|
|
|
|
|
|
|
สรุปการใช้ประโยชน์โครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม…
»
โครงการจัดการการเรียนการสอนที่ดีเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม2566
|
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN QA version 4ต้องอาศัยหลักการTeaching methodเพื่อแก้ปัญหาการเรียนที่น่าเบื่อ เช่น อาจารย์พูดคนเดียวตลอดเช่น lecture คนเดียว ไม่ได้ให้ผู้เรียน มีส่วนร่วม ให้เปลี่ยนมาเป็นการเรียนที่สนุกสุด ๆเช่นการที่มีการสอนโดยมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นผู้เรียนให้คิดอาจแบ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์และ คิดเชิงนวัตกรรมโดยความคิดเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายในต้องมีการผสมผสานknowledge skill attribute ต้องมีการแลกเปลี่ยนต้องมี creative thinking ต้องทำให้กล้าคิดไม่ยอมแพ้ กระตุ้นสร้างแรงจูงใจ ต้องกระตุ้นเรื่อย ๆ แต่อย่ามากเกินไปจะก่อให้เกิดความเครียดให้ผู้เรียนมากเกินไปส่วนความคิดเชิงนวัตกรรมจะต้องมีการเติมมูลค่าในการทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ต้องมีประโยชน์กับส่วนรวมเช่น ชุมชน หมู่บ้าน ประเทศชาติต้องมีการพลิกมุม ต้องมีการ creative ต้องเป็นประโยชน์ ชัดเจน ต้องมีฐานข้อมูลและต้องมี big data
การสอนที่ดีต้องอาศัยบทบาทที่สำคัญของผู้สอนดังนี้คือ
ลักษณะผู้สอนที่ดีต้องชมด้วยความจริงใจยอมรับความมีค่าของแต่ละบุคคล อาจมีการชมในห้องหรือมีการชมส่วนตัว ห้ามpromote คนใดคนหนึ่งในห้อง ต้องผ่อนคลาย ต้องใส่ใจ สนใจในคุณค่าของทุกคนต้องถามว่าทำไมคิดแบบนี้ ต้องกระตุ้นไปเรื่อย ๆ และะการออกแบบการสอน-ต้องมีการแลกเปลี่ยนลักษณะที่สำคัญ1.ต้องมีแรงจูงใจการกระตุ้นแรงจูงใจต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีการตำหนิ สร้างความภูมิใจ2. การอบรมเลี้ยงดู3.ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี 4.สมองดี และ5.สภาพแวดล้อมดีและเหมาะสมต่อการเรียนการสอน
เทคนิคการสอน
1.LECTURE การสอนแบบบรรยายอย่างเดียว
2.DEMONSTRATION การสาธิตประกอบการสอน
3.EXPERIMENT การมีdirection lab มีการสรุปผลและวิจารณ์ผล
4.DEDUCTION/INDUCTION
DEDUCTION คือต้องมีการพิสูจน์ทฤษฎี
INDUCTIONคือต้องมีการสร้างทฤษฎีใหม่
5.FIELD TRIP ใช้แหล่งเรียนรู้ ร่วมกับcreative สร้างproject
6.SMALL GROUP DISCUSSION การแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆในการเรียนการสอน
7.ROLE PLAYING เป็นบทบาทสมมุติ เป็นการประเมินสิ่งแวดล้อมให้เขาเป็นผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้านมาdebaseกัน
8.DRAMATIZATION เช่น การแสดงละคร ต้องมีการร่างบทสนทนา เช่น Science show
9.SIMULATION เริ่มด้วยการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ
10.COOPERATIVE LEARNING เป็นการร่วมมือแบบจิกซอ
11.WORK-INTEGRATED LEARNING การทำงานร่วมกันคล้ายสถานประกอบการ
12.PHENOMENON-BASED LEARNING เป็นปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เช่น โครงการบ้านโป่ง แม่โจ้ จัดเป็นจมูกของเชียงใหม่เป็นต้น
13.PROBLEM-BASED LEARNING เช่น การทำปัญหาพิเศษ
|
คำสำคัญ :
AUN 4 teaching method การออกแบบการสอน
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
85
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
9/2/2566 11:10:45
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 11:02:25
|
|
|
|
ประชุมวิชาการ PACCON 2019
»
ประชุมวิชาการ PACCON 2023
|
ประชุมวิชาการ Pure and Applied Chemistry International Conference 2023 (PACCON2023) ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2566 ในวันที่ 20-21 มกราคม 2566 ณ หอประชุมสมเด็จย่า (C4) และอาคารพลเอก สาเภา ชูศรี (E4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมกับสมาคมเคมี แห่งประเทศไทย ในพระอุปภัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ อัคคราช กุมารี ภายใต้หัวข้อ “Chemical Diversity Towards Sustainable Development Goals. ” ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และการประยุกต์
- การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อหลักคือ การประยุกต์เคมีที่หลากหลายเพื่อนำไปพัฒนาประเทศแบบยั้งยืน ซึ่งมีหลายแขนงทางเคมี เช่น เคมีวิเคราะห์ อินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี เป็นต้น จากการประชุมจึงได้รับความรู้ที่นำมาประยุกต์เพื่อนำไปพัฒนาประเทศแบบยั้งยืน ที่เกี่ยวกับเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการดำ เนินงานและฟื้นฟูความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
-ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่ทันสมัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ ชื่อเรื่อง "Determination of Riboflavin and Folate in Honey and Rice using
High Performance Liquid Chromatography"
|
คำสำคัญ :
HPLC, rice, honey, riboflavin, folate
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2968
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิริรัตน์ ไพศาลสุทธิชล
วันที่เขียน
2/2/2566 12:28:11
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 7:19:05
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ PACCON 2019
»
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2564
|
ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมฟังสัมมนา 4 หัวข้อหลัก ดังนี้
1.1 การขับเคลื่อนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัย โดยรับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์การดำเนินการ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการผลักดันมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU SH&E) จากวิทยากร ศ.ดร. ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ โดยมีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์
1.2 มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการด้วยระบบประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checlist) ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของมาตรฐานความปลอดภัยทั้ง 7 องค์ประกอบหลัก และ Checklist ของแต่ละองค์ประกอบ และการถ่ายทอดประสบการณ์การผลักดันและการดำเนินงานมาตรฐานฯ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU SH&E) โดย รศ.ดร. วินิตา บุญโยดม
1.3 การเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่การตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยเพื่อการยอมรับร่วม (Peer evaluation) ได้เรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม และการขอตรวจประเมินห้องปฏิบัติการ โดย รศ.ดร.นัทธี สุรีย์
1.4 การประเมินความเสี่ยงและกระบวนการ PDCA เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 4 ขั้นตอนหลัก คือ การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การติดตาม/ทบทวนความเสี่ยง และการสื่อสารความเสี่ยง โดยใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดย รศ.ดร.เสาวรัตน์ จันทะโร
|
คำสำคัญ :
Laab safety
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
319
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุภาพร แสงศรีจันทร์
วันที่เขียน
26/9/2565 16:20:22
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 17:12:16
|
|
|
|
|
|
|
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล
»
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
|
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
โดย อาจารย์ วารุณี ผ่องแผ้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์
อบรมวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. Online ทาง Zoom cloud meeting
วิทยากร ศาสตราจารย์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
ศาสตราจาร์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การวางแผนการเขียนตำรา/วิจัย
หนังสือที่เรียบเรียงได้ดีจะเป็นผลงานที่สามารถนำไปประกอบการศึกษา อ้างอิงในการจัดการเรียนการสอนไปหลายสิบปี แต่ในทางสาขาการพยาบาลหากจะใช้ประกอบการเรียนสอนในสถาบันการศึกษาพยาบาลจะใช้ตำราตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงเพื่อปรับเนื้อหาวิชาการทางการพยาบาลในตำราให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ การออกแบบชื่อหนังสือ ตำรา ในสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ควรตั้งชื่อที่ประชาชนภายนอกสนใจเพราะเป็นเนื้อหาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ สำหรับหนังสือ ตำราทางการพยาบาลจะมีความเฉพาะเจาะจงกับความเป็นวิชาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้ที่อ่านหนังสือ ตำราจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเช่นนักศึกษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย อาจารย์พยาบาล และที่สำคัญในการเขียนหนังสือ ตำรา
ควรใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมทั้งประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากการศึกษาตำรา ทฤษฎี
การอยู่ในวิชาชีพใดๆจะต้องมีการติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่ตนเองอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเขียนตำรา รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพข้อมูลใหญ่จะอยู่ในกระทรวงสาธารสุข องค์การอนามัยโลก สถาบันการศึกษาทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบวิจัย แบบจำลองตัวแปร และข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องวางแผนวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หากนำมาใช้ในทางสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แยกตามพื้นที่ อาชีพ อายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนในการให้การพยาบาลทั้งในเชิงของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแล บำบัด รักษา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย
หนังสือ มีนิยามว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน หากเป็นงานที่มีหน่วยงานรับรองยิ่งจะทำให้หนังสือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่ ควรส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ด้วยวาจาผ่านคณะกรรมการ สภา องค์การปกครองส่วนทั้งถิ่นเพื่อจะได้รับข้อคิดเห็น การวิจารย์ได้จะยิ่งทำให้หนังสือนั้นได้รับการแก้ไข สะท้อนปัญหา
หนังสือรวบรวมบทความ (วิจัย) ข้อดีคือช่วยกันเขียนหลายคน ทำให้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เล่มหนึ่งใช้ประมาณ8-10เรื่อง รวมแล้วประมาณเล่มละ 200 หน้า เป็นขนาดเล่มที่เหมาะแก่การอ่าน ขอบเขตเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ควรสอดแทรก นโยบาย ควรมีหลักใหญ่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
ในทางสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การวางแผนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการสรุปผลงานที่มีการนำเสนอในการตรวจราชการเป็นประจำทุกปี สามารถนำมาประกอบในการเขียนหนังสือได้
ตำราทางวิชาการ
ตำราที่ดี พื้นฐานความรู้ หลักการ ขอบเขตของวิชา ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งวิวัฒนาการของศาสตร์ที่เรานำมาเขียน หลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย คำอธิบาย ซึ่งนักวิชาการที่ดีควรแสวงหาความรู้ใหม่ ติดตามความก้าวหน้า สถานการณ์ทางสุขภาพและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
|
คำสำคัญ :
การพยาบาล ตำรา หนังสือ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
353
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วารุณี ผ่องแผ้ว
วันที่เขียน
15/9/2565 11:48:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 17:13:14
|
|
|
|
|
|
|
|
สรุปและการนำไปใช้ประโยชน์การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 (online)
»
สรุปการนำไปใช้ประโยชน์The international Conference of the Genetics Society of Thailand 2022
|
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ด้าน DNA markers สามารถนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรมและ Phylogenetics คือ การตรวจสอบวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงออกมาในรูปของต้นไม้สายวิวัฒนาการโดยจะมีการแสดง แผนภูมิต้นไม้ (Phylogenetic tree) โดยใช้กิ่งสาขาแทนสายย่อยในการวิวัฒนาการ จากการพิจารณาจากความเหมือนและความแตกต่างในลักษณะทางกายภาพหรือทางพันธุกรรม ใช้หลักการสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้สายวิวัฒนาการเดียวบ่งบอกถึงบรรพบุรุษเป็นการศึกษาประวัติและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างหน่วยหรือกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น สปีชีส์ กลุ่มประชากร เป็นต้นด้าน geographic distribution ตัวอย่างการศึกษาทางด้าน Mitochondria DNAที่ศึกษาประเภทเต่า (turtle) ในประเทศไทย พบว่ามี 2 genetic clustering 3 haplotypes พบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมน้อย (low genetic diversity)ด้าน Genome-wide association study (GWAS) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเบสที่แตกต่างกันในจีโนมของกลุ่มประชากรหนึ่งๆ ต่อลักษณะฟีโนไทป์หนึ่งๆ ที่มีความแตกต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบบริเวณของดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับลักษณะฟีโนไทป์ ซึ่งสามารถศึกษาร่วมกับการศึกษาทางโอมิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลของบริเวณความก้าวหน้าและประสิทธิภาพในการตรวจสอบ genomic regions และยีนที่มีศักยภาพเฉพาะเจาะจงในการทดลองข้าวและการคัดเลือกจีโนม (genomic selection) ในโปรแกรมปรับปรุงข้าวด้านอีพีเจเนติกส์ (epigenetics) สามารถนำไปใช้ประโยชน์เน้นเกี่ยวกับ Epigenetics marks รวมการเกิดDNA methylation, histone modifications, and non-coding RNAs ที่จะสามารถควบคุมทางชีวภาพเป็นความรู้ทางด้าน หรือเรียกว่าพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ เช่นการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอ เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้น ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้น ๆ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือ epigenetic markings เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาจมีการเปิดปิดการถอดรหัส (transcription) และถ่ายทอดไปยังเซลล์ลูก (daughter cells) ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน ด้าน DNA gaps ช่องว่างของโครงสร้างเกลียวคู่ทำให้การคลายเกลียวไม่ยุ่งยากโดยเมื่อมีอายุน้อยจะดีกว่าตอนอายุมากขึ้น โดยอาจเกี่ยวข้องกับ DNA Methylation เป็นกระบวนการทางชีววิทยาโดยที่กลุ่มเมทิลถูกเติมเข้าไปในโมเลกุลดีเอ็นเอ เมทิลเลชันสามารถเปลี่ยนกิจกรรมของเซ็กเมนต์ DNA ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนลำดับ ร่วมกับการเกิดDNA damage เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของดีเอนเอที่ไม่ได้จำลองตัวเองเมื่อเกิดการจำลองตัวเองของดีเอนเอ ความเสียหายของดีเอนเอสามารถเกิดจากสารเคมีเกิดผิดปกติทั้งสองสายของดีเอน
ด้าน DNA Scientific Truth in Court เน้นเรื่องกฎหมายและวิทยาศาสตร์ (Law and Science) ประกอบด้วย 1.Law 2.Truth 3.Fact 4.Science 5.Certainly 6. Possible 7. Propable ส่วนประเด็นในพรบ.ต้องเน้นด้านต่าง ๆเช่น นิติเวชศาสตร์มอบหมายให้กระกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพพัฒนางานนิติเวชให้ครอบคลุมทั่วถึงและมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมทั่วประเทศและฐานข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์ ดีเอนเอ ลายพิมพ์นิ้วมือ แล้วจึงมาใช้ระบบ Intelligent Data Analysis Link (IDAI) การใช้โปรแกรมเนคเทค เชื่อมโยงดีเอนเอ ต้องมีDNA Databases ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลนิวิทยาศาสตร์และซักถาม
ตัวอย่างบทความภาคโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลองในข้าวพบว่า ยีน OsERF922 ตั้งอยู่บนโครโมโซมที่ 1 มีขนาด 1,096 bp ประกอบด้วย 1 exon ที่ปราศจาก intron การเปรียบเทียบลำดับยีน OsERF 922 จากความต้านทานและความอ่อนแอของพันธุ์ข้าว ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 base positions ที่แตกต่างกันซึ่งไม่ใช่ที่โดเมน AP2 (AP2 domain) sgRNAs ถูกออกแบบสำหรับในการใช้ CRISPR/Cas9 vector system for OsERF 922 gene แก้ไขยีนในข้าวนอกจากนี้ยังพบว่า มี 2 isolates ของ P. oryzae จากภาคเหนือของประเทศไทยสามารถเป็นสาเหตุเกิด blast lesionsที่ระยะต้นข้าวอายุ 5 สัปดาห์ที่จะเกิดที่ใบข้าวของพันธุ์ที่อ่อนแอ ด้วยวิธี in vitro spot inoculation สรุปคือมีการค้นหายีน OsERF922 ในข้าวไทย แล้วนำข้อมูลลำดับเบสของยีนที่ได้มาทำการออกแบบ sgRNA ของระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อนำไปแก้ไขยีน OsERF922 ให้ข้าวต้านทานต่อโรคไหม้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยาของพืชทางด้าน water logged conditions ในพืชจะทำให้ได้รับออกซิเจนน้อย พืชจะต้องปรับตัวให้มี aerial root โดยจะมี แอเรงคิมา (aerenchyma) เป็นเนื้อเยื่อรูพรุนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดช่องอากาศ ในราก ลำต้น หรือใบของพืชบางชนิด โดยช่องอากาศขนาดใหญ่นี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการแยกตัวออกจากกันของเซลล์พาเรงคิมาแบบ schizogeny โดยเซลล์แยกออกไปอยู่รอบ ๆ ช่องอากาศ หรือเกิดจากการสลายตัวของเซลล์พาเรงคิมาแบบ lysigeny โดยอาจเป็นลักษณะพันธุกรรม หรือเป็นการปรับตัวของพืชเพื่อตอบสนองต่อภาวะการขาดออกซิเจนซึ่งจะสมารถจะนำมาใช้ประโยชน์ทางการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทุเรียน ทาเจริญ ผู้รายงาน
|
คำสำคัญ :
DNA markers Phylogenetics Epigenetics marks aerenchyma
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1941
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ทุเรียน ทาเจริญ
วันที่เขียน
17/6/2565 8:26:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
24/3/2566 11:38:19
|
|
|