Blog : สรุปรายงานการอบรม
รหัสอ้างอิง : 640
ชื่อสมาชิก : ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช
เพศ : หญิง
อีเมล์ : chamaiph@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/11/2554 14:55:25
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/11/2554 14:55:25

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปรายงานการอบรม
จากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการพัฒนานักวิจัย เรื่อง “เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 ณ ห้องคาวบอยเธียเตอร์ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดย สำนัก วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น ขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ 1.การพัฒนาด้านงานวิจัย ได้รับฟังการบรรยายจาก คุณสุนันทา สมพงษ์ ผู้อำนวยการกอง กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ถึงเทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องเทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัย และ นำมาปรับปรุงการเขียนโครงร่างงานวิจัย เพื่อขอทุนอุดหนุนจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2557 โดยเสนอโครงร่างงานวิจัยเรื่อง การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของสุกรพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ (Genetic Diversity Detection of native pigs in Chiang Mai Province for species conservation) ผลจากการนำเสนอโครงร่างทำให้ได้รับทุนอุดหนุนในงานวิจัยชิ้นนี้ 2.การพัฒนาด้านการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ มาพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา วท 498 การเรียนรู้อิสระ ซึ่งสามารถนำมาใช้สอนนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ถูกวิธี
สรุปรายงานการอบรม » การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills) 2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills) 3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills) เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ และที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนทันเวลาตามสถานการณ์ได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม และนำไปสู่สภาวะซึมเศร้าได้ จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ
คำสำคัญ : 4P  Active learning  Digital skills  Look-Smile-Talk  Personal skills  Teaching skills  แบบสอบถามใจ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2261  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 15/11/2564 16:19:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/9/2567 15:46:42
สรุปรายงานการอบรม » การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learner ที่มีคุณลักษณ์ Soft Skill
ในปัจจุบันการเรียนการสอนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เอง โดยผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงเป็นผู้จัดเตรียมและสนับสนุนกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ซึ่งการสื่อสาร การช่วยเหลือ ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ และยังทำให้เกิดทักษะด้านต่างๆ ตามมา เช่น ทักษะการค้นคว้า ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านภาษา ทักษะการทำงานเป็นทีม ร่วมทั้งการรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งเรียกทักษะเหล่านี้ว่า Soft skill ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดว่าต้องการพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนด้านใด ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักสามารถพัฒนา Soft skill ของผู้เรียนควบคู่ไปด้วยเช่นกัน
คำสำคัญ : Active learner  Soft skill  การเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5332  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 2/4/2562 18:07:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 2:42:06
สรุปรายงานการอบรม » เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ
ในปัจจุบันงานวิจัยไม่ได้สืบค้นข้อมูลเฉพาะในสาขาของตัวเองเท่านั้น ยังมีการค้นหาข้อมูลนอกสาขามากถึง 44% และมีความร่วมมือกับสาขาอื่น และนอกประเทศ ถึง 47% โดยเฉลี่ยนักวิชาการมีการอ่านวารสาร 6 เรื่องต่อสัปดาห์ ซึ่งได้จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ScienceDirect หรือ Mendeley หรือ EBSCO เป็นต้น สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ 3,800 Journals ครอบคลุม 24 สาขา
คำสำคัญ : EBSCO  Mendeley  ScienceDirect  การสืบค้นฐานข้อมูล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3351  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 18/4/2560 16:28:50  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/9/2567 13:32:09
สรุปรายงานการอบรม » “การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย 4.0”
การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย 4.0 เพื่อการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะตามที่โลก 4.0 ต้องการ คือ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองที่ดี มีศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งรูปแบบการสอนได้เปลี่ยนแปลงการถ่ายทอดความรู้ มาเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ผ่านการฝึกฝนให้เกิดทักษะโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายมิติ
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัย 4.0 นวัตกรรมการเรียนการสอน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3063  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 14/3/2560 14:49:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 12:25:54
สรุปรายงานการอบรม » สรุปรายงานการอบรม: การประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลในการประเมินด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และ การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรง การเสื่อมโทรม และการทำลายทัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่อาศัย ปริมาณอาหาร การขยายเผ่าพันธุ์ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิต การเจริญเติบโต เป็นต้น กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำมีปัจจัยควบคุมทั้งภายใน (พันธุกรรม) และภายนอก(ถิ่นที่อยู่อาศัย คุณภาพและปริมาณอาหาร อุณหภูมิ แสงสว่าง) ซึ่งในการศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำจะใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและประสิทธิภาพการใช้อาหารของสิ่งมีชีวิต
คำสำคัญ : ชีวโมเลกุล, การเจริญเติบโตของสัตว์และสัตว์น้ำ, T/C ratio, RNA/Protein ratio  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3799  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 6/6/2559 14:49:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 7:49:18
สรุปรายงานการอบรม » สรุปรายงานจากการเข้าร่วม โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดประชุมวิชาการโดย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ ได้มีการเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยาย และภาคโปรสเตอร์ในสาขาต่างๆ มากมาย เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาสังคมและมนุษยศาสตร์ จากหลายสถาบัน โดยการเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ได้มีการบรรยายตามสาขา และห้องที่แยกกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในงานวิจัย ทำให้เกิดความรู้และมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้น ส่วนภาคโปรสเตอร์ ได้มีการจัดแสดงโปรสเตอร์วิชาการ บริเวณจัดงานประชุมฯ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเดินชม และสอบถามงานวิจัย ได้จากเจ้าของผลงานโดยตรง จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานวิจัย และการเรียนการสอนได้
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการแม่โจ้ 2558  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5210  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 7/3/2559 14:28:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/9/2567 11:52:27
สรุปรายงานการอบรม » Phylogenetics Tree Reconstruction
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Phylogenetics Tree Reconstruction จัดอบรมโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้าน Molecular Phylogenetics โดยได้รับฟังบรรยาย และฝึกทำปฏิบัติการ จาก รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฏา เด่นดวงบริพันธ์ และผู้ช่วยวิทยากร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันศาสตร์และเครื่องมือทางด้าน Molecular Phylogenetics มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาความหลากหลายของสิงมีชีวิต เพราะเป็นการนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ร่วมกับการใช้ข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุล ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจในการศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอนุรักษ์ ในอีกหลายสาขาวิชา ตลอดการเข้าร่วมฝึกอบรมจะเป็นการฟังบรรยาย โดยเน้นที่หลักการสำคัญเกี่ยวกับ Basic molecular evolution, Molecular phylogenetics tree, Phylogenetics inference method และฝึกทำปฏิบัติการ DNA and protein sequence searching, Multiple sequence alignment, Phylogenetics tree and distance method, Maximum likelihood method, Bayesian method ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในฐานะผู้ใช้โปรแกรม (User) ทำให้เข้าใจ วิธีการ การใส่ข้อมูล การเลือกตัวแปร (parameter) การวิเคราะห์ และการเลือกใช้โปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งการวิเคราะห์และแปลผลที่ได้จากการใช้วิธีต่างๆ (Model analysis) การศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน คือ การตรวจสอบวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างยีน (Gene) กับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามรถใช้โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงออกมาในรูปของ Phylogenetics Tree และการศึกษาทางด้านนี้จะต้องพิจารณาถึง Monophyletic group คือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน และบอกกล่าวได้ว่าสิ่งมีชีวิตไหนวิวัฒนาการก่อนหลัง ซึ่งจะสะท้อนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการได้
คำสำคัญ : Phylogenetics Tree  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8591  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 3/9/2558 13:12:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/9/2567 1:50:17
สรุปรายงานการอบรม » การเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการพัฒนานักวิจัย เรื่อง “เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน”
การเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการพัฒนานักวิจัย เรื่อง “เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน” นั้น ทำให้ทราบวิธีการเขียนโครงร่างที่ถูกที่วิธี และสามารถตอบโจทย์งานวิจัยได้
คำสำคัญ : โครงร่างงานวิจัย ทุนสนับสนุน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3728  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 9/9/2557 14:43:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/9/2567 18:39:08

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้