหาที่ได้นำเสนอแก่บุคลากรห้องสมุดสายงานวิเคราะห์และทำรายการ (cataloging) เพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอในที่ประชุม/การพูดคุย โดยในวงพูดคุยได้แนะนำถึงการสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยพอสังเขป และเน้นการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Thaiccweb) ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ [1] จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มีนาคม-มิถุนายน 2563) และนโยบายให้ทำงานจากบ้าน (work from home) นั้น งานห้องสมุดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร โดยเฉพาะการวิเคราะห์และให้หัวเรื่องแก่บทความวารสาร ซึ่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานลักษณะนี้จากบ้านได้ แต่อาจไม่สะดวกเพราะขาดเครื่องมือบรรณารักษ์คือคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย ที่ใช้ในการตรวจสอบและกำหนดหัวเรื่องแก่เนื้อหาเอกสาร [2] เดิมคู่มือหัวเรื่องนี้จัดทำเป็นฉบับพิมพ์ 2 เล่ม (หนาประมาณเล่มละ 1,000 หน้า) และมีจำนวนตัวเล่มจำกัดเพียง 1-2 สำเนา (copies) จึงไม่เพียงพอกับบุคลากรทุกคน ประกอบกับคู่มือไม่อาจเพิ่มเติม/แก้ไขรายการคำหัวเรื่องใหม่ๆ ได้ จึงค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือระบบมือที่การใช้งานค้นหาคำไม่สะดวกแบบระบบฐานข้อมูลหัวเรื่อง [3] คู่มือหัวเรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้งานในปัจจุบัน จัดทำโดยผู้เขียน blog KM นี้ โดยใช้โปรแกรมจัดการศัพท์สัมพันธ์ (thesaurus management software) ชื่อ Thes_y.pas เป็นโปรแกรมภาษาปาสคาลบนโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS for DOS ของ Unesco ซึ่งผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นจากต้นแบบโปรแกรมตัวอย่าง Thes.pas ของ Unesco โปรแกรมนี้ช่วยในการสร้างคำหัวเรื่องภาษาไทยใหม่ๆ สะดวก สามารถสร้างหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน 2 ทาง (two-way relationship) ได้อัตโนมัติ และมีการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบศัพท์สัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ NT/BT/RT/UF-Use) อัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบดรรชนีค้นหาคำที่หลากหลายและละเอียด ในการสร้างคำหัวเรื่องนั้นผู้เขียนจะเทียบเคียงศัพท์หัวเรื่องไทยจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาอังกฤษ Library of Congress Subject Headings (LCSH) ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ที่เป็นฐานข้อมูลบน Classificationweb.net อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ทำงานบน DOS ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ซึ่งปัจจุบันไม่อาจติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ทำงานของบุคลากรแต่ละคนได้ จึงคงใช้งานเพียงผู้เขียน และการสร้างฐานข้อมูลหัวเรื่องเป็นหลัก ผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 12 เล่ม [4] ผู้เขียนได้นำฐานข้อมูลให้บริการบนโปรแกรม CDS/ISIS for Windows ซึ่งโปรแกรมเมอร์ของห้องสมุดได้จัดทำเครื่องแม่ข่าย (server) ด้วยโปรแกรมลักษณะ virtual machine (ทำนอง VMware) ที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows Server 200x เพื่อให้โปรแกรม CDS/ISIS for Windows ทำงานได้ แล้วบุคลากรห้องสมุดใช้งานโปรแกรมด้วยวิธีการ remote acess ใช้งาน แต่เนื่องจากเป็นการใช้ในเครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น จึงไม่เอื้อต่อการใช้งานลักษณะการทำงานจากบ้านของแต่ละบุคคลได้ [5] ผู้เขียนแนะนำฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (หรือ Thaiccweb) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 30 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายดังกล่าวด้วย จึงได้รับ user name (account) ในการใช้งาน รวมทั้งสามารถสร้างและเสนอหัวเรื่องใหม่ได้ ปัจจุบันค่อนข้างมีหัวเรื่องพื้นฐานเพียงพอแล้ว และผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 8 เล่ม [6] สถานภาพการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีหลายระดับ เช่น Visitor (ดูได้เพียงหัวเรื่องหลัก), Member (ดูรายละเอียดคำ การโยงคำต่างๆ และเสนอหัวเรื่องใหม่ได้), Editor (ปัจจุบันมี 2 คนคือ ผู้เขียน และบรรณารักษ์สำคัญอีกคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Administrator (ดูแลระบบทั้งหมด) ซึ่งในส่วนบุคลากรห้องสมุดสามารถใช้งานในระดับ Member ได้ โดย log in ด้วยบัญชีผู้ใช้ชื่อ mju1 และรหัสผ่านตามที่แจ้งในวง KM หลังจากนั้นสามารถใช้งานสืบค้นหัวเรื่องต่างๆ ได้สะดวก เนื่องจากฐานข้อมูลนี้เป็นระบบ web-based ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรห้องสมุดสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้จากบ้านพักของตนในช่วงการทำงานจากบ้านได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าหากมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอนาคตและมีมาตรการให้บุคลากรทำงานจากบ้าน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศ/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับงานหัวเรื่องในภาระงานการวิเคราะห์และทำรายการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี.
คำสำคัญ : การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ฐานข้อมูล  ดัชนี  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1848  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 20/7/2563 15:02:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 10:33:21
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1864  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 5:48:23
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์ 2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac) 3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google 4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์ ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์ ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย 5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why (4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้ ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้ ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : การบริหารองค์ความรู้  ฐานข้อมูล  บริการสื่อโสตทัศน์  ภาพยนตร์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1643  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:39:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 18:58:07
บริการสื่อโสตทัศน์ » KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/) ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test) หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์ 18 พฤศจิกายน 2562 ---------------------------------- ชื่อผู้ทดสอบ …………………………………………………… 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ……………… 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles) 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) […] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (ตอบได้>1) …………………… ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น ……………………………………………. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. ------------------------ แนวคำตอบ 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) [./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS] 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok] 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) [./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) …OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น …………. …แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….……………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่ (add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร. 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App. 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ …. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) 1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย 2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ 3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้) 4. อื่นๆ (ระบุ) ………………………………………………………………………………….. ------------------------
คำสำคัญ : KM  การจัดการความรู้  ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2043  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/11/2562 9:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 19:13:13
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ดีเด่น : งานเทคนิคห้องสมุด : Flow chart ขั้นตอนงานแบบพิเศษ
สำนักห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดองค์กรภายในใหม่ งานด้านบริการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด ซึ่งมีทรัพยากรสารสนเทศหลักที่ผู้ใช้นิยมใช้งานคือภาพยนตร์นั้น ได้ปรับเปลี่ยนสายงานไปอยู่ภายใต้สายงานใหม่ และทีมงานในสายงานใหม่ได้มีการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพระหว่างกัน ผู้เขียน blog ได้นำเสนอประเด็นงานหนึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนงานเทคนิคห้องสมุดเพื่อจัดทำคอลเลคชันและฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ในห้องสมุดต่างๆ โดยทั่วไป ในการนำเสนอขั้นตอนงาน ได้มีการจัดทำแผนผังงาน Flow chart ประกอบ แสดงขั้นตอนงานแบบพิเศษ (ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผู้เขียน blog รับผิดชอบ) ที่มีการจัดการฐานข้อมูลปกติของห้องสมุด (ระบบโปรแกรม ALIST) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (ระบบโปรแกรม CDS/ISIS, Elib) รายละเอียดมีค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามได้คัดขั้นตอนงานโดยสรุปมานำเสนอ เพื่อผู้สนใจสามารถมองเห็นประเด็นหรือแนวทางเบื้องต้นของขั้นตอนงานแบบพิเศษนี้ได้ อนึ่ง การนำเสนอข้อมูลในเวที KM web ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาจไม่รองรับการนำเสนอภาพ Flow chart หรือภาพ scan ผู้เขียนจึงเสนอเพียงข้อความเท่านั้น ขั้นตอนการทำงานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ดีเด่น แบบพิเศษ 0 ข้อมูลเบื้องต้น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (CDS/ISIS) ฐาน Film 1 คัดเลือกการนำเข้าคอลเลคชัน 2 ตรวจสอบการซ้ำซ้อนข้อมูลที่มี 3 (ถ้าซ้ำ Copy) พิจารณาจะเพิ่มหรือไม่ 4 กำหนดเลขรหัส CDT (เลข CDT ตามเดิม กรณีซ้ำ ; เลข CDT ใหม่ กรณีไม่ซ้ำ) 5 ตรวจสอบข้อมูลว่ามีในฐานข้อมูล Film หรือไม่ 6 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) วิเคราะห์และทำรายการบรรณานุกรม MARC 7 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล Film 8 (ถ้าไม่มีในฐาน Film) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 9 บันทึกข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา หัวเรื่อง ฯลฯ 10 คัดเลือกและถ่ายข้อมูลรายการเข้าฐานห้องสมุด ด้วยไฟล์ ISO-2709 data exchange format ก. ฐานข้อมูลห้องสมุดระบบหลัก (ALIST) ข. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) (Elib) ค. ฐานข้อมูลอื่นๆ เช่น Video on demand (VOD) (TASLiB) ; UC (union catalog) 11 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเพิ่มเติม เช่น การถ่ายโอน รหัสคอลเลคชัน ภาพปก 12 จัดเตรียมตัวสื่อ เช่น สติกเกอร์ บาร์โคด ชั้นวาง 13 บันทึกข้อมูลรายการสื่อแต่ละชิ้น (Item) ในระบบ ALIST 14 จัดทำข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพปก แฟ้มช่วยค้น ป้าย ปชส 15 บำรุงรักษาฐานข้อมูล (สำเนา, update, edit) 16 ประเมินงาน สถิติ รายงาน วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนางาน ข้อมูลโดยละเอียดมีมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นแง่สื่อภาพยนตร์ แง่การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร แง่การจัดทำฐานข้อมูล ฯลฯ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือต่างสถาบัน หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : Flow chart  การพัฒนาคอลเลคชันห้องสมุด  ฐานข้อมูล  ผังงาน  ภาพยนตร์  วิธีทำงาน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1938  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 17:22:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 17:15:54
บริการสื่อโสตทัศน์ » ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาพยนตร์เป็นทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่า สามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ที่มี 5 ประการคือ การให้ความรู้ (education) ข่าวสาร (information) วิจัย (research) ความบันดาลใจ (inspiration) และนันทนาการ (recreation) หรือ EIRIR ได้หลายข้อ โดยเฉพาะด้านการให้ความรู้ นันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันดาลใจ ทิศทางของบริการภาพยนตร์ในห้องสมุดต่างๆ ก็ให้ความสำคัญและมีการจัดซื้อจัดหามาบริการผู้ใช้ในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ให้มีจำนวนมากขึ้น และคัดสรรภาพยนตร์ที่มีคุณค่ามาบริการผู้ใช้มากขึ้น จัดระบบสารสนเทศภาพยนตร์ให้มีความละเอียดสำหรับการสืบค้นเรื่องที่ต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสืบค้นให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการใช้โปรแกรมสืบค้น OPAC แบบปกติของห้องสมุด โดยตั้งชื่อว่า “ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น” ผู้สนใจสามารถใช้งานบริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้ที่ https://lib.mju.ac.th/film/ หรือสามารถพิมพ์คำค้นจาก Google เช่น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ หรือ แม่โจ้ ภาพยนตร์ เป็นต้น ระบบสืบค้นของ Google ก็จะแสดงข้อมูลเว็บต่างๆ ซึ่งเว็บเพจฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอันดับผลการสืบค้นที่ดี สามารถขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของแหล่งข้อมูลในไทยได้ การใช้งานจะมีเมนูต่างๆ ให้ผู้สนใจเลือกค้นหาได้หลากหลายลักษณะ นักศึกษา คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหาภาพยนตร์ที่ต้องการชมหรือใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งจากชื่อเรื่อง หรือจากคำค้นอื่นๆ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รางวัลภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ครู การศึกษา เกษตรกร นักธุรกิจ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ ข้อมูลโดยละเอียดยังมีอีกมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจใช้สื่อภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิงหรือด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นแง่ส่วนบุคคลหรือแง่การเรียนการสอนทางวิชาการหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัธยาศัย หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1993  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:49:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 19:44:57
บริการสื่อโสตทัศน์ » PMEST facet กับการทำดรรชนี
งานสำคัญประการหนึ่งของการจัดระบบเอกสารหรือสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดคือ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร (cataloging) ซึ่งบางกรณีเรียกว่างานเทคนิคห้องสมุด เป็นงานที่อาศัยความรู้ ทักษะ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ PMEST เป็นหลักการหรือมุมมองในการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่จะให้บริการของห้องสมุด โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาหรือการใช้มุมมองสิ่งใดๆ เป็นแง่มุม (facet) เฉพาะด้านหลายๆ ด้าน (มุมมอง) เพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นๆ รอบด้านและถี่ถ้วนขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับการทำงานวิเคราะห์เอกสาร ก็จะทำให้สามารถกำหนดคำดรรชนีได้ละเอียดขึ้น เพื่อช่วยการเข้าถึงเนื้อหาเอกสารต่างๆ ได้ครอบคลุมประเด็นเนื้อหาให้ครบถ้วน (รอบด้าน) มากขึ้น ผู้ใช้ห้องสมุดก็สามารถสืบค้นเรื่องที่ต้องการจากคำดรรชนีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น PMEST เป็นอักษรย่อจากคำว่า Pesronality Material Energy Space Time P = Pesronality = บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร เช่น ภูมิพลอดุลยเดชฯ กษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ M = Material วัตถุ สิ่งของ เช่น วัง บ้าน รถยนต์ เสื้อผ้า อาหาร E = Energy พลังงาน สิ่งไร้รูป สิ่งนามธรรม กิจกรรมและการกระทำ เช่น ดนตรี แสงสว่าง ความดี การเล่นกีฬา วิทยาศาสตร์ S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น ไทย เชียงใหม่ สันทราย มหาวิทยาลัย ฟาร์ม T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น กลางคืน ศตวรรษที่ 21 แผ่นดินไหว น้ำท่วม เมื่อนำ PMEST มาใช้กับการวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด จะทำให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศมีมุมมองกำหนดคำดรรชนีได้มากขึ้น และตรวจสอบได้ว่าวิเคราะห์เนื้อหาสื่อได้ครบถ้วนทุกมุมมองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น สื่อโสตทัศน์ CD ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody (2018) ซึ่งเป็นเรื่องชีวประวัติของ Freddie Mercury นักร้องนำวงดนตรี Queen สามารถใช้หลักการ PMEST กำหนดดรรชนีได้ดังนี้ P = Pesronality = Mercury, Freddie ; นักร้อง ; นักดนตรี ; Queen (วงดนตรี) ; วงดนตรี M = Material เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] E = Energy เช่น ดนตรีร็อค ความใฝ่ฝัน การร้องเพลง S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงดนตรี การนำไปใช้กับสื่อหรือเอกสารเรื่องอื่น เช่น Titanic หรือสื่อลักษณะอื่น เช่น เอกสารวิชาการ ตำรา นวนิยาย ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อนึ่ง การนำเสนอแนวคิด PMEST ในครั้งนี้ให้ข้อมูลเพียงสังเขป พร้อมกับได้ทำสไลด์ Powerpoint 17 ภาพ และตัวอย่างแบบทดสอบประกอบ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Titanic มีเนื้อหาสามารถกำหนดดรรชนีตาม PMEST ได้ครบทุกมุมมอง (facet) โดยสไลด์ดังกล่าวใช้ในกิจกรรม KM ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้อมูลโดยละเอียดและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้สนใจสามารถติดต่อผู้เขียน blog ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : PMEST  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  ทรัพยากรสารสนเทศ  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1912  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:25:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 18:55:12
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » ฐานข้อมูลบรรณานุกรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: การพัฒนาฐานข้อมูล ระบบดรรชนี และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลบรรณานุกรม
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลบรรณานุกรมเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (2) เพื่อศึกษาระบบดรรชนีหัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ ประเภทหัวเรื่องย่อยประเภทชื่อบุคคล (พระนามพระมหากษัตริย์) และ/หรือกลุ่มบุคคล (กษัตริย์และผู้ครองนคร) ตามมาตรฐานบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทย และมาตรฐานสากล Library of Congress (3) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศด้านพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากข้อมูลรายการบรรณานุกรม ในแง่องค์ประกอบของข้อมูลที่รวบรวมได้ การผลิตและการแพร่กระจายสารสนเทศ ขอบเขตเนื้อหาสารสนเทศเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่พิจารณาจากหัวเรื่องย่อย รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ที่ศึกษาถึง (1) รายการบรรณานุกรมเอกสาร (2) ดรรชนีหัวเรื่องสำหรับเอกสารเนื้อหาพระมหากษัตริย์ โดยเน้นหัวเรื่องย่อยตามหลังกลุ่มชื่อบุคคล/พระนามพระมหากษัตริย์ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรมเอกสารเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) แหล่งประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการรวบรวมข้อมูลและสร้างฐานข้อมูลได้แก่ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและแหล่งสหบรรณานุกรม รวม 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS โปรแกรมจัดการหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ (Red_demo) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด Elib และแบบสอบถามบรรณารักษ์ผู้มีความเชี่ยวชาญงานหัวเรื่องเพื่อประเมินบัญชีคำหัวเรื่องย่อยที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า (1) ฐานข้อมูลบรรณานุกรมเอกสารที่สร้างขึ้นชื่อ King9 มีจำนวน 4,201 ระเบียน จัดทำในระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS สามารถถ่ายโอนข้อมูลตามมาตรฐานรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 ไปยังโปรแกรม Elib เพื่อบริการบนเว็บได้ (elib.library.mju.ac.th/elib) และอาจพัฒนาโปรแกรมสืบค้นให้สะดวกต่อการใช้งานจากต้นแบบโปรแกรมสืบค้นภาพยนตร์ดีเด่นได้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเอกสารในฐานข้อมูล King9 (เฉพาะช่วงปี 2489-2549) กับ สหบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่จัดทำปี 2549 จะมีสัดส่วน 100 : 33.21 หรือฐานข้อมูล King9 รวบรวมได้มากกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะเอกสารรายงานผลการวิจัยจากการวิจัยและวิทยานิพนธ์ กับฐานข้อมูล TDC (Thai Digital Collection) ของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ Thailis จะมีสัดส่วน 100 : 19.01 หรือรวบรวมได้มากกว่า 5 เท่า และเมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NRCT ของห้องสมุด/ศูนย์ข้อมูลการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะมีสัดส่วน 100 : 80.28 หรือมากกว่า 0.2 เท่า ประเภทข้อมูลส่วนใหญ่เป็นสิ่งพิมพ์หนังสือ (86.79%) ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาไทย (95.47%) จัดทำในช่วงปีพิมพ์ 2540-2549 (30.83%) และ 2550-2559 (36.13%) รวม 2 ช่วงประมาณ 2 ใน 3 ของเอกสารทั้งหมด สถิติรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลในเขตข้อมูล (MARC tag) ต่างๆ ในส่วนข้อมูล หัวเรื่อง (tag 6xx) มีเฉลี่ย 5.33 คำ/ชื่อเรื่อง ข้อมูลเพิ่มมูลค่าที่รวบรวมเพิ่ม คือ สารบาญ (บันทึกเป็นข้อความ) (tag 505) เฉลี่ย 0.39/ชื่อเรื่อง สาระสังเขป (บันทึกเป็นข้อความ) (tag 520) เฉลี่ย 0.16/ ชื่อเรื่อง แฟ้มข้อมูลภาพปก JPG เฉลี่ย 0.61/ชื่อเรื่อง แฟ้มข้อมูลภาพสารบาญ JPG, ภาพสาระสังเขป JPG, เอกสารเนื้อเรื่องฉบับเต็ม full text แบบ PDF file เฉลี่ย 0.09/ชื่อเรื่อง (2) ดรรชนีหัวเรื่องตามกลุ่มบุคคล (กษัตริย์และผู้ครองนคร--หัวเรื่องย่อยต่างๆ) เก็บ รวบรวมได้ 130 คำ แต่ไม่ได้สร้างศัพท์สัมพันธ์เพราะเป็นคำกว้างเกินไป สามารถใช้หัวเรื่องตาม ชื่อบุคคลแทนได้ ดรรชนีหัวเรื่องตามชื่อบุคคล/พระนามพระมหากษัตริย์ (ภูมิพลอดุลยเดชฯ-- หัวเรื่องย่อยต่างๆ) รวบรวมได้ 250 คำ และสร้างชุดคำศัพท์สัมพันธ์แล้วเสร็จ จำนวน 54 หน้า ภายหลังการสร้างบัญชีคำศัพท์สัมพันธ์แล้ว ได้นำไปทดลองใช้วิเคราะห์หัวเรื่องใหม่ (re-cataloging) แก่เอกสาร 2,378 รายการ ประมวลผลจำนวนดรรชนีหัวเรื่องในระบบ พบว่า มีจำนวนเซตคำค้น (set of index terms or index forms) ว่า ภูมิพลฯ--[หัวเรื่องย่อยต่างๆ] เพิ่มมากขึ้น 3.18 เท่า และจำนวนเซตคำดรรชนีที่พบเอกสาร (set of index postings or found documents) เพิ่มมากขึ้น 2.62 เท่า สรุปคือฐานข้อมูลมีคุณภาพด้านการค้นคืนสูงขึ้น. [end]
คำสำคัญ : ฐานข้อมูล  ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9  ศัพท์สัมพันธ์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2062  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 15:39:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 8:50:18
คู่มือการปฏิบัติงาน » ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านการลงทะเบียนวารสาร (Serial Control Module) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมกระบวนปฏิบัติงานด้ารนทะเบียนวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และนักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มาฝึกงานที่สำนักหอสมุด เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวารสารแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวารสารห้องสมุดอื่น ๆ การลงทะเบียนวารสารซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนและกระบวนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวารสารแต่ละรายชื่อและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ ของวารสารที่มีให้บริการ และในส่วนของบุคลากรสำนักหอสมุดที่ปฏิบัติงานด้านวารสารจะต้องคำนึงถึงของทะเบียนวารสารซึ่งจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมในระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ต้องมีการ บูรณาการในการทำงาน โปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โปรแกรมงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โปรแกรมการจัดซื้อ โปรแกรมการสืบค้นสารสนเทศ การสร้างระเบียนบรรณานุกรมวารสาร การสร้างข้อมูลฉบับของวารสาร ข้อมูลสำนักพิมพ์ การสร้างข้อมูลการคาดการณ์การได้รับวารสาร การลงทะเบียนวารสาร การทวงวารสาร และประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านวารสารเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นวารสารที่มีให้บริการได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2103  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 13/9/2562 14:00:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 7:40:52
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » การพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลงานวิจัยและวิเคราะห์องค์ความรู้งานวิจัยสาขา พืชศาสตร์ด้วยระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ : กรณีฐานข้อมูล งานวิจัยกล้วยไม้และลำไยของประเทศ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะดรรชนีหัวเรื่องและศัพท์สัมพันธ์ ด้าน พืชศาสตร์รายชนิด และพัฒนาบัญชีคำหัวเรื่องแบบแผน (pattern heading) ของพืช กรณีกล้วยไม้ และลำไย (2) เพื่อพัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์กล้วยไม้ และลำไย ในด้านดรรชนีหัวเรื่อง (3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบ ศัพท์สัมพันธ์ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศ (4) เพื่อศึกษาองค์ความรู้หรือสถานภาพงานวิจัยด้านกล้วยไม้และลำไย ในแง่การผลิต การกระจายสารสนเทศ และขอบเขตเนื้อหาที่มีการศึกษากันมากซึ่งพิจารณาจากหัวเรื่องในผลงานนั้น ดำเนินการรวบรวมข้อมูลประชากรคือ (1) รายการคำดรรชนีหัวเรื่อง จากคู่มือและฐานข้อมูลหัวเรื่องฉบับมาตรฐาน และจากฐานข้อมูลห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (2) คำดรรชนีหัวเรื่องของเอกสารงานวิจัย จากฐานข้อมูลบรรณานุกรมงานวิจัยกล้วยไม้และลำไยที่รวบรวมจากแหล่งสารสนเทศสำคัญๆ ของประเทศ เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรม CDS/ISIS, Elib สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การพัฒนาบัญชีคำดรรชนีหัวเรื่องย่อยของพืชรายชนิด (กล้วยไม้ ลำไย) ตามแนวหัวเรื่องแบบแผน (pattern heading) ได้ชุดคำประมาณ 300 คำ และการศึกษาลักษณะดรรชนีที่สร้างขึ้น พบว่าหัวเรื่องย่อยภาษาอังกฤษที่กำหนดเป็นภาษาไทยแล้วมีจำนวนน้อย บางกรณีมีรูปแบบทางภาษาของคำต่างกัน หัวเรื่องย่อยบางคำอาจไม่เหมาะสมกับพืชบางชนิด หัวเรื่องหลักที่มีหัวเรื่องย่อยประกอบมีข้อมูลโยงไปศัพท์สัมพันธ์อื่นน้อยกว่าหัวเรื่องหลักทั่วไป หัวเรื่องสำหรับพันธุ์พืชของกล้วยไม้มีปัญหากำหนดคำ 2. การใช้ระบบดรรชนีหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศ Elib ประยุกต์ใช้งานได้ ฐานข้อมูลงานวิจัยกล้วยไม้ 962 รายชื่อ และฐานข้อมูลงานวิจัยลำไย 844 รายชื่อ 3. การประเมินคุณภาพดรรชนีหัวเรื่องในฐานข้อมูลที่ทำดรรชนีใหม่ (re-cataloging) พบว่า (1) ฐานข้อมูลกล้วยไม้ : จำนวนหัวเรื่องเฉลี่ย 5.26 คำ/ชื่อเรื่อง เพิ่มขึ้น 2.39 คำ/ชื่อเรื่อง จำนวนคำดรรชนีหัวเรื่องในระบบที่ค้นคืนได้ (index postings) เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.20 และจำนวนหัวเรื่องกล้วยไม้ที่มีหัวเรื่องย่อยเพื่อแสดงความชี้เฉพาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.60 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ว่าจะมีจำนวนคำเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30.00 (2) ฐานข้อมูลลำไย : จำนวนหัวเรื่องเฉลี่ย 5.91 คำ/ชื่อเรื่อง เพิ่มขึ้น 2.65 คำ/ชื่อเรื่อง จำนวนคำดรรชนีหัวเรื่องในระบบที่ค้นคืนได้ (index postings) เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.39 และจำนวนหัวเรื่องลำไยที่มีหัวเรื่องย่อยเพื่อแสดงความชี้เฉพาะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.32 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ว่าจะมีจำนวนคำเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30.00 4. องค์ความรู้หรือสถานภาพงานวิจัยด้านกล้วยไม้และลำไย ในแง่การผลิต การกระจาย สารสนเทศ และขอบเขตเนื้อหาที่มีการศึกษากันมากซึ่งพิจารณาจากหัวเรื่อง พบว่า (1) หน่วยงานที่ผลิตงานวิจัยด้านกล้วยไม้ 10 อันดับแรกมีผลงานรวมกันร้อยละ 76.03 ของผลงานทั้งหมด ส่วนหน่วยงานที่ผลิตงานวิจัยด้านลำไย 10 อันดับแรกมีผลงานรวมกันร้อยละ 85.24 ของผลงานทั้งหมด (2) ผลงานวิจัยที่จัดพิมพ์ช่วงปี 2550-2556 และ 2540-2549 มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 40 ของผลงานทั้งหมด รวม 2 ช่วงรวมกันประมาณร้อยละ 80 ของผลงานทั้งหมด (3) การเผยแพร่สารสนเทศงานวิจัยกล้วยไม้และลำไยในแหล่งสารสนเทศหรือห้องสมุดต่างๆ พบว่าหน่วยงานเฉพาะ เช่น ศูนย์วิทยาการกล้วยไม้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไย และที่เป็นแหล่งกลางของการรวบรวมข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล Thailand Digital Collection (TDC) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จะมีจำนวนงานวิจัย แห่งละประมาณร้อยละ 35-60 ของผลงานทั้งหมด (4) ขอบเขตเนื้อหาของงานวิจัยกล้วยไม้และลำไย ที่มีการศึกษากันมาก โดยพิจารณาจากหัวเรื่องหลักและหัวเรื่องย่อยที่จำแนกเนื้อหา พบว่ามีหัวข้อศึกษามากประมาณ 30 หัวข้อ จำนวนคำดรรชนีตามเนื้อหา 30 หัวข้อนี้มีรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของเนื้อหาทั้งหมด คำสำคัญ : ดรรชนี ; หัวเรื่อง ; ศัพท์สัมพันธ์ ; รายงานการวิจัย ; วิทยานิพนธ์ ; กล้วยไม้ ; ลำไย
คำสำคัญ : กล้วยไม้  ดรรชนี  รายงานการวิจัย  ลำไย  วิทยานิพนธ์  ศัพท์สัมพันธ์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2890  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 26/9/2561 9:30:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 17:27:30
บริการสื่อโสตทัศน์ » ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น : การพัฒนาคอลเลคชัน งานเทคนิคห้องสมุด และการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงภาพยนตร์ดีเด่น (2) เพื่อศึกษาแนวทางการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์เพื่อบริการสืบค้น ผลการวิจัยพบว่า 1. ฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงภาพยนตร์ดีเด่น มีข้อมูลทั้งสิ้น 3,398 ระเบียน ทดลองใช้งาน ชั่วคราว ณ http://elib.library.mju.ac.th/elib/film.htm/ ด้วยโปรแกรม Elib ที่ปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน (skin) 2. การศึกษาแนวทางการวิเคราะห์และทำรายการ พบว่า สามารถทำรายการด้วยหลักเกณฑ์ AACR2 ระดับ 2-3 ข้อมูลรูปแบบมาตรฐาน MARC โดยเพิ่มข้อมูลที่มีคุณค่า (value added data) เช่น ผู้กำกับ นักแสดง เรื่องย่อ ภาพ ตัวอย่างภาพยนตร์ รางวัลและอันดับยอดนิยม หัวเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มคอลเลคชัน กลุ่มประเภทภาพยนตร์ และหัวเรื่องเนื้อหาทั่วไป ส่วนการใช้แนวทาง RDA เชิงการจัดกลุ่มข้อมูลยังไม่อาจจัดทำได้เด่นชัด 3. การศึกษาแนวทางการออกแบบโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ พบว่า การออกแบบขั้นตอนสืบค้นตามลักษณะสารสนเทศทั่วไป เช่น หนังสือ ยังไม่เพียงพอ ควรปรับปรุงขั้นตอนช่องทางการสืบค้น การแสดงผลลัพธ์แบบย่อและแบบเต็ม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาพ และการเชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ; งานเทคนิคห้องสมุด ; การสืบค้นสารสนเทศ
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด  การสืบค้นสารสนเทศ  งานเทคนิคห้องสมุด  ฐานข้อมูล  ภาพยนตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2871  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:42:40  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 3:53:02
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาโปรแกรมสืบค้นสื่อภาพยนตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [โดย สุธรรม อุมาแสงทองกุล และ ณัฐชาพงษ์ รักสกุลกานต์]
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กสำหรับสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการศึกษาสืบเนื่องจากงานวิจัยเดิมที่ศึกษาเรื่องฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาซอฟต์แวร์ มุ่งสร้างผลผลิตคือโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ไม่รวมถึงส่วนยืม-คืน และไม่รวมส่วนบันทึกข้อมูลที่ห้องสมุดใช้งานด้วยโปรแกรมอื่น ประเมินผลโดยผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในงานสาขาโสตทัศนศึกษา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ 15 คน และนักศึกษาที่สุ่มแบบบังเอิญ 3 คน รวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ชื่อ Film_opac พัฒนาด้วยภาษา PHP เรียกใช้ แฟ้มตารางข้อมูลของโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MS-SQL ที่ออกแบบฐานข้อมูลโดยโปรแกรม Elib เมื่อพัฒนาโปรแกรมสืบค้นแล้วเสร็จได้จัดบริการ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php 2. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับคุณสมบัติ (specification) ของโปรแกรมที่กำหนดไว้ โดยระบุคุณสมบัติด้านข้อมูล 8 ข้อ คุณสมบัติด้านการออกแบบกราฟิกและระบบยูสเซอร์ อินเทอร์เฟส 7 ข้อ และคุณสมบัติด้านด้านการสืบค้น 7 ข้อ 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้งาน พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจโปรแกรมในด้านการออกแบบระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสโดยรวมในระดับมาก (Mean 3.81, S.D. 0.71) และด้านการสืบค้นข้อมูล โดยรวมในระดับมาก (Mean 3.94, S.D. 0.72) คำสำคัญ : โปรแกรมห้องสมุด ; การสืบค้นสารสนเทศ ; ภาพยนตร์
คำสำคัญ : การสืบค้นสารสนเทศ  โปรแกรมห้องสมุด  ภาพยนตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2798  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:41:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/6/2566 6:20:08
บริการสื่อโสตทัศน์ » การประเมินคอลเลคชันสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ : การศึกษาเปรียบเทียบ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับห้องสมุดอื่น
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัยครั้งนี้ (2) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคอลเลคชันของห้องสมุดอื่นที่ต้องการเทียบเคียง ในด้านจำนวนสื่อภาพยนตร์ (คอลเลคชันแต่ละแห่ง) และด้านข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ (ความละเอียดของข้อมูลบรรณานุกรม) โดยมีสมมติฐานว่า (1) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐาน และ (2) จำนวนสื่อภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนสื่อโดยเฉลี่ยที่มีในห้องสมุดต่างๆ ที่เปรียบเทียบกัน การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยหลักเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสำรวจจำนวนสื่อ ภาพยนตร์ที่เป็นคอลเลคชันในห้องสมุดต่างๆ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาลักษณะข้อมูลการทำรายการสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดต่างๆ ผ่านบริการสืบค้นข้อมูล OPAC (online public access catalog) ของห้องสมุดที่ต้องการเทียบเคียงกัน ประชากร คือรายการข้อมูลบรรณานุกรมภาพยนตร์ในฐานข้อมูลห้องสมุด แหล่งประชากร คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับพัฒนาคอลเลคชันสูง โดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 4 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 แห่ง รวม 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) โปรแกรม CDS/ISIS, โปรแกรม Film_opac ที่ใช้งานบนโปรแกรม Elib (2) รายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัย และ (3) แบบบันทึกข้อมูลการทำรายการบรรณานุกรมของห้องสมุดต่างๆ (ความละเอียดของข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ข้อมูลภาพยนตร์จัดทำบนโปรแกรม CDS/ISIS และถ่ายข้อมูลบริการบนเว็บ ณ http://library.mju.ac.th/film/index.php มีจำนวน 12,958 รายชื่อ ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ดีเด่น ตามเกณฑ์ 5,214 รายชื่อ (ร้อยละ 40.24) เมื่อคัดกรองรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นเพื่อใช้ในการวิจัยคงเหลือ 2,924 รายชื่อ เป็นภาพยนตร์ไทยร้อยละ 15.94 ภาพยนตร์ต่างประเทศร้อยละ 84.06 เป็นภาพยนตร์ในช่วงปี 1970-1999 ร้อยละ 49.01, ปี 2000-2009 ร้อยละ 31.46 และปี 2010-ปัจจุบัน ร้อยละ 19.53 ประเภทภาพยนตร์ที่มีมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ ภาพยนตร์ชีวิต ภาพยนตร์ตลกขบขัน ภาพยนตร์ต่อสู้ ภาพยนตร์ผจญภัย และภาพยนตร์รัก 2. เกณฑ์ในการกำหนดภาพยนตร์ดีเด่นที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) ภาพยนตร์ไทยรางวัลสำคัญ 4 รางวัล (2) ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ ช่วง 1970-ปัจจุบัน ตามสาขาที่กำหนด (3) ภาพยนตร์ลำดับคะแนนสูง Top 250 จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลภาพยนตร์ IMDb.com (4) ภาพยนตร์รายได้สูง จากเว็บไซต์ Mojo.com 3. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับเกณฑ์หรือรายชื่อสื่อที่มีมาตรฐาน พบว่า มีในคอลเลคชันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 909 รายชื่อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.09 ของภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50.00 การทดสอบสมมติฐานข้อ 1 จึงปฏิเสธสมมติฐาน 4. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันห้องสมุด 5 แห่ง คือ 909 : 1057 รายชื่อ จึงมีจำนวนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 148 รายชื่อ โดยสัดส่วนภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 86.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 75 เมื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 2 จึงยืนยันสมมติฐาน 5. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ 2 แห่ง (IFLIX, Hollywood-HDTV) คือ 909 : 454 หรือ 1 : 0.5 หรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีขนาดคอลเลคชันใหญ่กว่า 2 เท่า 6. การประเมินข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุด 5 แห่งคือ 17 ข้อ: 12.2 ข้อ สรุปว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการลงรายการข้อมูลภาพยนตร์ละเอียดกว่าห้องสมุดอื่น คำสำคัญ : ภาพยนตร์ ; การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ; การเทียบเคียงสมรรถนะ ; มาตรฐานห้องสมุด
คำสำคัญ : การเทียบเคียงสมรรถนะ  การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด  ภาพยนตร์  มาตรฐานห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2803  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:36:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/6/2566 13:14:39
บริการสื่อโสตทัศน์ » ดรรชนีและหัวเรื่องสำหรับสารสนเทศภาพยนตร์ : กรณีศึกษา ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศ ภาพยนตร์ (2) เพื่อทดลองนำดรรชนีสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศภาพยนตร์ไปใช้ในโปรแกรมสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ดีเด่นของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) เพื่อสร้างบัญชีคำหัวเรื่องสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยการทำรายการและการสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ การวิจัยหลักเป็นการวิจัยเอกสาร ทำการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อภาพยนตร์ สร้างคำดรรชนีหัวเรื่อง รวบรวมหัวเรื่องซึ่งเป็นประชากรในการวิจัยมาวิเคราะห์ และสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ขึ้น เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนีสำหรับภาพยนตร์ แบบบันทึกรายการคำดรรชนีลักษณะควบคุมรายการหลักฐาน (authority control) และโปรแกรมจัดการด้านข้อมูลต่างๆ คือ CDS/ISIS, Elib, Film_opac, Microsoft Word สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การใช้แบบบันทึกแนวทางการกำหนดคำดรรชนี ที่ศึกษาวิเคราะห์ดรรชนีภาพยนตร์ 6 ประเด็นคือ (1) องค์ประกอบสารสนเทศภาพยนตร์ (2) เขตข้อมูล MARC tag (3) รูปแบบคำดรรชนีที่ใช้ (4) ลักษณะดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือแฟ้มข้อมูลดรรชนีผกผันและระบบควบคุมรายการหลักฐาน (5) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นตามช่องทางเข้าถึง (6) โปรแกรมสืบค้น OPAC กับการสืบค้นด้วยคำสำคัญ สามารถกำหนดดรรชนีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาภาพยนตร์ได้ 5 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นดรรชนีแบบหัวเรื่อง ได้แก่ (1) ดรรชนีเนื้อเรื่อง (2) ดรรชนีประเทศภาพยนตร์ (3) ดรรชนีประเภทหรือแนวภาพยนตร์ (4) ดรรชนีรางวัลภาพยนตร์ (5) ดรรชนีรายได้ภาพยนตร์ การทดลองนำไปใช้งานจริงกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น ซึ่งให้บริการ ณ เว็บไซต์ https://library.mju.ac.th/film/ การวิจัยพบว่าเมื่อได้ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมให้มี คุณสมบัติรองรับดรรชนีทั้ง 5 ชนิดดังกล่าวแล้ว สามารถใช้ประโยชน์ของดรรชนีสารสนเทศ ภาพยนตร์ได้ สำหรับหัวเรื่องที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และทำรายการภาพยนตร์ดีเด่น พบว่านำมาสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยสำหรับภาพยนตร์ได้ โดยมีหัวเรื่อง 2,604 คำ เป็นหัวเรื่องที่มีการใช้บ่อยครั้ง 757 คำ และมีรายการโยงแบบ “ดูที่” 570 คำ คำสำคัญ : ดัชนี ; หัวเรื่อง ; ภาพยนตร์ ; ฐานข้อมูล ; การทำรายการทางบรรณานุกรม ; การสืบค้นสารสนเทศ
คำสำคัญ : การทำรายการทางบรรณานุกรม  การสืบค้นสารสนเทศ  ฐานข้อมูล  ดัชนี  ภาพยนตร์  หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2935  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/9/2561 11:34:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/6/2566 6:21:10