|
|
|
|
|
|
|
|
|
เผยแพร่และสรุปเนื้อหาเข้าร่วมประชุม PACCON2020
»
เผยแพร่และสรุปเนื้อหาเข้าร่วมประชุม PACCON2020
|
ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2019 (PACCON 2020) ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ. อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าจึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุม โดยได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อต่างๆที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ การนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันยุง ทั้งใช้โดยตรงที่ผิวหยังและการนำไปเคลืบบนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การสกลัดเอนไซม์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและเศษอาหารจากบ้านเรือน เพื่อนำไปใช้ในการเร่งสลายขยะครัวเรือน และยังได้ศึกษา สอบถามเพิ่มเติมจากการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ โดยภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ/อบรม ฯลฯ ข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าได้นำองค์ความรู้ที่ได้ มาปรับปรุงงานประจำให้เกิดประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้ ปรับปรุงและพัฒนาการสกัดสาระสำคัญจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ฟักทอง เมล็ดเขีย ตลอดจนนำมาถ่ายทอดในการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมาถ่ายทอดในวิชาการเรียนรู้อิสระ เพื่อเป็นแนวทางและทำให้เกิดแนวความคิดด้านงานวิจัยได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังได้นำตัวอย่างเทคนิค วิธีการนำเสนอที่เป็นแบบอย่างที่ดี ุ่ายทอดให้กับ นศ. วิชา สัมมนา
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
352
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อนรรฆอร ศรีไสยเพชร
วันที่เขียน
10/10/2563 9:28:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/3/2564 13:27:21
|
|
|
|
|
|
งานสารบรรณ
»
เข้าร่วมโครงการสัมมนาระบบศูนย์ข้อมูลกลางและระบบการตัดสินใจ
|
โครงการสัมมนาระบบศูนย์กลางข้อมูลมหาวิทยาลัยแม่โจ้และระบบการตัดสินใจ (Data Center of MJU & Dashboard Decision System : DC) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ในเรื่องการบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) และพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบ Data Center รองรับ Big Data ที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ให้มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลกลาง (Data center) และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจที่เป็นเลิศ (AI Dashboard) โดยนำข้อมูลสำคัญมาจัดรูปแบบให้เป็น “ข้อมูลดิจิทัลแบบเรียลไทม์” ในวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การพัฒนาระบบ Data Center & Dashboard จำนวน 3 ระบบ ดังนี้
1. MJU Dashboard
ใช้แสดงข้อมูลเชิงสถิติ กราฟข้อมูล ตารางข้อมูล การแสดงสถิติในรูปแบบภาพรวมหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย แสดงสถิติข้อมูลแยกตามประเภทข้อมูล ข้อมูลด้านบุคลากร ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลด้านผลงานทางวิชาการและด้านงานวิจัย และด้านอื่น ๆ โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาแสดงในระบบจะเป็นการแสดงผลข้อมูลแบบ Real time และเป็นการประมวลผลแบบกระจาย (Distribution)
2. MJU API
ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ในระบบฐานข้อมูลภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทำให้มีมาตรฐานการใช้ข้อมูล และเพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์
3. MJU Passport
ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงระบบตรวจสอบสิทธิการเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้น สามารถจัดเก็บสถิติการเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และอื่น ๆ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
252
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มาลัย เบญจวรรณ์
วันที่เขียน
5/10/2563 16:00:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
1/3/2564 6:17:49
|
|
|
|
|
เนื้อหาสรุปอบรม
»
Microsoft teams classroom
|
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นในยุคปัจจุบันและอนาคต Microsoft (MS) teams ถูกนำมาใช้ ในการสร้างชั้นเรียนและบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถบันทึกวิดีโอการสอนแล้วแจกจ่ายให้ผู้เรียน โดยสามารถจำกัดสิทธิการเข้าถึงได้ ถ่ายทอดสดการสอนผ่านระบบ Video Conference ด้วย Microsoft teams และสามารถสร้างและใช้งานห้องเรียนออนไลน์ เช่น การแจกจ่ายเอกสารประกอบการสอน การสนทนา การสร้างกระดานถามตอบ การมอบหมายงานหรือสั่งการบ้าน การตรวจงาน การสร้างแบบทดสอบ และการให้คะแนน เป็นต้น ซึ่ง Microsoft team เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้นได้
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
899
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมคิด ดีจริง
วันที่เขียน
24/9/2563 14:29:20
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/3/2564 17:28:01
|
|
|
|
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ
ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2
- 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด
- 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน)
คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
|
คำสำคัญ :
การค้นคืนสารสนเทศ บริการบรรณานุกรม ภาพยนตร์ออนไลน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1484
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
27/8/2563 8:36:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/3/2564 2:51:36
|
|
|
|
|
|
บทความวารสาร
»
การทำรายการหัวเรื่องด้วยเครื่องมือบรรณารักษ์คือ ฐานข้อมูลหัวเรื่อง
|
[0] บทนำ เนื้อหาใน KM blog ครั้งนี้จะขยายความจากเนื้อหาที่ได้นำเสนอแก่บุคลากรห้องสมุดสายงานวิเคราะห์และทำรายการ (cataloging) เพิ่มเติมจากที่ได้นำเสนอในที่ประชุม/การพูดคุย โดยในวงพูดคุยได้แนะนำถึงการสร้างบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยพอสังเขป และเน้นการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Thaiccweb) ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่
[1] จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 (มีนาคม-มิถุนายน 2563) และนโยบายให้ทำงานจากบ้าน (work from home) นั้น งานห้องสมุดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร โดยเฉพาะการวิเคราะห์และให้หัวเรื่องแก่บทความวารสาร ซึ่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และบุคลากรห้องสมุดที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานลักษณะนี้จากบ้านได้ แต่อาจไม่สะดวกเพราะขาดเครื่องมือบรรณารักษ์คือคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย ที่ใช้ในการตรวจสอบและกำหนดหัวเรื่องแก่เนื้อหาเอกสาร
[2] เดิมคู่มือหัวเรื่องนี้จัดทำเป็นฉบับพิมพ์ 2 เล่ม (หนาประมาณเล่มละ 1,000 หน้า) และมีจำนวนตัวเล่มจำกัดเพียง 1-2 สำเนา (copies) จึงไม่เพียงพอกับบุคลากรทุกคน ประกอบกับคู่มือไม่อาจเพิ่มเติม/แก้ไขรายการคำหัวเรื่องใหม่ๆ ได้ จึงค่อนข้างล้าสมัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือระบบมือที่การใช้งานค้นหาคำไม่สะดวกแบบระบบฐานข้อมูลหัวเรื่อง
[3] คู่มือหัวเรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ใช้งานในปัจจุบัน จัดทำโดยผู้เขียน blog KM นี้ โดยใช้โปรแกรมจัดการศัพท์สัมพันธ์ (thesaurus management software) ชื่อ Thes_y.pas เป็นโปรแกรมภาษาปาสคาลบนโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS for DOS ของ Unesco ซึ่งผู้เขียนได้พัฒนาโปรแกรมขึ้นจากต้นแบบโปรแกรมตัวอย่าง Thes.pas ของ Unesco โปรแกรมนี้ช่วยในการสร้างคำหัวเรื่องภาษาไทยใหม่ๆ สะดวก สามารถสร้างหัวเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน 2 ทาง (two-way relationship) ได้อัตโนมัติ และมีการตรวจสอบความสัมพันธ์แบบศัพท์สัมพันธ์ (ความสัมพันธ์ NT/BT/RT/UF-Use) อัตโนมัติ รวมทั้งมีระบบดรรชนีค้นหาคำที่หลากหลายและละเอียด ในการสร้างคำหัวเรื่องนั้นผู้เขียนจะเทียบเคียงศัพท์หัวเรื่องไทยจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาอังกฤษ Library of Congress Subject Headings (LCSH) ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ที่เป็นฐานข้อมูลบน Classificationweb.net อีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรแกรมนี้ทำงานบน DOS ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ซึ่งปัจจุบันไม่อาจติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ทำงานของบุคลากรแต่ละคนได้ จึงคงใช้งานเพียงผู้เขียน และการสร้างฐานข้อมูลหัวเรื่องเป็นหลัก ผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 12 เล่ม
[4] ผู้เขียนได้นำฐานข้อมูลให้บริการบนโปรแกรม CDS/ISIS for Windows ซึ่งโปรแกรมเมอร์ของห้องสมุดได้จัดทำเครื่องแม่ข่าย (server) ด้วยโปรแกรมลักษณะ virtual machine (ทำนอง VMware) ที่ทำงานระบบปฏิบัติการ Windows Server 200x เพื่อให้โปรแกรม CDS/ISIS for Windows ทำงานได้ แล้วบุคลากรห้องสมุดใช้งานโปรแกรมด้วยวิธีการ remote acess ใช้งาน แต่เนื่องจากเป็นการใช้ในเครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้น จึงไม่เอื้อต่อการใช้งานลักษณะการทำงานจากบ้านของแต่ละบุคคลได้
[5] ผู้เขียนแนะนำฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (หรือ Thaiccweb) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลหัวเรื่องของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา อันเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 30 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายดังกล่าวด้วย จึงได้รับ user name (account) ในการใช้งาน รวมทั้งสามารถสร้างและเสนอหัวเรื่องใหม่ได้ ปัจจุบันค่อนข้างมีหัวเรื่องพื้นฐานเพียงพอแล้ว และผู้เขียนประมาณการว่าหากจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหัวเรื่อง (เล่มละ 1,000 หน้า) จะมีประมาณ 8 เล่ม
[6] สถานภาพการใช้งานฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ มีหลายระดับ เช่น Visitor (ดูได้เพียงหัวเรื่องหลัก), Member (ดูรายละเอียดคำ การโยงคำต่างๆ และเสนอหัวเรื่องใหม่ได้), Editor (ปัจจุบันมี 2 คนคือ ผู้เขียน และบรรณารักษ์สำคัญอีกคนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Administrator (ดูแลระบบทั้งหมด) ซึ่งในส่วนบุคลากรห้องสมุดสามารถใช้งานในระดับ Member ได้ โดย log in ด้วยบัญชีผู้ใช้ชื่อ mju1 และรหัสผ่านตามที่แจ้งในวง KM หลังจากนั้นสามารถใช้งานสืบค้นหัวเรื่องต่างๆ ได้สะดวก เนื่องจากฐานข้อมูลนี้เป็นระบบ web-based ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรห้องสมุดสามารถใช้ฐานข้อมูลนี้จากบ้านพักของตนในช่วงการทำงานจากบ้านได้ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าหากมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในอนาคตและมีมาตรการให้บุคลากรทำงานจากบ้าน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือบรรณารักษ์/นักเอกสารสนเทศ/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ที่เกี่ยวข้องกับงานหัวเรื่องในภาระงานการวิเคราะห์และทำรายการเนื้อหาได้เป็นอย่างดี.
|
คำสำคัญ :
การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ฐานข้อมูล ดัชนี หัวเรื่อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
506
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
20/7/2563 15:02:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/3/2564 15:29:49
|
|
|
|
|
|
|