ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 338
ชื่อสมาชิก : สุภาพร แสงศรีจันทร์
เพศ : หญิง
อีเมล์ : supaporn-s@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 22/3/2554 18:11:30
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 22/3/2554 18:11:30


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ข้าพเจ้า นางสาว สุภาพร แสงศรีจันทร์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ PACCON 2019 ระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 - 8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ .ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ...ตามหนังสือขออนุญาต ที่ ศธ 0523.4.3/......... ลงวันที่ ................................... ข้าพเจ้าได้ใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรกรณีที่....3...... จึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้ 1. เข้าร่วมประชุมวิชาการ PACCON 2019 2. นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ เรื่อง Antioxidant activity and flavonoid content of Moringa oleifera leaf extracts 3. การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้นำมาซึ่งประโยชน์และสามารถเป็นแนวทางด้านการวิจัย และการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท เอก ได้ ประโยชน์ที่ได้รับต่อตนเอง เพิ่มพูนทักษะการวิจัย โดยเรียนรู้จากความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านเคมี เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โครมาโทกราฟีสมัยใหม่ ประโยชน์ที่ได้รับต่อหน่วยงาน พบปะนักวิจัยรุ่นพี่ ต่างสถาบัน พบปะอาจารย์ พบปะนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้มีโอกาสหารือและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ด้านวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
PACCON2017ข้าพเจ้า นางสาวสุภาพร แสงศรีจันทร์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการ.เข้าร่วมประชุม Pure and Applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON2017) ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะตาม หนังสือขออนุมัติ ที่ ศธ 0523.4.3/1038 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2559 ข้าพเจ้าได้ใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรกรณีที่....3..... จึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้ ได้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ในหัวข้อ "Chemical components of Zingiber cassumunar and Eupatorium odoratum L. leaves by analysis GC-MS and their antibacterial activities” งานประชุมวิชาการครั้งนี้มี 1. การบรรยายจากวิทยากรรับเชิญจากทั้งในและต่างประเทศ 2. มีการมอบรางวัลแก่นักวิจัยในแขนงต่างๆ 3. มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเลือกใช้ในการทำวิจัยที่ทันสมัย 4. นำการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งรูปแบบโป้สเตอร์และบรรยาย ในหลากหลายแขนง เช่น 1. Analytical Chemistry 2. Chemical and Biological Crystallography 3. Chemistry for Alternative Energy 4. Environmental Chemistry 5. Environmental Chemistry 6. Food and Agricultural Chemistry 7. Industrial Chemistry and Petrochemistry 8. Inorganic Chemistry 9. Natural Products, Biological Chemistry and Chemical Biology 10. Physical and Theoretical Chemistry ประโยชน์ที่ได้รับต่อตนเอง จากการเข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้ได้มีแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิชาการที่หลากหลาย และได้ติดตามความก้าวหน้าต่างๆ ทั้งในด้านวิชาการ เครื่องมือ เทคนิคต่างๆ ทางเคมีที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถ ได้เครือข่ายการวิจัย สำหรับส่งนักศึกษาฝึกงาน ดูงาน ประโยชน์ที่ได้รับต่อหน่วยงาน สามารถนำความรู้นี้มาใช้ในการเรียนการสอนภาคบรรยาย ในรายวิชา คม 210 เคมีวิเคราะห์และ คม714 แมสสเปกโทรเมทรีและระบบเชื่อมต่อ และการทำวิจัยอีกด้วย ที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และหน่วยงานอีกด้วย
แก๊สโครมาโทกราฟี (Gas chromatography, GC) เป็นเทคนิคการแยกที่นิยมใช้กันมากในเชิงคุณภาพ และในเชิงปริมาณวิเคราะห์ สารที่วิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีนั้น เป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ gas solid chromatography (GSC) อาศัยกลไกการแยกแบบ adsorption ใช้แยกสารที่มวลโมเลกุลต่ำๆ และเป็นสารที่มีสถานะแก๊สได้ดี และ gas liquid chromatography (GLC) อาศัยกลไกการแยกแบบ partition แต่เรียกโดยรวมว่า gas chromatography (GC) GLC ค้นพบโดย Martin กับ Synge ตั้งแต่ปี 1941 มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี 1955 มีเครื่อง GLC ขาย และมีการใช้งานอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน สารที่ต้องการแยกโดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี ต้องเป็นสารที่ระเหยได้ดีหรือมีความดันไอสูง ณ อุณหภูมิที่จะทำการวิเคราะห์ ไม่สลายตัว ณ อุณหภูมิที่วิเคราะห์ด้วย กรณีที่สารใดเปลี่ยนให้เป็นแก๊สเฟสยาก อาจใช้เทคนิคอื่นๆ ช่วย เช่น ทำปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนให้เป็นอนุพันธ์อื่นๆ ที่มีจุดเดือดต่ำลง เช่น ถ้าสารตัวอย่างเป็นกรดที่มีจุดเดือดสูง อาจจะใช้วิธีทำให้เป็นเอสเทอร์ หรืออาจใช้วิธีการแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) ให้กลายเป็นสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เมื่อฉีดสารตัวอย่างเข้าไปยังตำแหน่งฉีดสาร (injection port) ที่ตั้งอุณหภูมิไว้ตามความเหมาะสมที่จะให้สารตัวอย่างระเหยได้ สารตัวอย่างจะระเหยกลายเป็นไอและเคลื่อนที่เข้าสู่คอลัมน์ โดยแก๊สตัวพา (carrier gas) ตัวพาที่ใช้ ต้องเป็นแก๊สเฉี่อย เช่น ไนโตรเจน หรือฮีเลียม สารตัวอย่างจะถูกแยกขึ้นกับความแตกต่างของสัมประสิทธิ์ของการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่และเฟสเคลื่อนที่ หลังจากจากนั้นสารแต่ละชนิดจะถูกพาไปยังหน่วยตรวจวัดสัญญาณ (detector) และถูกบันทึกสัญญาณที่ตัวตรวจวัดแสดงเป็นโครมาโทแกรมออกมา