Blog : รุ่งทิพย์ กาวารี
รหัสอ้างอิง : 616
ชื่อสมาชิก : รุ่งทิพย์ กาวารี
เพศ : หญิง
อีเมล์ : rungthip-k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 2/11/2554 14:21:47
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 2/11/2554 14:21:47

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รุ่งทิพย์ กาวารี
นักวิทยาศาสตร์
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเลขทะบียนห้องปฏิบัติการ สำคัญกับการกรอกข้อมูลในการขอทุนวิจัย การใช้ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี เป็นประเด็นที่ถูกดำเนินการใน วช. เรื่องมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในระบบ NRIIS เป็นการบังคับในการกรอกข้อมูล ในอนาคตนักวิจัยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลผลิตที่ท่านได้ มีการสืบย้อนกลับต้องไม่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นข้อหนึ่งในการพิจารณาในการพิจารณาการให้ทุนของ วช.
คำสำคัญ : Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 114  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/10/2567 21:36:54
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11
จากการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ รุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 22- 23 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเนื้อหาประกอบด้วยหลักสูตรการอบรมและการฝึกปฏิบัติเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้องค์ความรู้เพื่อสามารถนำไปถ่ายทอดแก่นักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน ที่ปฏิบัติงานในหมวดวิชาที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการกลางของสาขาวิชาฯ เพื่อป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานวิจัยของตนเองอีกด้วย
คำสำคัญ : Biosafety  Biosecurity  การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ  ความปลอดภัยทางชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 216  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 9/9/2566 13:08:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/10/2567 18:33:05
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพรและอาหารได้อย่างมั่นใจ
ค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการหรือเครื่องมือชนิดไหนในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณามาตรฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก เรียกว่า เทคนิค Atomic Spectroscopy หลักการโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนทำให้สารประกอบในตัวอย่างเกิดการแตกสลายให้เป็นอะตอม โดยเทคนิคใน Atomic Spectroscopy จะมี 4 เทคนิคหลัก 1) Flame AA 2) Graphite AA (Furnace) 3) ICP-OES 4) ICP-MS
คำสำคัญ : การตรวจสอบ  ยา  โลหะหนัก  สมุนไพร  อาหาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2530  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 11:42:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/10/2567 12:13:09
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS
การตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง หรือสารกำจัดศัตรูพืชหรือกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือ pesticide ก็ต้องมีการสกัดที่เหมาะสม หลังจากที่เราสกัดออกมาแล้วด้วยความที่เป็นความ specific ของตัวเครื่องเทศ ในตัว matrix เค้าเองก็มีสารหลายอย่างมากมายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันที่เราสกัดออกมาแล้ว จะเห็นว่าแต่ละชนิดจะมีความ Complex มาก เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุด ก็จะเป็นประการแรกเลยที่เราจะต้องทำ
คำสำคัญ : การตรวจยาฆ่าแมลง  เครื่องเทศ  เทคนิค GC-MS/MS  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4393  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:48:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/10/2567 19:49:15
รุ่งทิพย์ กาวารี » #ภาพรวมและการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิจัยสมุนไพร โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี และเทคนิคสเปกโทรสโคปี
การเตรียมตัวอย่างมีความสำคัญ เพื่อทำความสะอาดตัวอย่างเพื่อที่จะได้โครมาโทแกรมหรือผลการทดลองที่สามารถแปลผลได้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวอย่างเพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ด้วย GC หรือ HPLC ได้ และเพื่อลดปัญหา downtime ของตัวเครื่องมือ GC หรือ HPLC เช่น ion source ของ LCMS ต้องเตรียมตัวอย่างเพียงพอดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวอย่าง หรือ analyte ที่สนใจ ให้มั่นใจที่จะแปลผลและรายงานผลว่าสารที่สนใจมีอยู่จริงและมีอยู่ปริมาณเท่าไหร่ ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมตัวอย่าง ได้แก่ การเข้าใจตัวอย่างของเราในทาง Physical และ Chemical ต้องทราบว่าสารสำคัญที่สนใจอยู่ในฟอร์มไหน อยู่ในตัวอย่างสดหรือในตัวอย่างแห้ง สมบัติของการละลายของสารที่สนใจ (solubility) ละลายได้ดีใน solvent อะไร เพื่อเลือก solvent ในการสกัดที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ปริมาณ Yield ในการสกัดที่มากขึ้น บางสารมีสมบัติสามารถระเหยได้ (Volatility) ถ้าเราเข้าใจในตัวอย่างว่ามีตัว interference เป็นอะไร เราจะเลือกเทคนิคอะไรในการเตรียมตัวอย่าง
คำสำคัญ : Headspace  Solid Phase Microextraction  การเตรียมตัวอย่าง  เทคนิคโครมาโทกราฟี  เทคนิคสเปกโทรสโคปี  สมุนไพร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3085  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/10/2567 13:28:06
รุ่งทิพย์ กาวารี » #แนวทางยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 7 – 8 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้อบรมเรื่องแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัย ซึ่งห้องปฏิบัติการต้องมีมาตรฐานการวิจัยต่างๆ ใช้เป็นกลไกในการกำกับ ตรวจสอบและรับรอง ดำเนินการรักษามาตรฐานในกระบวนการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ 1. มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ประเมินโครงการวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานวิจัย 2. มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ 3. จริยธรรมนักวิจัย 4. มาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ 5. มาตรฐานการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ 6. มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ 7. มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ## โปรดคลิกที่นี่เพื่อเข้าไปอ่านต่อ
คำสำคัญ : ESPReL  ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ  ยกระดับมาตรฐาน  สารเคมี  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3700  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 18/8/2562 12:57:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/10/2567 1:49:36
รุ่งทิพย์ กาวารี » #ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในตามมาตรฐาน BRC Food issue 8
BRC (British Retail Consortium) Food Issue 8 คือ มาตรฐานความปลอดภัยอาหารสากลที่เกิดจากสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร ระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและคุณภาพที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ขยายข้อกำหนดสำหรับการติดตามด้านสภาวะแวดล้อมเพื่อสะท้อนถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้น (สภาวะแวดล้อมในที่นี้หมายถึง อากาศในห้อง ผนัง พื้นห้อง สิ่งแวดล้อมภายนอก) ส่งเสริมสถานประกอบการให้มีการพัฒนาระบบเพื่อความมั่นคงและการป้องกันอาหาร เพิ่มความชัดเจนในข้อกำหนดสำหรับโซนความเสี่ยงด้านการผลิตที่มีความเสี่ยงสูง ดูแลสูง และความรอบคอบ ให้ความชัดเจนมากขึ้นสำหรับผลิตอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง และมั่นใจในการบังคับใช้และการเปรียบเทียบกับ Global Food Safety Initiative (GFSI) ได้แก่ BRC, FSSC, IFS, Thai Union standard ขอบเขตของมาตรฐาน BRC Food Safety กำหนดมาตรฐานสำหรับการผลิต การแปรรูป และการบรรจุอาหารแปรรูปทั้งเจ้าของสินค้า/ผู้ผลิตสินค้า และสินค้าของลูกค้า วัตถุดิบหรือส่วนผสมสำหรับใช้โดยบริษัทผู้ให้บริการด้านอาหาร บริษัทอาหาร และ/หรือผู้ผลิตอาหาร มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์หลัก เช่น ผลไม้และผัก มาตรฐานสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับสัตว์เลี้ยง
คำสำคัญ : BRC Food issue 8  British Retail Consortium  มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 85837  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 11/5/2562 14:38:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/10/2567 17:36:27
รุ่งทิพย์ กาวารี » สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์
จากการเข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2562 ณ จังหวัดระยอง ข้าพเจ้าได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และสามารถนำความรู้มาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : โครงการศึกษาดูงาน  พัฒนาวิสัยทัศน์บุคลากร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2512  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 11/5/2562 14:32:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/10/2567 5:12:26
รุ่งทิพย์ กาวารี » #ทำไมผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการต้องอบรมหลักสูตร "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน"
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย หมายถึง สภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน (การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานอันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย ลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน ต้องได้รับการอบรมหัวข้อต่างๆ แยกเป็น 4 หมวดวิชา ดังนี้ หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตราย
คำสำคัญ : กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน  ความปลอดภัย  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน  บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 19338  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 26/12/2560 0:02:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/10/2567 4:48:18
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานด้านการจัดการห้องปฏิบัติการ
การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานด้านการจัดการห้องปฏิบัติการ • การจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมพร้อมรับอุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉิน เพื่อรักษาและป้องกันชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร เพื่อช่วยลดความเสียหายและความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินนำไปสู่การลด ต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยแก่บุคลากรในองค์กรส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
คำสำคัญ : การจัดการห้องปฏิบัติการ  การปฏิบัติงาน  พัฒนาทักษะ  มาตรฐานความปลอดภัย  ห้องปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3739  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 8/3/2560 21:47:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/10/2567 0:34:28
รุ่งทิพย์ กาวารี » #เทคนิคการใช้งานเครื่องระเหยแบบหมุน (Evaporator)
เครื่องระเหยสารแบบหมุนตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ งานทางเภสัชกรรม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางเคมีภัณฑ์: การเพิ่มความเข้มข้น ปฏิกิริยารีฟลักซ์ การตกผลึกซ้ำ งานทางด้านวิชาการ/การศึกษา: การระเหยสารทุกรูปแบบ งานทางอาหาร/เครื่องดื่ม: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง งานทางอาหารสัตว์: การกลั่น การเพิ่มความเข้มข้น และการทำแห้ง การวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม: การสกัดแบบซอกห์เลต (Soxhlet) การเพิ่มความเข้มข้น ดังนั้น การระเหยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการกลั่นให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเวลา อนุรักษ์พลังงาน และลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ต้องมีการปรับพารามิเตอร์ต่างๆ
คำสำคัญ : Evaporator  เครื่องระเหย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 20463  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 23/7/2559 17:53:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/10/2567 17:25:09
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ตอน...การเก็บสารเคมีอันตราย
ในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา ล้วนต้องสัมผัสกับสารเคมีในทุกๆ วัน ยิ่งเป็นสารเคมีมีอันตรายด้วยแล้ว ทุกคนจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องทำงานกับสารเคมีอันตรายจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย มีความสามารถในการควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีอันตรายไม่เหมือนกัน การเก็บ การใช้ การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้ก็มีความแตกต่างกันด้วย
คำสำคัญ : การเก็บสารเคมีอันตราย  การลงทะเบียนสารเคมีอันตราย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7268  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 1  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 26/4/2558 19:06:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/10/2567 9:14:00

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้