|
|
|
|
|
|
|
|
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
»
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)"
|
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นสองแนวทางหลักในการปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่อาจก่อให้เกิดโรคหรือความเสี่ยงต่างๆ โดยมีความแตกต่างในแนวทางการจัดการและการดำเนินการ ความปลอดภัยทางชีวภาพมุ่งเน้นไปที่การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือสารพันธุกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การใช้เทคโนโลยีทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ หรือการจัดการกับวัสดุชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย โดยมีการตั้งมาตรฐานและข้อบังคับที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในทางตรงกันข้าม การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพมุ่งเน้นที่การป้องกันภัยคุกคามจากการใช้งานและการจัดการทรัพย์สินทางชีวภาพที่มีค่าหรืออันตราย ซึ่งรวมถึงการป้องกันการโจรกรรม การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และการใช้ทรัพย์สินทางชีวภาพในทางที่ผิด โดยการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพจะเน้นที่การจัดการข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้งานหรือการจัดการที่ไม่เหมาะสม
การดำเนินงานในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพต้องมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงถูกจัดการอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรต่างๆ รวมถึงการพัฒนามาตรฐานที่เป็นสากลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างระบบการจัดการความเสี่ยงที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
33
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรินภา อ้ายเสาร์
วันที่เขียน
2/9/2567 15:55:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
16/9/2567 9:53:56
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy”
|
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้า นางอัจฉรา แกล้วกล้า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 36) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี (ในรูปแบบออนไลน์) นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 17 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 119 ปี เรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Bio-Circular-Green Economy” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “แนวทางการนำทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564" โดย ดร.สรรพวรรธ วิทยาศัย ผู้จัดการหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการได้ผลงานทางวิชาการแล้วนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ ที่ผ่านมาต้องมีการทำข้อตกลงในแต่ละขั้นตอนที่มีภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อหน่วยงานมหาวิทยาลัย และผู้วิจัยเป็นอย่างมาก สำหรับในปัจจุบันมหาวิทยาลัย จะต้องมีการจัดทำระบบในการเปิดเผยผลงานวิจัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัย และผู้วิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเป็นเจ้าของผลงานหรือไม่ภายในระยะเวลา 1 ปี และต้องมีการยื่นรายงานการขอนำไปใช้ประโยชน์ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการใช้สัญญาทุนภาครัฐ ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยต้องมีระบบ หน่วยงาน และแผนในการเตรียมข้อมูลว่าแต่ละงานวิจัยมีความคุ้มค่าการใช้ประโยชน์หรือไม่ เรียกว่า การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และ การจัดสรรประโยชน์ ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีระเบียบระบุไว้ว่างานวิจัยใดที่มีการนำไปใช้ในการเรียนการสอน งานวิจัยนั้นเป็นทรัพย์สินของทางมหาวิทยาลัย ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย มี 2 รูปแบบ คือ การจดทะเบียนให้ได้สิทธิ์ และการจดแจ้งสิทธิ์ ดังนี้
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จดทะเบียนให้ได้สิทธิ์ จดแจ้งสิทธิ์
- เครื่องหมายการค้า √
- ความลับทางการค้า/ความรู้ทางเทคนิค √
- แบบผังภูมิวงจรรวม √
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ √
- สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร √
- งานอันเป็นลิขสิทธิ์ √
- พืชพันธุ์ √
การบริหารกระบวนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการขึ้นทะเบียนในสิทธิ์หรือแจ้งสิทธิ์จะต้องมีความสอดคล้องและมีการวางแผน หากเผยแพร่ผลงานทางวิชาการไปก่อนหน้าแล้ว อาจไม่สามารถขึ้นทะเบียนในสิทธิ์หรือแจ้งสิทธิ์ได้ ข้อควรระวังในการทำแผนการใช้ประโยชน์ภายหลังการเปิดเผยผลงานทางวิชาการ คือ แผนการใช้ประโยชน์ควรมีเทคนิคการเขียนให้สามารถทำได้ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์สูง หากเปอร์เซ็นต์ผลลัพธ์ต่ำ หรือทำได้น้อยกว่าแผน จะทำให้ผลงานที่เป็นทรัพย์สินนั้นไม่สามารถอ้างสิทธิ์ได้
1.2 เข้ารับฟังการปาฐกถาพิเศษโดย ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ในหัวข้อเรื่อง “งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยโมเดลเศษฐกิจ BCG (Bio-circular-Green Economy)” โดยได้บรรยายเกี่ยวกับการนำ BCG มาใช้เพื่อพัฒนาประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีโปรแกรมเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศ ประกาศโดยสหประชาชาติ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโปรแกรม BCG เพื่อตอบสนองต่อการท้าทายในปัจจุบันจนถึงอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็นท้าทาย สิ่งที่พบหรือปรากฏการณ์
Digital disruption ครั้งที่ 1 internet ครั้งที่ 2 mobile internet ครั้งที่ 3 internet of think ครั้งที่ 4 AI and Robotic
Geopolitical Risk ตะวันออกกลาง จีน vs ไต้หวัน รัสเซีย vs ยูเครน
Healthcare crisis SARs>Ebola>Covid-19
Recession Inflation>Oil price>GDP drop
Climate Change Natural disasters Activist vs Protester Regulatory uncertainly Business risks
ประเด็นท้าทายเหล่านี้มีประโยชน์ในการขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การเกิด covid-19 นำสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ และ internet conference โดยรัฐบาลได้มีการตอบสนองต่อประเด็นท้าทายเหล่านี้ในหลายๆ นโยบาย เช่น นโยบายการเงินสีเขียว การสร้างข้อตกลงใน APEC Economy ร่วมกับนานาประเทศ เป็นต้น การทำแผน BCG model ตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. 2565 เรียกว่า แผนปฏิบัติการการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลทางเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2570 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การเพิ่มอัตราการเจริญทางเศรษฐกิจ การลดความเหลือมล้ำ การรักษาธรรมชาติ และการพึ่งพาตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อน รัฐบาลได้วางกลไกการขับเคลื่อนส่วนหนึ่งผ่านทาง สวทช. ในการเอาความรู้ทางด้านการวิจัยมาสนับสนุน BCG ซึ่งทรัพยากรด้านบุคคลมีมากถึง 2,901 คน ซึ่งอยู่ในระดับปริญญาเอกถึง 67% และมีการวางแผนให้สอดคล้องกับ BCG มีเป้าหมายเพื่อยกระดับให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต
1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
1.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
1.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน การสอน และการทำงานวิจัย
1.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
2. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์และถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาและผู้ร่วมงาน ใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะเป็นอย่างยิ่งโดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
177
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
31/3/2567 11:09:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
15/9/2567 18:13:57
|
|
|
|
|
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานภาคบรรยายในการประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ครั้งที่ 12 (Thai Forest Ecological Research Network Conference, T-FERN # 12) หัวข้อเรื่อง “ธรรมชาติ ป่าไม้ และที่ดิน: การปรับตัวและการบรรเทาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธุ์ 2566
|
คุณสมบัติในการต้านออกซิเดชันและการยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุฟันผุของสารสกัดใบเมี่ยงธรรมชาติ
Characteristics of Antioxidation and Antibacterial of Dental Caries by Natural Miang Extracts
มธุรส ชัยหาญ1 วชิระ ชุ่มมงคล2 เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์3 ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ4 และธีระพล แสนพันธุ์5
1 หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
2 หลักสูตรเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
3 คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
4 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการป่าไม้) มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ แพร่ 54140
5 สาขาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ 50290
*Corresponding author: E-mail: mathurot@mju.ac.th
บทคัดย่อ
แบคทีเรีย Streptococcus mutans เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคฟันผุซึ่งพบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้จึงมุ่นเน้นหาสารที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียสาเหตุฟันผุโดยใช้สารสกัดใบเมี่ยงในตัวทำละลายเอทานอลมาศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. mutans สายพันธุ์ DMST18777 และ Lactobacillus spp. สารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงโซนใสการยับยั้งได้ดีที่สุด เท่ากับ 14.50 ± 0.70 และ 21.30 ± 0.60 มิลลิเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ สารสกัดหยาบใบเมี่ยงจังหวัดพะเยา แสดงโซนใสการยับยั้งเท่ากับ 12.30 ± 0.50 และ 18.00 ± 0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ การศึกษาเบื้องต้นโดยวิธี disc diffusion พบว่า S. mutans และ Lactobacillus spp.ไวต่อสารสกัดเอทานอล ผลการวิเคราะห์ระดับฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าใบเมี่ยงมีค่าเฉลี่ยปริมาณฟีนอลิกรวม เท่ากับ 17.54 มิลลิกรัม แกลลิค/กรัม ตัวอย่างและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบเมี่ยง มีค่าเฉลี่ย 14.03 ไมโครโมล
คำสำคัญ ใบเมี่ยง, สารฟีนอลิก, ฟลาโวนอยด์, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน
Abstract
Streptococcus mutans is one of important causes for tooth decay. The ethnomedicine uses Miang leaves for decrease in stomachache, increase in appetite, and decrease toothache. Streptococcus mutans is the main pathogen responsible for the development of dental caries in humans, especially in developing countries. There is a global need for alternative preventions and products for dental caries that are safe, economical and effective. Camellia sinensis var. assamica extracted showed strong antibacterial activity. The aims of this research were isolation and antibacterial activity evaluation of chemical compounds from dry Miang leaves. The crude ethanolic extract was partitioned with 95 % ethanol. The chemical substances were evaluated in antibacterial activities for S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus sp. It was found that crude extracts from Maehongson province gave the higher inhibition activity to S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus spp. with inhibition zone of 14.50 ± 0.70 and 21.30 ± 0.60 mm, respectively followed by the crude extracts from Phayao province. Crude extracts from Phayao province showed activity against S. mutans DMST 18777 and Lactobacillus spp. with inhibition zone of 12.30 ± 0.50 and 18.00 ± 0.50 mm, respectively. Preliminary screening for antibacterial activity of the extracts was performed by paper disc diffusion method. The diameter of inhibition zones indicated that 80 % of S. mutans were susceptible to ethanol extracts. The results from the study of antioxidant shows that Miang leave has an average phenolic content of 17.54 mg GAE/g sample and the extracts have highest antioxidant average of 14.03 micromol. These results suggest that the extract of Camellia sinensis var. assamica might be useful for the control of bacteria causing dental caries and subsequent dental caries development.
Keywords : Miang, Phenolic, Flavonoid, Antibacterial, Antioxidation
|
คำสำคัญ :
ใบเมี่ยง, สารประกอบฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย, กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
558
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
18/4/2566 11:18:39
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
18/9/2567 11:46:05
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น”
|
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาติให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 35) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี (ในรูปแบบออนไลน์) นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 16 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 118 ปี เรื่อง “50 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล” โดย ศาสตราจารย์ ดร. พีระพงศ์ ทีฑสกุล ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย กกอ. และคณะอนุกรรมการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1.2 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดของสารสกัดหยาบเอทานอล จากเหง้ากระเจียว” โดย คุณอุมาพร ทาไธสง ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค 5 ชนิดได้แก่ Bacillus subtilis TISTR 6633, Listeria monocytogenes DMST 17303, Salmonella Enteritidis ATCC 13076, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 และ Proteus mirabilis ผลการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่า สารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวสามารถยับยั้งการเจริญของ B. subtilis TISTR 6633 และ L. monocytogenes DMST 17303 แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ S. Enteritidis ATCC 13076, P. aeruginosa ATCC 27853 และ P. mirabilis เมื่อทําการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (minimal inhibitory concentration, MIC) ด้วยวิธีการ agar dilution พบว่า ค่า MIC ของสารสกัดหยาบเอทานอลจากเหง้ากระเจียวต่อ B. subtilis TISTR 6633 และ L. monocytogenes DMST 17303 เท่ากับ 1,250 และ 312.5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ในขณะที่ S. Enteritidis ATCC 13076, P. aeruginosa ATCC 27853 และ P. mirabilis มีค่า MIC >5,000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
1.3 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การพัฒนาสารอาหารทดแทนที่เหมาะสมเพื่อการผลิตเอทานอล” โดย คุณกรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการนําแป้งไฮโดรไลเซตซึ่งได้จากการย่อยแป้งมันสําปะหลังด้วยเอนไซม์ มาทดแทนการใช้กากน้ำตาลเพื่อลดต้นทุนการผลิตเอทานอล โดยหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างกากน้ำตาลต่อแป้งไฮโดรไลเซตในการเลี้ยงยีสต์ Saccharomyces cerevisiae M1 ในสูตรอาหารที่มีอัตราส่วนของกากน้ำตาลต่อแป้งไฮโดรไลเซต 90:10, 70:30, 50:50 และ 100:0 (ชุดควบคุม) ตามลําดับ พบว่าการใช้อัตราส่วน 50:50 ให้ผลผลิตเอทานอลสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 10.22 โดยปริมาตรต่อปริมาตร
1.4 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของแสง LEDs ต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์กล้วยไม้เหลืองจันทบูร” โดย คุณพรพรรณ สุขุมพินิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี โดยได้ทำการศึกษาการเลี้ยงกล้วยไม้หวายจันทบูรภายใต้แสงที่แตกต่างกัน คือ แสงฟลูออเรสเซนต์สีขาว, แสงสีส้ม (LEDs อัตราส่วน Warm white 165 ดวง : Red 60 ดวง), แสงสีม่วง (LEDs อัตราส่วน Red 165 ดวง : Blue 60 ดวง) และแสงสีชมพู (LEDs อัตราส่วน Red 77 ดวง : Blue 44 ดวง : Orange 77 ดวง : White 24 ดวง) เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่า การเจริญเติบโตทางด้านความสูง และจํานวนใบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.05) แสงสีส้มมีแนวโน้มส่งผลให้มีความสูงและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลําลูกกล้วยเฉลี่ยมากที่สุด (20.89 และ 0.74 เซนติเมตร ตามลําดับ) และแสงสีขาวมีแนวโน้มมีจํานวนใบมากที่สุด ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของสารสกัดกล้วยไม้ พบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีขาวมีปริมาณมากที่สุดแต่ไม่แตกต่างจากสารสกัดที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้ม เช่นเดียวกับปริมาณฟลาโวนอยด์รวมที่สารสกัดแสงสีขาวมีปริมาณใกล้เคียงกับสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้มและสีม่วง ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดกล้วยไม้ที่เลี้ยงด้วยแสงสีส้มและสีม่วงให้ผลดีที่สุด จากผล การทดลองแสดงถึงแนวโน้มที่ดีในการเลี้ยงกล้วยไม้ภายใต้แสง LEDs เพื่อลดเวลาในการปลูก และสามารถควบคุมปริมาณ สารออกฤทธิ์ที่ต้องการได้เมื่อเทียบกับการปลูกในธรรมชาติ
1.5 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของความเค็มที่มีต่อการบริโภคออกซิเจนของลูกกุ้งขาวแวนนาไม ระยะโพสต์ลาวา” โดย คุณนงนุช ตั้งเกริกโอฬาร ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาบูรพา ได้ศึกษาอัตราการบริโภคออกซิเจนของลูกกุ้งขาวแวนนาไม ระยะโพสต์ลาวา (postlarva) ที่ระดับความเค็ม 0, 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน ที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ลูกกุ้งที่ใช้ในการทดลองมีความยาวเฉลี่ย 0.830.20 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 0.0131±0.0056 กรัม จากการศึกษาพบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจน ต่อน้ำหนักของลูกกุ้ง 1 กรัม ที่ระดับความเค็ม 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 ส่วนในพันส่วน มีค่าเท่ากับ 9.12, 11.59, 11.85, 9.76, 10.86 และ 9.68 µmol/h ตามลําดับ ซึ่งมีค่าต่ำกว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 14.46 และ 17.41 µmol/h ตามลําดับ เมื่อทําการทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า อัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 0, 15, 20 และ 25 ส่วนในพันส่วน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่มีค่าต่ำกว่าของอัตราการบริโภคออกซิเจนที่ระดับความเค็ม 5, 10, 30 และ 35 ส่วนในพันส่วน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05)
1.6 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การใช้พรมมิ (Bacopa monnieri) ในอาหารปลาต่อการต้านเชื้อ Aeromonas sp. ในปลาหางนกยูง” โดย คุณสราวุธ แสงสว่างโชติ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี โดยได้ทำการศึกษาพืชน้ำในประเทศไทยสกุลพรมมิ (Bacopa monnieri) เพื่อใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับปลาหางนกยูง ด้วยการสกัดพรมมิอบแห้งโดยใช้เอธานอล แล้วนําสารที่ได้มาเคลือบอาหารเม็ด ที่ความเข้มข้น 0, 250, 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้พรมมิ ให้ปลากินอาหารเป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วนํามาทดสอบทําให้ติดเชื้อกับแบคทีเรียแกรมลบ Aeromonas sp. ศึกษาอัตรา การรอดตาย พบว่าปลาหางนกยูงที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดจากพรมมิสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าชุดการทดลองควบคุม โดยชุดการทดลองที่ให้ผลดีที่สุด คือ ชุดการทดลองที่ผสมสารสกัดพรมมิ 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร
2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
2.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน การสอน และการทำงานวิจัย
2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์และถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาและผู้ร่วมงาน ใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัย นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหลักสูตรและคณะเป็นอย่างยิ่งโดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
475
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
26/3/2566 10:48:54
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
15/9/2567 17:35:13
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation 15th-17th December 2021 via ZOOM Video Conference
|
Plant growth promotion Traits and Antagonistic effect in White Root Disease of Rhizobacteria in Hevea Rubber of Thailand
Mathurot Chaiharn 1* and Saisamorn Lumyong 2
1 Programmed in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University, Chiangmai, 50290, THAILAND
2 Department of Biology, Faculty of Science, Chiangmai University, Chiangmai, 56000, THAILAND
*Corresponding Author for correspondence; e-mail: mathurot@mju.ac.th
White root disease causing by Rigidoporus sp. is a severe problem that decreases latex productivity and can even cause mortality of rubber trees. With the aim to control biologically this disease, antifungal rhizobacteria were isolated from rhizospheric soils of Hevea brasiliensis plants cultivated in Thailand. Among all isolated actinobacteria, an isolate Lac-17, Lac-19 and LRB-14 exhibited distinctive antagonistic activity against the fungus. Lac-17, Lac-19 and LRB-14 were produced ammonia, β-1,3-glucanase, cellulase, chitinase, protease, indole-3-acetic acid, phosphate solubilization, and siderophores. They were inhibited the mycelial growth of Rigidoporus sp. in vitro and the best antagonistic strain were Streptomyces Lac-17. According to cell wall composition analysis and 16S rRNA homology, Lac-17 strains were identified as Streptomyces malaysiensis Lac-17. The plant growth promoting and antifungal activity of Streptomyces malaysiensis Lac-17 in this study highlight its potential suitability as a bioinoculant.
Keywords Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
คำสำคัญ :
Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2768
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
20/12/2564 14:25:59
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
17/9/2567 23:38:39
|
|
|
|
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ
»
ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน”
|
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 14 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีครบ 116 ปี “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ดังนี้
1. เนื้อหาที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม
1.1 เข้ารับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิจัยนวัตกรรม สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1.2 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมวัสดุผสมไททาเนียมไดออกไซด์และไฮดรอกซีอะพาไทต์สำหรับใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์บนวัสดุรองรับ” โดย คุณศุภกร เดโช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.3 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก” โดย อ.ร้อยทิศ ญาติเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
1.4 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากชีวมวลหญ้าดอกแดงโดยใช้เอนไซม์” โดย คุณ ณัฐธิดา ประภารัตน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1.5 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “เจลพอลิเมอร์สำหรับประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์วัดปริมาณรังสีในงานประจำ” โดย คุณ ธนกร ทองพุ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.6 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและลักษณะเฉพาะของเส้นใยนาโน PVP/SnO2 ด้วยเทคนิคอิเลกโทรสปินนิ่ง” โดย คุณ กชกร ยังให้ผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.7 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การวิเคราะห์แนวโน้มของอุณหภูมิในเขตเมืองและเขตชนบททางภาคเหนือของประเทศไทย” โดย ผศ.ดร. จุฑาพร เนียมวงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1.8 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ผลของความเข้มข้นสารละลายไคโตซานต่อค่าการส่งผ่านแสงของฟิล์มบางไคโตซานที่สังเคราะห์ด้วยวิธีการจุ่มเคลือบ” โดย คุณ พทรา เหล่าพาณิชยางกูร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.9 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมและขึ้นรูปเส้นจากใบสับปะรดเพื่อนำไปเป็นวัสดุกรองอากาศสำหรับกำจัดแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์” โดย คุณ ธนาภรณ์ วงษ์ธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1.10 เข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง “ระบบควบคุมสภาพอากาศสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ดเมืองหนาวขนาดเล็กด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์” โดย ผศ. ชาคริต วินิจธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ
2.2 ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน
การสอน และการทำงานวิจัย
2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานวิจัยระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ
3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยใหม่ๆ ของนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน โดยได้นำความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ นอกจากนั้นยังได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ กับนักวิจัยที่เชี่ยวชาญ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานเป็นอย่างยิ่ง โดยจะช่วยทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1439
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อัจฉรา แกล้วกล้า
วันที่เขียน
3/10/2564 16:05:49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
7/9/2567 16:08:24
|
|
|
|
|
จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
»
หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย
|
สรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการเข้าร่วมการอบรม “หลักสูตร จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับนักวิจัย” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้
- ทราบแนวทางการเตรียมความพร้อมในการผลิตโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ทราบคุณสมบัติสำคัญที่นักวิจัยต้องเตรียมเพื่อการยื่นเสนอขอรับรอง โครงร่างการวิจัยด้านจริยธรรมการวิจัยในคน ตามมาตรฐานของการรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับชาติ ในองค์กรตัวย่อ NECAST
- ทราบถึง ความเป็นมาของจริยธรรมในคน แนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและความรับผิดชอบในการดำเนินงานวิจัย
- ทราบบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยและผู้วิจัย รวมถึงการทราบลักษณะของภาวะเปราะบาง หลักการรักษาความลับอาสาสมัคร กระบวนการขอความยินยอม
- ทราบ หลักการประเมินความเสี่ยงและคุณประโยชน์ รวมถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรมในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสังคมศาสตร์
|
คำสำคัญ :
จริยธรรมในคน
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1503
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/9/2564 11:07:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
17/9/2567 22:25:21
|
|
|