การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 7:17:52
เปิดอ่าน: 5451 ครั้ง

หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง และนำไปปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัย จึงมีข้อดี คือ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น ให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีความสำคัญ เพราะเป็นข้อมูลที่เราสามารถค้นหาและเข้าใจได้ง่ายว่า มหาวิทยาลัยนั้น มีคุณภาพดีมากหรือน้อยแค่ไหน ดังนั้น การจัดอันดับจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักศึกษาต่างชาติ รวมถึงนายจ้างบางแห่ง อาจใช้การจัดอันดับของมหาวิทยาลัย ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานอีกด้วย ทำให้การจัดอันดับมีความสำคัญมากในการทำสื่อทางการตลาด และตัวมหาวิทยาลัยเองยังใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมาก ในการทำให้มหาวิทยาลัยของพวกเขาอยู่ในตารางการจัดอันดับ

หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้องบกพร่องของตัวเอง และนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ดังนั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัยจึงมีข้อดี คือ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น ให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด

ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 6 สถาบัน ดังนี้

1. U-Multirank จัดขึ้นโดยสหภาพยุโรป (EU) ที่กรุงดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ.2014 ทำหน้าที่ประเมินมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยได้รับการคาดหมายว่า มีมหาวิทยาลัยจากทั่วโลก ประมาณ 500 แห่งร่วมลงทะเบียนเป็นสมาชิก โดยจะประเมินมหาวิทยาลัยใน 5 ด้าน คือ 1) ชื่อเสียงในเรื่องงานวิจัย 2) คุณภาพของการเรียนการสอน 3) บทบาทที่เกี่ยวกับการศึกษาระหว่างประเทศ 4) ผลแห่งความเร็วจากการถ่ายทอดความรู้ 5) การริเริ่มในการสร้างสรรค์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ และการมีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญเติบโตของภูมิภาค

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการจัดอันดับเป็นปีแรก ประกาศผลการจัดอันดับ ในวันที่ 21 กันยายน 2564

2. SDGs ย่อมาจาก Sustainable Development Goals–SDGs หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นการพัฒนาที่สมดุลกันใน 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) นั่นคือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย แบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) 

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในกลุ่ม Top 5 ของประเทศไทย (จากทั้งหมด 25 มหาวิทยาลัย)

    - อันดับที่ 10 ของประเทศ

    - อันดับที่ 301-400 ของโลก (จาก 1,115 มหาวิทยาลัย 94 ประเทศ)

    - อันดับที่ 39 ของโลก

3. SCD Ranking เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน Sustainable Community Development University Rankings (SCDUR) เป็นการจัดอันดับที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิเพื่อการส่งเสริมกระทรวงมหาวิทยาลัย (UFPMUA) ประเทศไทย การจัดอันดับแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก จาก 11 ตัวชี้วัด 7 ด้าน ได้แก่ 1) นโยบายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 2) หลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 3) บริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 4) การหล่อเลี้ยงวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 5) การวิจัยการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 6) ศิษย์เก่าที่ทำงานในชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และ 7) รางวัลด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศ โดยได้คะแนนสูงสุดด้านนโยบายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

4. Webometrics Ranking of World Universities หรือ "Ranking Web of World Universities" จัดทำโดย Cyber metrics Lab หรือ Internet Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัย ในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC) สภาวิจัยแห่งชาติ (Spanish National Research Council - CSIC) ณ กรุงแมดดริด ประเทศสเปน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2004

     การจัดลำดับโดย Webometrics เกิดจากความคิดที่ว่า เว็บไซต์จะเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และ Open Access Initiatives ซึ่งเป็น Web publications หรือ Electronic publications จะมีผลกระทบ และมีการเข้าถึงได้มากกว่าสิ่งตีพิมพ์ (Publications) ชนิดใด ดังนั้น Webometrics จึงเป็นการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ การปรากฎตัวบนอินเตอร์เน็ต และดูจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลก ที่ทำลิงก์มายังเว็บเพจ หรือวัดผลกระทบการอ้างอิงตามจำนวนของลิงก์ ที่ได้รับจากภายนอก (External in links/ Sitations หรือ Site citations) ประกาศผลจัดอันดับจะทำทุกเดือนมกราคมและกรกฎาคมของทุกปี มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004

      จากการประกาศผลครั้งล่าสุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในอันดับ 22 ประเทศ (จากสถาบันการศึกษา จำนวน 194 ในประเทศไทย), อันดับ 2,843 ของโลก

5. มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)คือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก (UI Green Metric World University Ranking) จัดอันดับโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia) โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดเป็นมาตรฐานในการให้คะแนนเพื่อจัดอันดับนั้น ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อ คือ 1) Setting And Infrastructure (ที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน) 15% 2) Energy and Climate Change (การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) 21% 3) Waste management (การจัดการของเสีย) 18% 4) Water usage (การจัดการน้ำ) 10% 5) Transportation (การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) 18% 6) Education (ความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) 18%

     มหาวิทยาลัยสีเขียว หมายถึง มหาวิทยาลัยที่มีการบูรณาการอนุรักษ์ด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมเข้าไปในการเรียนการสอน การวิจัย และในทุกกิจกรรม ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานในบรรยากาศที่มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน อันก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของชาติ

     มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับ 6 ของประเทศไทย, อันดับ 40 ของเอเซีย และอันดับ 110 ของโลก

6. การวัดระดับประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย (University Performance Metrics: UPM) โดยองค์กร ASEAN University Network: AUN โดยเชิญเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมการวัดระดับประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวริเริ่มและพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National University) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของมหาวิทยาลัยในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

     ระบบการวัดระดับประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย (UPM) ช่วยวัดระดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาค ในตัวชี้วัดหลักเกี่ยวข้องกับ  Innovation and entrepreneurship, smart university and digital transformation, future ready training โดยในปี 2021 มีมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมกว่า 40 สถาบัน รวมถึงมหาวิทยาลัยของไทย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวัดใช้เกณฑ์วัดประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย 8 ด้าน ได้แก่ 1) การกำกับดูแลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Governance) 2) การเรียนการสอน (Education) 3) งานวิจัย (Research) 4) นวัตกรรม (Innovation) 5) ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) 6) โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) 7) ความเป็นนานาชาติ (Internationalization) และ 8) การบริการต่อสังคม (Community Services)

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับ 4 ของประเทศ, อับดับ 14 ของภูมิภาคอาเซียน

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ » ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ ร่วมกับ งานคลังและพัสดุ ได้จัดทำขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุมัติดำเนินโค...
ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการ/กิจกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน รุ้งทอง เขื่อนขัน  วันที่เขียน 12/9/2562 16:08:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 22:56:23   เปิดอ่าน 2394  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)”
สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)” 1. หลักสูตรสอดคล้องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และควรระบุให้นักศึกษา “เรียนรู้...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน ธิดารักษ์ รัตนมณี  วันที่เขียน 24/8/2561 10:38:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 17:49:43   เปิดอ่าน 3589  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง