|
|
|
|
|
ถอดบทเรียน KM
»
ถอดบทเรียน Skype for Business พลิกรูปแบบการสื่อสารและการทำงานร่วมกันขององค์กร
|
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความร่วมมือกับ บริษัทไมโครซอฟท์ ในโครงการ “ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์สำหรับสถาบันการศึกษา (Microsoft Campus Agreement)” เพื่อให้สถาบันการศึกษารวมถึงสถานศึกษาที่มีวิทยาเขต สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดย Microsoft Campus Agreement นี้ เป็นชุดโปรแกรมที่ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการ Windows, Microsoft SQL Server Enterprise, Visual Studio, Microsoft Office และ Skype for Business เป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Office (Office365) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร รองรับการสนทนาทั้งผ่านข้อความ เสียง วีดีโอ รวมทั้งการประชุมออนไลน์ ทำให้องค์กรหรือหน่วยงานสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานผ่าน Smartphone เครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถติดต่อคู่สายกับโทรศัพท์พื้นฐานภายในองค์กรได้ โดยใช้บัญชีรายชื่อ e-Mail @mju.ac.th เข้าใช้งานได้อย่างปลอดภัย ด้วยความสามารถของโปรแกรม Skype for Business นี้ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารได้ทางหนึ่งด้วย ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผ่านโปรแกรม Skype for Business เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
|
คำสำคัญ :
Skype for Business
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3877
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐกฤตา โกมลนาค
วันที่เขียน
24/8/2559 9:28:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
10/6/2566 2:20:15
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ถอดบทเรียน KM
»
สรุปบทเรียนจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “มารู้จัก MJU Private Cloud กันเถอะ”
|
การนำเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการนั้น เพื่อให้การบริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเรียกออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา แบบ AnyWhere AnyTime AnyDevice โดยอาศัยการทำงานผ่าน Browser และระบบอินเทอร์เน็ต นั้น ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการศึกษาค้นคว้า เพื่อการดำเนินงานวางระบบ MJU Private Cloud ขึ้น โดยหลักการทำงานผ่าน Cloud Computing เป็นการจัดสรรทรัพยากรของระบบ IT ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่เหมือนกันแต่สามารถใช้งานร่วมกันได้ รวมทั้งสามารถบริหารจัดการระบบทั้งหมดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานได้อย่างเนื่อง
โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการวางโครงสร้างเพื่อให้บริการ MJU Private Cloud ดังนี้
1) จัดสรรทรัพยากรโครงสร้างระบบให้สามารถรองรับการให้บริการ 5 ปี
2) ใช้ Flex System จำนวน 4 ตัว ทำหน้าที่ Cluster Hyper V เพื่อให้การทำงานของระบบ สามารถประมวลผลได้อย่างต่อเนื่อง และทำงานแทนกันได้
3) จัดแบ่ง Storage แบบ 4 Tier
4) การบริหารจัดการแบบ Virtual Management ตรวจสอบการทำงานของ SQL อาทิ SQL Server Availability, SQL Memory
5) การบริหารจัดการแบบ Server Consolidation และ Cloud Management Software
• Virtualization Technology
• Centralization Management
|
คำสำคัญ :
Big Data Cloud Computing Internet Of Thing MS Lync 2013 Office365
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4985
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐกฤตา โกมลนาค
วันที่เขียน
18/9/2558 13:16:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
10/6/2566 6:50:34
|
|
|
|
ถอดบทเรียน KM
»
ถอดบทเรียน โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2 : Data Mining
|
เนื่องด้วยปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลสารสนเทศมีความสำคัญ การเผยแพร่และสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็น การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลจำนวนมากให้แก่ผู้ใช้ เช่น การให้บริการเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนความรู้ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลถึงผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ จะช่วยให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเว็บไซต์ ให้ตรงกับความต้องการใช้งานหรือใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยวิธีการที่ใช้ คือกระบวนการทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระทํากับข้อมูลจํานวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น ในปัจจุบันการทําเหมืองข้อมูลได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ทั้งในด้านธุรกิจที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม การทําเหมืองข้อมูลเปรียบเสมือนวิวัฒนาการหนึ่งในการจัดเก็บและตีความหมายข้อมูล จากเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างง่ายๆ มาสู่การจัดเก็บในรูปฐานข้อมูลที่สามารถดึงข้อมูลสารสนเทศมาใช้จนถึงการทําเหมืองข้อมูลที่สามารถค้นพบความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล
|
คำสำคัญ :
Data Mining Denormaliztion ETL Pentaho
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
4044
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐกฤตา โกมลนาค
วันที่เขียน
9/4/2558 11:32:36
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
9/6/2566 19:00:09
|
|
|
ถอดบทเรียน KM
»
ถอดบทเรียนกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ WebService
|
ประโยชน์ที่ได้รับ
การพัฒนาระบบด้วย Web Service จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สรุปได้ว่า ก่อให้เกิดข้อดี ดังนี้
1. ป้องกันการกรอกและบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน
2. ป้องกันการกรอกข้อมูลผิดพลาด
3. การพัฒนาระบบรายงานไม่ต้องเริ่มต้นการพัฒนาจากศูนย์ ไม่ต้องออกแบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบ หรือแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลใหม่
4. ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูล
5. มีผู้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นฐานข้อมูลแหล่งเดียว
6. เป็นการผลักดัน และก่อให้เกิด Data Center ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
7. การสำรองข้อมูลเกิดขึ้นที่ส่วนกลาง
8. การปรับปรุงแก้ไขเกิดขึ้นที่ส่วนกลาง
9. การตกแต่งหน้าเว็บไซด์รายงานผล สามารถทำได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้หน่วยงานสามารถค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้จาก Search Engine ทุกระบบ โดยใช้คำสำคัญ อาทิเช่น Web Service, NuSOAP เป็นต้น
|
คำสำคัญ :
Webservice
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3030
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐกฤตา โกมลนาค
วันที่เขียน
10/4/2557 15:20:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
9/6/2566 15:17:12
|
|
|
|
|