การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการอบรมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
|
ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ และการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” ในวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ. นนทบุรี นั้น ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศไทย 4.0 ทำให้มีความเข้าใจ และเห็นว่าการต่อยอดงานวิจัยเพื่อการพาณิชย์ สามารถทำได้ นอกจากนั้นข้าพเจ้าได้เยี่ยมชมการจัดแสดงนิทรรศการการแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี ผลงานศิลปะและงานสร้างสรรค์ ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ ของแต่ละสถาบัน เช่น การพัฒนาพื้นไม้จากไม้ปาล์มน้ำมัน เตียงฝึกยืนไฟฟ้า การศึกษารูปแบบรองเท้าสตรีที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานเพื่อเพิ่มโอกาสการใช้สอย ผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าที่ใช้เทคโนโลยีนีโอโซมซึ่งพัฒนาด้วยกะทิ เป็นต้น ซึ่งทำให้ได้เห็นว่าพืชหลาย ๆ ชนิด สามารถนำมาวิจัยจนก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ รวมทั้งได้ชมงานวิจัยประเภทโปสเตอร์/รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยประเภทบรรยาย โดยแบ่งเป็นหลายสาขา ได้แก่ สาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา และการศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรม และ งานสร้างสรรค์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ สาขาวิชาการบริการวิชาการสู่สังคม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ โดยข้าพเจ้าได้เข้าฟังการนำเสนอในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ สาขาวิชาการบริการวิชาการสู่สังคม และสาขาวิชาสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยา และการศึกษา เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ เช่น ในการนำเสนองานวิจัยสาขาวิชาเกษตรศาสตร์สร้างสรรค์ เรื่อง การเสริมกากสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง โดยงานวิจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และใช้วิธีการของ Duncan ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน ซึ่งข้าพเจ้าสามารถนำไปบอกเล่าให้นักศึกษาในรายวิชา สต301 หลักสถิติ ฟังได้ นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้รับฟังการนำเสนอบทความวิจัย ในสาขาวิชาการบริการวิชาการสู่สังคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี โดยเน้นประชากรเป็นผู้สูงอายุ เช่นงานวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้ประกอบการที่พักและโรงแรม โดยใช้กลยุทธ์มุ่งเน้นตลาดสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษา กิจการรีสอร์ท ดำเนินแคร์ ราชบุรี โดยได้รับทราบจากผู้นำเสนอผลงานวิจัยว่าเป็นงานวิจัยที่เกิดจากการมอบหมายงานในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัย โดยผู้วิจัยเลือกใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนในสาขามนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา เช่น การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาระบบคลังข้อสอบอิเล็กทรินิกซ์ ของโรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)
ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้
นอกจากนั้นข้าพเจ้ายังได้นำเสนอผลงานภาคบรรยายในหัวข้อ “ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชา สต423 สถิติศาสตร์ไม่อิงพารามิเตอร์” และมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน กับผู้เข้าร่วมรับฟัง และ ผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย และเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไปด้วย
|
ในการเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนด้านทักษะการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2559 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ ดร. พจนารถ เสมอมิตร ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เป็นอย่างดียิ่ง โดยวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
- Nucleic Concept in Communication
- Nucleic Natural English
- Public Self Introduction
- Speech Production
- Breathe Cycles
- Speech Mechanism and Organs
- Speech Organs
- The Rules
- Determiners
โดยในส่วนของ Nucleic Concept in Communication นั้น วิทยากรแนะนำว่าส่วนที่เป็น Nucleic จะเป็นส่วนที่สำคัญ ให้พิจารณาว่าคำใดที่เสียงไม่หายไป จะถือว่าเป็น Nucleic โดยในการออกเสียงคำในส่วนที่เป็น Nucleic จะออกเสียงสูง(High) ดัง (Loud) และ ออกเสียงยาว (Long) โดยคำที่ไม่เป็น Nucleic ได้แก่
Models : may, would…
Pronouns : I , You,…
Demonstrators : this, that, those…
Possessive : my, your ยกเว้นว่าผู้พูดต้องการเน้น
Prepositions : in, on, at, for,to…
Articles : a, and, the…
Prefix : pre, post…
ในการพูดภาษาอังกฤษจะเน้นส่วนที่เป็น Nucleic ส่วนที่ไม่เป็น Nucleic จะออกเสียงสั้น (Short) เบา (Light) และ ต่ำ (Low) ทำให้คนไทยบางส่วนไม่สามารถเข้าใจประโยคที่ชาวต่างชาติพูดได้ และในทำนองเดียวกันเมื่อคนไทยบางคนพูดภาษาอังกฤษชาวต่างชาติก็จะฟังไม่เข้าใจเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะตำแหน่งของการวางลิ้นไม่ถูกต้อง ซึ่งวิทยากรได้แนะนำวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องให้ด้วย
นอกจากนั้นวิทยากรยังแนะนำว่าในการพูดภาษาอังกฤษจะต้องออกเสียงเป็นคลื่น เช่น
Abbreviate จะออกเสียงสูงตรงคำว่า bre และ ate เพราะ bre และ ate เป็น Nucleic
Advantage จะออกเสียงสูงตรงคำว่า van เพราะ van เป็น Nucleic
Aggravation จะออกเสียงสูงตรงคำว่า agg และ va เพราะ agg และ va เป็น Nucleic
California จะออกเสียงสูงตรงคำว่า ca และ for เพราะ ca และ for เป็น Nucleic
tobacco จะออกเสียงสูงตรงคำว่า bac เพราะ bac เป็น Nucleic
สำหรับส่วนของการสอนเป็นภาษาอังกฤษนั้น วิทยากรได้แนะนำว่าควรตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่านักศึกษาเรียนเรื่องนี้แล้วจะได้อะไร (Goal) เช่น นักศึกษาจะสามารถประยุกต์ใช้ ในเรื่อง....ได้ จากนั้นให้หาวิธีการ (Method) เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการวัดผลอาจจะวัดหลาย ๆ อย่าง เช่น วัดความจำ วัดความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประยุกต์ โดยในการเริ่มต้นสอนอาจจะสอนโดยสอนเป็นขั้นตอน เช่น How To Peel the eggs 1)….2)…3)… เป็นต้น
นอกจากนี้วิทยากรยังให้คำแนะนำว่าคนเก่งที่สุดไม่ใช่คนที่สอนดีที่สุด คนที่สอนดีที่สุดต้องสอนเป็น โดยครูที่ดีจะไม่ใช้วิธีสอนเพียงวิธีเดียว เพราะผู้เรียนบางคนอาจจะชอบฟัง(Auditory) บางคนอาจจะชอบดู (Visual) บางคนอาจจะชอบสัมผัส (Kinetic) ดังนั้นในการสอนผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้สัมผัส อาจจะใช้การสาทิต (Demonstation / observation) การทดลอง (Experimentation) การวิจัย (Research) การนำเสนอ (Presentation) หรือวิธีอื่น ๆ ก็ได้
|
การทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นอีก 1 พันธกิจ ของมหาวิทยาลัย โดยจะมีการทวนสอบในหลาย ๆ ระดับ ตั้งแต่ ระดับมหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร และรายวิชา เพื่อจะได้ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทราบ ความหมาย วิธีการ และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการทวนสอบ
|
ความรู้เรื่องการเขียนบทคัดย่อ จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ (บทคัดย่อ) เมื่อวันพุธ ที่ 15 ตุลาคม 2557และ วันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัฒน์ สุกมลสันต์ ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากร
|
นำความรู้ที่ได้จากการอบรม เผยแพร่สู่สาธารณะ
|