Blog : คู่มือ
รหัสอ้างอิง : 124
ชื่อสมาชิก : จิณาภา ใคร้มา
เพศ : หญิง
อีเมล์ : jinapa@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 18/1/2554 13:56:53
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 18/1/2554 13:56:53

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : คู่มือ
คู่มือการปฏิบัติงานของห้องสมุด การสร้างข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์ และการสร้างรายการบรรณานุกรมทระเบียนวารสาร
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในส่วนของการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสาร จากโปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Control Module) และโปรแกรมระบบ Cataloging Module ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ตามแนวทางและนโยบายการบริหารงานของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารที่เป็นรูปเล่มและที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด รวมถึงนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอุดมศึกษาสาขาบรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์
คำสำคัญ : บทความวารสาร  รายการบรรณานุกรม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 105  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 21/8/2567 11:34:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 15:25:25
คู่มือ » การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ
การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทประเภทหนังสือตั้งแต่สำนักหอสมุดเปิดให้บริการ ถึงเดือน ธันวาคม 2565 แยกตามหมวดหมู่ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2) เพื่อวิเคราะห์ปริมาณการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 แยกตามคณะที่สังกัด ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือของสำนักหอสมุด จำนวน 131,695 เล่ม ประกอบด้วยหนังสือทั่วไป จำนวน 84,653 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 64.28 รายงานการวิจัย จำนวน 8,804 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.69 วิทยานิพนธ์จำนวน 506 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 0.38 สิ่งพิมพ์รัฐบาล จำนวน 20,283 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 15.40 หนังสืออ้างอิง จำนวน 12,862 คิดเป็นร้อยละ 9.77 และนวนิยาย จำนวน 4,587 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 3.48 ผลการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 มีจำนวนการใช้งานรวมทั้งสิ้น จำนวน 62,866 เล่ม ประกอบด้วย แบ่งเป็นหนังสือทั่วไป จำนวน 50,716 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 80.67 รายงานการวิจัย จำนวน 4,117 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.55 หนังสืออ้างอิง จำนวน 4,026 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 6.40 สิ่งพิมพ์รัฐบาล จำนวน 864 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.37 และนวนิยาย จำนวน 3,143 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 5.00 ผลการวิเคราะห์การยืมหนังสือจำแนกตามประเภทและหมวดหมู่ตามคณะที่สังกัดมีการยืมหนังสือภาษาไทยเปรียบเทียบกับจำนวนหนังสือภาษาไทยที่มีให้บริการของคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 มีการยืมหนังสือภาษาไทย จำนวน 27,065 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 26.67 คณะที่ยืมหนังสือมากสุดคือ คณะผลิตกรรมการเกษตร ยืมหนังสือภาษาไทย จำนวน 5,657 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 5.57 ส่วนการยืมหนังสือภาษาอังกฤษเปรียบเทียบกับจำนวนหนังสือภาษาอังกฤษที่มีให้บริการ มีการยืมหนังสือภาษาอังกฤษ จำนวน 2,338 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 7.74 คณะที่ยืมหนังสือมากที่สุดคือ คณะวิทยาศาสตร์ ยืมหนังสือภาษาอังกฤษมากสุด จำนวน 438 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 1.45 ผลการวิเคราะห์การยืมหนังสือภาษาไทยกับจำนวนหนังสือภาษาไทยแยกตามหมวดหมู่ที่มีการยืมมากที่สุดคือ หมวด 600 มีการยืมจำนวน 6,823 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 23.63 ส่วนภาษาอังกฤษมีการยืมมากที่สุดคือ หมวด หมวด 600 มีการยืมจำนวน 872 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 7.25
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:49:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/10/2567 0:59:40
คู่มือ » การเพิ่มรูปภาพปกหนังสือและการสแกนหน้าสารบัญหนังสือ
การลงรายการบรรณานุกรมหนังสือของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องมีการเพิ่มรายการบทคัดย่อ เรื่องย่อ สาระสังเขป และสารบัญของหนังสือต่าง ๆ ที่จะต้องนำเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST สำหรับรูปภาพปกหนังสือและสแกนหน้าสารบัญของหนังสือนั้นสามารถทำได้ 2 กรณีคือ 1. กรณีสืบค้นพบจากอินเทอร์เน็ต สามารถทำสำเนาปก บทคัดย่อ เรื่องย่อ สาระสังเขป และรูปภาพปกหนังสือมาเพิ่มไว้ในรายการบรรณานุกรมได้เลย 2. กรณีสืบค้นไม่พบจากอินเทอร์เน็ต ให้ดำเนินสแกนบทคัดย่อ เรื่องย่อ สาระสังเขป และสารบัญของหนังสือนั้น ๆ
คำสำคัญ : การเพิ่มปกหนังสือ  สแกนสารบัญ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 81  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:37:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:33:47
คู่มือ » การสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (item) เพื่อการยืม-คืน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวารสารเย็บเล่มออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การเย็บเล่มวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist 2) เย็บเล่มวารสารโดยการสร้างรายการทรัพยากรเป็นรายฉบับ 3)การเย็บเล่มวารสารจากการถ่ายโอนจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon 4) ยกเลิกการเย็บเล่มวารสารกรณีที่เย็บเล่มเอง (เย็บเล่มชั่วคราว)
คำสำคัญ : item  ทรัพยากรวารสาร  ยืม-คืน  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:25:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 18:38:43
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical Check in คือรายละเอียดของวารสารตั้งแต่ปี 2540-2558 สามารถถ่ายจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon มายังระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้คือ ALIST ได้ ส่วนรายละเอียดของวารสารที่ได้รับก่อนปี 2540 ไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ ซึ่งเป็นปัญหาของงานด้านวารสารคือมีข้อมูลในส่วนของรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร แต่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของวารสารที่มีให้บริการได้ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดทำการสร้าง Item ของวารสารทั้งหมดที่รับเข้ามาในระบบและเพื่อเป็นการเตรียมการเพื่อในอนาคตจะมีการให้บริการยืมวารสารออกนอกห้องสมุดได้ วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือ 1. เพื่อสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (Item) สำหรับการ ยืม- คืน วารสาร 2. เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ขอบเขตของคู่มือ คู่มือการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (Item) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นสำหรับการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร ตามนโยบายของผู้บริการที่ต้องการให้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารที่มีให้บริการในสำนักหอสมุดทั้งวารสารเย็บเล่มและวารสารเล่มปลีกสามารถ ยืม- คืน ผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ได้ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. บุคลากรสำนักหอสมุด สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ 2. ผู้ใช้บริการสามารถยืม คืน วารสารผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้ 3. สามารถรายงานผลการายืม – คืน วารสารได้
คำสำคัญ : item  รายการทรัพยากรวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 187  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 15:27:50
คู่มือ » การสร้าง item เพื่อการยืมคืน
แนวทางการปฏิบัติงานข้างต้นในส่วนของงานด้านวารสาร สำนักหอสมุดได้ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร ตั้งแต่การบันทึกรายการบัตรทะเบียนวารสาร การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบเดิม (horizon) จนถึงปัจจุบันใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Alsit) จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องจึงเกิดกระบวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหาร ที่ต้องการให้เกิดความสะดวกในการยืม-คืนวารสาร และเป็นการเก็บสถิติการใช้วารสารภายในห้องสมุด จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฎิบัติงานด้านวารสารจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว จึงต้องทำการในสร้าง/เพิ่ม/แก้ไข ข้อมูลตัวเล่ม (item) ของวารสาร เฉพาะตัวเล่มที่มีผู้ใช้บริการต้องการใช้ ต้องการยืมออกนอกห้องสมุด และวารสารล่วงเวลาที่ผู้ใช้ใช้บริการที่วางที่จุดพักวารสารเท่านั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการติดบาร์โค้ด ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านวารสาร ส่วนวารสารฉบับใหม่ที่มีการสมัครสมาชิกหรือรับบริจาคจะดำเนินการลงทะเบียนในระบบเช็คอินการ์ดทุกฉบับและดำเนินการสร้างข้อมูลตัวเล่ม (item) เป็นปัจจุบัน
คำสำคัญ : item  ข้อมูลตัวเล่มวารสาร  วารสารล่วงเวลา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 152  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:31:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:36:50
คู่มือ » คู่มือการปฏิบัติงาน ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
ปัจจุบัน สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เวอร์ชั่น 4.0.2009 ซึ่งการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารจะใช้โปรแกรมย่อยของระบบควบคุมวารสาร (Serial Control Module) เพื่อควบคุมกระบวนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ การบันทึกรายการบรรณานุกรมวารสารใช้ร่วมกับ (ระบบ Cataloging Module) การลงทะเบียนวารสารในระบบ Serial Control Module และการประมวลผลสารสนเทศประเภทวารสารที่ได้รับจากการจัดซื้อจัดหาไว้ให้บริการในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียน จึงเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน งานทะเบียนวารสารในโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ALIST  ทะเบียนวารสาร  ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 164  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:20:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:36:47
คู่มือ » การตรวจสอบทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัยประเภทต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการ จัดสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย และวารสารภาษาอังกฤษ และในปัจจุบันนี้ มีการจำกัดในเรื่องงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา และวารสารมีการหยุดพิมพ์เป็นจำนวนมาก มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดพิมพ์จากการพิมพ์ตัวเล่มปรับเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีหน้าที่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการด้านทะเบียนวารสาร เพื่อให้บริการวารสารให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ทั้ง 2 รูปแบบ คือ บริการตัวเล่มวารสาร และ บริการวารสารฉบับออนไลน์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุงทะเบียนวารสารให้สอดคลองกับการให้บริการในโลกปัจจุบัน วัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสถานะและรายละเอียดของรายการทะเบียนวารสารที่ให้บริการให้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นปัจจุบัน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ผู้ปฎิบัติงานห้องสมุดและผู้ใช้บริการ ได้รับทราบสถานะของทะเบียนวารสารได้ตรงกับความเป็นจริงและเป็นสถานะของปัจจุบันแต่ละรายชื่อ ขอบเขต ตรวจสอบรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารภาษาไทย ให้เป็นปัจจุบันโดยตรวจสอบจากไฟล์เอกสารใน Google Drive “รายชื่อวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง” กับโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ในระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โดยตรวจสอบสถานะของวารสารที่จำหน่ายออกและวารสารที่จัดทำเป็นแบบออนไลน์
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร  สถานะของวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 162  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:09:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 6:19:53
คู่มือ » บรรณานุกรมรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัยหมายถึง การเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย รวมถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัย และผู้เกี่ยวข้อง การเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่ ผลงานวิจัยให้สาธารณชนได้รับรู้เพื่อให้ผู้ใสใจนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาของตนหรือเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : บรรณานุกรม  รายงานการวิจัย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 143  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:03:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 3:30:29
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความออนไลน์
ในปัจจุบัน วารสารมีการจัดพิมพ์ออกเป็น 2 รูปแบบ คือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และการจัดพิมพ์เป็นแบบออนไลน์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดหาวารสารทั้งสอง 2 รูปแบบ เพื่อให้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการให้บริการแบบตัวเล่ม ต้องมีการคัดเลือกวารสารที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการ โดยมีการจัดทำดรรชนีบทความวารสาร ซึ่งบางสำนักพิมพ์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำวารสารเป็นแบบออกไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางฝ่ายได้รับมีการประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำดรรชนีบทความวารสารทั้งฉบับที่เป็นรูปเล่มและออนไลน์ เป็นประจำทุกปี สำหรับปีปัจจุบันนี้การจัดทำดรรชนีบทความของวารสารฉบับออนไลน์ ขึ้นเป็นปีแรก ทางฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการประชุมเพื่อสรุปประเด็นเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารฉบับออนไลน์ขึ้น
คำสำคัญ : บทความออนไลน์  บรรณานุกรมบทความ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 128  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 8:51:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 22:05:38
คู่มือ » การลดขั้นตอนการให้บริการหนังสือพิมพ์
การลดขั้นตอนการให้บริการหนังสือพิมพ์ ควายหมายของหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ คำจำกัดความในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ว่า “หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน ออกหรือเจตนาจะออกตามลำดับเรื่อยไป มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม” หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่รายงานข้อเท็จจริงและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ในแต่ละวัน รวมทั้งเนื้อหาสาระอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนการโฆษณา มีวาระการวางจำหน่ายที่แน่นอน แต่เดิมนิยมจำหน่ายเป็นรายวัน ปัจจุบันหนังสือพิมพ์รายสามวันก็เป็นที่นิยมของผู้อ่านมาก การจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์จะใช้กระดาษชนิดเดียวกันตลอดเล่ม ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายโดยไม่มีการเย็บเล่ม หนังสือพิมพ์ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์รายงานข่าว และข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ ความบันเทิงและเสนอข้อเขียนเชิงวิพากษ์ วิจารณ์เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ในรูปของบทนำ หรือบทบรรณาธิการ (Editorial) บทความ (Article) ตลอดจน คอลัมน์ (Column) เพื่อให้แง่มุมความคิด และการเตือนภัย แก่ผู้อ่านซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเป็นสำคัญ สรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์ คือสิ่งพิมพ์ที่รายงานข้อเท็จจริง รายงานเหตุการณ์สำคัญ ให้ความรู้ ความบันเทิง มีการเสนอแนะหรือเขียนเชิงวิพากษ์ วิจารณ์ มีการเตือนภัยต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วไป และยังมีโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นการเสนอของแต่ละท้องถิ่น ในแต่ละวัน ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิดีทัศน์ เพื่อ ให้บริการกับผู้มาใช้บริการ การลดขั้นตอนการให้บริการหนังสือพิมพ์ในที่นี้จะกล่าวถึงการลงทะเบียนหนังสือพิมพ์ที่สำนักหอสมุดจัดซื้อมาเพื่อให้บริการ ซึ่งการจัดซื้อหนังสือพิมพ์จะต้องมีการดำเนินงานเกี่ยวข้องดังนี้คือ 1) ติดต่อร้านค้าหรือตัวแทนจำหน่าย 2) ขออนุมัติซื้อหนังสือพิมพ์ 3)พัสดุดำเนินการติดต่อจัดซื้อหนังสือพิมพ์ตามรายชื่อที่ขออนุมัติ 4) รอรับหนังสือพิมพ์ 5) ลงทะเบียนรับหนังสือพิมพ์ 6)ประทับตราห้องสมุด 7) ส่งหนังสือพิมพ์ให้งานบริการนำออกให้บริการ 8) เก็บหนังสือพิมพ์ที่สิ้นกระแสการให้บริการไว้ที่ห้องล่วงเวลาหนังสือพิมพ์ 9)สิ้นเดือนตรวจสอบจำนวนหนังสือพิมพ์ว่าตรงกับใบส่งของเพื่อแจ้งพัสดุให้ดำเนินการจ่ายเงินตามใบส่งของ 10) มัดหนังสือแยกตามรายชื่อและเรียงลำดับตามวันที่ 11) จัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเพื่อรอการจำหน่าย เนื่องจากหนังสือพิมพ์ของสำนักหอสมุดที่จัดซื้อมาจะเก็บไว้เพื่อให้บริการเป็นเวลา 2 เดือน
คำสำคัญ : การลดขั้นตอนการลงทะเบียนหนังสือพิมพ์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 70  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 17/6/2567 16:15:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:36:35
คู่มือ » การจำหน่ายออกวารสาร
การจำหน่ายออกวารสาร ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จิณาภา ใคร้มา นักเอกสารสนเทศชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารออกจากห้องสมุด เนื่องจากปัจจุบันสภาพทางกายภาพของห้องสมุดมีจำนวนวารสารที่ให้บริการที่ซ้ำและวารสารเก่า ทำให้พื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ จึงมีโนบายในการจำหน่ายออกวารสารจำนวนดังกล่าว วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญของห้องสมุดประเภทหนึ่ง ที่มีการเผยแพร่ความรู้ ความคิด เสนอความเคลื่อนไหวและพัฒนาการของวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในวารสารจะประกอบด้วย บทความวิชาการ ข้อมูล สถิติ รายงานสถานการณ์ความเลื่อนไหวของประเทศ เป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ซึ่งทุกห้องสมุดจะต้องจัดซื้อ จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารมาไว้เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งกิจกรรมการจำหน่ายออกวารสาร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งภาระงานของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ความหมาย วารสาร หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นประจำ เช่นรายสัปดาห์ ปักษ์ เดือน รายสองเดือน รายสามเดือน รายสี่เดือน รายหกเดือน หรือรายปี มีเนื้อหาให้ความรู้เชิงวิชาการ การจำหน่าย หมายถึง ขาย จ่าย แจก เอาออกจากบัญชี การจำหน่ายออกวารสาร หมายถึง การนำวารสารออกจากห้องสมุดโดยการ ขาย แจกหรือบริจาค โดยวารสารดังกล่าวจะต้องมีนโยบายการนำออกจากผู้บริหาร หรือมติที่ประชุมกรรมการบริหารสำนักหอสมุด วัตถุประสงค์ของการจำหน่ายวารสารออก 1. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 2. เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารเพียงพอกับปริมาณตัวเล่มวารสาร
คำสำคัญ : จำหน่ายออกวารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 187  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 17/6/2567 16:05:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 15:03:02
คู่มือ » การกำหนดหัวเรื่อง
การกำหนดหัวเรื่องหมายถึง การวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ โดยอ่านเนื้อหาของหนังสือ อย่างคร่าวๆ และพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย สาระสังเขป (ถ้ามี) ชื่อเรื่อง หน้าปกใน คำนำ สารบาญ บทนำ แล้วคิด คำ กลุ่มคำ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือให้มากที่สุด นำมากำหนดเป็นหัวเรื่อง แล้วเปิดเทียบกับฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Online Thai Subject Headings) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำ กลุ่มคำ ที่ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
คำสำคัญ : หัวเรื่อง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 305  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 30/5/2567 14:50:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 19:05:05
คู่มือ » ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง ทะเบียนวารสารในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานด้านการลงทะเบียนวารสาร (Serial Control Module) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมกระบวนปฏิบัติงานด้ารนทะเบียนวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และนักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มาฝึกงานที่สำนักหอสมุด เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวารสารแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวารสารห้องสมุดอื่น ๆ การลงทะเบียนวารสารซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนและกระบวนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวารสารแต่ละรายชื่อและรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ ของวารสารที่มีให้บริการ และในส่วนของบุคลากรสำนักหอสมุดที่ปฏิบัติงานด้านวารสารจะต้องคำนึงถึงของทะเบียนวารสารซึ่งจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมในระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ต้องมีการ บูรณาการในการทำงาน โปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง โปรแกรมงานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โปรแกรมการจัดซื้อ โปรแกรมการสืบค้นสารสนเทศ การสร้างระเบียนบรรณานุกรมวารสาร การสร้างข้อมูลฉบับของวารสาร ข้อมูลสำนักพิมพ์ การสร้างข้อมูลการคาดการณ์การได้รับวารสาร การลงทะเบียนวารสาร การทวงวารสาร และประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านวารสารเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นวารสารที่มีให้บริการได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด
คำสำคัญ : ทะเบียนวารสาร โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2393  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 13/9/2562 14:00:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:44:41
คู่มือ » การสร้างข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร
วารสารจัดเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่มีความสำคัญและความจำเป็นสำหรับผู้ใช้บริการอย่างมาก วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูล ให้ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งประกอบด้วยงานเขียนและงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัย ประเภทต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คำนึงถึงความสำคัญและความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ จึงได้มีการจัดซื้อจัดหาวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและสนับสนุนงานวิจัย จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียน จึงเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการการจัดการข้อมูลผู้ขายหรือข้อมูลสำนักพิมพ์และการสร้างรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสารของโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และจะส่งผลต่อผู้ใช้บริการให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การสร้างข้อมูลผู้ขาย  ทะเบียนวารสาร  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2576  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 6/9/2561 9:07:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 3:44:06

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้