ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 1280
ชื่อสมาชิก : พัชรี ยางยืน
เพศ : หญิง
อีเมล์ : patcha.y@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
เว็บนำเสนอด้วย Google Site เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรมหรือการออกแบบ เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Google ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โปรแกรม Google Site เป็นชุดการทำงานในกลุ่มของ Google Workspace ดังนั้น โฟลเดอร์ในไดรฟ์ เอกสาร หรือปฏิทินสามารถแชร์ร่วมกันได้ เนื้อหาบนเว็บไซต์จะถูกปรับแต่งอัตโนมัติ เพื่อให้เข้ากับมุมมองบนเดสก์ท็อป แท็บเล็ต และโทรศัพท์ ลักษณะการใช้งานของโปรแกรม Google Site 1) สร้างหรือแก้ไขเว็บไซต์ได้ โดยการคลิก ลาก และวาง ง่ายต่อการย้าย ปรับขนาด หรือ จัดเรียงใหม่ 2) มีเลย์เอาต์ให้เลือกตามความเหมาะสมกับเนื้อหา 3) สามารถทำงานร่วมกันกับทีม และดูการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบเรียลไทม์ หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Site ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างเว็บไซต์ ทำได้ 2 วิธี คือ 1.1) สร้างจากหน้าแรกของ Sites (สร้าง+หรือเลือกเทมเพลต Template gallery) 1.2) สร้างจาก Google ไดรฟ์ โดยคลิก New (ใหม่)-More (เพิ่มเติม)-Google Sites 2) การตั้งชื่อเว็บไซต์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 2.1) Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) จะปรากฏให้เจ้าของเห็นเท่านั้น และไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ 2.2) Site name (ชื่อเว็บไซต์) จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่เผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ปรากฏแต่ต้องมีเว็บ 2 หน้าขึ้นไป 2.3) Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย 3) การเลือกเลย์เอาต์ - สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts ที่โปรแกรม Google Site จัดเตรียมไว้ให้ 4) การเลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ โดยเลือกธีม แต่ละธีมจะประกอบด้วย - พื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า - รูปแบบสี - ฟอนต์ แบบอักษร สี ฯลฯ เมื่อเลือกธีมเพื่อพัฒนาเว็บไซต์แล้ว สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้ในภายหลัง และสามารถเปลี่ยนธีมได้หลังจากสร้างเว็บไซต์ เช่น เปลี่ยนภาพพื้นหลัง การเปลี่ยนประเภทส่วนหัว เปลี่ยนธีมและรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น 5) การเพิ่ม จัดลำดับใหม่ และวางซ้อนหน้าเว็บ สามารถเพิ่มหน้าเว็บสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม และสามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน โดยการวางซ้อนหน้าเว็บ จากนั้นหน้าเว็บที่ซ้อนกันจะปรากฏเป็นหัวข้อย่อยของหน้าเว็บอื่นได้ด้วย สามารถเพิ่มหน้าเว็บไซต์ ซ้อนหรือเรียงลำดับหน้าเว็บไซต์ใหม่ได้ ซึ่งมีข้อจำกัด คือ จะซ้อนหน้าเว็บได้ 5 ระดับเท่านั้น ซึ่งตัวเลือกหน้าเว็บ มีดังนี้ - Make homepage (ตั้งค่าเป็นหน้าแรก) - Duplicate page (ทำหน้าเว็บซ้ำ) - Properties (เปลี่ยนชื่อหน้าเว็บ) - Add subpage (สร้างหน้าย่อย) - Hide from navigation (ซ่อนจากหน้าการนำทาง) - Delete (ลบหน้าเพจ) 6) การตั้งค่าการนำทาง (์Navigation) ของเว็บไซต์ หากมีหน้าเว็บไซต์มากกว่าหนึ่งหน้า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะใช้เมนูการนำทางเพื่อข้ามไปยังหน้าต่างๆ ได้ ซึ่งเมนูการนำทางจะอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์โดยค่าเริ่มต้น โดยวิธีการเลือกโหมดการนำทาง เพื่อชี้ไปที่ชื่อเว็บไซต์และคลิก Navigation settings (การตั้งค่าการนำทาง) จะทำให้เว็บไซต์พร้อมแชร์ได้ทันที ซึ่งสามารถตั้งค่าเลือกเผยแพร่เว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนเห็น หรือจำกัดสิทธิ์การแชร์เพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการแชร์ให้เห็นเท่านั้นที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้ หมายเหตุ เมื่อเริ่มสร้างเว็บไซต์ใหม่ระบบจะบันทึกไปยังไดรฟ์โดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ที่เก็บไว้ในไดรฟ์ สามารถแก้ไข Google Site ร่วมกับผู้อื่นได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google Workspace แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.dmit.co.th https://www.facebook.com/oneteachernorthern/videos/934212774744515 เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง เว็บนำเสนอด้วย Google site โดยวิทยากร คุณสุวิทย์ มณีทอง เผยแพร่ในระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม facebook วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
Digital Literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร การปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กร ให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพ การพัฒนา Digital Literacy ให้กับนักศึกษาทำได้โดยผ่านการลงมือทำ ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาสังคมได้ยั่งยืน ซึ่งจากการสำรวจ The Jobs Landscape in 2022 (แหล่งที่มา Future of jobs Report 2018, World Economic Forum) อาชีพที่เกิดใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2022 ได้แก่ 1. นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Analysts and Scientists) 2. ปัญหาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (AI and Machine Learning Specialists) 3. ผู้จัดการดำเนินการ (General and Operation Managers) 4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน (Software and Application Developers and Analysts) 5. ฝ่ายและการตลาดดิจิทัล (Sale and Marketing Professional) 5. ฝ่ายและการตลาดดิจิทัล (Sale and Marketing Professional) 6. ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialists) 7. ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ (Digital Transformation Specialists) 8. New Technology Specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีใหม่) 9. Organizational Development specialists (ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กร) 10. Information Technology Service (ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัล แบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1. ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 2. เข้าใจ (Understand) ชุดของทักษะที่จะช่วยผู้เรียนเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ 3. สร้าง (Create) ความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย 4. เข้าถึง (Access) การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และข้อมูลข่าวสาร เป็นฐานรากในการพัฒนา การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การที่จะพัฒนาให้นักศึกษาหรือบุคลากรเข้าสู่ Digital Literacy หน่วยงาน International Telecommunication Union หรือ ITU ได้กำหนดทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skill) ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. ทักษะขั้นพื้นฐาน (Basic Skills) เป็นการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างง่าย สามารถปฏิบัติงานได้ในขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 รู้จักฮาร์ดแวร์ เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้ touch-screen เป็นต้น 1.2 รู้จักซอฟต์แวร์ เช่น การประมวลผลคำ การจัดการไฟล์ข้อมูล หน้าจอ การตั้งค่าความ เป็นส่วนตัวบนโทรศัพท์มือถือ 1.3 การใช้งานออนไลน์แบบพื้นฐาน เช่น อีเมล การค้นหา หรือการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ 2. ทักษะขั้นกลาง (Intermediate Skills) เป็นผู้มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทราบว่าจะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์อย่างไร รวมถึงประเมินความสามารถของเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม 2.1 สามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยสามารถจัดวางรูปแบบภาพและข้อความใหม่ ความสวยงาม (Desktop Publishing) 2.2 ผู้มีทักษะในขั้นนี้จะสามารถทำงานในด้านกราฟิกดีไซน์ (Digital Graphic Design) 2.3 การทำการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Marketing) เป็นต้น 3. ทักษะขั้นสูง (Advanced Skills) เป็นทักษะที่อยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โปรแกรมเมอร์และผู้ดูแลระบบ ซึ่งในอนาคตจะมีงานจำนมากที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง 3.1 งานที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) 3.2 การทำ Big Data การเขียนโค๊ด 3.3 การดูแลความปลอดภัยบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Cybersecurity) 3.4 Internet of Things (IOT) และการพัฒนาโมบายแอปลิเคชัน เป็นต้น แนวทางพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skill) สำหรับนักศึกษาทำได้โดยให้เรียนรู้จริงจากการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมของธุรกิจในท้องถิ่น SME หรือ Social Project ขององค์กรต่างๆ ที่จัดในลักษณะ Project Based Learning จะทำให้เกิดการเรียนรู้ การศึกษาจากสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม การลงมือทำ ช่วยให้ได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และยังสามารถพัฒนาไปสู่ทักษะในอนาคต การเรียนรู้จากกิจกรรมไม่ใช่แค่พัฒนา Digital Skills หรือ Soft Skills เท่านั้น แต่เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาพัฒนา Social Mindset ให้คิดถึงคนอื่นมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวทางการออกแบบกิจกรรมด้วยแนวคิด Project-Based Learning ดังนี้ 1. ตั้งโจทย์ของการเรียนรู้ให้ท้าทาย (Challenging Problem) 2. ศึกษาหาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (Sustained Inquiry) 3. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนการทำงานจริง (Authenticity) 4. เปิดโอกาสให้ได้ตัดสินใจและออกความเห็น 5. การทบทวนว่าได้เรียนรู้สิ่งใดไปบ้าง 6. ได้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงงานที่ดียิ่งขึ้น 7. นำเสนอผลงานสู่สาธารณะ ประโยชน์ของการพัฒนา Digital Literacy สำหรับสำหรับบุคลากร 1. ทำงานได้รวดเร็วลดข้อผิดพลาด และมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น 2. มีความภาคภูมิใจในผลงานที่สามารถสร้างสรรค์ได้เอง 3. สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4. สามารถระบุทางเลือกและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. สามารถบริหารจัดการงานและเวลาได้ดีมากขึ้นและช่วยสร้างสมดุลในชีวิต และการทำงาน 6. มีเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้และเติบโตอย่างเหมาะสม ประโยชน์สำหรับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ 1. หน่วยงานได้รับการยอมรับว่ามีความทันสมัย เปิดกว้างและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจะช่วยดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงมาทำงานกับองค์กรด้วย 2. หน่วยงานได้รับความเชื่อมั่น และไว้วางใจจากประชาชนและผู้รับบริการมากขึ้น 3. คนในองค์กรสามารถใช้ศักยภาพใน
Google Workspace เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Google ซึ่งเดิมได้ใช้ชื่อทางการค้า “G Suit” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “Google Workspace” พร้อมทั้งเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ โดยมีแนวคิดการใช้งาน คือ Everything you need to get anything done, now in one place โดย Google Workspace ทำการรวบรวมแอปพลิเคชันทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว ซึ่งเป็นชุดแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับบริหารจัดการองค์กร เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ เหมาะกับองค์กรหรือกลุ่มขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ จึงเหมือนกับเป็นพื้นที่สำหรับการสร้าง (Create) สื่อสาร (Communicate) และการทำงานร่วมกัน (Collaborate) อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์การใช้งาน สามารถใช้แอปพลิเคชันสำหรับการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยบางแอปพลิชันสามารถใช้งานได้ฟรี และในกรณีที่ต้องการเสริมฟังก์ชันการทำงาน สามารถทดลองใช้งานได้ฟรี 14 วัน เพื่อให้ทราบฟังก์ชันและทราบข้อดีของแอปพลิเคชันใน google workspace กรณีที่นำมาใช้งาน browser และโปรแกรมอ่านหน้าจอที่เหมาะสมที่สุด ดังนี้ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมอ่านหน้าจอ Browser Microsoft windows NVDA หรือ JAWS Mozzilla Firefox, Chrome macOS VoiceOver Chrome Chrome OS ChromeVox Chrome แอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีใน Google Workspace ที่นิยมใช้งาน ดังนี้ 1. Gmail ใช้ Gmail เพื่อส่งและรับอีเมลใน Google Workspace สามารถจัดการรายชื่อติดต่อและจัดระเบียบอีเมลด้วยป้ายกำกับและแท็บต่างๆ ในกล่องจดหมาย กรณีที่ต้องการอีเมลชื่อของหน่วยงานสามารถสมัครใช้งานได้ตามโดยกำหนดค่าใช้จ่ายตามจำนวนเมล์ที่ต้องการ 2. Google Calendar ปฏิทินออนไลน์ ใช้ในการสร้างกิจกรรม กำหนดากร เตือนความจำ รวมถึงการใช้งานปฏิทินรด้านการัดหมายต่าง ๆ ร่วมกันของทีมงาน 3. Google Drive พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวน์เซิร์ฟเวอร์ ใช้ในการสร้าง จัดเก็บ และแก้ไขข้อมูลไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามาถใช้เป็นแหน่งสำรองและซิงค์ข้อมูลของ google drive สำหรับเดกสก์ทอป ทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทุกที่ทุกเวลา 4. Google Cloud Search ใช้เพื่อค้นค้าข้อมูลที่ต้องการในที่ทำงาน 5. Google Doc การสร้างและแก้ไขและทำงานร่วมกันในเอกสาร โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอ และแป้นพิมพ์ลัดได้ 6. Google Sheet การสร้าง แก้ไขและทำงานร่วมกันในไฟล์สเปรตซีต โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 7. Google Slide การสร้าง แก้ไขและทำงานร่วมกันในงานนำเสนอ โดยสามารถแก้ไขเอกสารด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 8. Google Form การสร้างแบบฟอร์ม แบบทดสอบและแบบสำรวจ และแชร์กับผู้คนและติดตามผล โดยสามารถสร้าง แก้ไข และไปยังส่วนต่าง ๆ ของฟอร์มด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 9. Google Sites การสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว แชร์กับบุคคลที่ต้องการ โดยสามารถสร้างและแก้ไขเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 10. Google Draw การสร้าง แก้ไข และทำงานร่วมกันในภาพวาดและแทรกลงในไฟล์ Google Doc, sheet หรือ slide โดยแก้ไขและไปยังส่วนต่าง ๆ ของภาพวาดด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอ และใช้จอแสดงผลอักษรเบลล์ได้ 11. Google Group การสร้างและเข้าร่วมกลุ่มสนทนา รายชื่ออีเมล และเว็บไซต์ การสนับสนุนการทำงานกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 12. Google Classroom การสร้างและเข้าร่วมชั้นเรียน จัดงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานของนักเรียน โดยไปยังส่วนต่างๆ และการทำงานใน Classroom โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 13. Google Voice สำหรับการโทร ส่งข้อความเสียง และ SMS โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ Google Voice ในการโทรทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ Web Browser และอุปกรณ์เคลื่อนที่ และใช้ Google Voice กับโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 14. Google Chat การเข้าร่วมการสนทนาส่วนตัวหรือแบบกลุ่มและใช้บ๊อต เพื่อช่วยการทำงานอัตโนมัติได้ โดยใช้ฟีเจอร์การช่วยเหลือพิเศษซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ 15. Google Meet ใช้เพื่อจัดการประชุมทางวีดีโอกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเข้าร่วมได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือห้องประชุม โดยจะเข้าร่วมทางวีดีโอโดยใช้ โดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ และสามารถบันทึกการประชุมทางวีดีโอได้ การใช้โปรแกรม Google Meet และต้องการเข้าร่วมแลมีส่วนร่วมในการประชุมด้วยเสียงและวีดีโอ โดยสามารถเปิด ขยายหน้าจอ อธิบายและอ่านออกเสียงและบรรยายสดได้ จะต้องประกอบด้วยฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม เช่น กล้องและไมโครโฟน 16. Google JamBoard การทำงานร่วมกันแบบ Real Time Jamboard ซึ่งเป็นไวท์บอร์ดดิจิทัล ขนาด 55 นิ้ว เมื่อใช้ Jamboard จะสามารถใช้ TalkBack ซึ่งเป็นโปรแกรมอ่านหน้าจอของ Google ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการเอนดรอยด์ และยังสามารถไปยังส่วนต่างๆ ของ Jamboard โดยใช้ท่าทางสัมผัสได้ 17. Google Hangouts เป็นการร่วมวีดีโอคอลและการสนทางทางแชท รวมถึงโทรโดยใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอและแป้นพิมพ์ลัดได้ แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.dmit.co.th/th/google-workspace-updates-th/what-google-workspace-can-do/ https://street-smart.co.th/th/
การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน