|
|
|
|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
เริ่มต้นการพัฒนาด้วย React-Native
|
การใช้ React Native กับ TypeScript เป็นการเพิ่มความปลอดภัยของชนิดข้อมูลให้กับ JavaScript โดยการใช้ Type Checking ที่ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนา React Native คือ เฟรมเวิร์กที่ใช้สำหรับพัฒนาแอปมือถือข้ามแพลตฟอร์ม (iOS และ Android) ด้วย React และ JavaScript วิธีการเริ่มต้น: ติดตั้ง Node.js และ Expo CLI ดาวน์โหลด Node.js และติดตั้ง Expo CLI (npm install -g expo-cli) สร้างโปรเจกต์ใหม่ด้วย TypeScript ใช้คำสั่ง expo init MyApp --template expo-template-blank-typescript เพื่อสร้างโปรเจกต์ใหม่ที่ใช้ TypeScript เขียนคอมโพเนนต์ สร้างคอมโพเนนต์ในไฟล์ .tsx ซึ่งสามารถใช้ประเภทข้อมูล (types) เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานโค้ดเป็นไปอย่างถูกต้อง ตั้งค่า TypeScript ใช้ไฟล์ tsconfig.json เพื่อกำหนดการตั้งค่าของ TypeScript พัฒนาและทดสอบ ใช้คำสั่ง expo start เพื่อเริ่มเซิร์ฟเวอร์พัฒนาและทดสอบแอปบน Emulator หรืออุปกรณ์จริง ข้อดี: Type Safety: ช่วยจับข้อผิดพลาดได้ก่อนที่จะรันแอป การพัฒนาเร็วขึ้น: การใช้ TypeScript สามารถทำให้การพัฒนาเร็วขึ้นด้วย IntelliSense และการตรวจสอบข้อผิดพลาด การใช้ React Native กับ TypeScript จะทำให้การพัฒนาแอปของคุณมีความมั่นคงและปราศจากข้อผิดพลาดมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้การพัฒนาเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
|
คำสำคัญ :
Component Expo-CLI NativeWind React-Native
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
517
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
1/9/2567 12:23:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
11/12/2567 14:17:55
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
419
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
8/12/2567 20:18:26
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|