การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
วันที่เขียน 15/11/2564 16:19:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 16:12:27
เปิดอ่าน: 2176 ครั้ง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills) 2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills) 3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills) เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ และที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนทันเวลาตามสถานการณ์ได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม และนำไปสู่สภาวะซึมเศร้าได้ จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ

โครงการอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes จัดโดยสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท) ซึ่งได้รับความรู้จากท่านวิทยากรด้วยกัน 3 ท่าน คือ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิตา เลิศพรกุลรัตน์    2. รองศาสตราจารย์ ดร.ชนัตถ์ พูนเดช             3. อาจารย์รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์   จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในหัวข้อเรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ การเรียนรู้เชิงรุกในรูปแบบออนไลน์และผสมผสาน  และ การพัฒนา Personal skill ของผู้สอนด้านทักษะการสื่อสารโต้ตอบและ สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ทำให้ได้ทราบว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) นี้ ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ

1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills)       

2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills)

3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills)

 

-เครื่องมือดิจิทัล (Digital tools) ในการสอนแบบออนไลน์มีโปรแกรมที่หลากหลายสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาการสอน ตัวอย่างเช่น

- Ms Powerpoint    เครื่องมือป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านคำถาม เล่นเกม หรือทบทวนความรู้  

- Mentimeter         เครื่องมือสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านคำถาม สำรวจ(Survey)  หรือ ระดมสมอง

- Socrative/ Quizizz/ Kahoot เครื่องมือสร้างแบบทดสอบออนไลน์ ทดสอบได้ทั้งแบบเดี่ยว และแบบทีม

- Online Stopwatch    เครื่องมือช่วยสุ่มชื่อนักเรียน แบ่งกลุ่มนักเรียน และจับเวลา  

- Edpuzzle /Nearpod เครื่องมือสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านการดูวีดีโอ แล้วตอบคำถาม หรือการทำแบบทดสอบ  เป็นต้น 

 

-รูปแบบการสอน(Teaching tools)  รูปแบบการออนไลน์สามารถใช้ได้หลายรูปแบบผสมผสานกัน เช่น Interactive lecture, Learner Content Interaction, Think Pair Share,  Role playing, Jigsaw technique, Storytelling, Points and rewards, Gallery walk, Avatar technique เป็นต้น 

ตัวอย่างรูปแบบการสอน เช่น Learner Content Interaction เป็นการดูวีดีโอสั้นๆ ความยาวไม่เกิน 2 นาที แล้วตอบคำถาม ซึ่งควรมี 4-5 ข้อ  โดยใช้โปรแกรม Edpuzzle  เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการสอน หรือ หากเป็นการดูวีดีโอที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะ หรือ การ Live สด ระยะเวลาไม่ควรเกิน 18 นาที ต่อ ครั้ง หรือ การสอนรูปแบบ Avatar technique เป็นรูปแบบการสอนแบบใหม่ โดยให้ผู้เรียนตั้งชื่อ อวตาร ที่เป็นนามสมมุติ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และสามารถแต่งรูปภาพเป็นตัวตนของตัวเองได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กล้าแสดงออก และปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้อย่างไม่กังวลใจ

ระหว่างการสอนหากผู้เรียนหมดความสนใจผู้สอนต้องหากิจกรรมอื่นมาแทรกเพื่อสร้างความปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนเป็นระยะๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การแบ่งระยะเวลาในการสอนแบบ 25 : 5 กล่าวคือ ทำการบรรยาย 25 นาที พัก 5 นาที ซึ่งในช่วงระหว่างพักผู้สอนควรหากิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่น ทำความรู้จัก พูดคุยเรื่องทั่วไป การเปิดเพลงฟังตามที่ผู้เรียนเลือกเข้ามา หรือแม้แต่ให้ผู้เรียนสามารถเปิดเพลงเองได้และแชร์ให้ผู้ร่วมเรียนคนอื่นฟัง เป็นต้น  

ดังนั้นผู้สอนจึงต้องมีทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (Personal skills) ด้วยกฎ 4 P ดังนี้

  1. น้ำเสียง (Pitch) ต้องใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมในการบรรยายการสอน การใช้โทนเสียงที่แตกต่างจะสร้างบรรยายการการเรียนการสอนที่ต่างกัน และยังช่วยแก้ปัญหาการพูดแบบเสียงดุดัน หรือ แบบ monotone ได้ เช่น

-การใช้โทนเสียงสูง เพื่อโน้มนาว ดึงดูด สนุกสนาน ชื่นชม

-การใช้โทนเสียงกลาง เพื่อแนะนำทั่วไป เสนอความคิดเห็น

-การใช้โทนเสียงสูง เพื่อเสนอเรื่องที่จริงจัง เน้นข้อความ ความน่าเชื่อถือ

ดังนั้นกฎข้อที่ 1 เปลี่ยนแค่โทนเสียง = บรรยายกาศการสื่อสารเปลี่ยน

  1. หยุดคำ (Pause) เพื่อเป็นการเน้นคำ ให้ความสำคัญ และช่วยแก้ปัญหาการพูดเร็ว สอนเร็ว เช่น “งานวิจัยผมช่วยคนไทย...ได้ถึง 300 ชีวิต” หยุด ระหว่างคำที่ต้องการเน้น 2 วินาที เพื่อเน้นคำให้ดูยิ่งใหญ่ สำคัญขึ้น   “ผมจบมาด้วยเกรด....3.97” หยุด ระหว่างคำเกรด เพื่อเน้นตัวเลข

ดังนั้นกฎข้อที่ 2 การหยุดคำไหน(2วินาที) = เน้นคำให้สำคัญ และใหญ่ขึ้น

  1. ออกเสียง (Projection) การพูดต้องใช้เสียงให้ถูกต้อง ลมต้องออกมาจากช่องท้องมากกว่าลำคอ เพื่อแก้ปัญหาเสียงหาย เสียงเบา เสียงสั่น เสียงแบน การเจ็บคอ ระหว่างการพูด หรือการสอนบรรยายต้องเปิดปากให้กว้างเพื่อเสียงจะได้คมและชัดเจน หากเปิดปากน้อย เสียงจะไม่ชัดเจน เหมือนพูดในลำคอ ผู้เรียนก็จะไม่ได้ยินเสียงผู้สอน

ดังนั้นกฎข้อที่ 3 เสียงที่พุ่งชน = เสียงที่มีพลัง

  1. แบ่งคำ (Pace) การพูดต้องแบ่งคำให้ถูกต้อง ใส่จังหวะการพูดให้ดี เพื่อเน้นรูปประโยคการพูด อาจใช้ภาษากายร่วมด้วยในระหว่างการสอน โดยทำมือสับควบคุมการแบ่งคำ เช่น

สินค้าของเรามี / คุณภาพ /มากครับ

เรื่องนี้ / เป็นเรื่องที่.... สำคัญมาก

ดังนั้นกฎข้อที่ 4  แบ่งคำพูด = เน้นความสำคัญ จริงจัง

บุคลิกภาพของผู้สอน ก็เป็นส่วนสำคัญ เมื่อผู้สอนผู้หน้ากล้อง ผู้เรียนจะเห็นได้ชัดเจน การวางท่าทางต้องสง่า สมาร์ท สายตาต้องมองที่กล้อง ห้ามมองบน(12นาฬิกา) หรือมองตำแหน่ง 6/9 นาฬิกา เพราะจะเป็นบุคลิกภาพที่ไม่น่าดู ดูเบื่อ สื่อออกมาในเชิงลบ ผู้สอนต้องมีลักษณะ Look-Smile-Talk การพูดที่มีลักษณะเป็นมิตร ยิ้มที่แสดงออกมาทางสายตา โดยการพูดคำว่า ดี

ดังนั้น กฎลักษณะของผู้สอนที่ดี คือ Look-Smile-Talk = หมุนหัวไหล่ แล้วพูดว่า ดี

     การสอนแบบออนไลน์ ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ Digital skills, Teaching and learning skills และ Personal skills เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ แล้วและที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม หรือนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ 

    จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1245
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 9:43:49   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 9:43:48   เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/4/2567 16:51:10   เปิดอ่าน 72  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง