|
|
|
|
|
|
เบญญาภา หลวงจินา
»
ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
|
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเครื่องอุปโภค บริโภค ยารักษาโรค เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตมีความสะดวกสบาย สารเคมีเหล่านี้มีประโยชน์มากมายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน หากขาดความระมัดระวังในการใช้งานหรือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโดยตรงและทางอ้อม เนื่องมาจากการบริโภคโดยตรงหรือได้รับพิษจากการตกค้าง สำหรับกลุ่มผู้ใช้สารเคมีโดยตรง เช่นนักวิจัย อาจารย์ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมและตลอดจนเกษตรกรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมี จึงเป็นกลุ่มที่ต้องมีความใส่ใจในการหาความรู้และศึกษาถึงประโยชน์ และโทษ จำเป็นต้องมีความสามารถและความชำนาญในการใช้ รวมถึงการเก็บรักษาและการกำจัดสารเคมีที่เหลือหรือหลังจากการใช้งาน เพื่อเกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อตนเอง หรือผู้ใกล้ชิดตลอดจนการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากสารเคมีดังกล่าว ที่อาจส่งผลในระยะยาวต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
|
คำสำคัญ :
ความปลอดภัย
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
415
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เบญญาภา หลวงจินา
วันที่เขียน
29/8/2567 15:42:12
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/12/2567 1:56:08
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การประชุมวิชาการระดับชาติ
»
งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
|
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะ ในรูปแบบของการเสวนาวิชาการ และการนำเสนอบทความ ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (PLOs) ในเรื่องของการมีทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการพัฒนาการเกษตรสร้างมูลค่าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงปัญหาซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และสามารถทำงานวิจัยเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกันในการนำผลงานวิจัยต่อยอดขยายผลสร้างประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริง
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
294
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
วันที่เขียน
4/1/2567 14:54:51
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/12/2567 6:22:38
|
|
|
|
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review)
»
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) โดยใช้ chat gpt เข้ามาช่วย
|
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) เป็นกระบวนการที่เรียบร้อยและเป็นระบบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อสรุปข้อมูลและข้อสรุปที่มีค่าในสาขาวิชาต่าง ๆ การใช้ Chat GPT ในกระบวนการ Systematic Review ช่วยให้มีการสร้างบทคัดย่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักของบทคัดย่อคือดังนี้:
คำถามทบทวนวรรณกรรม: กำหนดคำถามทบทวนวรรณกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.
ค้นหางานวิจัย: ใช้ Chat GPT เพื่อช่วยในการค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการระบุคำสำคัญหรือคำหลักที่เกี่ยวข้องกับคำถามทบทวน.
คัดเลือกงานวิจัย: รายการงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะถูกคัดเลือกโดยการใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ใช้ Chat GPT เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากรายการงานวิจัยนี้.
การวิเคราะห์ข้อมูล: Chat GPT สามารถช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย รวมถึงการสร้างสรุปเกี่ยวกับข้อมูลและผลลัพธ์ที่สำคัญ.
การสรุปและเขียนบทคัดย่อ: ใช้ Chat GPT เพื่อช่วยในกระบวนการสรุปข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยโดยรวมข้อมูลหลายรายการเป็นเนื้อหาที่มีระเบียบและสรุปคำแนะนำหรือข้อสรุป.
การใช้ Chat GPT เป็นเครื่องมือในการสร้างบทคัดย่อสามารถช่วยลดเวลาและความซับซ้อนในกระบวนการ Systematic Review แต่ควรระมัดระวังในการตรวจสอบและปรับปรุงเนื้อหาที่สร้างขึ้นโดย AI เพื่อให้มั่นใจว่ามีความถูกต้องและมีคุณภาพสูงสำหรับงานวิจัยของคุณ
|
คำสำคัญ :
Chat GPT Systematic Review
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
277
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรินภา อ้ายเสาร์
วันที่เขียน
26/9/2566 16:11:39
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/12/2567 0:51:45
|
|
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
Quantitative PCR (qPCR)
|
PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้งเดิม ได้แก่ การทำให้ DNA เสียสภาพที่อุณหภูมิสูงและแยกตัวออกเป็นสายเดี่ยว (Denatulation) การจับกันของไพรเมอร์และดีเอ็นเอ โดยการลดอุณหภูมิลง ไพรเมอร์จะเข้าไปจับกับดีเอ็นเอแม่พิมพ์ (Annealing) และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดย Taq DNA polymerase จะนำเบสต่างๆ (A, T, C, G) ไปสังเคราะห์ต่อจากไพรเมอร์จนได้ดีเอ็นเอสายคู่เหมือนเดิม (Extension)
Quantitative PCR (QPCR) หรือ PCR เชิงปริมาณ เหมาะสำหรับใช้ในหาปริมาณ DNA และสามารถตรวจสอบการขยายตัวของโมเลกุล DNA ได้ในระหว่างการทำ PCR ในเวลาจริง เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนามาจากการทำ PCR แบบดั้งเดิม โดยใช้การติดฉลากด้วยสารเรืองแสงประเภท fluorochrome ทำให้สามารถวัดปริมาณของดีเอ็นเอเป้าหมายตั้งต้นจากสิ่งต้องการตรวจวัดได้และสามารถวัดปริมาณดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้นมาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน
|
คำสำคัญ :
PCR, qPCR
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
226
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
25/9/2566 13:14:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
2/12/2567 12:19:48
|
|
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
|
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เริ่มจากการใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction เพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอเฉพาะส่วนที่ต้องการ ภายในระยะเวลาอันสั้นในหลอดทดลอง ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 ชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR ในการทำ ซึ่งไม่เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือการทำงานภาคสนาม ดังนั้นจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีเพิ่มขยายยีนด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ขึ้นมา วิธีการนี้สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ถึง 109 เท่า ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเพิ่มปริมาณ DNA จะใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิเดียว (60-65 ํC) โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR และการ run gel electrophoresis มีการใช้ primers 4 ชุด หรือ 6 ชุด ที่จำเพาะต่อกับสาย DNA แม่พิมพ์ 6 ตำแหน่ง จึงทำให้มีความจำเพาะต่อการตรวจสอบสูง และทำการเพิ่มปริมาณ DNA โดยใช้เอนไซม์ Bst DNA polymerase สำหรับการตรวจสอบยีนที่เพิ่มขยายได้ ในเทคนิค LAMP จะเกิดสาร pyrophosphate เป็น by product ในปฏิกิริยา สารดังกล่าวสามารถจับกับ magnesium กลายเป็น magnesium pyrophosphate ซึ่งจะเกิด ตะกอนสีขาวขุ่น ไม่ละลายน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจยืนยันผลด้วยเครื่อง spectrophotometry หรือสารฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณการเพิ่มขยายยีนนั้นๆ
|
คำสำคัญ :
LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3581
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
27/9/2565 15:43:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
4/12/2567 8:52:01
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การผลิตสื่อด้วยโปรแกรมขั้นพื้นฐานในยุคโควิด
|
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน
“สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น power point, canva, imovie, Loom, OBS และ DaVinci Resolve สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง
|
คำสำคัญ :
การผลิตสื่อ, สื่อการเรียนรู้,
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1314
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
29/9/2564 23:14:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
3/12/2567 5:37:55
|
|
|
|
|