ถ่านชีวภาพ สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนทางเคมีความร้อน จากชีวมวลหรือวัสดุเกษตร และได้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสถานะแก๊ส ของแข็งและของเหลว โดยในการผลิตถ่านชีวภาพ ด้วยเตาแบบแม่โจ้ จะได้ผลิตภัณฑ์ คือ แก๊สเชื้อเพลิงและถ่านชีวภาพ
โดยทีมวิจัยไบโอชาร์ จากหน่วยวิจัย GET (Green and Eco Technology) Research Unit ได้มีความร่วมมือ กับ รศ.ดร.อรสา สุกสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ผลิตเตาไบโอชาร์ และอบรมให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ
และทีมวิจัยไบโอชาร์ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบของเตาไบโอชาร์และการนำความร้อนไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยมีเตามีหลายขนาด 50 100 200 ลิตร มากกว่า 200 ลิตรขึ้นไป
โดยในปัจจะบันมีเตาหลายรูปแบบที่มีการใช้กันอยู่ทั้งในไทยและต่างประเทศ มีทั้งแบบง่ายและมีความซับซ้อนตามการออกแบบและวัตถุประสงค์การใช้งาน และกำลังการผลิต
- เตาดิน โดยขุดดินเป็นหลุม แล้วใส่กิ่งไม้ แล้วเผาในหลุม
- เตากระทะ โดยมีการนำวัสดุที่ทนความร้อนมาขึ้นรูปเป็นรูปกระทะแล้วเผาในกระทะ
- เตาแบบทรงกระบอกแบบแนวตั้ง มี 2 แบบ 1.แบบถัง 2 ชั้น และ 2.แบบแม่โจ้ ถังและแกนกลาง
- เตาแบบทรงกระบอก แบบแนวนอน
วีดีโอ การผลิตถัง เพื่อใช้ผลิตถ่านชีวภาพ ขนาด 50 ลิตร และการนำความร้อนจากการถ่านชีวภาพที่ได้ไปใช้หุงต้ม และการนำถ่านชีวภาพไปใช้ปรับปรุงดินและปลูกพืช ในพื้นที่ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ขอขอบคุณ ทีมวิจัยไบโอชาร์ หน่วยวิจัย GET (Green and Eco Technology Unit Research) คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนเนื้อหา รูปภาพ และวีดีโอที่ใช้เผยแพร่
สามารถติดต่อทีมวิจัยไบโอชาร์ หน่วยวิจัย GET และติดตามการใช้ไบโอชาร์ของกลุ่มเกษตรกร มือถือสามารถเข้าผ่าน LINE กลุ่มไลน์ การบำรุงดินและการปลูกพืชด้วยไบโอชาร์ หรือติดต่อผู้เขียนบทความ Lineid :thanasitw
งานวิจัยด้านไบโอชาร์ของทีมวิจัย GET ติดตามได้ที่ https://www.researchgate.net/profile/Thanasit-Wongsiriamnuay/publications
หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตไบโอชาร์และงานวิจัยด้านไบโอชาร์ ของทีมวิจัยไบโอชาร์ หน่วยวิจัย GET สามารถติดต่อขอข้อมูลจากเพิ่มเติมจาก ผู้เขียนบทความ Lineid :thanasitw