ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 213
ชื่อสมาชิก : ธัฒฌา ธนัญชัย
เพศ : หญิง
อีเมล์ : tatcha@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 9/2/2554 14:51:05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 9/2/2554 14:51:05


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีความสำคัญ เพราะเป็นข้อมูลที่เราสามารถค้นหาและเข้าใจได้ง่ายว่า มหาวิทยาลัยนั้น มีคุณภาพดีมากหรือน้อยแค่ไหน ดังนั้น การจัดอันดับจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักศึกษาต่างชาติ รวมถึงนายจ้างบางแห่ง อาจใช้การจัดอันดับของมหาวิทยาลัย ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานอีกด้วย ทำให้การจัดอันดับมีความสำคัญมากในการทำสื่อทางการตลาด และตัวมหาวิทยาลัยเองยังใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมาก ในการทำให้มหาวิทยาลัยของพวกเขาอยู่ในตารางการจัดอันดับ
ยศทหาร-ตำรวจไทย การจำตำแหน่ง ยศต่างๆ ของทหาร อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่ทำงานหรืออยู่กับสายงานนี้ แต่สำหรับคนทั่วไปนั้น อาจจะมีคำศัพท์หลายคำที่ย่อแล้วอาจสับสนเบาๆ นอกจากนั้น ยังมีในหมวดยศต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษเสริมเข้ามาอีก จึงขอฝากคำย่อสำหรับผู้ที่สนใจ ยศ (ภาษาไทย) ตัวย่อ ยศ (ภาษาอังกฤษ) ตัวย่อ ยศทหารบก (Royal Thai Army Ranks) จอมพล - Field Marshall - พลเอก พล. อ. General Gen. พลโท พล. ท. Lieutenant General Lt. Gen. พลตรี พล. ต. Major General Maj. Gen. พันเอก พ. อ. Colonel Col. พันโท พ. ท. Lieutenant Colonel Lt. Col. พันตรี พ. ต. Major Maj. ร้อยเอก ร. อ. Captain Capt. ร้อยโท ร. ท. Lieutenant Lt. ร้อยตรี ร. ต. Sub Lieutenant Sub Lt. จ่าสิบเอก จ. ส. อ. Sergeant Major First Class SM1 จ่าสิบโท จ. ส. ท. Sergeant Major Second Class SM2 จ่าสิบตรี จ. ส. ต. Sergeant Major Third Class SM3 สิบเอก ส. อ. Sergeant Sgt. สิบโท ส. ท. Corporal Cpl. สิบตรี ส. ต. Private First Class Pfc. พลทหาร พลฯ Private Pvt. นักเรียนนายร้อย นนร. Army Cadet - นักเรียนนายสิบ - Army Non-Commissioned Officer Student - ว่าที่พันตรี - Acting Major Acting Maj. ว่าที่ร้อยเอก - Acting Captain Acting Capt. ว่าที่ร้อยโท - Acting Lieutenant Acting Lt. ว่าที่ร้อยตรี - Acting Sub. Lieutenant Acting Sub Lt. นักศึกษาวิชาทหาร Reserve Officer Training Cops Student ROTCS ยศทหารเรือ (Royal Thai Navy Ranks) จอมพลเรือ - Admiral of the Fleet - พลเรือเอก พล. ร. อ. Admiral Adm. พลเรือโท พล. ร. ท. Vice Admiral VAdm. พลเรือตรี พล. ร. ต. Rear Admiral RAdm. นาวาเอก น. อ. (ชื่อ) ร. น. Captain Capt. นาวาโท น. ท. (ชื่อ) ร. น. Commander Cdr. นาวาตรี น. ต. (ชื่อ) ร. น. Lieutenant Commander LCdr. เรือเอก ร. อ. (ชื่อ) ร. น. Lieutenant Lt. เรือโท ร. ท. (ชื่อ) ร. น. Lieutenant Junior Grade Lt. JG. เรือตรี ร. ต. (ชื่อ) ร. น. Sub Lieutenant Subl.t. พันจ่าเอก พ. จ. อ. Chief Petty Officer First Class CPO1 พันจ่าโท พ. จ. ท. Chief Petty Officer Second Class CPO2 พันจ่าตรี พ. จ. ต. Chief Petty Officer Third Class CPO3 จ่าเอก จ. อ. Petty Officer First Class PO1 จ่าโท จ. ท. Petty Officer Second Class PO2 จ่าตรี จ. ต. Petty Officer Third Class PO3 พลทหาร พลฯ Seaman - นักเรียนทหารเรือ นนร. Naval Cadet - นักเรียนจ่าทหารเรือ - Naval Rating Student - ยศทหารอากาศ (Royal Thai Air Force Ranks) จอมพลอากาศ - Marshal of the Royal Thai Air Force - พลอากาศเอก พล. อ. อ. Air Chef Marshal ACM พลอากาศโท พล. อ. ท. Air Marshal AM พลอากาศตรี พล. อ. ต. Air Vice Marshal AVM นาวาอากาศเอก น. อ. Group Captain Gp. Capt. นาวาอากาศโท น. ท. Wing Commander Wg. Cdr. นาวาอากาศตรี น. ต. Squadron Leader Sgn. Ldr. เรืออากาศเอก ร. อ. Flight Lieutenant Flt. L.t. เรืออากาศโท ร. ท. Flying Officer Flg. Off. เรืออากาศตรี ร. ต. Pilot Officer Plt. Off. พันจ่าอากาศเอก พ. อ. อ. Flight Sergeant First Class FS1 พันจ่าอากาศโท พ. อ. ท. Flight Sergeant Second Class FS2 พันจ่าอากาศตรี พ. อ. ต. Flight Sergeant Third Class FS3 จ่าอากาศเอก จ. อ. Sergeant Sgt. จ่าอากาศโท จ. ท. Corporal Cpl. จ่าอากาศตรี จ. ต. Leading Aircraftman LAC พลทหาร พลฯ Airman Amn. นักเรีนนายเรืออากาศ นนอ. Air Cadet A/cdt. นักเรียนจ่าอากาศ นจอ. Air Technical Student - ยศตำรวจไทย (Police Ranks) ยศ (ภาษาไทย) ตัวย่อ ยศ (ภาษาอังกฤษ) ตัวย่อ ยศตำรวจไทย (Police Ranks) พลตำรวจเอก พล. ต. อ. Police General Pol. Gen. พลตำรวจโท พล. ต. ท. Police Lieutenant General Pol. Lt. Gen. พลตำรวจตรี พล. ต. ต. Police Major General Pol. Maj. Gen. พันตำรวจเอก พ. ต. อ. Police Colonel Pol. Col. พันตำรวจโท พ. ต. ท. Police Lieutenant Colonel Pol. Lt. Col. พันตำรวจตรี พ. ต. ต. Police Major Pol. Maj. ร้อยตำรวจเอก ร. ต. อ. Police Captain Pol. Capt. ร้อยตำรวจโท ร. ต. ท. Police Lieutenant Pol. Lt. ร้อยตำรวจตรี ร. ต. ต. Police Sub-Lieutenant Pol. Sub-Lt. ดาบตำรวจ ด. ต. Police Senior Sergeant Major Pol. Snr. Sgt. Maj. จ่าสิบตำรวจ จ. ส. ต. Police Sergeant Major Pol. Sgt. Maj. สิบตำรวจเอก ส. ต. อ. Police Sergeant Pol. Sgt. สิบตำรวจโท ส. ต. ท. Police Corporal Pol. Cpl. สิบตำรวจตรี ส. ต. ต. Police Lance Corporal Pol. L/Cpl.
- ยังไม่มีรายการคำถาม
ขันตอนการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ทันสมัย โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
รายชื่อประเทศและดินแดนทั่วโลก รายชื่อประเทศและดินแดนทั่วโลก สะกดตาม "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศราชบัณฑิตย สถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง พ.ศ. 2544" และตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถาน โดยแบ่งตามทวีปและสถานะของรัฐ ดังนี้ 1) แบ่งตามภูมิภาค 1.1 ทวีปเอเซีย 47 ประเทศ 1.2 เขตโอเชียเนีย 14 ประเทศ 1.3 ทวีปยุโรป 44 ประเทศ 1.4 ทวีปแอฟริกา 54 ประเทศ 1.5 ทวีปอเมริกาเหนือ 23 ประเทศ 1.6 ทวีปอเมริกาใต้ 12 ประเทศ 2) รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติส่วนใหญ่ 10 รัฐ 3) ดินแดน 79 แห่ง ทวีปเอเซีย ที่ ประเทศ ชื่อทั่วไป ชื่อทางการ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 1 กัมพูชา Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา Kingdom of Cambodia 2 กาตาร์ Qatar รัฐกาตาร์ State of Qatar 3 เกาหลีใต้ South Korea สาธารณรัฐเกาหลี Republic of Korea 4 เกาหลีเหนือ North Korea สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี Democratic People’s Republic of Korea 5 คาซัคสถาน Kazakhstan สาธารณรัฐคาซัคสถาน Republic of Kazakhstan 6 คีร์กีซสถาน Kyrgyzstan สาธารณรัฐคีร์กีซ Kyrgyz Republic 7 คูเวต Kuwait รัฐคูเวต State of Kuwait 8 จอร์เจีย Georgia จอร์เจีย Georgia 9 จอร์แดน Jordan ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน Hashemite Kingdom of Jordan 10 จีน China สาธารณรัฐประชาชนจีน People’s Republic of China 11 ซาอุดีอาระเบีย Saudi Arabia ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย Kingdom of Saudi Arabia 12 ซีเรีย Syria สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย Syrian Arab Republic 13 ไซปรัส Cyprus สาธารณรัฐไซปรัส Republic of Cyprus 14 ญี่ปุ่น Japan ญี่ปุ่น Japan 15 ติมอร์-เลสเต / ติมอร์ตะวันออก Timor-Leste สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต Democratic Republic of Timor-Leste 16 ตุรกี Turkey สาธารณรัฐตุรกี Republic of Turkey 17 เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan 18 ทาจิกิสถาน Tajikistan สาธารณรัฐทาจิกิสถาน Republic of Tajikistan 19 ไทย Thailand ราชอาณาจักรไทย Kingdom of Thailand 20 เนปาล Nepal สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล Federal Democratic Republic of Nepal 21 บรูไนดารุสซาลาม / บรูไน Brunei Darussalam เนการาบรูไนดารุสซาลาม Negara Brunei Darussalam 22 บังกลาเทศ Bangladesh สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ People’s Republic of Bangladesh 23 บาห์เรน Bahrain ราชอาณาจักรบาห์เรน Kingdom of Bahrain 24 ปากีสถาน Pakistan สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน Islamic Republic of Pakistan 25 พม่า/ เมียนมาร์ Myanmar สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา Republic of the Union of Myanmar 26 ฟิลิปปินส์ Philippines สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Republic of the Philippines 27 ภูฏาน Bhutan ราชอาณาจักรภูฏาน Kingdom of Bhutan 28 มองโกเลีย Mongolia มองโกเลีย Mongolia 29 มัลดีฟส์ Maldives สาธารณรัฐมัลดีฟส์ Republic of Maldives 30 มาเลเซีย Malaysia มาเลเซีย Malaysia 31 เยเมน Yemen สาธารณรัฐเยเมน Republic of Yemen 32 ลาว Laos สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Lao People’s Democratic Republic 33 เลบานอน Lebanon สาธารณรัฐเลบานอน Republic of Lebanon 34 เวียดนาม Vietnam สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Socialist Republic of Vietnam 35 ศรีลังกา Sri Lanka สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา Democratic Socialist Republic of Sri Lanka 36 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ United Arab Emirates 37 สิงคโปร์ Singapore สาธารณรัฐสิงคโปร์ Republic of Singapore 38 อัฟกานิสถาน Afghanistan สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน Islamic Republic of Afghanistan 39 อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน Republic of Azerbaijan 40 อาร์มีเนีย Armenia สาธารณรัฐอาร์มีเนีย Republic of Armenia 41 อินเดีย India สาธารณรัฐอินเดีย Republic of India 42 อินโดนีเซีย Indonesia สาธารณรัฐอินโดนีเซีย Republic of Indonesia 43 อิรัก Iraq สาธารณรัฐอิรัก Republic of Iraq 44 อิสราเอล Israel รัฐอิสราเอล State of Israel 45 อิหร่าน Iran สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน Islamic Republic of Iran 46 อุซเบกิสถาน Uzbekistan สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน Republic of Uzbekistan 47 โอมาน Oman รัฐสุลต่านโอมาน Sultanate of Oman เขตโอเชียเนีย ที่ ประเทศ ชื่อทั่วไป ชื่อทางการ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 1 คิริบาส Kiribati สาธารณรัฐคิริบาส Republic of Kiribati 2 ซามัว Samoa รัฐเอกราชซามัว Independent State of Samoa 3 ตองกา Tonga ราชอาณาจักรตองกา Kingdom of Tonga 4 ตูวาลู Tuvalu ตูวาลู Tuvalu 5 นาอูรู Nauru สาธารณรัฐนาอูรู Republic of Nauru 6 นิวซีแลนด์ New Zealand นิวซีแลนด์ New Zealand 7 ปาปัวนิวกินี Papua New Guinea รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี Independent State of Papua New Guinea 8 ปาเลา Palau สาธารณรัฐปาเลา Republic of Palau 9 ฟิจิ Fiji สาธารณรัฐฟิจิ Republic of Fiji 10 ไมโครนีเซีย Micronesia สหพันธรัฐไมโครนีเซีย Federated States of Micronesia 11 วานูอาตู Vanuatu สาธารณรัฐวานูอาตู Republic of Vanuatu 12 หมู่เกาะโซโลมอน Solomon Islands หมู่เกาะโซโลมอน Solomon Islands 13 หมู่เกาะมาร์แชลล์ Marshall Islands สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ Republic of the Marshall Islands 14 ออสเตรเลีย Australia เครือรัฐออสเตรเลีย Commonwealth of Australia ทวีปยุโรป ที่ ประเทศ ชื่อทั่วไป ชื่อทางการ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 1 กรีซ Greece สาธารณรัฐเฮลเลนิก Hellenic Republic 2 โครเอเชีย Croatia สาธารณรัฐโครเอเชีย Republic of Croatia 3 ซานมารีโน San Marino สาธารณรัฐซานมารีโน Republic of San
การแปล (Translation) 1. ความหมายของการแปล พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า “แปล” ซึ่งเป็นคำกริยาไว้ 2 ความหมาย ดังนี้ 1) ถ่ายทอดความหมาย จากภาษาหนึ่ง มาเป็นอีกภาษาหนึ่ง 2) ทำให้เข้าใจความหมาย พจนานุกรม นิวเวบสเตอร์ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการแปลในเรื่องของภาษาไว้ ดังนี้ translate : “to render into another language ; to interpret ; to explain by using other words; to express in other terms” ซึ่งอาจสรุปได้ว่า การแปล คือ 1) การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่ง ไปยังอีกภาษาหนึ่ง 2) การตีความหมายหรือการทำให้เข้าใจความหมาย 3) การอธิบายโดยใช้ถ้อยคำสำนวนอย่างอื่น นักปราชญ์ด้านการแปลต่างๆ ได้ให้ความหมายของการแปลไว้ ดังนี้ จอห์น วายคลิฟ (John Wycliffe) กล่าวว่า การแปล คือ การแปลประโยคให้ได้ความ ชัดเจนโดยใช้ภาษาของคนสามัญ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) กล่าวว่าการแปล คือ การสามารถถ่ายทอดวิญญาณต้นฉบับ โดยสามารถทำให้สามัญชนเข้าใจได้ ยูจีน ไนดา (Eugene A. Nida) ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีการแปลชาวอเมริกัน กล่าวว่า การแปล คือ การถ่ายทอดความหมายของข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยรักษารูปแบบของข้อความไว้ได้ตรงตามต้นฉบับ ดานิกา เซเลสโกวิตซ์ (Danica Seleskovitch) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแปล และการสอนวิทยาการแปล กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการแปลมี 3 อย่าง ได้แก่ ข้อความ ความหมายแฝง และการถ่ายทอดความหมายออกมาเป็นภาษาแปลตามธรรมชาติ สรุป การแปล (Translation) คือ การถ่ายทอดความหมายจากภาษาต้นฉบับไปเป็นอีกภาษาหนึ่งและให้ความหมายเท่ากัน หรือใกล้เคียงกับภาษาต้นฉบับมากที่สุด Mildred L. Larson ได้สรุปเกี่ยวกับการแปลว่า ผู้แปลจะประสบความสำเร็จในงานแปลก็ต่อเมื่อผู้อ่านไม่ทราบเลยว่ากำลังอ่านงานแปล แต่คิดว่ากำลังอ่านข้อเขียนในภาษาของตนเพื่อความรู้และความบันเทิง 2. รูปแบบ/ชนิด/ประเภทของการแปล รูปแบบของการแปล อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. การแปลตามรูปของภาษา (Form) หรือการแปลตรงตัว/การแปลตามตัวอักษร (Literal Translation) เป็นการแปลที่พยายามรักษาความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้มากที่สุด มุ่งความถูกต้องแม่นยำเป็นหลัก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง (Structure) และการใช้คำเพื่อ ให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษาของภาษาฉบับแปล การแปลลักษณะนี้ ใช้ในกลุ่มนักวิชาการหรือกลุ่มเฉพาะอาชีพที่ต้องการความถูกต้องของสาระข้อเท็จจริง เพื่อจุดประสงค์ในด้านการศึกษาค้นคว้าหรือการนำไปปฏิบัติ เช่น การแปลฉลากยา ขั้นตอนการทดลอง คู่มือปฏิบัติการ กฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศ รายงานและเอกสารราชการ 2. การแปลตามความหมาย (Meaning) หรือ การแปลสรุปความ (Free Translation) เป็นการแปลที่ไม่ได้มุ่งรักษาโครงสร้างตามความหมาย หรือรูปแบบของต้นฉบับอย่างเคร่งครัด มีการโยกย้ายขยายความ หรือตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงรูปคำหรือไวยากรณ์ การแปลลักษณะนี้นิยมใช้กับเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรักษาความถูกต้องของต้นฉบับ เป็นการแปลที่ใช้ในสื่อมวลชนทุกประเภทโดยเฉพาะเพื่อความบันเทิง ผู้แปลอาจอ่านจบทีละย่อหน้า ทำความเข้าใจกับเนื้อหา วิธีคิด จุดมุ่งหมายของผู้เขียน และสิ่งที่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เมื่อสรุปเนื้อหาหลักของต้นฉบับแล้ว จึงถ่ายทอดออกมาโดยเรียบเรียบใหม่ และการแปลลักษณะนี้เป็นการแปลที่นิยมแพร่หลาย ตัวอย่างของการแปลลักษณะนี้ คือ การแปล นวนิยายเรื่องสั้นนิทาน บทวิทยุ โทรทัศน์ การแปลทั้ง 2 ชนิด มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการแปลให้มีความแม่นยำและสละสลวยมากที่สุด การแปลแม้จะสละสลวย ก็ไม่ถือว่าสมบูรณ์ ถ้าเนื้อหาผิดไปจากเนื้อหาเดิม ส่วนการแปลที่เนื้อหาดีแต่ไม่สละสลวยถือว่าดีกว่า เพราะผู้อ่านสามารถได้รับเนื้อหาจากต้นฉบับได้ตรงตามเนื้อหาเดิม 3. ความสำคัญของการแปล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่นำมาถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย เพราะแหล่งความรู้สมัยใหม่มักเขียนเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลาง การสื่อสารต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ เช่น Internet ภาพยนตร์ จดหมายสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน การเจรจาธุรกิจ การทำสัญญาต่างๆ ภาษาอังกฤษจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้เปิดประตูเข้าสู่โลกแห่งความรู้ เช่น การอ่านตำราภาษาอังกฤษ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างประเทศ ดังนั้น การแปลจึงมีความสำคัญตามไปด้วยเพราะจำเป็นต้องถ่ายทอดข้อมูลมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง 4. หลักการแปล/ ลักษณะของภาษาที่ดีในงานแปล การแปลให้ได้ทั้งความถูกต้องและสำนวนที่ไพเราะ อาจยึดหลักการแปลง่ายๆ 4 ประการ ดังนี้ 1. มีความชัดเจน คือเป็นภาษาที่มีลักษณะกระชับ ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น รูปประโยคควรเป็นประโยคสั้นๆ หลีกเลี่ยงโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน มีการใช้ข้อความที่ถ่ายทอดความคิดได้แจ่มแจ้งเช่น ประโยคเดียวแสดงความคิดเดียว ไม่กำกวม หรือชวนให้ตีความได้หลายแง่หลายมุม 2. ใช้ภาษาได้เหมาะสม ผู้แปลต้องเลือกใช้ลีลาการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะของเรื่องที่จะแปล เช่น การแปลนวนิยายอาจใช้สำนวนให้เกิดภาพพจน์ การแปลงานด้านกฎหมายหรือการแพทย์ต้องใช้ศัพท์เฉพาะ และลีลาการเขียนที่สั้นๆ ไม่ใช้คำหรูหรา หรือสำนวนอ้อมค้อม 3. ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสัมพันธ์กับความคิดที่กระจ่างแจ้งและตรงตามต้นฉบับ 4. มีความสมเหตุสมผลในแต่ละภาษา มีความสมเหตุสมผลต่างกัน ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในการแปลต้องมีความสมเหตุสมผลเท่าๆ กับภาษาต้นฉบับด้วย 5. กระบวนการ/ขั้นตอนการแปล (Steps in Translation) เพื่อให้ได้ผลงานที่ดี ตรงกับความต้องการ การแปลควรดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดวิธีการแปล เมื่อได้งานที่จะแปล ให้กำหนดวิธีการแปลที่เหมาะกับเนื้อหานั้นให้มากที่สุด ถ้าวิธีการแปลไม่เหมาะสมกับงาน อาจได้ผลงานไม่ดี หรือไม่ตรงกับความต้องการ 2. ถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐาน การถ่ายทอดเป็นประโยคพื้นฐานจะทำให้แปลง่ายและ เข้าใจง่าย โดยผู้แปลต้องทำความเข้าใจต้นฉบับเป็นอย่างดี สามารถแยกออกเป็นประโยคสั้นๆ ได้ 3
มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ด้านการเกษตร ที่ต้องการสร้างความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาและการวิจัย ประกอบกับประเด็นท้าทายในเรื่องของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย อันเป็นแรงขับ เคลื่อนให้มหาวิทยาลัยต้องปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถ และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ การมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยเริ่มจากภูมิภาคอาเซียนสู่ระดับโลก มีระบบการบริหารจัดการที่ให้บริการแก่บุคลากร นักศึกษาต่างชาติอย่างเป็นระบบ มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงในทุกกิจกรรมโดยมีผลสำเร็จในระดับนานาชาติ มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศด้านวิชาการ ฯลฯ ที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ และมีฐานข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนานาชาติ ที่เผยแพร่ได้หลากหลายช่องทาง เพื่อก่อให้เกิด Visibility ในสังคมอุดมศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีของการดาเนินงานที่มุ่งสู่ความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1. มหาวิทยาลัยมีแผนยุทธศาสตร์/ แผนการดำเนินงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย 2. มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลสารสนเทศที่แสดงถึงความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ฐานข้อมูลนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน, ฐานข้อมูลการจัดกิจกรรมทางวิชาการนานาชาติ และมีฐานข้อมูลความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (MOU/MOA) และผลการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือฯ ภายใต้สัญญาความร่วมมือดังกล่าว 3. มหาวิทยาลัยมีเว็บไซต์ของหน่วยงานเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษาของประเทศเป้าหมายรวมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา, อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/ อาจารย์แลกเปลี่ยน ทั้งนี้ อาจมีข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม การแสดงความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และข้อมูลการสอบถามและข้อเสนอแนะ 4. มหาวิทยาลัยมีกระบวนงาน/ ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อดูแลและให้บริการนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ และนักศึกษา/อาจารย์แลกเปลี่ยน เช่น มีคู่มือ (Guide book/Survival Guide) สำหรับนักศึกษา/อาจารย์ต่างชาติ หรือเอกสารที่แสดงว่าได้นำไปใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5. มหาวิทยาลัยมีข้อมูลที่แสดงถึงสัดส่วนของสัญญา/ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU/ MOA) ที่มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (Active) รวมทั้งแนวทางการจัดการสัญญา/ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ที่ไม่มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 6. มีการกำหนดเกณฑ์/เครื่องมือ ที่ใช้ในการเทียบโอนหน่วยกิต และมีหลักฐานการถ่ายโอนหน่วยกิต หรือ Degree supplement 7. มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานผลที่ได้ 8. มีความพร้อมด้านคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน มีโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และให้บริการนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ เช่น มีหอพักที่ปลอดภัยและอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ดีพอควร หรือบริการจัดหาหอพักที่เป็นระบบ 9. มีระบบและกลไกในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างชาติ ที่มีความสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายด้านความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย 10. มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ/ หลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ความพร้อมด้านคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัด การเรียนการสอน กิจกรรมสนับสนุนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ การให้บริการสำหรับนักศึกษาต่างชาติ และมีบรรยากาศความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา แนวทางการมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ 1. ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร ทั้งในระดับนโยบาย ระดับสถาบัน ระดับคณะ ที่จะมีปณิธานและ ความมุ่งมั่นชัดเจนในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติอย่างเป็นระบบ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมสำหรับบุคลากรทุกกลุ่มและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในมหาวิทยาลัย 2. การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการเทียบเคียง (Benchmarking) เพื่อจะได้ทราบถึงตำแหน่งของมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก โดยเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยที่มีความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องของลักษณะของมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย แหล่งงบประมาณ เป็นต้น 3. การสนับสนุนนักศึกษาให้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Exchange Program) อย่างเป็นระบบ โดยได้รับการสนับสนุนในระดับนโยบายของมหาวิทยาลัย 4. มหาวิทยาลัยมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเรื่องเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ความเชี่ยวชาญ งบประมาณ รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงาน และให้ความสำคัญต่อคุณภาพของบุคลากรเป็นหลัก โดยจะต้องมีการมอบหมายคนที่มีคุณภาพให้ทำงาน ที่เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของผู้ประสานเครือข่าย 5. การวางกรอบการทำงานระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบาย และความยั่งยืนในการพัฒนา โดยการระบุทิศทาง กลยุทธ์และกรอบเวลาที่ชัดเจน มีการทบทวน การแบ่งปันข้อมูลความรู้ และประสบการณ์ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารจัดการ 6. การสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างและประสานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และรวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรในทุกระดับ แนวคิดการพัฒนากลยุทธ์สู่ความเป็นนานาชาติ 1. ยกระดับพันธกิจสู่ความเป็นนานาชาติ – พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย นำมาเลือกพัฒนายกระดับให้มีความเข้มแข็ง ประกอบกับงาน วิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา เช่นการคัดเลือกหลักสูตรเดิมที่มีความพร้อมและพัฒนาให้เป็นหลักสูตร English Progra
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรอง(ฉบับภาษาอังกฤษ)หรือ Letter to Certify เป็นการจัดทำหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ในการรับรองสถานะการทำงาน การยื่นขอตรวจลงตราเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ (VISA) หรือเพื่อขอความอนุเคราะห์ต่างๆ จากหน่วยงานต่างประเทศ
มารยาทในการรับประทานอาหารและธรรมเนียมนิยมในการร่วมงานเลี้ยงแบบตะวันตก การเชิญแขกมารับประทานอาหาร เป็นประเพณีที่มีอยู่ในเกือบทุกอารยะธรรม นอกจากจะเป็นการแสดง ออกถึงความมีอัธยาศัยไมตรีแล้ว ยังถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่แขกผู้รับเชิญด้วยมารยาทในการรับประทานอาหารที่ถือเป็นมาตรฐานสากลมีที่มาจากประเทศยุโรป และเป็นที่ยอมรับมาปฏิบัติกันทั่วไปในอารยประเทศ และถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนประณีตที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรอง(ฉบับภาษาอังกฤษ)หรือ Letter to Certify เป็นการจัดทำหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ในการรับรองสถานะการทำงาน การยื่นขอตรวจลงตราเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ (VISA) หรือเพื่อขอความอนุเคราะห์ต่างๆ จากหน่วยงานต่างประเทศ
- ยังไม่มีรายการคำถาม