โครงการ "AUN-QA Sharing"
วันที่เขียน 3/3/2565 15:40:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 15:57:40
เปิดอ่าน: 1304 ครั้ง

โครงการ "AUN-QA Sharing" ในวันพุธ ที่ 19 มกราคม 2565 เวลา 09.00 -12.00 น. ซึ่งจัดโดยกองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานมหาวิทยาลัย ออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Microsoft Teams โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตามหนังสืออนุญาตเข้าร่วมโครงการฯ ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

ในงานอบรมครั้งนี้ เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ของหลักสูตรที่มีการดำเนินงานตามเกณฑ์ AUN-QA มาร่วมอภิปรายกระบวนการดำเนินงานของหลักสูตร มี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์รักธิดา ศิริพิทักษ์กิจนุกูร

 ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

  1. ในการออกแบบหลักสูตร ควรมีการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น มหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพหรือมคอ.1 ผู้ใช้บัณฑิตทั้งสถานประกอบการหรือสถาบันที่รับบัณฑิตเข้าศึกษาต่อ อาจารย์ประจำหลักสูตร ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน อาจทำได้โดยสร้างแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ เป็นต้น
  2. นำผลสรุปจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปสร้าง PLOs ของหลักสูตรโดยให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีลักษณะเฉพาะของลูกแม่โจ้
  3. การจัดทำ มคอ.3 และมคอ.4 ที่สอดคล้องกับ PLOs มีการจัดทำ CLOs ของรายวิชา
  4. การจัดการเรียนการสอน ให้นักศึกษามีความรู้ ผู้สอนให้ feedback ตลอดเวลา มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เสริมสร้างให้นักศึกษามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ความคิดริเริ่มเป็นผู้ประกอบการ ความรักที่จะเรียนรู้ ความตระหนักทางวัฒนธรรม
  5. การวัดและประเมินผลผู้เรียนตาม PLOs และ CLOs ที่เชื่อมโยงกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA
  6. เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา มีการจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 รายงานผลการดำเนินงานรายวิชา
  7. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

 

 ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

   1. ได้รับความรู้ และข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์อย่างมาก

  1. สามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการจัดทำรายงาน AUN-QA

 

 ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

1. ได้ทราบขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง รายละเอียดที่หลากหลายในการออกแบบหลักสูตร (Backward Curriculum Design) หลักสูตรจะได้นำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ในการดำเนินงานตามเกณฑ์ AUN-QA

คำสำคัญ :
AUN-QA  
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1257
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 11:50:36   เปิดอ่าน 11  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 12:52:57   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง