รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : -
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4 » การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ
คำสำคัญ : ขมิ้นชัน-ไพล  น้ำมันเหลือง  ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 123  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 21/8/2566 16:35:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/4/2567 7:17:32
ความรู้ทางฟิสิกส์กับการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21 » สรุปเนื้อหาการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ AUN-QA Overview
เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0 มีทั้งหมด 8 เกณฑ์ เป็นการพัฒนาปรับปรุงจาก Version 3.0 ซึ่งมี 11 เกณฑ์ โดยรวมเกณฑ์ 2 กับ 3 และรวมเกณฑ์ 7 กับ 8 ไว้ด้วยกัน ส่วนเกณฑ์ 10 รวมเข้าไปในเกณฑ์อื่น ๆ
คำสำคัญ : PLOs  การประกันคุณภาพการศึกษา  เกณฑ์ AUN-QA  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 726  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วิชาญ คงธรรม  วันที่เขียน 28/9/2565 20:19:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 23:37:38
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เริ่มจากการใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction เพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอเฉพาะส่วนที่ต้องการ ภายในระยะเวลาอันสั้นในหลอดทดลอง ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 ชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR ในการทำ ซึ่งไม่เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือการทำงานภาคสนาม ดังนั้นจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีเพิ่มขยายยีนด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ขึ้นมา วิธีการนี้สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ถึง 109 เท่า ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเพิ่มปริมาณ DNA จะใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิเดียว (60-65 ํC) โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR และการ run gel electrophoresis มีการใช้ primers 4 ชุด หรือ 6 ชุด ที่จำเพาะต่อกับสาย DNA แม่พิมพ์ 6 ตำแหน่ง จึงทำให้มีความจำเพาะต่อการตรวจสอบสูง และทำการเพิ่มปริมาณ DNA โดยใช้เอนไซม์ Bst DNA polymerase สำหรับการตรวจสอบยีนที่เพิ่มขยายได้ ในเทคนิค LAMP จะเกิดสาร pyrophosphate เป็น by product ในปฏิกิริยา สารดังกล่าวสามารถจับกับ magnesium กลายเป็น magnesium pyrophosphate ซึ่งจะเกิด ตะกอนสีขาวขุ่น ไม่ละลายน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจยืนยันผลด้วยเครื่อง spectrophotometry หรือสารฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณการเพิ่มขยายยีนนั้นๆ
คำสำคัญ : LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2117  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 27/9/2565 15:43:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 18:52:23
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความรู้ความเข้าใจ "เมื่อชีวิตใกล้ชิด COVID-19"
การสร้างความรู้ความเข้าใจใน Covid-19 หลักการปฎิบัติตัวและการป้องกันเกี่ยวกับ Covid-19 การแยกกลุ่มผู้ป่วย และการแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยง จัดอบรมวันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านโปรแกรม zoom clound meeting วิทยากรโดย ดร.ทรงยศ คำชัย นักวิชาการสาธารณสุชชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ : COVID-19, ชีวิตวิถีใหม่, โรคติดต่อ, วัคซีน, การเตรียมความพร้อม  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3331  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 16/3/2565 9:07:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 12:10:59
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)”
โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)” ในวันศุกร์ ที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30-16.30 น. จัดโดยกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting และ Live ผ่าน YouTube โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามหนังสืออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
คำสำคัญ : AUN-QA  AUN-QA Version 4.0  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1504  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 3/3/2565 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 13:50:21
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)”
โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)” ในวันศุกร์ ที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30-16.30 น. จัดโดยกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting และ Live ผ่าน YouTube โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามหนังสืออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
คำสำคัญ : AUN-QA  AUN-QA Version 4.0  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1504  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 3/3/2565 15:53:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 13:50:21
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการ "AUN-QA Sharing"
โครงการ "AUN-QA Sharing" ในวันพุธ ที่ 19 มกราคม 2565 เวลา 09.00 -12.00 น. ซึ่งจัดโดยกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Microsoft Teams โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามหนังสืออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
คำสำคัญ : AUN-QA  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1141  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 3/3/2565 15:40:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 16:29:54
บทความวิชาการ » งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Digital Arts, Media and Technology (DAMT) ครั้งที่ 7 และ ECTI Northern Section Conference on Electrical, Electronics, Computer and Telecommunications Engineering (NCON) ครั้งที่ 5
-
คำสำคัญ : -  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1205  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/2/2565 13:56:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:47:59
สรุปรายงานการอบรม » การอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง Active learning: Engaging students in online classes
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้รูปแบบการเรียนรู้จากห้องเรียนปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ผู้สอนหลายท่านพบประสบปัญหาในการสอนแบบออนไลน์ ที่ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการสอน ทำให้การสอนเป็นลักษณะการบรรยาย ไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ซึ่งการสอนแบบออนไลน์นั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะ 3 อย่างด้วยกัน คือ 1. ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสอน (Digital skills) 2. ทักษะการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เทคนิคการสอน การสร้างความผูกพันในการเรียนให้กับผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ (Teaching and learning skills) 3. ทักษะการสื่อสาร โต้ตอบและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Personal skills) เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและสนุกในกระบวนการเรียนรู้ และที่สำคัญระหว่างการสอนผู้สอนต้องตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ หรือให้พื้นที่แก่ผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้แบบสอบถามใจ เพื่อตรวจสอบสถานะความพร้อมของผู้เรียนเสมอ ว่ามีปัญหา หรือต้องการระบายความรู้สึก เพื่อที่ผู้สอนจะได้ช่วยแก้ไข แนะนำผู้เรียนทันเวลาตามสถานการณ์ได้ เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ผู้เรียนอยู่หน้าจอตลอดเวลา ไม่ได้สื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อย ขาดช่วงเวลาในการพัฒนาการด้านสังคมตามช่วงวัย ทำให้เกิดความเครียดสะสม และนำไปสู่สภาวะซึมเศร้าได้ จะเห็นว่าการสอนแบบออนไลน์ผู้สอนต้องใช้หลายทักษะในการสร้างห้องเรียนให้น่าเรียนน่าสนใจ อีกทั้งสิ่งสำคัญยังต้องรักษาใจของผู้เรียนให้พร้อมต่อการเรียนเสมอ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของผู้สอนที่จะให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ได้สำเร็จ
คำสำคัญ : 4P  Active learning  Digital skills  Look-Smile-Talk  Personal skills  Teaching skills  แบบสอบถามใจ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2179  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 15/11/2564 16:19:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 19:53:58
หลักการแก๊สโครมาโทกราฟี » Pesticide analysis by GC-MS/MS
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 10.00 – 11.00 น. การเตรียมตัวอย่างทำได้โดยเทคนิคการสกัด และทำความสะอาดสารตัวอย่างด้วยเทคนิค Solid phase microextraction หรือ QuEChERS method (Quick, Easy, Cheap, Effective, Rugged and Safe method) ความรู้เรื่องการวิเคราะห์สารฆ่าแมลง โลหะหนักปนเปื้อนในสมุนไพร เป็นที่จำเป็นในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เช่น ขมิ้น ใบบัวบก หรือ กัญชา เพื่อให้เกิดการเลือกใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมกับกับชนิดของตัวอย่าง สารที่สนใจวิเคราะห์หรือความเข้มข้นของสารที่สนใจวิเคราะห์ ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคนิคใหม่ ๆ ให้เลือกใช้หลายหลาย เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกและเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำงานทั้งงานวิจัยและการเรียนการสอน ในรายวิชา คม210 เคมีวิเคราะห์ คม 311 เคมีวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ และ คม514 เทคนิคการแยกวิเคราะห์ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
คำสำคัญ : GC-MS/MS  Pesticide  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1388  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภาพร แสงศรีจันทร์  วันที่เขียน 3/10/2564 21:49:53  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 12:30:03
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/งานประชุมวิชาการ » ความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการ One-Day E-Symposium on Green Innovation in Chemical Analysis: Local issues- Global impacts-Sustainable world
การประชุมวิชาการ One-Day E-Symposium on Green Innovation in Chemical Analysis: Local issues- Global impacts-Sustainable world เป็นการประชุมวิชาการที่จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (Thailand Research Fund) ภายใต้ TRF Distinguished Research Professor Award Grant โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom
คำสำคัญ : Green chemistry  One-Day E-Symposium  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วีรินท์รดา ทะปะละ  วันที่เขียน 30/9/2564 15:00:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 17:27:44
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก » การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง และนำไปปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัย จึงมีข้อดี คือ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น ให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
คำสำคัญ : SCD Ranking  SDGs  U-Multirank  University Performance Metrics: UPM  Webometrics  การจัดอันดับมหาวิทยาลัย  คุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)  มาตรฐานการศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5437  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 23:32:55
สรุปองค์ความรู้จากการอบรมผู้ประเมิน รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2564 » สรุปองค์ความรู้จากการอบรมผู้ประเมิน รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม 2564
คำสำคัญ : ผู้ประเมิน AUN-QA  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1063  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รัชนีวรรณ คำตัน  วันที่เขียน 12/9/2564 22:11:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:45:06
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS
การตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง หรือสารกำจัดศัตรูพืชหรือกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือ pesticide ก็ต้องมีการสกัดที่เหมาะสม หลังจากที่เราสกัดออกมาแล้วด้วยความที่เป็นความ specific ของตัวเครื่องเทศ ในตัว matrix เค้าเองก็มีสารหลายอย่างมากมายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันที่เราสกัดออกมาแล้ว จะเห็นว่าแต่ละชนิดจะมีความ Complex มาก เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุด ก็จะเป็นประการแรกเลยที่เราจะต้องทำ
คำสำคัญ : การตรวจยาฆ่าแมลง  เครื่องเทศ  เทคนิค GC-MS/MS  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3998  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:48:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 1:47:33
ทักษะการสอน (Teaching Skills) » การเรียนการสอนในยุค Covid-19
จาก Covid-19 นำมาสู่ New Normal เป็นสถานการณ์ขั้นเด็ดขาดที่จะไม่ทำไม่ได้ การพัฒนาตนเองเพื่อจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นวิถีใหม่ของพวกเราชาวอุดมศึกษาเช่นกันค่ะ
คำสำคัญ : Covid -19, การเรียนการสอนออนไลน์, ms team, ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3515  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล  วันที่เขียน 3/10/2563 22:55:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 1:39:19
การศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษา ฝึกงาน หรือฝึกอบรมต่างประเทศ » การเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักรไทย ของบุคลากรและนักศึกษาต่างชาติ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรรัสโควิด-19 ซึ่งตาม พรก. ฉุกเฉิน และคำสั่ง ศบค. ได้ผ่อนปรนให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือนักศึกษาต่างชาติได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานหรือศึกษาในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสและบุตรของบุคคลดังกล่าว หรือแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้รับอนุญาตจากทางราชการเพื่อผ่อนปรนให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา หลักเกณฑ์และมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 12) ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 8/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) สั่ง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
คำสำคัญ : ราชอาณาจักรไทย  โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2957  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน อาจารีย์ สว่างศรี  วันที่เขียน 8/9/2563 14:08:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 11:39:54
งานวิจัยสถาบัน » งานหนักไม่เคยฆ่าคน vs Life-long Learnings
วาทะโอวาทที่รู้จักกันดี "งานหนักไม่เคยฆ่าคน" ถอดเป็นปรัชญาการศึกษาของมหาวทิยาลัยแม่โจ้ได้อย่างไร แล้ว Life-long Learnings เข้าไปผูกกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร Stay Tuned
คำสำคัญ : งานหนักไม่เคยฆ่าคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต Life-long learning  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2652  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 15/6/2563 10:08:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:38:53
รายงานสรุปเนื้อหาการประชุม อบรม สัมมนา » รายงานสรุปเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "Transgenerational equity and sustainable technologies for agricultural waste to energy"
-
คำสำคัญ : auditing  industrial symbiosis  thermo-chemical conversion  waste management  วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2047  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทิพปภา พิสิษฐ์กุล  วันที่เขียน 15/10/2562 9:10:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 23:17:36
ประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ NUMTA2019 ณ ประเทศอิตาลี
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในการประชุมวิชาการ International Conference and Summer School NUMTA2019 “Numerical Computations: Theory and Algorithms” ณ ประเทศอิตาลี จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานด้านคณิตศาสตาร์และสถิติ สำหรับงานทางด้านสถิติในหัวข้อเรื่อง “Modelling population size using Horvitz-Thompson approach based on the Poisson Lindley distribution” ณ วันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2562
คำสำคัญ : Horvitz-Thompson estimators  Poisson-Lindley distribution  Variance estimation  Zero-truncated distribution  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1926  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รัชนีวรรณ วงศ์พระจันทร์  วันที่เขียน 4/10/2562 15:40:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:02:29
ประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ NUMTA2019 ณ ประเทศอิตาลี
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในการประชุมวิชาการ International Conference and Summer School NUMTA2019 “Numerical Computations: Theory and Algorithms” ณ ประเทศอิตาลี จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานด้านคณิตศาสตาร์และสถิติ สำหรับงานทางด้านสถิติในหัวข้อเรื่อง “Modelling population size using Horvitz-Thompson approach based on the Poisson Lindley distribution” ณ วันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2562
คำสำคัญ : Horvitz-Thompson estimators  Poisson-Lindley distribution  Variance estimation  Zero-truncated distribution  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1926  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รัชนีวรรณ วงศ์พระจันทร์  วันที่เขียน 4/10/2562 15:40:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:02:29
ประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ NUMTA2019 ณ ประเทศอิตาลี
การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในการประชุมวิชาการ International Conference and Summer School NUMTA2019 “Numerical Computations: Theory and Algorithms” ณ ประเทศอิตาลี จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานด้านคณิตศาสตาร์และสถิติ สำหรับงานทางด้านสถิติในหัวข้อเรื่อง “Modelling population size using Horvitz-Thompson approach based on the Poisson Lindley distribution” ณ วันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2562
คำสำคัญ : Horvitz-Thompson estimators  Poisson-Lindley distribution  Variance estimation  Zero-truncated distribution  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1926  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รัชนีวรรณ วงศ์พระจันทร์  วันที่เขียน 4/10/2562 15:40:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:02:29
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562 กระบวนการสกัด L-Quebrachitol จากซีรั่มน้ำยางพาราสดและน้ำทิ้งจากกระบวนการรีดยางแผ่นมาผลิตสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ซึ่งเป็นน้ำตาลกลุ่ม oligosaccharide ที่สามารถละลายน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ สารดังกล่าว มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง (Antioxidant) และ สารต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial) ยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Propionibacterium acnes จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเวชสำอางชนิดต่างๆโดยเฉพาะเวชสำอางสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายสามารถใช้เป็น ส่วนประกอบของสารต้านมะเร็ง (Anti-cancer agents) และ สามารถนำมาผลิตเป็นสารเคลือบแผ่นยาง สำหรับลดเชื้อราปนเปื้อนบนแผ่นยางผึ่งแห้ง (Air dry sheets) และ ยางก้อนถ้วย สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราหลักที่ปนเปื้อนบนยางแผ่น Aspergillus และ Penicillium ได้ดี สามารถลดการเจริญของเชื้อราดังกล่าว ได้นาน 4 เดือน ภายหลังจากการเคลือบยางแผ่นผึ่งแห้งและยางก้อนถ้วยด้วยสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol จากงานวิจัย เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต พบว่า มีราคาถูกกว่า สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ที่ผลิตและจำหน่ายทางการค้า ถึง 44 เท่า ด้วยกรรมวิธีการสกัดและแยกสาร L-quebrachitol ด้วยเทคนิคที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ มีราคาถูก
คำสำคัญ : L-quebrachitol  กระบวนการสกัด  ซีรัมยางพารา  ผลิตภัณฑ์สปา  ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2552  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 1/10/2562 10:36:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:36:02
การพำนักในราชอาณาจักรไทยของบุคลากร/นักศึกษาต่างชาติ ในสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ขั้นตอนและข้อปฏิบัติในการขอ Re-entry Permit สำหรับบุคลากรและนักศึกษาต่างชาติที่ปฏิบัติงานหรือศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ขั้นตอนและข้อปฏิบัติในการขอ Re-entry Permit สำหรับบุคลากรและนักศึกษาต่างชาติที่ปฏิบัติงานหรือศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อรักษาสิทธิของวีซ่าประเภท Non-immigrant B สำหรับบุคลากร และ ED สำหรับนักศึกษา
คำสำคัญ : Re-entry Permit  เดินทางกลับเข้าประเทศ  เดินทางออกนอกประเทศ  รักษาสิทธิวีซ่า  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3434  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กนกวรรณ เครือมณี  วันที่เขียน 30/9/2562 10:04:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 10:41:43
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562
คำสำคัญ : L-quebrachitol  กระบวนการสกัด  การเพิ่มมูลค่า  ซีรัมนำ้ยางพารา  นำ้ทิ้งจากกระบวนการรีดแผ่นยาง  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2708  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 25/9/2562 14:32:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 19:30:05
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร Over View of AUN-QA : Programme Level
Over View of AUN-QA : Programme Level
คำสำคัญ : Over View of AUN-QA  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3868  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธิดารักษ์ รัตนมณี  วันที่เขียน 6/9/2562 10:31:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 12:09:58
ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA : 11 criteria » ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA : 11 criteria
ในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ถูกกำหนดเกณฑ์และระบบการประเมินคุณภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ผู้เรียน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตรวจสอบได้ ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่สำคัญ คือ หน่วยงานบริการการศึกษา บุคลากรที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยตรง คือ นักวิชาการศึกษา ดังนั้น การประกันคุณภาพการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่นักวิชาการศึกษา จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี โดยในปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดให้ จำนวน 2 โครงการ คือ อบรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร Over View of AUN-QA : Programme และ โครงการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนปรับปรุงการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร
คำสำคัญ : 11 criteria  AUN-QA  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5537  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2562 10:02:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 14:06:45
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : การแก้หมันของละอองเรณู  ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  ประชุมวิชาการแม่โจ้  ยีน Mr-RPCH  ลิ้นจี่นครพนม 1  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3197  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/4/2567 12:59:20
การรับนักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษา/แลกเปลี่ยน ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » ขั้นตอนและข้อปฏิบัติในการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-immigrant (Ed) สำหรับนักศึกษาที่ศึกษาหรือแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วต้องการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-Immigrant รหัส ED (การตรวจลงตราสำหรับการศึกษา) ที่ประเทศไทยโดยไม่ต้องการเดินทางไปทำที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศสามารถเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราได้ที่ตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ : Non-immigrant (ED)  Student visa  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4234  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กนกวรรณ เครือมณี  วันที่เขียน 2/10/2561 9:47:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 17:52:38
การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ » การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning) ซึ่งจัดโดย สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาต้องมีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไทย และสอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศสู่ยุค Thailand 4.0 วิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถทำได้หลากหลายวิธี เรียกแบบรวมว่าเป็นการจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยในวิธีการที่หลากหลายนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ Project-based learning ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้กับศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ และสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ การค้นคว้าหาความรู้ รวมไปถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี ในการอบรมนั้น ผู้บรรยายได้กล่าวถึงลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มีดังนี้ 1. เป็นกระบวนการทางปัญญา พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. บูรณาการสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจ ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพจริงของผู้เรียน 4. เน้นกระบวนการคิดและการปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ 5. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยโครงงาน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างห้องเรียนกับโลกภายนอกซึ่งเป็นชีวิตจริงของผู้เรียน ทั้งนี้เพราะว่าผู้เรียนต้องนำเอาความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนมาบูรณาการเข้ากับกิจกรรมที่จะทำเพื่อนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยการสร้างความหมาย การแก้ปัญหาและการค้นพบด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องสร้างและกำหนดความรู้จากความคิดและแนวคิดที่มีอยู่กับความคิดและแนวคิดที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ให้กลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ความรู้ไม่ใช่เกิดจากผู้สอนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนสามารถสร้างเองได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถเก็บข้อมูลของสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นโครงสร้างของสมองตนเอง และสามารถนำความรู้เดิมที่มีอยู่ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ จนเกิดเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเรียนรู้แบบร่วมมือยังส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน รับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จากความรู้ที่ได้รับในการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชา สต 413 สถิติสำหรับวิจัยทางการเกษตร ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษานี้(1/2561) ในบทของการเขียนโครงร่างการวิจัย โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 11 กลุ่ม ๆ ละ 4 คน แต่ละกลุ่มให้เลือกประเภทของการเกษตรที่สนใจและตั้งประเด็นคำถามจนเกิดเป็นหัวข้อในการวิจัย และเขียนโครงร่างการวิจัยทางการเกษตร มีการนำเสนอโครงร่างการวิจัย และให้กลุ่มอื่น ๆ แสดงความเห็น และซักถาม รวมทั้งประกวดผลงานของแต่ละกลุ่ม ซึ่งนักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
คำสำคัญ : Project-based learning  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3836  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ลัคนา วัฒนะชีวะกุล  วันที่เขียน 9/8/2561 16:51:53  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 21:27:21
NETPIE » การพัฒนาอุปกรณ์และบริการInternet of Things (IoT) บนแฟรตฟอร์ม NETPIE
NETPIE เป็น IoT (Internet of Things) Cloud Platform ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงานวิจัย และเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้งานโดยมี Web Portal ที่ให้สามารถลงทะเบียนและจัดการตัวตนและสิทธิของแอปพลิเคชั่นและอุปกรณ์ได้ที่เว็บไซต์ https://netpie.io อีกทั้ง NETPIE เป็น Middleware ที่มีหัวใจหลัก (นอกเหนือจากส่วนอื่นๆ) เป็น Distributed MQTT brokers ซึ่งเป็นเสมือนจุดนัดพบให้สิ่งต่างๆ (Things) มาติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันผ่านวิธีการส่งข้อความแบบ Publish/Subscribe รวมถึง NETPIE มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมเป็นคลาวด์อย่างแท้จริงในทุกองค์ประกอบ ทำให้สามารถขยายตัวได้อย่างอัตโนมัติ (Auto-scale) สามารถดูแลและซ่อมแซมตัวเองได้อัตโนมัติเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดในระบบมีปัญหา (Self-healing, Self-recovery) โดยไม่ต้องพึ่งผู้ดูแลระบบ การบริหารจัดการระบบเป็นแบบ Plug and Playไม่ต้อง Configure หรือปรับแต่ง ในฝั่งอุปกรณ์ NETPIE มี Client Library หรือที่เรียกว่า Microgear ซึ่งทำหน้าที่สร้างและดูแลช่องทางสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับ NETPIE รวมไปถึงรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูล Microgear เป็น Open Source และสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://github.com/netpieio โดย ณ ปัจจุบันมี Microgear สำหรับ OS และ Embedded Board หลักๆ ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักพัฒนาเกือบทุกชนิด
คำสำคัญ : cloud database  dashboard  IOT  real-time  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6912  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 13/7/2561 9:18:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 16:47:11