ความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการ One-Day E-Symposium on Green Innovation in Chemical Analysis: Local issues- Global impacts-Sustainable world
วันที่เขียน 30/9/2564 15:00:09     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 1:14:50
เปิดอ่าน: 1163 ครั้ง

การประชุมวิชาการ One-Day E-Symposium on Green Innovation in Chemical Analysis: Local issues- Global impacts-Sustainable world เป็นการประชุมวิชาการที่จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (Thailand Research Fund) ภายใต้ TRF Distinguished Research Professor Award Grant โดย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

การประชุมวิชาการ One-Day E-Symposium on Green Innovation in Chemical Analysis: Local issues- Global impacts-Sustainable world เป็นการนำเสนอผลงานจากอาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) Initiatives in using natural reagents /materials and local wisdom for green chemical analysis ซึ่งเป็นการใช้สารและวัสดุทางธรรมชาติ (natural reagent) ทางด้านเคมีสีเขียว (Green chemistry) (2) Initiatives in developing simple and cost-effective platforms/devices for modern chemical analysis with green approaches เป็นการพัฒนาวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ง่ายและมีต้นทุนต่ำสำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (3) Developing green chemical analysis procedures and investigating the back- up เป็นการพัฒนาทางด้านเคมีสีเขียวเพื่อประยุกต์ใช้ทางด้านเคมีวิเคราะห์ และ (4) Real world with the SDGs and the developed green chemical analyses คือการพัฒนาทางด้านเคมีสีเขียวสำหรับการประยุกต์ใช้งานจริงด้านสังคม การศึกษา การเกษตร และอุตสากกรรม ซึ่งเป็นการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การพัฒนางานวิจัยทางด้านเคมีวิเคราะห์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (Development of analytical sciences through decades) บรรยายโดย Prof. Gary D. Christian และการเตรียมผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติทางด้านเคมีวิเคราะห์ (What are the hallmarks of a quality paper in analytical chemistry? An editor’s perspective) บรรยายโดย Prof. Ian McKelvie เป็นต้น

จากการเข้าร่วและรับฟังงการบรรยายทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านเคมีสีเขียว (Green chemistry) ซึ่งจำต้องคำนึงถึง ความเป็นพิษ (Toxicity) ปริมาณสารที่ใช้และของเสียที่เกิดขึ้น (Amount: reagents/waste) พลังงาน (Energy) และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impacts) นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวิจัยทางด้านเคมีอนินทรีย์ สำหรับการประยุกต์ใช้งานทางด้านเคมีวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่มีความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ อีกทั้งยังก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบการสอนและประยุกต์ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1225
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง