Blog : ความรู้ที่ได้รับจากการประชุม อบรม หรือ สัมมนา
รหัสอ้างอิง : 1280
ชื่อสมาชิก : พัชรี ยางยืน
เพศ : หญิง
อีเมล์ : patcha.y@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/2/2556 19:29:50

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้ที่ได้รับจากการประชุม อบรม หรือ สัมมนา
เว็บนำเสนอด้วย Google Site เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรมหรือการออกแบบ เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Google ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ โปรแกรม Google Site เป็นชุดการทำงานในกลุ่มของ Google Workspace ดังนั้น โฟลเดอร์ในไดรฟ์ เอกสาร หรือปฏิทินสามารถแชร์ร่วมกันได้ เนื้อหาบนเว็บไซต์จะถูกปรับแต่งอัตโนมัติ เพื่อให้เข้ากับมุมมองบนเดสก์ท็อป แท็บเล็ต และโทรศัพท์ ลักษณะการใช้งานของโปรแกรม Google Site 1) สร้างหรือแก้ไขเว็บไซต์ได้ โดยการคลิก ลาก และวาง ง่ายต่อการย้าย ปรับขนาด หรือ จัดเรียงใหม่ 2) มีเลย์เอาต์ให้เลือกตามความเหมาะสมกับเนื้อหา 3) สามารถทำงานร่วมกันกับทีม และดูการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบเรียลไทม์ หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Site ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างเว็บไซต์ ทำได้ 2 วิธี คือ 1.1) สร้างจากหน้าแรกของ Sites (สร้าง+หรือเลือกเทมเพลต Template gallery) 1.2) สร้างจาก Google ไดรฟ์ โดยคลิก New (ใหม่)-More (เพิ่มเติม)-Google Sites 2) การตั้งชื่อเว็บไซต์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 2.1) Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) จะปรากฏให้เจ้าของเห็นเท่านั้น และไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ 2.2) Site name (ชื่อเว็บไซต์) จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่เผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ปรากฏแต่ต้องมีเว็บ 2 หน้าขึ้นไป 2.3) Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย 3) การเลือกเลย์เอาต์ - สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts ที่โปรแกรม Google Site จัดเตรียมไว้ให้ 4) การเลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ โดยเลือกธีม แต่ละธีมจะประกอบด้วย - พื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า - รูปแบบสี - ฟอนต์ แบบอักษร สี ฯลฯ เมื่อเลือกธีมเพื่อพัฒนาเว็บไซต์แล้ว สามารถเปลี่ยนพื้นหลังได้ในภายหลัง และสามารถเปลี่ยนธีมได้หลังจากสร้างเว็บไซต์ เช่น เปลี่ยนภาพพื้นหลัง การเปลี่ยนประเภทส่วนหัว เปลี่ยนธีมและรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น 5) การเพิ่ม จัดลำดับใหม่ และวางซ้อนหน้าเว็บ สามารถเพิ่มหน้าเว็บสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม และสามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน โดยการวางซ้อนหน้าเว็บ จากนั้นหน้าเว็บที่ซ้อนกันจะปรากฏเป็นหัวข้อย่อยของหน้าเว็บอื่นได้ด้วย สามารถเพิ่มหน้าเว็บไซต์ ซ้อนหรือเรียงลำดับหน้าเว็บไซต์ใหม่ได้ ซึ่งมีข้อจำกัด คือ จะซ้อนหน้าเว็บได้ 5 ระดับเท่านั้น ซึ่งตัวเลือกหน้าเว็บ มีดังนี้ - Make homepage (ตั้งค่าเป็นหน้าแรก) - Duplicate page (ทำหน้าเว็บซ้ำ) - Properties (เปลี่ยนชื่อหน้าเว็บ) - Add subpage (สร้างหน้าย่อย) - Hide from navigation (ซ่อนจากหน้าการนำทาง) - Delete (ลบหน้าเพจ) 6) การตั้งค่าการนำทาง (์Navigation) ของเว็บไซต์ หากมีหน้าเว็บไซต์มากกว่าหนึ่งหน้า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะใช้เมนูการนำทางเพื่อข้ามไปยังหน้าต่างๆ ได้ ซึ่งเมนูการนำทางจะอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์โดยค่าเริ่มต้น โดยวิธีการเลือกโหมดการนำทาง เพื่อชี้ไปที่ชื่อเว็บไซต์และคลิก Navigation settings (การตั้งค่าการนำทาง) จะทำให้เว็บไซต์พร้อมแชร์ได้ทันที ซึ่งสามารถตั้งค่าเลือกเผยแพร่เว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนเห็น หรือจำกัดสิทธิ์การแชร์เพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการแชร์ให้เห็นเท่านั้นที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้ หมายเหตุ เมื่อเริ่มสร้างเว็บไซต์ใหม่ระบบจะบันทึกไปยังไดรฟ์โดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ที่เก็บไว้ในไดรฟ์ สามารถแก้ไข Google Site ร่วมกับผู้อื่นได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google Workspace แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.dmit.co.th https://www.facebook.com/oneteachernorthern/videos/934212774744515 เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง เว็บนำเสนอด้วย Google site โดยวิทยากร คุณสุวิทย์ มณีทอง เผยแพร่ในระบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม facebook วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้