แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน
วันที่เขียน 18/11/2566 23:01:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/10/2567 8:52:55
เปิดอ่าน: 593 ครั้ง

การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความสะดวกและสามารถนำไปช่วยในการจัดการสอนให้สอดคล้องกับบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น

แอปพลิเคชันสำหรับช่วยในการจัดเรียนการสอน

การเรียนผ่านเครื่องมือช่วยสอนโดยใช้แอปพลิเคชันมีบทบาทในการส่งเสริมและช่วยเหลืออาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้รวบรวม 8 เครื่องมือช่วยสอนสำหรับอาจารย์ในการช่วยจัดการเรียนการสอนให้เกิดความสะดวกและสามารถนำไปช่วยในการจัดการสอนให้สอดคล้องกับบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น แสดงได้ดังต่อไปนี้

 

  1. โปรแกรมคาฮูท (Kahoot)

โปรแกรมคาฮูทเป็นเกมที่ช่วยในการเรียนการสอนและช่วยให้นักเรียนสนุกกับการเรียน เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินผล โดยผ่านการตอบคำถาม การอภิปราย หรือการสำรวจความคิดเห็น โดยแสดงคำถามที่จอหน้าชั้นเรียนและให้นักเรียนตอบคำถาม

Ref: https://kahoot.com/

 

  1. โปรแกรมพิกเกอร์ (Plicker)

โปรแกรมพิกเกอร์เป็นโปรแกรมที่ อาจารย์สามารถเตรียมคำถามและแสดงคำถามด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่าน       โปรเจ็คเตอร์ เพื่อให้นักศึกษาทุกคนมองเห็นคำถามและตัวเลือกคำตอบได้ ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกคำตอบที่ต้องการด้วยการโชว์การ์ดให้ตรงกับคำตอบ อาจารย์สามารถใช้สมาร์ตโฟนของตนเองสแกนการ์ดของนักศึกษาทุกคน คำตอบทั้งหมดจะแสดงบนหน้าจอ ซึ่งโปรแกรมพัฒนาโดยใช้ AR Code และการ์ดเพื่อเป็นตัวแทนของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม

Ref: www.plickers.com

 

  1. โปรแกรมวอล์คกี้ทอล์คกี้ (Voxer Walkie Talkie Messenger)

โปรแกรมวอล์คกี้ทอล์คกี้ เป็นโปรแกรมที่ส่งเสียง ข้อความ ภาพ โดยลักษณะคล้ายวิทยุสื่อสาร โดยโปรแกรมสามารถพูดคุย ส่งข้อความตัวอักษร ส่งข้อความด้วยเสียง รูปภาพ และอื่นๆ โดยอาศัยแนวคิด จากวิทยุสื่อสารแบบพกพาไร้สาย หรือ วอล์คกี้ทอล์คกี้ (Walkie Talkie) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถพูดคุยและโต้ตอบกันได้แบบทันที โดยใช้ฟังก์ชั่น Live Audio หรือผู้ส่งจะทิ้งข้อความเอาไว้ เพื่อรอการมารับฟังทีหลังก็สามารถทำได้ โดยใช้ฟังก์ชั่น Listen Later

Ref: http://www.voxer.com/

 

  1. โปรแกรมวิซมี (Visme)

โปรแกรมวิซมีเป็นโปรแกรมสำหรับสร้าง อินโฟกราฟิก แผนงาน รายการตรวจสอบ รายงาน และโปสเตอร์ ซึ่งโปรแกรมสามารถแปลงภาพประกอบในการนำเสนอได้และนำเสนอเทมเพลตที่จำแนกตามอาชีพ มีเทมเพลตที่สวยงามและมีความละเอียดสูง ทำให้การสร้างการแสดงข้อมูลน่าสนใจสำหรับการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์หรือการจัดทำรายงานอินโฟกราฟิกหรือประวัติย่อ  โดยมีเทมเพลตที่ออกแบบอย่างมืออาชีพมากมาย สำหรับการเลือกเพื่อเริ่มต้นการทำงานอย่างถูกต้อง

Ref: https://www.visme.co/

 

  1. โปรแกรมเนียพอด (Nearpod)

โปรแกรมเนียพอดใช้สร้างการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเสมือนจริง อาจารย์สามารถสร้างเนื้อหาสำหรับการจัดการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การสร้างสไลด์ การสร้างภาพเคลื่อนไหว การสร้างเว็บไซด์ การสร้างโมเดลสามมิติ การสร้างแบบจำลอง การสร้างโปรแกรมเสมือนจริง  การสร้างวิดีโอ การสร้างสไลด์ การสร้างไฟล์เสียง และการแสดงไฟล์เอกสารพีดีเอฟ โดยอาจารย์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้หลายรูปแบบตัวอย่างเช่น กิจกรรมปีนเขา คำถามปลายเปิด จับคู่ แบบทดสอบ ส่งคลิปผ่านแอปพลิเคชัน วาดตอบ  กิจกรรมกลุ่ม โพล  เติมคำลงในช่องว่าง และทดสอบความจำ  การส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์สามารถทำการส่งข้อมูลได้แบบประสานเวลา และไม่ประสานเวลา ผู้สอนสามารถดาวน์โหลดสรุปผลคะแนนของนักศึกษาพร้อมทั้งวิเคราะห์คะแนนเป็นกราฟให้สำหรับอาจารย์แบบอัตโนมัติ และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับ Google classroom ได้

Ref: https://nearpod.com/

 

  1. โปรแกรมทดสอบ (Quizizz)

โปรแกรมทดสอบใช้สำหรับสร้างแบบทดสอบออนไลน์ โดยนักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบผ่าน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุค แทปเล็ต และสมาร์ทโพน โดยนักศึกษาสามารถทราบผลการสอบทันที โดยอาจารย์สามารถได้รับรายงาน จากผลการสอบและบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยโปรแกรมนี้เหมาะกับการนำมาใช้กับการทดสอบก่อนการจัดการเรียนการสอน และหลังการจัดการเรียนการสอน เพื่อวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

Ref: https://quizizz.com/

 

  1. โปรแกรมสตอรีบอร์ด (Storyboard That)

โปรแกรมสตอรี่บอร์ดออนไลด์มีเทมเพลทของตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ให้ได้เลือกใช้งาน นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกไฟล์ข้อมูลออกมาเป็นภาพ JPEG และ PDF เพื่อเป็นสื่อสำหรับการจัดการเรียนการสอนได้ โปรแกรมทำสตอรี่บอร์ดสามารถใช้ภาพและตัวอักษร ในการสื่อโดยการสร้างเป็นเรื่องราว นอกจากนั้นโปรแกรมยังมีเทมเพลตโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ มีการใช้งานทั้งลักษณะการใช้งานฟรี และจ่ายเงิน

Ref: http://www.storyboardthat.com/

 

  1. โปรแกรมแคนวา (Canva)

โปรแกรมแคนวาสำหรับการสื่อสำหรับการนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การนำเสนอ การทำโพสการ์ด การสร้างการ์ด การสร้างประวัติส่วนตัว การสร้างใบรับรอง และการสร้างอินโพกราฟิก โดยที่โปรแกรมจะมีขนาดที่มาตรฐานเป็นตัวเลือกสำหรับอาจารย์และนักศึกษา หรือสามารถกำหนดขนาดขึ้นมาใช้เองได้ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและสวยงาม

Ref: https://www.canva.com/

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1402
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/10/2567 19:16:02   เปิดอ่าน 64  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/10/2567 1:58:28   เปิดอ่าน 151  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/10/2567 20:43:45   เปิดอ่าน 65  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » คุณธรรมจริยธรรมในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย (2)
จรรยาบรรณและจริยธรรม ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย การสอน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การเข้าถึงและการรวมกลุ่ม  ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ  จรรยาบรรณและจริยธรรม  เทคโนโลยี  แนวทางวิจัยที่มีจริยธรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 1/9/2567 12:56:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/10/2567 19:15:20   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง