ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 200
ชื่อสมาชิก : ทุเรียน ทาเจริญ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : turean@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่21-23 ธันวาคม 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ จ.เชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้ร่วมฟังเสวนาและฟังการเสนอบทความวิชาการหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านความก้าวหน้าทางด้านเกษตร วิจัย และนวัตกรรมทั่วไป ปรับปรุงพันธุ์ พันธุศาสตร์ ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อมโดยสามารถสรุปเนื้อหาสำคัญต่างได้ดังนี้คือ 1.งานวิจัยเรื่องเครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีปริมาณโฟเลตสูงโดยการทดลองครั้งนี้มีการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำนวน 27 เครื่องหมาย พบว่า 5 เครื่องหมาย ได้แก่ RM3042 RM13473 RM18828 RM6082 และ RM2482 เครื่องหมายดีเอ็นเอเหล่านี้จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายดีเอ็นเอกับปริมาณโฟเลตในประชากร F 2 ต่อไปซึ่งศึกษาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซตเทลไลต์ที่สามารถตรวจสอบความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีปริมาณโฟเลตสูงจำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ ขี้ตมแดง และเจ้าเหลืองและข้าวที่มีโฟเลตต่ำแต่คุณภาพการหุงต้มดีเป็นที่นิยมบริโภคจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ กข 43 ไรซ์เบอรี่ ปทุมธานี 1และเจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอแสดงความแตกต่างของขนาดแถบดีเอ็นเอระหว่างพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณโฟเลตสูงและต่ำ 2.งานวิจัยเรื่อง การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้ (ณัฐพงและคณะ,2566)ศึกษาพบว่า ยีน Pi21 มี ผลควบคุมเชิงลบต่อความต้านทานโรคไหม้โดยเป็นที่สำคัญที่เกิดจากเชื้อราทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตของข้าวอย่างรุนแรงในทุกปี งานวิจัยนี้จึงศึกษาลำดับเบสของยีน Pi21/pi21 ที่เกี่ยวข้องกับความ ต้านทานโรคไหม้ และแก้ไขยีน Pi21 ด้วยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวมีความต้านทานต่อโรคไหม้เพิ่มมากขึ้น โดยค้นหายีนPi21/pi21 ด้วยเทคนิคพีซีอาร์แล้ววิเคราะห์ลำดับเบส พบว่า ยีน Pi21 ในข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ หางยี 71 ขาวดอกมะลิ 105 และ Kasalath เป็น Haplotype C ที่จะพบในพันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรคไหม้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ ออกแบบ sgRNA ของระบบ CRISPR/Cas9 มีตำแหน่งอยู่ที่เอกซอน 1 เพื่อให้เกิดการแก้ไขยีน Pi21 ที่จะกระทบต่อ บริเวณสำคัญของยีนทำให้ยีนไม่ทำงาน การถ่าย construct เข้าสู่ข้าวพันธุ์ Kasalath พบว่า มีประสิทธิภาพการถ่าย ยีนสูง และเมื่อนำต้นที่มีการแทรกของยีนระบบ CRISPR/Cas9 มาวิเคราะห์ลำดับเบสพบว่า มีการแก้ไขยีนแบบ biallelic หรือ heterozygous จึงจะนำเมล็ดข้าวรุ่น T1 ปลูกเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแก้ไขยีน Pi21 และทดสอบ ความต้านทานโรคไหม้ต่อไป 3.งานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลำไยทั้งหมด 32 พันธุ์ โดยวิเคราะห์รูปแบบของชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่ถูกเพิ่มจำนวนด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยใช้คู่ไพรเมอร์ทั้งหมด 7 คู่ไพรเมอร์ที่ออกแบบมาจากลำดับนิวคลีโอไทด์ของชิ้นส่วนยีนที่แสดงออกแตกต่างกันระหว่างตัวอย่างลำไยที่ไม่ได้รับและได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตซึ่งมีความสามารถในการกระตุ้นการออกดอกของลำไย ผลการทดลองพบว่าไพรเมอร์จำนวน 7 คู่ไพรเมอร์ มีอุณหภูมิในขั้นตอน Annealing อยู่ระหว่าง 56 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งไพรเมอร์ชนิด “LcAF9” เป็นไพรเมอร์ที่ให้ผลการทดลองที่ดีที่สุด สามารถเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอได้อย่างจำเพาะ ปรากฎแถบดีเอ็นเอที่เห็นได้ชัดเจนและแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรม ซึ่งมีลำไย 3 พันธุ์ ได้แก่ เบี้ยวเขียว แห้ว และเถา ปรากฏแถบของดีเอ็นเอมากกว่า 1 แถบ แตกต่างจากลำไยพันธุ์อื่น ๆ ที่ปรากฏแถบเพียงแถบเดียวเท่านั้น เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษากลไกการออกดอกของลำไย 4.เรื่องการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร ทำให้สามารถมีความรูความเข้าใจในกาสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ว่าจะต้องมีการพัฒนาและต่อยอดอย่างไรบ้างจึงจะก่อให้เกิดความสำเร็จ 5.กลยุทธ์การปั้นธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน โดยทำให้ทราบว่าภาคธุรกิจได้ช่วยเหลือเกษตรกรโดยมีการรับซื้อใบอ้อยมูลค่าเกือบตนบาทต่อตัน ทำให้เกษตรกรลดการเผาใบอ้อยลงไปมาก่อให้เกิดผลดีในการลดภาวะต่างๆรวมทั้งลดโลกร้อนด้วย สรุปฟังประชุมวิชาการด้านพันธุศาสตร์ทำให้สามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มาช่วยทำให้การปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและการบรรยายพิเศษด้านการใช้วัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเช่นการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรทำให้มีการลดการเผาวัสดุลงไปอย่างมาก
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วม....โครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม… เมื่อวันที่......1 ก.พ.2566.. ณ......ห้องประชุม2 ตึกจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์....มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม.....เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม จากการเข้าร่วมประชุมข้าพเจ้าได้รับทราบความรู้ความก้าวหน้าทางด้านการประยุกต์ใช้..สำหรับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยสามารถสรุปรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ การออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN QA version 4ต้องอาศัยหลักการTeaching methodเพื่อแก้ปัญหาการเรียนที่น่าเบื่อ เช่น อาจารย์พูดคนเดียวตลอดเช่น lecture คนเดียว ไม่ได้ให้ผู้เรียน มีส่วนร่วม ให้เปลี่ยนมาเป็นการเรียนที่สนุกสุด ๆเช่นการที่มีการสอนโดยมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นผู้เรียนให้คิดอาจแบ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์และ คิดเชิงนวัตกรรมโดยความคิดเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในต้องมีการผสมผสานknowledge skill attribute ต้องมีการแลกเปลี่ยนต้องมี creative thinking ต้องทำให้กล้าคิดไม่ยอมแพ้ กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ต้องกระตุ้นเรื่อย ๆ แต่อย่ามากเกินไปจะก่อให้เกิดความเครียดให้ผู้เรียนมากเกินไปส่วนความคิดเชิงนวัตกรรมจะต้องมีการเติมมูลค่าในการทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ต้องมีประโยชน์กับส่วนรวมเช่น ชุมชน หมู่บ้าน ประเทศชาติต้องมีการพลิกมุม ต้องมีการ creative ต้องเป็นประโยชน์ ชัดเจน ต้องมีฐานข้อมูลและต้องมี big data การสอนที่ดีต้องอาศัยบทบาทที่สำคัญของผู้สอนดังนี้คือ ลักษณะผู้สอนที่ดีต้องชมด้วยความจริงใจยอมรับความมีค่าของแต่ละบุคคล อาจมีการชมในห้องหรือมีการชมส่วนตัว ห้ามpromote คนใดคนหนึ่งในห้อง ต้องผ่อนคลาย ต้องใส่ใจ สนใจในคุณค่าของทุกคนต้องถามว่าทำไมคิดแบบนี้ ต้องกระตุ้นไปเรื่อย ๆ และะการออกแบบการสอน-ต้องมีการแลกเปลี่ยนลักษณะที่สำคัญ1.ต้องมีแรงจูงใจการกระตุ้นแรงจูงใจต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีการตำหนิ สร้างความภูมิใจ2. การอบรมเลี้ยงดู3.ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี 4.สมองดี และ5.สภาพแวดล้อมดีและเหมาะสมต่อการเรียนการสอน เทคนิคการสอน 1.LECTURE การสอนแบบบรรยายอย่างเดียว 2.DEMONSTRATION การสาธิตประกอบการสอน 3.EXPERIMENT การมีdirection lab มีการสรุปผลและวิจารณ์ผล 4.DEDUCTION/INDUCTION DEDUCTION คือต้องมีการพิสูจน์ทฤษฎี INDUCTIONคือต้องมีการสร้างทฤษฎีใหม่ 5.FIELD TRIP ใช้แหล่งเรียนรู้ ร่วมกับcreative สร้างproject 6.SMALL GROUP DISCUSSION การแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆในการเรียนการสอน 7.ROLE PLAYING เป็นบทบาทสมมุติ เป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมให้เขาเป็นผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านมาdebaseกัน 8.DRAMATIZATION เช่น การแสดงละคร ต้องมีการร่างบทสนทนา เช่น Science show 9.SIMULATION เริ่มด้วยการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ 10.COOPERATIVE LEARNING เป็นการร่วมมือแบบจิกซอ 11.WORK-INTEGRATED LEARNING การทำงานร่วมกันคล้ายสถานประกอบการ 12.PHENOMENON-BASED LEARNING เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เช่น โครงการบ้านโป่ง แม่โจ้ จัดเป็นจมูกของเชียงใหม่เป็นต้น 13.PROBLEM-BASED LEARNING เช่น การทำปัญหาพิเศษ สรุปจากการอบรมAUNสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้คือหลักการสำคัญและต้องมีความจริงใจ และต้องเอาของดี ๆ มารวมกัน กระตุ้นด้วยสิ่งท้าทายโดยอาศัยวีธีการสอนแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียและสถานที่หลักการTeaching methodที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุดโดยการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรมได้ในอนาคต 1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 1. ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคต 2. ไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน และ2.ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) 1.ทำให้สามารถมีแนวคิดในการในการสร้างนวัตกรรมในระดับนักศึกษาและคณาจารย์ 2.ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหลักสูตรในการบูรณาการการเรียนการสอน ผศ.ทุเรียน ทาเจริญ ผู้รายงาน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทุเรียน ทาเจริญเข้าร่วมเรื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่... 24-25 ธันวาคม 2564 ณ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วม..การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 (online) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ 1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม 1.การคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 ที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในเยื่อหุ้มเมล็ด (ช่อทิพาและคณะ,2564)จากการศึกษาและคัดเลือกเครื่องหมาย ดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินบริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว คือ ยีน OsB1 และ OsB2 จากการสืบค้นตำแหน่งของยีนในฐานข้อมูล GenBank พบว่า ยีน OsB1 อยู่ตำแหน่งที่ 27,948,854 ถึง 27,956,850 คู่เบส ติดกับยีน OsB2 ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่ง 27,916,190 ถึง 27,916,850 คู่เบส บนโครโมโซมที่ 4 จากนั้นคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ยึดติดกับยีน OsB1 และ OsB2 จากฐานข้อมูล Gramene ได้ 22 เครื่องหมาย ที่ขนาบทั้ง 2 ด้าน ของยีน พร้อมทั้งทำการตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ พบ 10 เครื่องหมาย ที่ให้แถบดีเอ็นเอ แบบโพลีมอร์ฟิคซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ โดยเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด SSR ที่ได้จะพัฒนาและนำไปใช้ตรวจสอบลูกผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและดำ ในระยะต้นกล้าในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีผสมกลับเพื่อช่วยให้การปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีความแม่นยำและรวดเร็ว 2.การทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม สีแดง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง(วราภรณ์ แสงทองและคณะ,2564)พันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุงสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographic Indication: GI)) เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index : GI) ต่ำจากประโยชน์ด้านคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสังข์หยดพัทลุงทำให้คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวนี้แต่เนื่องจากข้าวสังข์หยดพัทลุงเป็นข้าวไวต่อช่วงแสงจึงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเท่านั้น และเป็นข้าวต้นสูงหักล้มง่ายทำให้ผลผลิตลดลง จึงได้นำข้าวสังข์หยดพัทลุงมาปรับปรุงพันธุ์ให้ไม่ไวต่อช่วงแสงสามารถปลูกได้ทุกฤดูต้นเตี้ยเพื่อป้องกันการหักล้ม ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดงและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยงานวิจัยนี้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตและศึกษาลักษณะทางการเกษตรที่สำคัญของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสงต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่ได้จาการปรับปรุงพันธุ์ในฤดูนาปี 2562ในแปลงนาอินทรีย์เพื่อศึกษาศักยภาพของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์เมื่อปลูกในระบบอินทรีย์ได้ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์สังข์หยดพัทลุงที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยทำการปลูกทดสอบในฤดูนาปี 2562 ในแปลงนาทดลองอินทรีย์ ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 10 สายพันธุ์ และพันธุ์เปรียบเทียบจำนวน 3 พันธุ์ คือ สังหยดพัทลุง ทับทิมชุมแพ และ กข-แม่โจ้ 2 ผลการทดลองพบว่าผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว ที่มีกลิ่นหอม มีสีแดง จำนวน 4 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และผลผลิตของข้าว 7 สายพันธุ์สูงกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ อายุวันออกดอกของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์สั้นกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุงและอายุวันออกดอกของข้าว 6 สายพันธุ์ สั้นกว่าของพันธุ์ทับทิมชุมแพ นอกจากนี้ความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ เตี้ยกว่าของพันธุ์สังหยดพัทลุง และความสูงต้นของข้าวทั้ง 10 สายพันธุ์ ไม่แตกต่างจากของพันธุ์ทับทิมชุมแพสายพันธุ์ข้าวเหล่านี้จะถูกคัดเลือกไปปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรต่อไป 3.การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นในไร่เกษตรกรที่เหมาะสมกับพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือตอนบนเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง (ธนพล และคณะ,2564) การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมดีเด่นระดับแปลงเกษตรกรในฤดูแล้ง ปี 2563 จากโครงการปรับปรุง พันธุ์ข้าวโพดมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และลำปาง จังหวัดละ 6 แหล่งปลูก รวม 24 แหล่งปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 2 ซ้ำ 17 พันธุ์ เพื่อทดสอบพันธุ์ที่ให้ ผลผลิต และมีลักษณะทางการเกษตรที่ดีเหมาะสมกับจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด 5 อันดับ แรก คือ UPFC205, UPFC269, UPFC155, UPFC242 และ UPFC319 มีค่าเท่ากับ 1,541, 1,514, 1,506, 1,483 และ 1,439 กก./ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ พันธุ์ PAC339 CP639 DK9979C PAC789 และ NS5 มีค่า เท่ากับ 1,590, 1,589, 1,554, 1,532 และ 1,396 กก./ไร่ตามลำดับ ขณะที่เปอร์เซ็นต์การกะเทาะที่ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ UPFC319, UPFC205, UPFC242, UPFC269 และ UPFC227 มีเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 82, 81, 78, 77 และ 77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของพันธุ์เปรียบเทียบ ได้แก่ DK9979C, PAC789, NK6253, PAC339 และ P4546 มี เปอร์เซ็นต์การกะเทาะเท่ากับ 83, 82, 81, 80 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพทาง การเกษตรให้เหลือ1-2 พันธุ์ คือ UPFC269 และUPFC242 เพื่อทำการปลูกแปลงสาธิต และปลูกทดสอบเพื่อขอการขึ้น ทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชต่อไป สรุปจากงานทดลองทั้งสามเรื่องจะสามารถเห็นได้ว่าลักษณะเชิงปริมาณจะถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันสามารถจะนำไปต่อยอดทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์โมเลกุลเพื่อช่วยทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีความแม่นยำ
ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ด้านการเรียนการสอน การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เหมาะสมกับ บุคคลเป้าหมายคือGen Z อายุ12-24 เขาจะมีลักษณะฉลาดมุ่งมั่นโลกของเขาปัจจุบันคือ เวลาสอนต้องใช้ข้อสอบแบบสั้นๆ Active learning activity และ Game-base learnดังนั้นอาจแบ่งเทคโนโลยีนี้ออกเป็น 3 อย่างคือ 1. ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR) คือโลกจริงรวมกับวัตถุเสมือนเริ่มต้นมาจากธุรกิจเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์และการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะแสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวสร้างในรูปแบบ Interactive Media เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ 360 องศา โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง ตัวอย่างของการใช้งานคือ เกม Pokemon Go และการจำลองสถานที่ Google Street View เป็นต้น 2.ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) สสวท.ใช้แสดงสาธิตวิธีผ่ากบเป็นภาพสามมิติ ใช้หลักตาซ้ายและตาขวามองเห็นภาพไม่เหมือนกันสมองหลอกตาแต่เราใช้เทคโนโลยีหลอกสมอง 3. เทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ที่นำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน Mixed Reality จะทำให้มีการโต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ MR ช่วยให้เราได้เห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัว แม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของเราเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น ตัวอย่างการใช้งาน MR เช่น ตัวอย่างเสมือนจริงที่จำลองสภาพแวดล้อมให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศของโครงการที่พักอาศัยได้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ ตัวอย่างการนำมาใช้ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยบางแห่งเช่น 1.ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาเกี่ยวกับโรงงาน โรงแรมช่วยสร้าง deep learning อาจทำให้นักศึกษาสนใจการเรียนรู้มากขึ้น เพราะว่าวิธีการนี้สามารถชดเชยการสอนจริงไม่ได้อย่างน้อยก็ให้มีประสบการณ์ร่วมกันก่อนเช่น ใช้ดูแลผู้สูงอายุเช่นจำลองว่าทานข้าวพร้อมกันทั้งครอบครัว 2.ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เอาไปส่องถนนในปัจจุบันแต่ทำให้มันเกิดปราสาทเก่าที่ถูกทำลายไปเป็นการสร้างจิตสำนึกทำให้เกิดความรู้สึกว่าเข้าไปอยู่ในสถานที่จริงก่อให้เกิดความหวงแหนเสียดายร่วมกับคนในประวัติศาสตร์ ข้อดี1.เพิ่มความสนใจในการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2.อาจสามารถนำไปใช้ได้ทางภาษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ข้อเสีย1.เกิดการเสพติดเทคโนโลยี2.คนเป็นโรคหัวใจเพราะว่าตื่นเต้นเกินไป 3.สนุกสนานเกินไปอาจล้ม เดินชน รถชน สรุปโลกจริงยังสดใสที่สุดแต่จริงๆๆแล้วก็ไม่มีอะไรมาทดแทนการได้ลงพื้นที่จริงซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงของนักศึกษา แม้ว่า MR มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ผศ.ทุเรียน ทาเจริญ
ข้าพเจ้า นางทุเรียน ทาเจริญ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21เรื่อง“พันธุศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ตามหนังสืออนุญาตเลขที่.....ศธ ๐๕๒๓.๔.๙.๑/๑๔๐... ลงวันที่ ๒๑ ก.พ.๒๕๖๒ ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ 1.การศึกษาการแก้ความเป็นหมันของละอองเรณูระบบ WA-CMS ของข้าวสุพรรณ 1 โดยการทดสอบความมีชีวิต ร่วมกับเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับยีนแก้ความเป็นหมันตำแหน่ง Rf 3 สรุปพบว่ายีนตำแหน่ง Rf 4 ในข้าวสุพรรณ1 สามารถแก้ความเป็นหมันของละอองเรณูได้โดยคาดว่าข้าวพันธุ์สุพรรณ 1มียีนควบคุมลักษณะแก้ความเป็นหมัน 1 คู่ 2.การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1สำหรับใช้ตรวจสอบข้าวลูกผสมชั่วที่1ของคู่ผสมระหว่างข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวและม่วง ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่มีปริมาณแอนโทไซยานินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ดังนั้นเครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsB1ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสำหรับใช้ตรวจสอบข้าวลูกผสมตั้งแต่ระยะต้นกล้าและช่วยคัดเลือกลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น 3.การประยุกต์ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsC1 สำหรับใช้ตรวจสอบสีเยื่อหุ้มเมล็ดของข้าวไทย สามารถใช้เครื่องหมายดีเอนเอชนิด Indelที่จำเพาะกับยีน OsC1 ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินมาช่วยคัดเลือกในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงและคัดเลือกต้นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำแยกจากข้าวขาวและข้าวแดงได้ 4.ผลของความเครียดจากความเค็มต่อปริมาณแป้งและน้ำตาลในข้าวขาวดอกมะลิ105ที่มีการแสดงออกของยีน OsCam1-1เกินปกติ พบว่าการแสดงออกเกินปกติของยีน OsCam1-1ส่งผลต่อแมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตในข้าวและในข้าวขาวดอกมะลิ105ที่มีการแสดงออกของยีน OsCam1-1เกินปกติพบว่าใบอายุมากที่สุดที่เวลา 13.00 น.มีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่าในภาวะปกติ 5.เครื่องหมายดีเอ็นเอของยีน OsRc เพื่อตรวจสอบข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงและข้าวลูกผสมชั่วที่ 1การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีนนี้ที่สำคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินสามารถใช้คัดเลือกข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงได้และประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบข้าวลูกผสมระหว่างข้าวขาวและข้าวแดงเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 6.เรื่องการแสดงออกของยีนในกระบวนการสังเคราะห์แป้งของมันสำปะหลังโดยวิธี Real-time PCRสรุปการแสดงออกของยีนโดยใช้เทคนิค Real-time PCR จะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง ในกระบวนการสังเคราะห์แป้งของมันสำปะหลังพบว่าการแสดงออกของยีน scb1(starch branching enzme 1)และss (starch shythase) ที่ใบอ่อนสูงสุดในมันสำปะหลังสายพันธุ์ระยอง72และระยอง13ตามลำดับส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณแป้งที่รากพบว่าทุกสายพันธุ์สะสมแป้งมากกว่า 70% 7.ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบในสามชายแดนภาคใต้ต้องอาศัยความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ร่วมกับผลดีเอ็นเอบุคคลเพื่อการพิสูจน์ทราบบุคคลที่มีประสิทธิภาพสามารถแบ่งออกเป็นสามมิติคือ มิติที่ 1การพิสูจน์ทราบโดยตรงเหมือนคดีทั่วไป มิติที่ 2 การพิสูจน์ทราบเพื่อขยายผล มิติที่ 3 การนำผลการตรวจดีเอนเอบุคคลที่ปรากฏในเหตุการณ์ต่าง ๆมาวิเคราะห์ร่วมกันข้อมูลพฤติการณ์คดี สรุปงานนิติต้องใช้พันธุศาสตร์มีปนระโยชน์ในแง่กระบวนการยุติธรรมเพราะสามารถนำผลการตรวจวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ พิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การพิสูจน์ความสัมพันธ์ของบิดา-มารดา-บุตร 8.ขั้นตอนการตรวจรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (WGS) โดยใช้เทคนิคการถอดรหัสพันธุกรรมยุคใหม่ ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งทางด้านพันธุศาสตร์และนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัยในอนาคตเพื่อพัฒนาด้านวิจัยและวิชาการของประเทศไทยต่อไป 9.การเปลี่ยนแปลงการสะสมธาตุอาหารและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงธาตุอาหารในเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง สรุปได้ว่ายีนแสดงออกมากในรากฝอย แต่มีการแสดงออกลดลงในรากสะสมอาหาร แม้ว่ายีนดังกล่าวจะมีบทบาทในการลำเลียงธาตุในราก ยีนส่วนมากยังมีการแสดงออกมากในใบที่โตเต็มที่อีกด้วยแสดงให้เห็นว่ายีนเหล่านี้มีบทบาทในการลำเลียงธาตุในใบมันสำปะหลังเช่นกัน
ข้าพเจ้า นางทุเรียน ทาเจริญ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ 2561 เมื่อวันที่ ..11-13ธันวาคม 2561.. ณ ห้องข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่...ตามหนังสืออนุญาตเลขที่... ศธ 0523.4.9.1/338... ลงวันที่ 12 พ.ย.2561.... ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้ 1.การศึกษาความสามารถของยีนแก้หมันของเรณูระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยข้อมูลฟีโนไทป์จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยการนำสายพันธุ์เป็นหมันที่ได้ไปทดสอบผสมกลับและผสมกับข้าวไทยพันธุ์ดีอื่นๆ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงต่อไป จากการทดลองครั้งนี้พบว่า ความมีชีวิตของละอองเรณูของ F1 เป็น 93.2% และการติดเมล็ดแต่การติดเมล็ดเพียง 13.8% ร่วมกับข้อมูลจีโนไทป์จากเครื่องหมายที่สัมพันธ์กับยีนแก้หมันตำแหน่ง Rf3 และ Rf4 ทำให้สรุปได้ว่าการไม่มียีนแก้หมันสำหรับระบบ WA-CMS ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105และการติดสีของละอองเรณูที่มีชีวิตใน F2 พบว่ามีลักษณะการติดสีคล้ายกับละอองเรณูที่เป็นหมันของระบบ BT-CMS ที่มียีนแก้หมัน Rf1A และ Rf1B อยู่บนโครโมโซมที่ 10 เช่นเดียวกันกับยีนตำแหน่งRf4 โดยข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อาจจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMS เนื่องจากทั้ง Rf4 และ Rf1A/ Rf1Bเป็นยีน PPR เช่นเดียวกัน ที่สามารถช่วยแก้ไขความเป็นหมันของละอองเรณูได้บ้าง และการแสดงจีโนไทป์เป็นยีนแก้หมัน (R) ทั้ง 3 ตำแหน่ง (F2 ต้นที่ 7) แต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ความเป็นหมันของระบบ WA-CMS ส่วนในระบบ WA-CMS ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จัดเป็นกลุ่ม B-line ที่นำจะมียีนแก้หมันของระบบ BT-CMSเช่นเดียวกับที่พบในข้าวจากประเทศไทยที่มีค่าความมีชีวิตของละอองเรณู/การติดเมล็ดเป็นสำหรับระบบ WA-CMSมีค่าเท่ากับ 31.7/38.9 และ BT-CMS มีค่าเท่ากับ 80.5/78.0 2.การจำแนกพันธุ์ลำไยโดยใช้เครื่องหมายไอเอสอาร์และเอสเอสอาร์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ โดยเลือกใช้เทคนิค ISSR (Inter Simple Sequence Repeat) และ SSR (Simple Sequence Repeats) ในการจำแนกพันธุ์ลำไย จำนวน 31 พันธุ์ ด้วยไพรเมอร์ 20 ไพรเมอร์ พบว่าไพรเมอร์ที่แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรม 15 ไพรเมอร์ มีแถบดีเอ็นเอมีทั้งหมด 73 แถบ ขนาดประมาณ 100-3,000 คู่เบส มีแถบดีเอ็นเอ 12 แถบ ที่ไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม คิดเป็นร้อยละ 16.44 และแถบดีเอ็นเอที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม 61 แถบ คิดเป็นร้อยละ 83.56 เมื่อนำลายพิมพ์ดีเอ็นเอมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่างานวิจัยนี้สามารถใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลมาช่วยในการบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างพันธุ์ลำไยสามารถจำแนกลำไยได้เป็น 6 กลุ่ม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.44-1.00 3.ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK” เพื่อการจำแนกโดยจากการศึกษาลิ้นจี่ 23 พันธุ์โดยวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน matK ของลิ้นจี่ในจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ความยาว 725 คู่เบส พบว่าลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมสูง โดยพบความแตกต่างของนิวคลีโอไทด์เพียง 1 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่ 520 ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์จากไทมีน (T) เป็นไซโทซีน (C) โดยพันธุ์ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ พันธุ์จีนแดง ดังนั้นจากการทดลองครั้งนี้สามารถสรุปว่าวิธีการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK ยังไม่สามารถจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ได้จึงควรใช้ยีนบริเวณอื่นร่วมด้วยในการจำแนกพันธุ์ลิ้นจี่ 4.ผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของเมล็ดถั่วเขียวเพื่อศึกษาผลของรังสีแกมมาต่ออัตราการรอดชีวิตของถั่วเขียวเมล็ดแห้งและแช่น้ำของเมล็ดถั่วเขียว โดยการนำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปฉายรังสีแกมมาที่ปริมาณ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 กิโลแรดตามลำดับ ขณะที่เมล็ดแห้งจะนำไปฉายที่ปริมาณ 0, 100, 200, 300, 400 และ 500 กิโลแรดตามลำดับ จากผลของการศึกษาพบว่าค่า LD50 หลังปลูกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ของเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำเท่ากับ 6.2 กิโลแรด และเมล็ดแห้งเท่ากับ 225 กิโลแรด ตามลำดับ จากคำ LD50 ที่แตกต่างกันในเมล็ดที่แช่น้ำและเมล็ดแห้ง แสดงว่ารังสีแกมมามีผลที่รุนแรงต่อเมล็ดถั่วเขียวที่แช่น้ำมากกว่าที่เมล็ดแห้ง 5.การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโครงการสวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย จัดเป็นกลุ่มตามสมุนไพรต่างๆ ตามตำรับยาแผนโบราณ จำนวน 61 พืช และการให้บริการเกี่ยวกับ 2 Dimension barcode แสดงผลบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ และได้มีการนำเอาเทคโนโลยี 2 Dimension barcode มาประยุกต์เชื่อมโยงเข้ากับฐานข้อมูลสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ จากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องมือนี้ไปใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคต
การทำพันธุวิศวกรรมขั้นสูง เช่นระบบ CRISPR (Clustered regularly interspaced short palindromic repeat) คือลำดับของสายดีเอ็นเอที่มีการแสดงซ้ำๆ ในช่วงจำนวนหนึ่งๆ ของลำดับสายดีเอ็นเอ โดยลำดับของสายดีเอ็นเอนี้จะมีลำดับเบสที่เหมือนกันทั้งการเรียงลำดับไปด้านหน้าและย้อนกลับ (palindromeในแบคทีเรียร่วมกับโปรตีน CRISPR-associated (Cas protein) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ที่ตัดสายดีเอ็นเอ โปรตีนที่เป็นที่รู้จักกันมากในงานวิจัยตอนนี้ คือ Cas9 เนื่องจากสามารถตัดสายดีเอ็นเอได้ โดยไม่ต้องอาศัยโปรตีนหรือสารอื่นๆ ในกระบวนมากมาย ส่วนสำคัญ 2 ส่วนนี้เรียกรวมๆ ว่า ระบบ CRISPR/Cas9 (CRISPR/Cas9 system) โดยสายดีเอ็นเอที่ถูกตัด หากมีสภาพที่ผิดปกติก็เข้าสู่กระบวนการซ่อมแซมหรือย่อยสลายต่อไปภายในเซลล์ การทำgenome editing คือ การแก้ไขจีโนมหรือการแก้ไขยีน เช่น ระบบคริสเปอร์แคส อาศัย Enzyme Cas 9 และ RNAสายสั้นมาแก้ไขยีน ส่วนองค์ประกอบที่นำมาประยุกต์ใช้ enzyme Cas และ คริสเปอร์แคส คือระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรียและอาร์เคียโปรตีนของระบบนี้จะทำงานโดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.เอนไซม์ Cas9 2. tracrRNA จะมีลำดับเบสที่จับกันเองภายในเมื่อรวมกับcrRNA เกิดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนที่เรียกว่าsingle guide RNAsgRNA หรือ อาร์เอ็นเอนำพา 3. ตำแหน่งลำดับเบสเป้าหมายในจีโนมที่ตามด้วยลำดับเบสสั้นๆเรียกว่า protospacer adjacent motif (PAM) จึงนำมาประยุกต์ใช้ในพืชตระกูล Solonaceae เช่น ในมะเขือเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลในประเทศสเปนโดยใช้ปรับปรุงพันธุ์ Black beauty เป็นต้น การทำ Sequencing ในจีโนมของพริกโดยวิธี Transposable element (TEs) ทำให้สามารถศึกษาทางด้านวิวัฒนาการ ศึกษาความหลากหลายของจีโนมและสปีชีย์ หรืออาจทำให้สามารถศึกษาความต้านทานโรคในพริกหรือการทำ genomic selectionเป็นการศึกษาทางพันธุกรรมจากข้อมูลเครื่องหมาย การพัฒนา GS prediction Modelsสำหรับการชี้ชัดเพื่อปรับปรุงผลผลิต คุณภาพ และการต้านทานในกระบวนการต่างๆของมะเขือเทศบางชนิดได้เป็นอย่างดี การวิเคราะห์เครื่องหมายดีเอนเอ (DNA marker) ที่เป็นตัวบ่งชี้ความแตกต่างหลากหลายทางพันธุกรรม หรือเครื่องหมายทางโมเลกุล (molecular marker) นอกจากจะมีการจัดเรียงตัวของดีเอนเอส่วนต่าง ๆ ในจีโนมหรือการทำแผนที่ของยีนแล้วจึงทำให้สามารถใช้ตรวจสอบความหลากหลาย (polymorphism) ของพันธุ์ในแง่ของศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและ การหาเครื่องหมายดีเอนเอที่ใช้ตรวจสอบ บ่งชี้ หรือช่วยในการคัดเลือกลักษณะจำเพาะ เช่น ความต้านทานโรค ความทนทานต่อสภาพแวดล้อมบางอย่างเช่นมีการโคลนยีนโดยอาศัยแผนที่ (map-based cloning) ได้ด้วยจึงมีการนำมาใช้ในได้หลายกรณี เช่น การปรับปรุงพันธุ์โดยใช้วิธีการ Molecular breeding สำหรับความต้านทานโรคเหี่ยวที่เกิดในมะเขือเทศที่ทำการทดลองในประเทศเกาหลีใต้พบว่า QTLs ของพันธุ์ Hawaii7996ซึ่งสามารถต้านทานโรคเหี่ยวได้มากที่สุดพบอยู่บน chromosome 6 (Bwr-6) และ chromosome 12 (Bwr-12) เป็นตำแหน่งหลักที่พบจากการใช้SNPsที่ทำให้สามารถคัดเลือกพันธุ์ที่ต้านทานและอ่อนแอออกจากกันได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าการทดลองในประเทศจีนทำให้สามารถสรุปได้ว่ายีนมากกว่า 20 ยีนจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลของมะเขือเทศ การเคลื่อนย้ายน้ำตาลและเมตาโบลิซึมของพลังงานและยีนคู่ที่ควบคุมการสร้าง Cytochrome P450 และมีอย่างน้อย 29 QTLsที่มีการรายงานแต่ก็มีเพียง 3 ตำแหน่ง คือ Fw 2.2 Fw 3.2 และFw 11.3 เป็นต้น ดังนั้นจากการประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่าการทำ Genome Editing วิธีการจะเน้นเกี่ยวกับการปรับปรุงลักษณะทางฟีโนไทป์ (phenotypic traits) ทีจะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทางเกษตรและอุตสาหกรรมในพืชหลายชนิดเช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริกและยาสูบ เป็นต้น ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำความรู้ทางด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยอาศัย Molecular breeding การวิเคราะห์เครื่องหมายดีเอนเอ (DNA marker) การทำSequencing genomic selection การทำ Sequencing การทำพันธุวิศวกรรมขั้นสูง เช่นระบบ CRISPR มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ความรู้ทางพันธุศาสตร์กับเกษตรเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆดังนี้คือ 1. ข้าว 1.1.การคัดเลือกลักษณะเรณูเป็นหมันที่ควบคุมด้วยยีนในไซโตพลาสซึมจะมียีนแก้ความเป็นหมันของเรณู (Rf) อยู่ในนิวเคลียส ในระบบ Wild abortive- cytoplasmic male sterility สามารถจัดกลุ่มของข้าวด้วย % ความมีชีวิตของเรณูและ%เมล็ดดีของลูกผสมโดยมียีนแก้ความเป็นหมันของเรณูตำแหน่ง Rf4ใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอ ทำให้สามารถจัดกลุ่มข้าวไทยพันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 และกข 47 ด้วย% ความมีชีวิตของเรณูและ%เมล็ดดีร่วมกับการคัดเลือกด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอต่อตำแหน่ง Rf4 ทั้งชนิด SSR และที่จำเพาะกับยีนทำให้สามารถสรุปได้ว่าข้าวทั้ง 3 พันธุ์เป็นกลุ่มแก้ความเป็นหมันของเรณูและนอกจากนี้ยังพบว่า เครื่องหมาย RM 6100, RMS_PPR9_4 และ PPR_9InDel สัมพันธ์กับความสามารถในการแก้ความเป็นหมันของเรณู แสดงว่าข้าวไทยนั้นมียีนแก้ความเป็นหมันที่ตำแหน่ง Rf4 แตกต่างกัน 1.2 การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวโดยใช้การตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี1 และชัยนาท 80 ทำให้สามารถร่นระยะเวลาให้ลดลงจากวิธี conventional breeding ได้เป็นอย่างดีในด้านการคัดเลือกสายพันธุ์โดยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก 1.3 การถ่ายยีนเข้าไปในข้าวศึกษาพบว่าการทำงานของยีน Rc ของข้าวพันธุ์หอมสุโขทัย 1อาจต้องมีการทำงานร่วมกับยีนโครงสร้างอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดการสังเคราะห์แอนโทไซติน 1.4 การศึกษาเกี่ยวกับปริมาณอะไมโลสและความคงตัวของแป้งสุกในข้าวไทยพบว่าข้าวเหนียวมีอะไมโลสปริมาณ 4.15-8.52% แต่ข้าวเหนียวมีอะไมโลสปริมาณ 12.40-31.80% สามารถที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไป 2. ลำไย การพัฒนาเครื่องหมาย SCAR ด้วยเทคนิค Touchdown PCR สามารถใช้ตรวจสอบลำไยลูกผสมในการจำแนกลำไยพันธุ์ดอหลวงออกจากลูกผสมได้ในอนาคตเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านลดความเสี่ยงต่อระบบการปลูกลำไยเชิงเดี่ยวโดยต้องมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีพันธุ์ใหม่ 3 แตงกวา การศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสมโดยใช้สายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทย พบว่าการพัฒนาเป็นแตงกวาลูกผสมพันธุ์ใหม่โดยใช้สายพันธุ์แตงกวาพ่อที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยจะสามารถผลิตลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงสำหรับอุตสาหกรรมเชิงการค้าและธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในอนาคตได้ 4. ฝรั่ง การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางด้านปรับปรุงพันธุ์พบว่าRADPเป็นเครื่องหมายดีเอนเอที่สามารถแสดงความแตกต่างมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าฝรั่งจะมีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.73-0.96 และ ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.81 สามารถจำแนกฝรั่งได้ 3 กลุ่ม จึงคาดว่าจะสามารถใช้ไพรเมอร์ RAPD ในโครงการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งต่อไป นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้เสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์เรื่อง “การจัดกลุ่มข้าวไทยด้วยยีนแก้ความเป็นหมันของเรณูในระบบข้าวลูกผสมสามสายพันธุ์”และได้รับหนังสือรับรองจากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้เลขที่ ศธ ๐๕๒๓.๖.๑ (ร)/๕๒ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐ ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านวิจัยและประกอบการเรียนการสอนในอนาคต
สรุปรายงานการประชุมวิชาการเรื่อง“พันธุศาสตร์บูรณาการ: จากการค้นพบสู่นวัตกรรม National Genetics conference 2017 (NGC2017) หรือ การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 20ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2560 โรงแรมโนโวเทล สุขุมวิท 20 กรุงเทพมหานคร I.การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 20ฟังบรรยายพิเศษจากวิทยากรรับเชิญจากต่างประเทศและในประเทศทางด้านความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าใจความรู้ใหม่ๆที่อาศัยความรู้ทางพันธุศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการวิจัยสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตั้งแต่จุลินทรีย์ พืช สัตว์และมนุษย์ ทำให้ทราบถึงหลักการศึกษาจีโนมในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจนประสบความสำเร็จ โดยอาศัยการศึกษาหาลำดับทั้งจีโนม ที่จะสามารถใช้เวลาไม่นานและมีความถูกต้องสูง ความเจริญก้าวหน้าและการก่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักวิจัย ประสบการณ์ ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือของนักวิจัยในประเทศและต่างประเทศสามารถสรุปหัวข้อหลักใหญ่มี 3 ข้อดังนี้คือ 1. New Gene Discovery การค้นพบยีนใหม่จะเน้นการศึกษายีนที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และยีนที่ควบคุมลักษณะฟีโนไทป์ในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์เพื่อไปใช้ปรับปรุงลักษณะที่ต้องการ 2. Genome Editing วิธีการจะเน้นเกี่ยวกับการปรับปรุงลักษณะทางฟีโนไทป์ (phenotypic traits)ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทางด้านยา เกษตรและอุตสาหกรรม 3. Synthetic Biology การค้นพบยีนใหม่ก่อให้เกิดความเข้าใจในกลไกของยีนและ interrelationship ที่จะทำให้เกิดวิธีการที่เหมาะสมในการสังเคราะห์สารประกอบทางด้านชีววิทยาตามคุณสมบัติที่ต้องการ II.นอกจากนี้ยังได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง Thirteen years of RD-Maejo 2 rice variety from molecular breeding to Thai farmers เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกข-แม่โจ้ 2 (RD-Maejo 2) โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ร่วมแบบ conventional breeding กับ molecular breeding ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับกรมการข้าวและหน่วยงานอื่นๆที่ต้องใช้เวลานานถึง 13 ปี โดยการปรับปรุงพันธุ์ได้เริ่มในฤดูนาปี 2547 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์รับผสมกับข้าวเหนียวหอมพันธุ์ กข 6 ด้วยวิธีผสมกลับ (backcross) และใช้เครื่องหมายโมเลกุล (molecular marker) ช่วยในการคัดเลือก นอกจากนี้ยังทำการผลิตเมล็ดชั่วที่ 1 ทำการผสมกลับ 4 ชั่ว แต่ละชั่วของการผสมกลับใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกต้นที่เป็น Wxwx และผสมกลับไปหาพันธุ์รับ คือ ข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 และผสมตัวเองได้เมล็ด BC4F2 คัดเลือกเมล็ดข้าวเหนียวแล้วนำไปปลูกในแปลงทดลอง และผสมตัวเองได้เมล็ด BC4F3 ปลูกศึกษาพันธุ์ 4 แถว จำนวน 2 ฤดู คัดเลือกได้สายพันธุ์ข้าวเหนียว กข-แม่โจ้ 2 ฤดูนาปี 2552 และนาปี/นาปรัง ปี 2553 และได้ทำการทดสอบผลผลิตเบื้องต้น ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 3 ฤดู ต่อมา ในปี พ.ศ.2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกรมการข้าว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 และคณะกรรมการรับรองพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้พันธุ์รับรอง ชื่อ กข-แม่โจ้ 2 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก ในปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ร่วมกับกรมการข้าวเพื่อสู่มือเกษตรกร นอกจากนี้ยังเข้าฟังวิชาการทางด้านข้าวในหัวข้อต่างๆเพิ่มเติมดังนี้ 1.Expression analysis and nucleotide variation of OsC1 gene associated with anthocyanin pigmentation in rice 2.Genome-wide association study for root biomass under salt stress at seedling stage in local Thai rice varieties 3. Catalase gene, an oxidative stress-related gene, in rice response to arsenic exposure 4.Rice genome comparison of chromosome substitution line and characterization of drought tolerant gene in Arabidopsis model 5.Identification of genes involving in salt tolerance using GWAS data based on Na+ content in local Thai rice leaves ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความรู้ต่าง ๆทางด้านข้าวต่าง ๆจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกันระหว่านักปรับปรุงพันธุ์และนักวิชาการทางด้านต่างๆ ที่จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประเทศไทยได้ในอนาคต III.สรุปความรู้เรื่อง Linking genotype to phenotype through modeling of the cellular regulation: an application in cassava starch biosynthesis arch biosynthesis -บรรยายเกี่ยวกับหลักการ Biomass reaction ร่วมกับ GMS (Genome – Scale Model) ที่ทำให้ทราบถึงความแตกต่างของ carbon assimilation ในมันสำปะหลังร่วมกับstarch biosynthesisให้พลังงานมากในระบวนการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นซูโครสและไปเป็นแป้ง (starch) นอกจากนี้ยังพบว่าSystems Biology Frameworkจะทำให้สามารถเข้าใจถึง Linking Genotype to phenotype ที่ชัดเจนมากขึ้น IV.สรุปการเสวนา THAILAND4.0 กล่าวถึงกฎหมายคุ้มครองการใช้ข้อมูลพันธุกรรม นวัตกรรมทางการแพทย์ รักษาโรคโดยใช้ข้อมูลพันธุกรรม จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลกฎหมาย มาตรฐานและนโยบายด้านข้อมูลพันธุกรรม มาตรฐานการวินิจฉัย ป้องกัน วิเคราะห์หาพันธุกรรมเสี่ยง ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ วิจัยในการจัดทำแนวทางการใช้ข้อมูลพันธุกรรมทางคลินิก เป็นต้น
จีโนม (Genome) คือ สารพันธุกรรมอันได้แก่ ดีเอ็นเอ หรือโครโมโซม ที่มีทั้งหมดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหรือข้อมูลทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นการศึกษาทางด้านจีโนมและแหล่งพันธุกรรม เพื่อทำsequence จีโนมของพืช แล้วสร้างแผนที่พันธุกรรมที่จำเป็นต่อการระบุตำแหน่งและทิศทาง Molecular Markers คือสิ่งบ่งชี้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตโดยต้องอาศัยวิธีการต่างๆดังนี้คือDNA sequence, Isozyme, Gene mapping ส่วน Marker-assisted breedingอาจนำไปใช้ในด้านPlant variety protection,Genetic diversityและ Purify testing หลักการจำแนกMarkers 1. DNA Marker typesที่เป็น Non-SNP markers เช่น RFLP,AFLP,RAPD,SSR เป็น วิธีการนี้ไม่ต้องอาศัย PCR (Polymerase Chain Reaction) 2. SNP (Single Nucleotide Polymorphism)วิธีการนี้ต้องอาศัย PCR ดังนั้นDNA Markersที่ดีจะต้องมีลักษณะpolymorphism Co-dominance inheritance ตัวอย่างการนำ Molecular markers ไปประยุกต์ 1.การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่า Trait Genotyping ตัวอย่างเช่น มีการใช้ SSR (simple sequence repeat) เพื่อจำแนกพันธุ์และกำหนดความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยใช้ไพรเมอร์ที่มีบริเวณที่แตกต่างกันอย่างง่ายโยอาศัยหลักการที่ว่าสายพันธุ์ที่มีสัณฐานคล้ายกันมากและมีไอไซม์เหมือนกันสามารถจำแนกด้วยการวิเคราะห์ SSR โดยวิธีนื้เป็นวิธีที่มีคุณภาพในการจำแนกสายพันธุ์หรืออาจมีการทำ genotyping routine crop 2. การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่าPurity testingโดยอาจมีการทดสอบ parental lines ,New varietyและF1 hybridsนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ทดสอบ Homogeneity testingและ Hybridity testingโดยต้องดู 4SNP markers 100% และGenotyping data 100% 3.การตรวจสอบขั้นตอนที่เรียกว่าMolecular Plant Pathologyเช่น การแบ่งแยกเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคออกเป็นสามกลุ่ม คือ 1.DNA Virus 2.RNA Virus and Viroid 3.Other pathogens วิธีการเหล่านี้จะทำให้สามารถคัดเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรคและสามารถจำแนกสายพันธ์ที่มีความต้านทานโรค นอกจากนี้ยังอาจมีการใช้วิธีการ Mapping populationและTrue-to-type analysisเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเคริ่องหมายโมเลกุลร่วมกับการใช้ High-throughput SNPs gene typing (Douglas Scientific) โดยอาศัยหลักการของHomogeneity testing และ Hybridity testingซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ถึง 120,000 ตัวอย่าง/วัน/คน (หลักการ) ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์
12