|
|
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Materials Research and Innovation 15th-17th December 2021 via ZOOM Video Conference
|
Plant growth promotion Traits and Antagonistic effect in White Root Disease of Rhizobacteria in Hevea Rubber of Thailand
Mathurot Chaiharn 1* and Saisamorn Lumyong 2
1 Programmed in Biotechnology, Faculty of Science, Maejo University, Chiangmai, 50290, THAILAND
2 Department of Biology, Faculty of Science, Chiangmai University, Chiangmai, 56000, THAILAND
*Corresponding Author for correspondence; e-mail: mathurot@mju.ac.th
White root disease causing by Rigidoporus sp. is a severe problem that decreases latex productivity and can even cause mortality of rubber trees. With the aim to control biologically this disease, antifungal rhizobacteria were isolated from rhizospheric soils of Hevea brasiliensis plants cultivated in Thailand. Among all isolated actinobacteria, an isolate Lac-17, Lac-19 and LRB-14 exhibited distinctive antagonistic activity against the fungus. Lac-17, Lac-19 and LRB-14 were produced ammonia, β-1,3-glucanase, cellulase, chitinase, protease, indole-3-acetic acid, phosphate solubilization, and siderophores. They were inhibited the mycelial growth of Rigidoporus sp. in vitro and the best antagonistic strain were Streptomyces Lac-17. According to cell wall composition analysis and 16S rRNA homology, Lac-17 strains were identified as Streptomyces malaysiensis Lac-17. The plant growth promoting and antifungal activity of Streptomyces malaysiensis Lac-17 in this study highlight its potential suitability as a bioinoculant.
Keywords Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
คำสำคัญ :
Hevea brasiliensis • White root disease • PGPR • Biocontrol • Plant growth promoting traits
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2155
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
20/12/2564 14:25:59
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
30/3/2566 11:42:54
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
|
การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562 กระบวนการสกัด L-Quebrachitol จากซีรั่มน้ำยางพาราสดและน้ำทิ้งจากกระบวนการรีดยางแผ่นมาผลิตสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ซึ่งเป็นน้ำตาลกลุ่ม oligosaccharide ที่สามารถละลายน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ สารดังกล่าว มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง (Antioxidant) และ สารต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial) ยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Propionibacterium acnes จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเวชสำอางชนิดต่างๆโดยเฉพาะเวชสำอางสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายสามารถใช้เป็น ส่วนประกอบของสารต้านมะเร็ง (Anti-cancer agents) และ สามารถนำมาผลิตเป็นสารเคลือบแผ่นยาง สำหรับลดเชื้อราปนเปื้อนบนแผ่นยางผึ่งแห้ง (Air dry sheets) และ ยางก้อนถ้วย สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราหลักที่ปนเปื้อนบนยางแผ่น Aspergillus และ Penicillium ได้ดี สามารถลดการเจริญของเชื้อราดังกล่าว ได้นาน 4 เดือน ภายหลังจากการเคลือบยางแผ่นผึ่งแห้งและยางก้อนถ้วยด้วยสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol จากงานวิจัย เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต พบว่า มีราคาถูกกว่า สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ที่ผลิตและจำหน่ายทางการค้า ถึง 44 เท่า ด้วยกรรมวิธีการสกัดและแยกสาร L-quebrachitol ด้วยเทคนิคที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ มีราคาถูก
|
คำสำคัญ :
L-quebrachitol กระบวนการสกัด ซีรัมยางพารา ผลิตภัณฑ์สปา ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2256
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
1/10/2562 10:36:47
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
28/3/2566 9:00:02
|
|
|
|
|
|
อ. มธุรส ชัยหาญ
»
การนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016)
|
ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และ มีการส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีการส่งออก คิดเป็น ร้อยละ ๙o.๕๗ ของปริมาณการส่งออกของโลก ในกระบวนการผลิตยางแผ่น หากยางแผ่นมีเชื้อราเกิดขึ้น ทำให้คุณภาพของยางแผ่นลดลง ส่งผลให้เกษตรกรขายยางแผ่นในราคาที่ถูกลง อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกร หรือ คนงานในโรงงานยางแผ่นรมควัน ประกอบกับ ราคาน้ำยางธรรมชาติ ราคาถูก คณะผู้วิจัย จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าของน้ำยางธรรมชาติในเชิงพาญิชย์ และ นำสารสกัดซีรัมน้ำยางพารา กำจัดเชื้อราเชื้อราปนเปื้อนแผ่นยางดิบ และ นำซีรัมน้ำยางธรรมชาติมาใช้ประโยชน์เชิงเภสัชกรรม คณะผู้วิจัย จึงทำการแยกและพิสูจณ์เอกลักษณ์สารสกัดจากซีรัมน้ำยางพารา พบสาร L-quebrachitol จากซีรัมน้ำยางพาราสด ร้อยละ o.o๕๔ และ จากน้ำทิ้งในกระบวนการรีดยางแผ่น ร้อยละ o.o๓๖ เมื่อเทียบกับน้ำยางพาราสด จากนั้น ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราจากสารสกัดหยาบซีรัมน้ำยางพารา และ สาร L-quebrachitol ด้วยวิธี Agar disc diffusion และ ทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อรา (Minimal Inhibitory Concentration; MICs) พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol มีฤทธิ์ต้านเชื้อราปนเปื้อนยางแผ่น จีนัส Aspergillus sp. และ Penicillium sp. ดีที่สุด และ เมื่อนำสารสกัดดังกล่าว มาเคลือบบนยางแผ่น พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอล และ สาร L-quebrachitol สามารถลดการปนเปื้อน และ ลดการเจริญของเชื้อราบนแผ่นยาง ได้ นาน ๒ เดือน เมื่อใช้ที่ความเข้มข้น ๒o ppm
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3367
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มธุรส ชัยหาญ
วันที่เขียน
22/2/2560 11:17:02
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
27/3/2566 10:30:32
|
|
|