ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 158
ชื่อสมาชิก : ลัคนา วัฒนะชีวะกุล
เพศ : หญิง
อีเมล์ : lakhana@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 29/1/2554 22:14:31
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 29/1/2554 22:14:31


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning) ซึ่งจัดโดย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาต้องมีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไทย และสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศสู่ยุค Thailand 4.0 วิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถทำได้หลากหลายวิธี เรียกแบบรวมว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยในวิธีการที่หลากหลายนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ Project-based learning ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ และสารมารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ การค้นคว้าหาความรู้ รวมไปถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี ในการอบรมนั้น ผู้บรรยายได้กล่าวถึงลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีดังนี้ 1. เป็นกระบวนการทางปัญญา พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. บูรณาการสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจ ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน 4. เน้นกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ 5. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยโครงงาน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่าผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหาและการค้นพบด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้กลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ความรู้ไม่ใช่เกิดจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนสามารถสร้างเองได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถเก็บข้อมูลของสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นโครงสร้างของสมองตนเอง และสามารถนำความรู้เดิมที่มีอยู่ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ จนเกิดเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเรียนรู้แบบร่วมมือยังส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน รับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จากความรู้ที่ได้รับในการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชา สต 413 สถิติสำหรับวิจัยทางการเกษตร ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานี้(1/2561) ในบทของการเขียนโครงร่างการวิจัย โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 11 กลุ่ม ๆ ละ 4 คน แต่ละกลุ่มให้เลือกประเภทของการเกษตรที่สนใจและตั้งประเด็นคำถามจนเกิดเป็นหัวข้อในการวิจัย และเขียนโครงร่างการวิจัยทางการเกษตร มีการนำเสนอโครงร่างการวิจัย และให้กลุ่มอื่น ๆ แสดงความเห็น และซักถาม รวมทั้งประกวดผลงานของแต่ละกลุ่ม ซึ่งนักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
การวัดและการประเมินผลภายใต้กรอบ TQF
ตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี (ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่เข้าไปในอิมแพ็ค เลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่อยู่ละแวกนั้น) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” จะเห็นได้ว่าหัวข้อ ของการจัดงานมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล “ไทยแลนด์ 4.0” สำหรับการประชุมครั้งนี้มีทั้งการแสดงนิทรรศการผลงานเด่นของแต่ละสถาบัน และประชุมวิชาการ โดยมีการแบ่งบทความวิจัย/วิชาการ นำเสนอในหลายสาขา อาทิ เกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยข้าพเจ้าได้เลือกเข้าฟังการนำเสนอในสาขาเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ เนื่องจากเล็งเห็นว่า แต่ละเรื่องที่นำมาเสนอนั้นสามารถนำไปเล่าให้นักศึกษาที่กำลังเรียนวิชา สต 413 สถิติสำหรับงานวิจัยทางการเกษตร เกี่ยวกับวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนของการทำฟาร์มโคนมของเกษตรกรในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยทักษิณ มีวิธีการเลือกตัวอย่างโดยแบ่งตามขนาดฟาร์ม เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และใช้จำนวนวัวเป็นตัวกำหนดในการแบ่งขนาดฟาร์ม หรืองานวิจัยเรื่องการเสริมกากสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง โดยผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้การวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการใช้วิธีการของ Duncan ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้เข้าร่วมฟังการนำเสนอบทความวิจัยในสาขาการบริการวิชาการสู่สังคม ซึ่งผลงานวิจัยในสาขานี้ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เน้นผู้สูงอายุเป็นหลัก เช่นงานวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้ประกอบการที่พักและโรงแรม โดยใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นตลาดสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา กิจการรีสอร์ท ดำเนินแคร์ ราชบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้สุงอายุ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งใช้วิธีการสถิติระดับง่ายในการวิเคราะห์ข้อมูล จุดอ่อนของงานวิจัยที่นักศึกษานำเสนอคือการเลือกขนาดตัวอย่าง ซึ่งบางงานวิจัยใช้เพียงตัวอย่างเดียวบางงานวิจัยใช้เพียง 8 ราย ซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักการของงานวิจัยถึงแม้จะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพก็ตาม สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุนี้ ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ประกอบการสอนวิชา สต 316 ประชากรศาสตร์ ได้ เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้มีธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุเกิดขึ้นมากมาย เช่น สถานรับดูแลผู้สูงอายุ เครื่องอุปโภค บริโภคสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น (แอบถามน้อง ๆ นักศึกษาว่า ใช้แหล่งทุนจากไหนในการมานำเสนอผลงานครั้งนี้ เนื่องจากว่าเห็นเยอะมาก มาร้อยกว่าคน รถตู้นับสิบคัน แถมค้างคืนอีกต่างหาก นักศึกษาบอกว่า มหาวิทยาลัยออกให้ค่ะทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าลงทะเบียน ค่ารถ ค่าที่พัก) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมฟังการนำเสนอบทความในสาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา ซึ่งมีทั้งบทความทางวิชาการและบทความวิจัย เช่น การพัฒนาแบบทดสอบ การพัฒนาคลังข้อสอบ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการสอนวิชา สต 300 สถิติทั่วไป ซึ่งนักศึกษาคณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้ลงทะเบียนเรียน ในภาคการศึกษานี้ จากทั้งหมดที่กล่าวมา การที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกับหลาย ๆ วิชาที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย และเป็นแนวทางในการทำวิจัยในภายหน้า
ตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี (ต้องบอกว่าเป็นครั้งแรกที่เข้าไปในอิมแพ็ค เลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่อยู่ละแวกนั้น) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” จะเห็นได้ว่าหัวข้อ ของการจัดงานมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล “ไทยแลนด์ 4.0” สำหรับการประชุมครั้งนี้มีทั้งการแสดงนิทรรศการผลงานเด่นของแต่ละสถาบัน และประชุมวิชาการ โดยมีการแบ่งบทความวิจัย/วิชาการ นำเสนอในหลายสาขา อาทิ เกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยข้าพเจ้าได้เลือกเข้าฟังการนำเสนอในสาขาเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ เนื่องจากเล็งเห็นว่า แต่ละเรื่องที่นำมาเสนอนั้นสามารถนำไปเล่าให้นักศึกษาที่กำลังเรียนวิชา สต 413 สถิติสำหรับงานวิจัยทางการเกษตร เกี่ยวกับวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรได้ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องต้นทุนและผลตอบแทนของการทำฟาร์มโคนมของเกษตรกรในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยทักษิณ มีวิธีการเลือกตัวอย่างโดยแบ่งตามขนาดฟาร์ม เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และใช้จำนวนวัวเป็นตัวกำหนดในการแบ่งขนาดฟาร์ม หรืองานวิจัยเรื่องการเสริมกากสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง โดยผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้การวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการใช้วิธีการของ Duncan ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังได้เข้าร่วมฟังการนำเสนอบทความวิจัยในสาขาการบริการวิชาการสู่สังคม ซึ่งผลงานวิจัยในสาขานี้ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เน้นผู้สูงอายุเป็นหลัก เช่นงานวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้ประกอบการที่พักและโรงแรม โดยใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นตลาดสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา กิจการรีสอร์ท ดำเนินแคร์ ราชบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือของผู้สุงอายุ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งใช้วิธีการสถิติระดับง่ายในการวิเคราะห์ข้อมูล จุดอ่อนของงานวิจัยที่นักศึกษานำเสนอคือการเลือกขนาดตัวอย่าง ซึ่งบางงานวิจัยใช้เพียงตัวอย่างเดียวบางงานวิจัยใช้เพียง 8 ราย ซึ่งไม่สอดคล้องตามหลักการของงานวิจัยถึงแม้จะเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพก็ตาม สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุนี้ ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ประกอบการสอนวิชา สต 316 ประชากรศาสตร์ ได้ เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้มีธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุเกิดขึ้นมากมาย เช่น สถานรับดูแลผู้สูงอายุ เครื่องอุปโภค บริโภคสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น (แอบถามน้อง ๆ นักศึกษาว่า ใช้แหล่งทุนจากไหนในการมานำเสนอผลงานครั้งนี้ เนื่องจากว่าเห็นเยอะมาก มาร้อยกว่าคน รถตู้นับสิบคัน แถมค้างคืนอีกต่างหาก นักศึกษาบอกว่า มหาวิทยาลัยออกให้ค่ะทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าลงทะเบียน ค่ารถ ค่าที่พัก) นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมฟังการนำเสนอบทความในสาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา ซึ่งมีทั้งบทความทางวิชาการและบทความวิจัย เช่น การพัฒนาแบบทดสอบ การพัฒนาคลังข้อสอบ รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการสอนวิชา สต 300 สถิติทั่วไป ซึ่งนักศึกษาคณะพัฒนาการท่องเที่ยวได้ลงทะเบียนเรียน ในภาคการศึกษานี้ จากทั้งหมดที่กล่าวมา การที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกับหลาย ๆ วิชาที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย และเป็นแนวทางในการทำวิจัยในภายหน้า
- ยังไม่มีรายการคำถาม