การเรียนการสอนในยุค Covid-19
วันที่เขียน 3/10/2563 22:55:57     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 19:31:42
เปิดอ่าน: 3518 ครั้ง

จาก Covid-19 นำมาสู่ New Normal เป็นสถานการณ์ขั้นเด็ดขาดที่จะไม่ทำไม่ได้ การพัฒนาตนเองเพื่อจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นวิถีใหม่ของพวกเราชาวอุดมศึกษาเช่นกันค่ะ

เมื่อ Covid -19 มาเยือน กระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบต้องมีการปรับตัวตามวิถีใหม่ หรือ New Normal ซึ่งคงไม่มีใครปฏิเสธว่า “การเรียนการสอนออนไลน์” เป็นทางหลัก (ไม่ใช่ทางเลือก) ที่ครูบาอาจารย์ใช้เป็นช่องทางในการเรียนการสอน จะว่าเป็นความโชคดีของพวกเราคณาจารย์ชาวแม่โจ้ก็ว่าได้ที่ช่วงโควิด 19 มาเยือนเป็นช่วงที่เราปิดเทอมภาคฤดูร้อนพอดี ทำให้มีเวลาเตรียมตัว และเตรียมใจ เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้เชิงเทคนิคล้วน ๆ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์ อาจารย์รุ่นใหม่ก็อาจไม่ค่อยยาก แต่อาจารย์รุ่นกลางอย่างเรา ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียวค่ะ แต่ยังไงเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นทักษะที่ยังไงก็ต้องทำ ก็เลยต้องลุย ทำยังไงล่ะ ช่วงแรกก็ต้องเปิดโหมดไฝ่รู้ เปิดใจไปเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ โดยเฉพาะจาก you tube (มีเพียบให้เลือกตามอัธยาศัย) เอ๊ะ ก็ไม่ค่อยยากแฮะ บวกกับมหาวิทยาลัยก็พัฒนาโปแกรม ms team ให้ลองนำไปใช้ สรุปว่า ได้เอาไปใช้สอนจริงกับเด็กนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชา 498 การค้นคว้าอิสระ จำนวน 2 คน ก็สนุกนะคะ หนูชอบมากกว่าเรียนในห้องอีก อันนี้เด็ก ๆ ทั้งสองคนสะท้อนมาค่ะ คือก็ต้องเข้าใจนะว่าเรียน 2 คน บวกอาจารย์อีก 1 คน รวม 3 คนไงคะ หลับไม่ได้ ถามตอบกันสนุกประมาณนั้น โดยรวมก็พอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ขยับต่อไป

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 ได้เข้าร่วมการอบรม ในหัวข้อ “การปรับใช้ DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) สู่แผนการเรียนรู้การสอน ภายใต้โครงการพัฒนา DQ – Digital Intelligence (ความอัจฉริยะทางเทคโนโลยีดิจิทัล) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21” ชื่อยาวมาก จัดโดยคณะสารสนเทศและการสื่อสารค่ะ อันนี้เป็นจริงเป็นจังมาก มีวิทยากรจาก กสทช มาให้ข้อคิดในประเด็นสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อ ก็ได้รู้อะไรแยะเหมือนกัน รวมถึงอาจารย์วิทยากรจากจุฬาลงกรณ์ฯ ที่มาลงรายละเอียดถึงการออกแบบและวางแผนการเรียนการสอนออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ ในการนำมาปรับใช้ ความใฝ่รู้อีกช่วงหนึ่งคือสาขาฯ จัดอบรม โดยเชิญวิทยากรอาจารย์เอ็ดดี้ จากสาขานิเทศศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่มาสอนการใช้โปรแกรม ms team โดยละเอียด ซึ่งก็ถือว่าได้วิชาพร้อมที่จะไปสอนออนไลน์ได้แล้ว (ใช่ไหม?)

และแล้วก็ได้เวลานำสิ่งที่เรียนรู้มาสู่การเรียนการสอนออนไลน์จริง ๆ สรุปว่าก็สามารถทำได้นะคะ อันนี้ผ่านไปละ แต่บรรยากาศไม่เหมือนที่สอนสองคนเลย คือมีสอนห้องใหญ่ร้อยกว่าคน ห้องเล็กสามสิบคน บรรยากาศประมาณเราพูดอยู่คนเดียว อาจารย์หลายท่านคงเจอบรรยากาศคล้าย ๆ กัน ประเด็นนี้คงต้องหาเทคนิคที่เน้นการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นค่ะ แต่ที่ชอบมากคือ ระบบการมอบหมายงานหรือการสอบเก็บคะแนน ดีมาก ๆ เลย สามารถบันทึกเวลาการส่งงาน การตรวจงาน และสามารถสะท้อนข้อเสนอแนะให้นักศึกษาเป็นรายบุคคลได้ และแม้ว่าขณะนี้ระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะกลับมาเรียนในห้องปกติแล้ว แต่ตนเองก็ยังใช้ระบบการสั่งงาน และสอบเก็บคะแนนผ่านระบบออนไลน์อยู่ค่ะ และตั้งใจจะพัฒนาเชิงเทคนิคการใช้ระบบออนไลน์ให้ดีขึ้น เพราะคิดว่าจะใช้ระบบออนไลน์ควบคู่กับระบบการเรียนในห้องปกติต่อไปค่ะ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 17:42:29   เปิดอ่าน 114  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง