โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)”
วันที่เขียน 3/3/2565 15:53:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 15:57:40
เปิดอ่าน: 1720 ครั้ง

โครงการ “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN QA Version 4.0 (AUN-QA Overview)” ในวันศุกร์ ที่ 21 มกราคม 2565 เวลา 08.30-16.30 น. จัดโดยกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Zoom Meeting และ Live ผ่าน YouTube โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามหนังสืออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

ในงานอบรมครั้งนี้ มีการบรรยาย โดยรองศาสตราจารย์ ดร. วิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์ จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

  1. ในการออกแบบหลักสูตร ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Needs) ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น มหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ หรือ มคอ.1 ผู้ใช้บัณฑิตทั้งสถานประกอบการหรือสถาบันที่รับบัณฑิตเข้าศึกษาต่อ อาจารย์ประจำหลักสูตร ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน

2.นำผลสรุปจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปสร้าง PLOs ของหลักสูตรโดยให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย มีการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผลผู้เรียน การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา มีการบริการนักศึกษา การจัดสิ่งสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวก การดูผลผลิตและผลลัพธ์

  1. มีการประเมินคุณภาพการศึกษาในแต่ละปีและเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นในหลักสูตรเดียวกัน
  2. มีการวัดความสำเร็จของหลักสูตร โดยดูจากนักศึกษาว่าเป็นไปตาม PLOs ที่ตั้งไว้หรือไม่
  3. นำผลการประเมินต่าง ๆ ที่ได้ มาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการของหลักสูตร
  4. ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์ AUN-QA Version 3.0 และ Version 4.0 คือ Version 3.0 มี 11 เกณฑ์ และได้มีการยุบรวมเกณฑ์ 2 กับ 3 เกณฑ์ 7 กับ 8 และเกณฑ์ 10 ไปรวมในเกณฑ์ต่าง ๆ ทำให้ Version 4.0 เหลือแค่ 8 เกณฑ์
  5. มีการบรรยายรายละเอียดของเกณฑ์ต่าง ๆ บางเกณฑ์ย่อยมีการเพิ่มมาใหม่ มีตัวอย่างการให้ข้อมูล และให้ไปศึกษารายละเอียดจากคู่มือเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
  6. สรุปได้ว่าเกณฑ์ 1-8 จะต้องมีการวางแผน มีการปฏิบัติตามแผน มีการตรวจสอบประเมิน มีการปรับปรุงการดำเนินงาน และเมื่อปรับปรุงแล้วผลเป็นอย่างไร ผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่

 

 ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

   1. ได้รับความรู้ และข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์อย่างมาก

  1. สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการจัดทำรายงาน AUN-QA ในปีการศึกษา 2565

 ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

  1. ได้ทราบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง รายละเอียดในการออกแบบหลักสูตร ข้อแตกต่างระหว่างเกณฑ์ AUN-QA Version 3.0 และ 0 รายละเอียดในแต่ละเกณฑ์ เพื่อหลักสูตรจะได้นำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น
  2. เป็นประโยชน์ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4.0

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1258
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 11:50:36   เปิดอ่าน 11  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 12:52:57   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง