การตั้งตำรับน้ำมันเหลืองจากน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลและศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
วันที่เขียน 21/8/2566 16:35:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/5/2568 18:42:31
เปิดอ่าน: 338 ครั้ง

ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ

                ขมิ้นชันและไพลเป็นสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสรรพคุณทางยาหลากหลาย สารสกัดและน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรทั้งสองชนิดมีการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือนำมาผลิตเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้านลักษณะการใช้ทาภายนอก ในงานวิจัยนี้ ได้ตั้งตำรับน้ำมันเหลืองที่สกัดได้จากเทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำและมีน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลเป็นองค์ประกอบที่สัดส่วนต่าง ๆ (1:1 1:2 และ 2:1 โดยปริมาตร) นำน้ำมันหอมระเหยผสมมาผ่านกระบวนการบ่มด้วย พิมเสน การบูร เมนทอล ที่สภาวะสุญญากาศ นอกจากนี้ ได้นำน้ำมันเหลืองแต่ละสูตรมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันเหลืองที่มีองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันและไพลที่สัดส่วน 2:1 โดยปริมาตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Staphylococcus epidermidis  อย่างน้อยที่ระดับความเขมขน 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้ ความเขมขนต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum inhibition concentration, MIC) ทั้งสองสายพันธุ์เทากับ 58.25 และ 50.55 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ในทั้งสองเชื้อแบคทีเรีย มีค่าเท่ากับ 200.00 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
งานวิจัย » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมครั้งที่ 6 ประจำปี 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมครั้งที่ 6 ประจำปี 2568ครั้งนี้ เปิดมุมมองใหม่ด้านอาชีพ เทคโนโลยีเกษตร เกมที่ช่วยในการการเรียนรู้ และนาโนเซ็นเซอร์ เสริมทักษะนักศึกษาและอา...
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 13/5/2568 20:04:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 22:13:30   เปิดอ่าน 29  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัย » การวิเคราะห์สารสกัดจากธรรมชาติ
จากการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและเห็ดในประเทศไทยเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 7/5/2568 12:07:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/5/2568 22:38:31   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง