ในกระบวนการการสร้างหลักสูตรฯ ตามแนวทาง outcome-based education (OBE) จะสร้างหลักสูตรฯ ให้มีความสอดคล้องเชิงโครงสร้าง (constructive alignment) โดยจะสอดคล้องกันระหว่าง POLs CLOs กระบวนการเรียนการสอน และ การประเมินการเรียนการสอน การออกแบบหลักสูตรแบบ backward curriculum design (BCD) เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ออกแบบหลักสูตรตามแนวทาง OBE โดยจะใช้ PLOs ที่พัฒนามาดีแล้ว (สอดคล้องกับ stakeholder`s needs/requirements, สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ, มี action verb ที่ชัดเจน และมีทั้ง Specific PLOs และ generic PLOs) มาพัฒนาเป็นรายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งจะทำให้ได้มาซึ่งวิชาและคำอธิบายรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรฯ ลำดับการเรียน แผน/โครงสร้างของหลักสูตรฯ รวมทั้ง curriculum mapping ด้วย กระบวนการออกแบบหลักสูตรฯ แบบ BCD มีขั้นตอนดังนี้ 1) เขียน PLOs ให้ชัดเจน 2) เรียงลำดับ PLOs ตาม learning level จากระดับล่าง - บน โดยเริ่มวิเคราะห์จาก specific LOs ก่อน generic LOs และจาก learning level ระดับล่างก่อน โดยปกติแล้ว PLOs แรกๆ มักมี learning level ต่ำกว่า PLOs หลังๆ PLOs ของป.โท สามารถใช้ R/U ได้ขึ้นกับความจำเป็น การค่อยๆ ไต่ระดับไปจะทำให้การจัดการเรียนการสอนครบถ้วนสมบูรณ์และการประเมินได้ง่ายกว่าการเขียนรวม PLOs แล้วใช้ learning level สูงๆ (เช่น ประยุกต์ใช้หลักการทางพันธุศาสตร์ (Ap) (แฝงการอธิบายหลักการไว้) ควรแยกเป็น อธิบายหลักการ… (U) และ ประยุกต์ใช้ (Ap) ออกจากกัน เพื่อการประเมินที่ชัดเจน 3) นำ PLOs มาแจกแจงข้อมูลของ Knowledge (K), specific skills (SS), generic skills (GS), attitude/affection (ทำเป็นตาราง) โดยแจกแจงออกมาให้ละเอียดและรอบด้านที่สุด 4) พิจารณา ข้อมูลในตาราง (ข้อ3) เลือกเฉพาะข้อที่ “ต้อง” ทำ ไม่เลือกข้อที่ “ควร” ทำ 5) พิจารณาว่า SS, GS และ attitude/affection มีความรู้พร้อมแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อม ให้เพิ่มความรู้เข้าไป 6) ใช้การคาดสี/โยงเส้น เพื่อจัดกลุ่ม K, SS, GS, attitude/affection ที่เป็นกลุ่มเดียวกัน สร้างเป็นรายวิชา/โมดูล แล้วนำคำจาก K, SS, GS, attitude/affection มาสร้างเป็นคำอธิบายรายวิชา 7) สร้าง curriculum mapping ระหว่าง PLOs และวิชาต่างๆ ซึ่งจะได้จากการทำ BCD อยู่แล้ว โดย generic LOs มักจะแฝงในบางวิชาจากการทำ BCD ของ specific LOs สามารถ map ไปในรายวิชาได้เลย 8) สร้าง โครงสร้างหลักสูตร (curriculum structure) ทำเป็นตารางระหว่าง โดยเรียง Specific LO ขึ้นก่อน และเรียงตาม learning level แล้วจัดเป็นกลุ่ม basic, intermediate และ advanced courses โดยจะมี learning level ไต่ระดับขึ้นไปตามกลุ่มของรายวิชา (วิชาที่สร้างจาก (BCD) PLOs ชั้นล่างๆ เช่น R/U เรียงก่อน เป็น basic) (วิชาที่สร้างจาก (BCD) PLOs ชั้นกลางๆ เช่น Ap/An เรียงตามมา) (วิชาที่สร้างจาก (BCD) PLOs ชั้นสูงๆ เช่น E/Cr เรียงหลังสุด) นอกจากนี้ การดำเนินงานของหลักสูตรฯ ต้องมี control points/check points เพื่อติดตามการบรรลุ PLOs ซึ่งสามารถกำหนดการตรวจสอบได้อย่างอิสระ เช่น ทำเป็น YLOs – จบปี 1, จบปี 2 เป็นต้น การออกแบบ YLOs ให้สอดคล้องกับ PLOs ให้นำแผนการเรียนและ PLOs (เรียงตาม level) มาพิจารณาร่วมกันทีละข้อ ว่าสิ้นปีที่ 1 บรรลุ PLO 1 มั้ย เช่น หาก PLO 1 จะบรรลุบางส่วนที่ปีที่ 1 และบางส่วนบรรลุปีที่ 2 ให้เขียนว่า ปีที่ 1 เด็กทำอะไรได้ ปีที่ 2 เด็กทำอะไรได้ เป็นต้น ทำต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุก PLOs ก็จะทราบว่า แต่ละปี เด็กจะทำอะไรได้บ้าง การประเมิน YLOs ทำได้โดย สร้างข้อสอบหลังเรียนครบปี หรือ สร้างข้อสอบฝากไว้ที่ข้อสอบปลายภาคของวิชาที่เกี่ยวข้อง หรือสร้างเครื่องมือในการประเมินที่เหมาะสม โดยต้องสร้าง/กำหนดการประเมินล่วงหน้าเท่านั้น สำหรับเกณฑ์การบรรลุ YLOs สามารถกำหนดตามที่หลักสูตรฯพอใจ (ไม่ควรต่ำกว่า 65%) ว่าบรรลุเท่าใดจึงจะเรียนต่อไปได้ หากพบว่าเกณฑ์ต่ำไป สามารถเพิ่มเกณฑ์ในปีต่อไปได้