รายงานสรุปเนื้อหาการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ "Transgenerational equity and sustainable technologies for agricultural waste to energy"
วันที่เขียน 15/10/2562 9:10:29     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/10/2567 18:58:36
เปิดอ่าน: 2140 ครั้ง

-

เนื้อหาของการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Transgenerational equity and sustainable technologies for agricultural waste to energy” วันที่ 7 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ณ อาคารวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (อาคาร 40 ปี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งออกเป็นหลายส่วนโดยมีหัวใจหลักคือการในการจัดการขยะและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

1. Thermo-chemical conversion of agricultural waste to useful products

หรือการใช้ความร้อนหรือวิธีการทางเคมีเพื่อเปลี่ยนขยะทางการเกษตรให้เป็นพลังงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์นั้น มีวิทยากรคือ Dr. Capucine Dupont จากสถาบัน IHE Delft Institute of Water Education ได้แบ่งการอบรมออกเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในภาคทฤษฎี วิทยากรได้กล่าวถึงขยะทางการเกษตร ชีวมวลที่สามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลังงานและสารประกอบที่เป็นประโยชน์ องค์ประกอบของชีวมวลทางการเกษตร และได้แนะนำเทคโนโลยีในการจัดการกับขยะทางการเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่อาศัยการให้พลังงานความร้อนเพื่อแปรรูปสารตั้งต้น เช่น combustion (ได้พลังงานความร้อน), gasification (ได้ H2, CO และพลังงานความร้อน), pyrolysis (ได้ oil: biofuel และ material: char), และ hydrothermal conversion หลักการทางชีวเคมีเช่น fermentation (ได้ chemicals) และ digestion (ได้ biogas) รวมถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้เทคโนโลยี ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น เถ้า ค่าความร้อน และความหนาแน่นของชีวมวล นอกจากนี้วิทยากรยังให้ผู้ร่วมอบรมได้ลองทำโจทย์เพื่อจำลองการออกแบบ gasifier เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากฟางข้าว (rice straws) และในภาคปฏิบัติ วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำชีวมวลที่สนใจมาลองศึกษาปริมาณความชื้น (moisture content) และสัดส่วนของเถ้า (ash) จากการให้ความร้อนที่ 105 และ 550 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงและ 2 ชั่วโมงตามลำดับ เพื่อให้เห็นภาพเชื่อมโยงกับส่วนของการบรรยาย

2. Environmental management system and auditing

บรรยายโดย Dr. Marcel Grashof ซึ่งได้ให้ความรู้ในส่วนของมาตรฐานการจัดการขยะและสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร โดยเน้นไปที่มาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งเป็น quality management standards และ ISO 14001 ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ environmental management หรือการจัดการสิ่งแวดล้อม

Dr. Marcel กล่าวถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดตั้งบริษัทหรือโรงงานที่เกี่ยวข้องกับ biomass และ bioenergy โดยเน้นการอภิปรายร่วมกับผู้เข้าอบรมเป็นหลัก และจุดประกายโจทย์ใหม่ทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การลดขยะหรือลดมลพิษแต่เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อม หลักการในการวางแผน ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักได้แก่ plan, do, check, และ act ซึ่งก็คือการวางแผน ปฏิบัติการตามแผน ตรวจสอบมาตรฐาน และการปรับเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

และในส่วนสุดท้ายของการบรรยายโดย Dr. Marcel ได้อธิบายถึงการ audit เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการจัดการขยะและควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแต่ละโรงงานหรือบริษัท ทั้งในการ identify stakeholders ข้อกำหนดและความคาดหวังของแต่ละฝ่าย และตัวอย่างการตั้งคำถามในการประเมิน โดยได้เน้นถึงการมี awareness และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ และการมีคุณธรรมจริยธรรมเช่นผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็น auditor ก็ไม่ควรแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในการรายงานการ audit กล่าวคือไม่ควรแสดงตนหรือทำหน้าที่คาบเกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาหรือ consultant เพราะถือเป็น conflict of interest และผิดจรรยาบรรณ ข้อมูลในส่วนของการ auditing นี้เป็นประโยชน์มากต่อผู้วิจัยหรือผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐาน ทั้งยังเป็นประโยชน์หากนำมาเผยแพร่แก่นักศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการและสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนในหลักสูตรฯเข้ากับบริบทในการทำงานได้

3. Waste management in Thailand and resource circulation และ conversion of waste to energy

Prof. Chettiyappan Visvanathan ได้ให้ความรู้ในหัวข้อการจัดการและกำจัดขยะในเชิง policy ทั้งในระดับประเทศ (ประเทศไทย) และยกตัวอย่างวิธีการจัดการขยะทางการเกษตรในต่างประเทศ และได้กล่าวถึงกระบวนการคิดและปฏิบัติในการจัดการขยะหรือวัสดุเหลือทิ้งแบบ upstream ซึ่งเป็นการจัดการลดขยะหรือการปรับกระบวนการการผลิตที่จะก่อให้เกิดสิ่งเหลือใช้ลดลง ซึ่งแนวคิดแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในประเทศแถบยุโรป และแบบ downstream ที่ว่าด้วยการจัดการขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นมาแล้วให้เกิดประโยชน์และเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งวิถีแบบ downstream นี้เป็นที่นิยมปฏิบัติในประเทศแถบเอเชีย โดยการรีไซเคิลพลาสติกและการนำขยะพลาสติกไปใช้ในการผลิตพลังงานในประเทศญี่ปุ่นได้ถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จด้วยแนวความคิดนี้

นอกจากนี้ Prof. Chettiyappan ยังได้กล่าวถึง circular economy และ circular industries ที่มีการนำวัสดุเหลือใช้จากอุสาหกรรมหนึ่งไปเป็นวัตถุดิบให้แก่อีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน โดยได้ยกเอาระบบ Kalundborg Symbiosis ที่ประเทศเดนมาร์ก และระบบของบริษัทในเครือมิตรผลของประเทศไทยมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในระบบ Kalundborg Symbiosis ประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมย่อยได้แก่ power station ที่ตามมาด้วย refinery จากนั้นมีบริษัท Novo Industries (เช่น novozymes) เกิดขึ้น ของเสียและน้ำเสียจากการหมักสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อในฟาร์มที่ถูกสร้างตามมา จากการทำฟาร์มสุกรที่ได้มีการสร้างก๊าซเช่น H2S ขึ้นมาก็สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุบำรุงดินในอีกอุตสาหกรรมหนึ่งได้ เป็นต้น

Kalundborg Symbiosis โดย Prof. Visvanathan

ข้อมูลและการอภิปรายในส่วนของ industrial ecology นั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก และจุดประกายความคิดในการเสนอแผนโครงการวิจัยอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และในส่วนสุดท้ายของการอบรมซึ่งมี Dr. Susanne Rotter เป็นวิทยากร ได้กล่าวถึงการจัดการขยะทางการเกษตร (agricultural waste) ก็เป็นประโยชน์อย่างมากเช่นกัน โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ถึงฐานข้อมูลระดับนานาชาติ www.fao.org โดย Food and Agriculture Organization of the United Nations ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ทางการเกษตร ผลผลิต และผลกระทบจากเกษตรกรรมในอารยประเทศทั่วโลกให้บุคคลที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และได้เรียนรู้ถึงหลักการประเมินคร่าวๆของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน หรือการออกแบบการทดลองได้

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/10/2567 11:57:57   เปิดอ่าน 30  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2567 6:44:42   เปิดอ่าน 117  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง