รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ Active Leaning Workshop
วันที่เขียน 5/2/2563 18:10:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:33:41
เปิดอ่าน: 2087 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ Active Leaning Workshop ระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และแต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ลักษณะของการเรียนแบบ Active Learning นั้นเป็นการพัฒนาศักยภาพการคิดการแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในรูปแบบของความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนความรู้เกิดจากประสบการณ์และการสรุปของผู้เรียน และผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

ตัวอย่างวิธีกำรสอนที่เน้นการเรียนแบบ Active Learning ได้แก่ แบบระดมสมอง (Brainstorming) แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา (Problem/Project-based Learning/Case Study) แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share) แบบสะท้อนความคิด (Student’s Reflection) แบบตั้งคำถาม (Questioning-based Learning) และแบบใช้เกม (Games-based Learning) นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์สำหรับช่วยในการเรียนการสอนและให้นักศึกษาสนใจและอยากเข้าเรียนมากยิ่งขึ้นด้วยเช่น kahoot.com, Plickers และ Socrative

การนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมนำเสนอผลงานและประชุมวิชาการ

ข้าพเจ้าคาดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน และนักศึกษาให้ความสนใจในการเรียนการสอนมากขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์มือถือ การทำแบบทดสอบผ่านอินเตอร์เน็ต การทำงานร่วมกันเป็นทีม และการทำกิจกรรมในห้องเรียน อีกทั้งยังนำมาปรับใช้กับการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อลดคะแนนสอบวัดความรู้ ในรายวิชา สต203 และ สต302 ที่ตนเองได้รับผิดชอบสอนในเทอม 2/2562 อีกด้วย

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1085
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง