ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 640
ชื่อสมาชิก : ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช
เพศ : หญิง
อีเมล์ : chamaiph@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/11/2554 14:55:25
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/11/2554 14:55:25


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
โครงการ แนวทางการเขียนบทความวิจันเพื่อการตีพิมพ์ จัดอบรมโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ห้องสายน้ำผึ้ง ในวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การคิดประเด็นที่ทำงานวิจัยว่าการทำงานวิจัยเป็นการคิดแก้ปัญหาที่สำคัญปล่อยไว้ไม่ได้ และองค์ความรู้ที่ได้มาจากงานวิจัยสามารถพัฒนาและชี้นำชุมชน หรือประเทศได้ หลักการสำคัญในการเขียนบทความวิจัยให้มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์นั้น ในหนึ่งบทความต้องมีส่วนประกอบสำคัญๆ ดังนี้ 1. ต้องมีการกล่าวถึงหลักการทางทฤษฏี (Theory) แนวคิด (Concept) ที่สนับสนุนงานวิจัยอย่างถูกต้อง ตรงกับศาสตร์ที่วรสารนั้นมุ่งตีพิมพ์ 2. ข้อมูลและระเบียบวิธีการวิจัยต้องถูกต้องที่สุด สมเหตุสมผลตามประเด็นเรื่องวิจัย 3. วรรณกรรม และงานวิจัยที่อ้างอิงในบทนำ การอภิปรายผล ต้องตรงกับคำสำคัญของงานวิจัย เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามนำมาอภิปรายร่วม 4. การเขียนต้องจบที่ละประเด็น ไม่เขียนวกวน การเขียนต้องถูกหลักไวยากรณ์ คำวิชาการเฉพาะทาง (Technical term) การเขียนบทความทางวิชาการหนึ่งๆ ต้องมีการวางแผนที่บทความ (Article map) ซึ่งการเขียนแผนที่บทความจะประกอบด้วย 1.ชื่อเรื่อง 2. ชื่อผู้เขียน 3. บทนำ (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา) 4. แนวความคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.ข้อมูลและระเบียนวิธีการวิจัย 6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล 7. สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion) จำนวนหน้าทั้งบทของบทความระหว่าง 8 -15 หน้า แต่ละหน้าจะประกอบด้วยย่อหน้าประมาณ 2-3 ย่อหน้า โดยเริ่มต้นในการวางประเด็นสำคัญของเนื้อหา ความสำคัญของปัญหา ความจำเป็นที่ต้องทำการค้นคว้า ตรวจสอบว่าประเด็นที่เราสนใจนั้นมีใครค้นคว้า หรือไม่ ในช่วง 5-10 ปี วัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องชัดเจนว่าทำอะไร ตรวจสอบ พิสูจน์ วิเคราะห์อะไร ระเบียบวิจัย การวิเคราะห์ผลอาจนำเสนอในรูปแบบกราฟ รูปภาพ ตาราง โดยพิจารณาตามบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารล่าสุด สรุปผลการวิจัย บรรณานุกรรม รวมทั้งกิติกรรมประกาศจะเขียนไว้หลังสุด และการตั้งชื่อบทความวิจัย ต้องตั้งให้สอดคล้องกับผลการวิจัยที่เด่นที่สุด ในตัวบทวิเคราะห์ เพราะเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจของบรรณาธิการ ผู้อ่านนิรนาม และผู้อ่านบทความ และต้องเข้าใจรูปแบบของวารสารวิชาการที่เลือกในการตีพิมพ์ต้องทำให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วรสารกำหนด การโต้ตอบข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยปกติบรรณาธิการจะรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหวางผู้เขียนกับผู้เชี่ยวชาญ หากมีการแก้ไขต้องเขียนแก้ไข และเขียนแก้ไขเป็นอย่างไร ปรากฏอยู่ในหน้าใดในต้นฉบับที่ส่งมาใหม่ และไม่จำเป็นต้องแก้ไขตามเสนอไป แต่ต้องมีเหตุผล หรือ อ้างอิงที่สามารถยืนยันได้จริง
จากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการพัฒนานักวิจัย เรื่อง “เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน” เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 ณ ห้องคาวบอยเธียเตอร์ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดย สำนัก วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น ขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ 1.การพัฒนาด้านงานวิจัย ได้รับฟังการบรรยายจาก คุณสุนันทา สมพงษ์ ผู้อำนวยการกอง กองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ถึงเทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องเทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัย และ นำมาปรับปรุงการเขียนโครงร่างงานวิจัย เพื่อขอทุนอุดหนุนจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2557 โดยเสนอโครงร่างงานวิจัยเรื่อง การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของสุกรพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ (Genetic Diversity Detection of native pigs in Chiang Mai Province for species conservation) ผลจากการนำเสนอโครงร่างทำให้ได้รับทุนอุดหนุนในงานวิจัยชิ้นนี้ 2.การพัฒนาด้านการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ มาพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา วท 498 การเรียนรู้อิสระ ซึ่งสามารถนำมาใช้สอนนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ถูกวิธี
การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learner ที่มีคุณลักษณ์ Soft Skill
เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ
“การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย 4.0”
สรุปรายงานการอบรม: การประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลในการประเมินด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และ การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สรุปรายงานจากการเข้าร่วม โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Phylogenetics Tree Reconstruction
การเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการพัฒนานักวิจัย เรื่อง “เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับทุน”