รหัสอ้างอิง :
338
|
|
ชื่อสมาชิก :
สุภาพร แสงศรีจันทร์
|
เพศ :
หญิง
|
อีเมล์ :
supaporn-s@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
22/3/2554 18:11:30
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
22/3/2554 18:11:30
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : หลักการแก๊สโครมาโทกราฟี
แก๊สโครมาโทกราฟี (Gas chromatography, GC) เป็นเทคนิคการแยกที่นิยมใช้กันมากในเชิงคุณภาพ และในเชิงปริมาณวิเคราะห์ สารที่วิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีนั้น เป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ gas solid chromatography (GSC) อาศัยกลไกการแยกแบบ adsorption ใช้แยกสารที่มวลโมเลกุลต่ำๆ และเป็นสารที่มีสถานะแก๊สได้ดี และ gas liquid chromatography (GLC) อาศัยกลไกการแยกแบบ partition แต่เรียกโดยรวมว่า gas chromatography (GC) GLC ค้นพบโดย Martin กับ Synge ตั้งแต่ปี 1941 มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 1955 มีเครื่อง GLC ขาย และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
สารที่ต้องการแยกโดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี ต้องเป็นสารที่ระเหยได้ดีหรือมีความดันไอสูง ณ อุณหภูมิที่จะทำการวิเคราะห์ ไม่สลายตัว ณ อุณหภูมิที่วิเคราะห์ด้วย กรณีที่สารใดเปลี่ยนให้เป็นแก๊สเฟสยาก อาจใช้เทคนิคอื่นๆ ช่วย เช่น ทำปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนให้เป็นอนุพันธ์อื่นๆ ที่มีจุดเดือดต่ำลง เช่น ถ้าสารตัวอย่างเป็นกรดที่มีจุดเดือดสูง อาจจะใช้วิธีทำให้เป็นเอสเทอร์ หรืออาจใช้วิธีการแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) ให้กลายเป็นสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เมื่อฉีดสารตัวอย่างเข้าไปยังตำแหน่งฉีดสาร (injection port) ที่ตั้งอุณหภูมิไว้ตามความเหมาะสมที่จะให้สารตัวอย่างระเหยได้ สารตัวอย่างจะระเหยกลายเป็นไอและเคลื่อนที่เข้าสู่คอลัมน์ โดยแก๊สตัวพา (carrier gas) ตัวพาที่ใช้ ต้องเป็นแก๊สเฉี่อย เช่น ไนโตรเจน หรือฮีเลียม สารตัวอย่างจะถูกแยกขึ้นกับความแตกต่างของสัมประสิทธิ์ของการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่และเฟสเคลื่อนที่ หลังจากจากนั้นสารแต่ละชนิดจะถูกพาไปยังหน่วยตรวจวัดสัญญาณ (detector) และถูกบันทึกสัญญาณที่ตัวตรวจวัดแสดงเป็นโครมาโทแกรมออกมา
|
หลักการแก๊สโครมาโทกราฟี
»
Pesticide analysis by GC-MS/MS
|
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS
ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 10.00 – 11.00 น.
การเตรียมตัวอย่างทำได้โดยเทคนิคการสกัด และทำความสะอาดสารตัวอย่างด้วยเทคนิค Solid phase microextraction หรือ QuEChERS method (Quick, Easy, Cheap, Effective, Rugged and Safe method)
ความรู้เรื่องการวิเคราะห์สารฆ่าแมลง โลหะหนักปนเปื้อนในสมุนไพร เป็นที่จำเป็นในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เช่น ขมิ้น ใบบัวบก หรือ กัญชา เพื่อให้เกิดการเลือกใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมกับกับชนิดของตัวอย่าง สารที่สนใจวิเคราะห์หรือความเข้มข้นของสารที่สนใจวิเคราะห์ ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคนิคใหม่ ๆ ให้เลือกใช้หลายหลาย เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกและเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำงานทั้งงานวิจัยและการเรียนการสอน ในรายวิชา คม210 เคมีวิเคราะห์ คม 311 เคมีวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ และ คม514 เทคนิคการแยกวิเคราะห์ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
|
คำสำคัญ :
GC-MS/MS Pesticide
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1482
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุภาพร แสงศรีจันทร์
วันที่เขียน
3/10/2564 21:49:53
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 23:43:03
|
|
|
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้