Blog : สรุปรายงานจากการอบรม
รหัสอ้างอิง : 1656
ชื่อสมาชิก : วริศรา สุวรรณ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : warissara@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 16/8/2557 9:50:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 16/8/2557 9:50:55

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : สรุปรายงานจากการอบรม
สรุปรายงานจากการอบรม และการใช้ประโยชน์
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก หลักการของ nanopore sequencing คือ การผ่านกระแสไฟฟ้าข้ามรูขนาดเล็ก nanopore สนามไฟฟ้าจะทำให้เกิดแรงขับโมเลกุลกรดนิวคลิอิกโครงสร้างสายเดี่ยวผ่านระดับนาโนเมตร การผ่านรูของกรดนิวคลิอิกแต่ละตัวจะถูกตรวจจับโดยการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าระหว่างการเคลื่อนที่ผ่านรูของนิวคลิโอไทด์ เมื่อ nucleotides ผ่านเข้าไปใน nanopore จะเกิดรูปแบบกระแสไฟฟ้าที่มีการแปรสัญญาณแสดงออกมาเป็นกราฟ แล้วจะถูกนำไปแปลงผลให้เป็น nucleotide แต่ละตัว โดยมีความเร็วในการอ่านประมาณ 450 เบสต่อวินาที การวิเคราะห์นี้จะใช้เวลาสั้นและมีค่าใช้จ่ายน้อย
คำสำคัญ : DNA sequencing, nanopore technology  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 863  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 11:48:57
สรุปรายงานจากการอบรม » วิธีการเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อแสดงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
การเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการเตรียมสไลด์ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหลักสูตรพันธุศาสตร์ ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนต่อไป การศึกษาตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยผนึกลงบนสไลด์ แล้วนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นวิธีการที่ดีทําให้สามารถศึกษาส่วนประกอบที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ การทําสไลด์ถาวร จะช่วยให้ศึกษาถึงรายละเอียดของสิ่งมีชีวิตได้ มีความสะดวกในการใช้งาน ใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวอย่างพืช (ดอกข้าวโพด) และไม่เสียเวลาทําใหม่เหมือนกับสไลด์ชั่วคราว
คำสำคัญ : สไลด์ถาวร การแบ่งเซลล์ ไมโอซิส meiosis  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 238  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 26/9/2566 11:21:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:56:50
สรุปรายงานจากการอบรม » Quantitative PCR (qPCR)
PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้งเดิม ได้แก่ การทำให้ DNA เสียสภาพที่อุณหภูมิสูงและแยกตัวออกเป็นสายเดี่ยว (Denatulation) การจับกันของไพรเมอร์และดีเอ็นเอ โดยการลดอุณหภูมิลง ไพรเมอร์จะเข้าไปจับกับดีเอ็นเอแม่พิมพ์ (Annealing) และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดย Taq DNA polymerase จะนำเบสต่างๆ (A, T, C, G) ไปสังเคราะห์ต่อจากไพรเมอร์จนได้ดีเอ็นเอสายคู่เหมือนเดิม (Extension) Quantitative PCR (QPCR) หรือ PCR เชิงปริมาณ เหมาะสำหรับใช้ในหาปริมาณ DNA และสามารถตรวจสอบการขยายตัวของโมเลกุล DNA ได้ในระหว่างการทำ PCR ในเวลาจริง เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนามาจากการทำ PCR แบบดั้งเดิม โดยใช้การติดฉลากด้วยสารเรืองแสงประเภท fluorochrome ทำให้สามารถวัดปริมาณของดีเอ็นเอเป้าหมายตั้งต้นจากสิ่งต้องการตรวจวัดได้และสามารถวัดปริมาณดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้นมาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน
คำสำคัญ : PCR, qPCR  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 220  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 25/9/2566 13:14:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:12:32
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เริ่มจากการใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction เพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอเฉพาะส่วนที่ต้องการ ภายในระยะเวลาอันสั้นในหลอดทดลอง ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 ชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR ในการทำ ซึ่งไม่เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือการทำงานภาคสนาม ดังนั้นจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีเพิ่มขยายยีนด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ขึ้นมา วิธีการนี้สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ถึง 109 เท่า ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเพิ่มปริมาณ DNA จะใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิเดียว (60-65 ํC) โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR และการ run gel electrophoresis มีการใช้ primers 4 ชุด หรือ 6 ชุด ที่จำเพาะต่อกับสาย DNA แม่พิมพ์ 6 ตำแหน่ง จึงทำให้มีความจำเพาะต่อการตรวจสอบสูง และทำการเพิ่มปริมาณ DNA โดยใช้เอนไซม์ Bst DNA polymerase สำหรับการตรวจสอบยีนที่เพิ่มขยายได้ ในเทคนิค LAMP จะเกิดสาร pyrophosphate เป็น by product ในปฏิกิริยา สารดังกล่าวสามารถจับกับ magnesium กลายเป็น magnesium pyrophosphate ซึ่งจะเกิด ตะกอนสีขาวขุ่น ไม่ละลายน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจยืนยันผลด้วยเครื่อง spectrophotometry หรือสารฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณการเพิ่มขยายยีนนั้นๆ
คำสำคัญ : LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3504  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 27/9/2565 15:43:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:37:12
สรุปรายงานจากการอบรม » การผลิตสื่อด้วยโปรแกรมขั้นพื้นฐานในยุคโควิด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน “สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น power point, canva, imovie, Loom, OBS และ DaVinci Resolve สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง
คำสำคัญ : การผลิตสื่อ, สื่อการเรียนรู้,  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1309  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 29/9/2564 23:14:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:57:46
สรุปรายงานจากการอบรม » การเตรียมตัวอย่างโปรตีน และการตรวจสอบทาง immunodetection
การเตรียมตัวอย่างโปรตีน และการตรวจสอบทาง immunodetection Western blot หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Immunoblot เป็นเทคนิคที่ใช้ติดตามโปรตีนที่สนใจในสารตัวอย่าง หรือใช้ดูการแสดงออกในระดับโปรตีน โดยใช้หลักการของgel electrophoresis ใช้แยกได้ทั้ง native protein และ denatured protein และโปรตีนนั้นจะถูกย้ายจากแผ่นเจลไปยังแผ่นเมมเบรน ที่นิยมใช้ ได้แก่ nitrocellulose membrane และ polyvinylidene fluoride (PVDF) จากนั้นทำการตรวจสอบโปรตีนที่ต้องการโดยใช้ specific antibody
คำสำคัญ : การเตรียมตัวอย่างโปรตี, immunodetection, western blot  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 29890  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 6/10/2563 14:42:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:10:03
สรุปรายงานจากการอบรม » ความหลากหลายของสายพันธุ์กัญชา
กัญชาเป้นพืชที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ประโยชน์ที่มีการศึกษาการอย่างแพร่หลายคือมีสาร CBD และ THC ที่ใช้นำมารักษาโรค โดยสัดส่วนของปริมาณทั้งสองมีความจำเพาะในแต่ละโรค ดังนั้นจึงต้องศึกษาถึงสายพันธุ์ของกัญชา การผลิตกัญชาลุกผสม เพื่อจะได้สาร CBD และ THC ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้ประโยชน์ แต่ยังต้องพึงระวังว่ากัญชานั้นยังมีส่วนที่เป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงต้องศึกษาให้ดี ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ จึงจะปลอดภัยที่สุด
คำสำคัญ : กัญชา สายพันธุ์กัญชา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 52537  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 7/10/2562 9:47:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:21:19
สรุปรายงานจากการอบรม » แนวทางการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ตามนโยบายและแนวทางในการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กำหนดมาตรฐานการวิจัยไว้หลายด้าน โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ มาตรการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการของ วช. จะใช้กลไกการจัดสรรทุนวิจัย คือ การกำหนดให้มีการลงทะเบียนห้องปฏิบัติการ และให้แนบเอกสารความปลอดภัยทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาการขอทุนวิจัย ดังนั้นห้องปฏิบัติการจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและเพื่อขอทุนวิจัยในอนาคต โดย วช. ได้แนะนำเครื่องมือในการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ฐานข้อมูลความรู้และเผยแพร่กิจกรรมด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ระบบจัดการข้อมูลสารเคมี และการบริการจัดการเกี่ยวกับมาตรการจัดสรรทุนวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
คำสำคัญ : มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ความปลอดภัย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4196  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 5/9/2561 12:22:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 8:12:54
สรุปรายงานจากการอบรม » การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอในการตรวจสอบสายพันธุ์พืช
เทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์กำลังมีบทบาทสำคัญในการเกษตร โดยเฉพาะในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นการสร้างพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีตรงตามความต้องการของตลาด ผู้ปลูก และผู้บริโภค อีกทั้งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นต้น ดังนั้นในการปรับปรุงพันธุ์จึงจำเป็นต้องหาวิธีการในการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดี โดยใช้เวลาปรับปรุงน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต และนำพืชพันธุ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าคู่แข่งทางธุรกิจ ในปัจจุบันงานด้านการปรับปรุงพันธุ์จึงนิยมใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้คัดเลือกพืชสายพันธุ์ใหม่ เพราะมีความถูกต้อง แม่นยำสูง ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการดูแลพืช
คำสำคัญ : เครื่องหมายดีเอ็นเอ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 9566  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 12/3/2560 20:39:32  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 9:55:03
สรุปรายงานจากการอบรม » การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์เบื้องต้น
Cell culture หมายถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ขึ้นในหลอดทดลอง โดยใช้อาหารเลี้ยงเซลล์ที่แตกต่างกันตามชนิดของเซลล์ ปัจจุบันนักวิจัยได้นำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์มาใช้ในการทดสอบสิ่งต่างๆ เช่น การทดสอบยาต้านเชื้อจุลินทรีย์ การทดสอบวัคซีน การผลิตโปรตีนที่จำเพาะในเซลล์ และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ เป็นต้น แทนการทดสอบในสัตว์โดยตรง ซึ่งมีความยุ่งยากในการควบคุมปัจจัยต่างในการดำเนินชีวิตของสัตว์ มีค่าใช้จ่ายสูง และยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในสัตว์ทดลอง ดังนั้นนักวิจัยจึงหันมาใช้แนวทางการทดสอบสิ่งต่างๆในเซลล์สัตว์ที่ทำการเพาะเลี้ยงขึ้นในหลอดทดลองแทน ประโยชน์ของการเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลองคือ สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่จะให้เซลล์อยู่ได้ เซลล์จะมีความเหมือนและมีลักษณะเฉพาะตัว ประหยัด และสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดกับสัตว์ทดลองได้เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยสารต่างๆ
คำสำคัญ : การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 41545  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 5/9/2559 0:50:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:17:54
สรุปรายงานจากการอบรม » กล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับที่ต่อกับชุดฟลูออเรสเซ็นต์
การศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานวิจัย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือพื้นฐานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้เกี่ยวการเลือกใช้กล้องจุลทรรศน์ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการศึกษา อีกทั้งควรมีทักษะการใช้เครื่องมือ และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะช่วยทำให้ผลการทดลองเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือต่างๆอีกด้วย การใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ชนิดหัวกลับ เป็นกล้องที่มี objective Len อยู่ใต้ตัวอย่าง กล้องประเภทนี้เหมาะกับตัวอย่างที่เกาะติดอยู่บริเวณผิวก้นหลอด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด แต่การดูเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับ จะสามารถสังเกตเห็นรูปร่างลักษณะภายนอกเซลล์เท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆภายในเซลล์ได้ ดังนั้นหากต้องการมองเห็นลักษณะภายในเซลล์ ต้องใช้ชุดฟลูออเรสเซ็นต์เข้ามาช่วย เราจึงเรียกกล้องประเภทนี้ว่า กล้องจุลทรรศน์หัวกลับพร้อมชุดฟลูออเรสเซ็นต์ นิยมใช้ศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่มีคุณสมบัติสามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ เมื่อได้รับพลังงานแสงจากแหล่งกำเนิดที่มีพลังงานสูง เช่นแสง UV ซึ่งเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นต่ำ ทำให้เป็นแสงที่มีพลังงานสูง เมื่อแสงถูกปล่อยให้ไปกระทบกับวัตถุที่มีความสามารถดูดกลืนแสงได้ วัตถุจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในลักษณะที่เป็นแสงที่ตาเรามองเห็นได้ (visible light)
คำสำคัญ : กล้องจุลทรรศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5666  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 13/3/2559 14:46:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 6:11:44
สรุปรายงานจากการอบรม » หลักการทำงานของเครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และเทคนิคพีซีอาร์ (PCR)
เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีในห้องปฏิบัติการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ DNA โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบกับเทคนิค PCR ในการเพิ่มปริมาณ DNA ขึ้นในหลอดทดลอง การรู้ถึงหลักการของเครื่องมือ วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง จะทำให้ผลการทดลองหรืองานวิจัยนั้นมีความน่าเชื่อถือ
คำสำคัญ : เครื่อง PCR , เทคนิค PCR , การเพิ่มปริมาณ DNA ในหลอดทดลอง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 33506  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 5/9/2558 17:57:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 10:51:31
สรุปรายงานจากการอบรม » การใช้ Flow Cytometry ในการศึกษาโครโมโซมในเซลล์พืช
Flow cytometry เป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เซลล์ ด้วยการฉายแสงเลเซอร์ลงสู่เซลล์ที่ผ่านการย้อมสารเรืองแสง แล้ววัดการเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนผิวเซลล์หรือภายในเซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะถูกบีบให้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องทีละ 1 เซลล์ หรือเป็นเซลล์เดี่ยวๆ เทคนิคนี้มีความไวสูง และสามารถตรวจวัดเซลล์ได้เป็นจำนวนมากด้วยความรวดเร็ว เครื่องจะทำการแปลสัญญาณแสงที่หักเห และสะท้อนกลับ ออกมาเป็นกราฟ การอ่านผลจะต้องเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน จึงจะสามารถบอกความแตกต่างของตัวอย่างได้ มีการประยุกต์ใช้เทคนิค Flow cytometry ในงานต่างๆ เช่น การตรวจหาความผิดปกติในโครโมโซม การตรวจหาเซลล์มะเร็งเพื่อติดตามผลการรักษา การตรวจหา Autoantibodies บนผิวเซลล์ในโรค Autoimmune ต่างๆ การทดสอบประสิทธิภาพของยาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นต้น สำหรับงานวิจัยทางพืชได้มีการนำ Flow cytometry มาใช้ในการศึกษาปริมาณ DNA และจำนวนชุดโครโมโซมในกล้วยไม้
คำสำคัญ : flow cytometry  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 15096  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 15/3/2558 22:03:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:45:45
สรุปรายงานจากการอบรม » วิธีการใช้เครื่อง spectrophotometer
Spectrophotometer เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่าการดูดกลืนคลื่นแสงของตัวอย่างทางชีวภาพ โดยแต่ละตัวอย่างจะมีการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการวัดค่าการดูดกลืนแสงต้องหาความยาวช่วงแสงที่เหมาะสมก่อนการใช้งาน
คำสำคัญ : spectrophotometer  เครื่องมือวิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 82998  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 8/9/2557 13:49:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:54:08

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้