|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้านความปลอดภัยและวิทยุสื่อสาร
»
คู่มือเครือข่ายสื่อสารองค์กรด้านการข่าวเพื่อการประสานงานและการประชาสัมพันธ์(วิทยุคมนาคม – วิทยุสื่อสาร ชุดที่1/62)
|
การจัดทำเอกสารคู่มือเครือข่ายสื่อสารองค์กรด้านการข่าวเพื่อการประสานงานและการประชาสัมพันธ์(วิทยุคมนาคม – วิทยุสื่อสาร ชุดที่1/62) สำหรับเป็นแหล่งข้อมูลและรวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน ผ่านช่องทางการกระจายข้อมูล เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้กับบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถรับรู้ รับทราบ ชี้แจง สั่งการ ถือปฏิบัติ ระหว่างหน่วยงานหรือเฉพาะเจาะจงกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบเอกสารสำหรับ การอ่านประเภทหนังสือบันทึกข้อความลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการประเภทต่างๆหรือสื่อสารด้วยวิธีการสนทนาระหว่างบุคคลสองคนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนรายละเอียดข้อมูลที่ใช้ถ้อยคำ รวมถึง การใช้รหัส(code) สื่อแทนความหมายในทิศทางเดียวกันให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ มีการใช้เทคโนโลยีจากคอมพิวเตอร์(เก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยไมโครอิเล็กทรอนิกส์)และเทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือวิทยุคมนาคม(การสื่อสารผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)เป็นช่องทางถ่ายทอดข้อมูล หากต้องใช้วิธีการเดินเอกสาร(เจ้าหน้าที่เดินหนังสือ) หรือเข้าพบปะ ปรึกษาหารือส่งข้อความถึงกัน ซึ่งเป็นวิธีการ ต้องใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณ สำหรับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการพัฒนาวางระบบการสื่อสารหลายด้านเพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารมีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันและลดช่องว่างในการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรหรือภายในหน่วยงาน
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2526
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
นพกิจ แผ่พร
วันที่เขียน
31/10/2562 16:36:24
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:10:40
|
|
|
|
|
|
|
คู่มือกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
»
รายงานการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ต่อหลักสูตรที่เปิดสอน ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2561
|
รายงานการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ต่อหลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2561
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยงานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษาได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ต่อหลักสูตรที่เปิดสอน โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อกำหนดความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ต่อหลักสูตรที่เปิดสอนเรื่องต่างๆ โดยการแจกแบบสอบถามในช่วงวันปัจฉิมนิเทศนักศึกษาทั้งหมด 325 ชุด จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 476 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมาจำนวน 226 ชุด
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรที่เปิดสอน ในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.75 เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละคุณลักษณะ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก 2 คุณลักษณะ โดยคุณลักษณะที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ 2 อันดับแรก คือหัวข้อ คุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอน ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และคำแนะนำและความช่วยเหลือด้านการเรียนจากอาจารย์ที่ปรึกษาทั่วไปค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และความพึงพอใจของบัณฑิต 2 อันดับสุดท้ายคือ หัวข้อ จำนวนเอกสารและตำรา ในสำนักหอสมุดสำหรับการค้นคว้า ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 และ หัวข้อ ท่านได้รับความรู้ภาษาอังกฤษ มีเพียงพอที่จะใช้ในระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.15
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.5 อายุเฉลี่ยประมาณ 22 ปี เกรดเฉลี่ย 2.68 ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 7,700 บาท คะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจฯในระดับมาก จากข้อคำถาม 13 ข้อเท่ากับ 3.75
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1614
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เจษฎาพร ด้วงชนะ
วันที่เขียน
30/9/2562 10:43:14
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 13:59:28
|
|
|
|
|
|
ด้านความปลอดภัยและวิทยุสื่อสาร
»
คู่มือจำลองเหตุชุดที่1/62 ฝึกทำแผนปฏิบัติการผจญเพลิง และอพยพ อาคารอำนวย ยศสุข
|
คู่มือจำลองเหตุชุดที่1/62 เป็นการฝึกทำแผนปฏิบัติการผจญเพลิง และอพยพ อาคารอำนวย ยศสุข กรณีถังน้ำมันเชื้อเพลิง(เบนซิน) รถยนต์บุคลากรรั่ว และเกิดเพลิงไหม้ มีควันพิษ ที่จอดรถ โซน A ชั้น 1 ทั้งนี้ เหตุการณ์น้ำมันเชื้อเพลิงจากรถยนต์และรถจักยานยนต์เคยเกิดขึ้นจริงกับรถยนต์บุคลากรและนักศึกษาที่จอดรถ โซน A ชั้น 1 ในอาคารอำนวย ยศสุข แต่ไม่เกิดเพลิงไหม้ คณะกรรมการสำนักงานสีเขียว(Green Office) หมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย ศูนย์กิจการนักศึกษา จึงเห็นความสำคัญในการฝึกทำแผนเป็นการเตรียมความพร้อมจัดตั้งอัตรากำลังที่มีทักษะ ความรู้ความสามารถ ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเบื้องต้นเกี่ยวกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฝึกอบรมบุคลากรประจำอาคารให้สามารถดำเนินการระงับหรือควบคุมสถานการณ์ ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงติดตั้งประจำอาคารควบคุมเพลิง โดยคัดเลือก/สมัคร อาสาสมัครทำหน้าที่เป็นชุดปฏิบัติการเผชิญเหตุประจำอาคาร รวมทั้งชุดปฏิบัติการอพยพ เคลื่อนย้าย นำทาง และค้นหา ในการดำเนินการตามขั้นตอนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งนี้ การจัดทำคู่มือจำลองเหตุการณ์ภายในและนอกอาคาร ต้องให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กฎกระทรวงในการกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 เรื่องมาตรการและแนวทางในการป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสถานที่ราชการ หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1938
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
นพกิจ แผ่พร
วันที่เขียน
9/9/2562 15:11:54
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 13:58:42
|
|
|
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
»
กิจกรรมนักศึกษา กับการใช้เทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
|
โลกในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมนักศึกษานั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นทำให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เป็นเครื่องมือฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และรู้จักคิด รู้จักวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดการทำงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถวางระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ฯลฯ
|
คำสำคัญ :
กิจกรรมนักศึกษา วิชาชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9853
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐภัทร ดาวสุข
วันที่เขียน
9/9/2562 9:57:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 14:47:42
|
|
|
|