การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความรู้ความเข้าใจ "เมื่อชีวิตใกล้ชิด COVID-19"
วันที่เขียน 16/3/2565 9:07:47     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 22:48:50
เปิดอ่าน: 3399 ครั้ง

การสร้างความรู้ความเข้าใจใน Covid-19 หลักการปฎิบัติตัวและการป้องกันเกี่ยวกับ Covid-19 การแยกกลุ่มผู้ป่วย และการแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยง จัดอบรมวันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านโปรแกรม zoom clound meeting วิทยากรโดย ดร.ทรงยศ คำชัย นักวิชาการสาธารณสุชชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

     ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง”เมื่อชีวิตใกล้ชิด COVID-19เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

          หัวข้อ โรคอุบัติใหม่

          New Normal: ชีวิตวิถีใหม่                

             - เที่ยวต่างประเทศน้อยลง

             - ซื้อของกินของใช้ตุนไว้สำหรับเวลาจำเป็น

             - เริ่มทำงานที่บ้าน (work from home)

             - ใช้บริการ Food Delivery มากขึ้น

             - หันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น

             - ลดการใช้จ่ายสิ่งของฟุ่มเฟือย

             - การรักษาระยะห่างทางสังคมและป้องกันตนเอง

      โรคติดต่อ สามารถแบ่งออกได้ เป็น 2 ประเภท ได้แก่

      โรคประจำถิ่น (Endemic)

           โรคติดต่อที่ระบาดประจำในพื้นที่นั้นๆ อัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอริกา

      โรคระบาด (Pandemic)

           โรคติดต่อที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เช่น การระบาดของ COVID-19

       การระบาด (Outbreak)

           โรคติดต่อที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือโรคประจำถิ่นที่มีจำนวนมากเกินคาดการณ์

       หัวข้อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

             โรคติดเชื้อจากไวรัสที่มีการกระจายเชื้อแบบ Droplet ผ่านฝอยละอองขนาดใหญ่ที่มีอนุภาคมากกว่า 5 ไมครอน เช่น SARS ไข้หวัดใหญ่  ไข้หวัดนก  อีโบล่า และ COVID-19 การติดเชื้อผ่านฝอยละออง น้ำมูก น้ำลายที่มีขนาดใหญ่ และตกลงพื้นไม่เกิน 2 เมตร หากบุคคลมีการเว้นระยะห่างประมาณ 2 เมตร หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้จะปลอดภัยเพราะฝุ่นละอองจากการไอ จาม กระจายได้ในระยะ 1 เมตร สำหรับโรคติดเชื้อผ่านอากาศ (Air borne) เกิดการติดเชื้อผ่านฝอยละอองขนาดเล็กที่มีอนุภาคน้อยกว่า 2 ไมครอน เช่น วัฒโรคและหัด

      หัวข้อ สถานการณ์การโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดเชียงใหม่

  • เกิดการะบาดในสถานที่ทำงาน หรือผู้เดินทางจากพื้นที่ระบาด
  • การทำงานร่วมกันในห้องแอร์
  • ปัจจุบันสายพันธุ์โอไมครอน ระบาดมากในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (ข้อมูล กุมภาพันธุ์ 2565

      การตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ทำได้ 2 วิธี คือ

       1. ATK

  • การตรวจสารคัดหลั่งโยใช้ชุดตรวจที่ผ่านมาตรฐาน
  • ระยะเวลารอผล 15-30 นาที
  • ผลอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ หากขั้นตอนและชุดตรวจไม่ได้มาตรฐาน หรือมีเชื้อน้อยอาจตรวจไม่พบต้องรอ 3-5 วัน ตรวจซ้ำอีกครั้ว
  • เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น

      2. RT-PCR

  • การตรวจสารคัดหลั่งแล้ววิเคราะห์ผ่าน Lab ที่โรงพยาบาล
  • ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส
  • ใช้เวลา 1-3 วัน
  • ผลตรวจมีความแม่นยำสูง
  • ตรวจพบเชื้อได้แม้ในปริมาณน้อย
  • การตรวจเพื่อยืนยันผล

        ถ้าผู้ติดเชื้อแล้วผู้ที่อยู่รอบข้างไม่ได้ใส่หน้ากาก หรืออยู่ในห้องแอร์แล้วไม่ได้ใส่หน้ากาก ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง (รอระยะเวลา 3-5 วัน แล้วจึงตรวจ ATK) สำหรับผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูงยังไม่ต้องตรวจ ATK

     นิยามกลุ่มเสี่ยงสูง

  • สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 ไม่สวมหน้ากากอนามัยในระยะไม่เกิน 2 เมตร นานกว่า 5 นาที
  • สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 ไม่วสมหน้ากากอนามัยในพื้นที่ปิด หรืออยู่ในพื้นที่ปรับอากาศนานกว่า 30 นาที

     สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ติดง่าย ไม่มีอาการ หรืออาการไม่หนัก

     1. ผู้ติดเชื้อ หากรักษาหายแล้ว มีอาการปกติ

              ไม่ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำ เพราะมีโอกาศตรวจพบซากเชื้อที่ร่างกายขับออกมาตามธรรมชาติและมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอไมครอนในระยะเวลา 3 เดือน

     2. ผู้ติดเชื้อ หากรักษาหายแล้ว มีอาการไข้ ไอ หวัด

              มีความเสี่ยงติดเชื้อให้ตรวจ ATK ซ้ำอีกครั้ง

     3. ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19

              ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงสุด 3 เดือนแรกหลังได้รับวัคซีน

 จังหวัดเชียงใหม่ไม่เปิดโรงพยาบาลสนาม เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสีเขียว มีการดูแลในส่วน home isolation มากขึ้น

         หัวข้อ การบริหารจัดการโรค COVID-19 จ.เชียงใหม่

         จังหวัดเชียงใหม่เร่งการฉีดวัคซีนทุกอำเภอโดยเฉพาะ รพ.สต.ให้เป็นเหมือนโรงพยาบาลฉีดวัคซีนให้กับผู้ใหญ่

        ชนิดของวัคซีนและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

        ไวรัสสายพันธุ์ Delta

       ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน            Astrazeneca เป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม

  1. ฉีดวัคซีน ครบ 2 Doses             ป้องกันการติดเชื้อ 71 %

                                                 ป้องกันการเสียชีวิต 97 %  

  1. Astra 2 เข็ม + PF 1 เข็ม          ป้องกันการติดเชื้อ 93 %

                                                ป้องกันการเสียชีวิต 99 %

ไวรัสสายพันธุ์ Omicron

  1. Astra 2 เข็ม + PF 1 เข็ม           ป้องกันการติดเชื้อ 68 %

                                                 ป้องกันการเสียชีวิต 62-78 %

  1. ฉีดวัคซีนครบ 2 Doses ไม่ป้องกันการติดเชื้อ Omicron และประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
  2. การควบคุมสายพันธุ์โอไมครอนให้ได้ผลสูงสุด ควรเร่งฉีดวัคซีน เข็ม 3 ให้เร็วขึ้น

 

        หัวข้อ วัคซีนสำหรับเด็ก

ฉีดระยะห่างกัน 4 สัปดาห์ ตามสูตรดังนี้

1) เด็กอายุ 6-11 ปี

        เข็ม 1 Sinovac เข็ม 2 Pfizer ฝาสีส้ม

2) เด็กอายุ 6-17 ปี

        เข็ม 1 Sinovac เข็ม 2 Sinovac

3) อายุ 12-17 ปี

        เข็ม 1 Sinovac เข็ม 2 Pfizer ฝาสีม่วง

          เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีน เพราะสำคัญมากมาตรการป้องกันตนเองส่วนบุคคลในเด็กมักไม่ได้ผลและวัคซีนในเด็กมีความปลอดภัยสูง อาการที่พบหลังฉีดวัคซีนในเด็ก ได้แก่ ปวด มีไข้ ไม่พบอาการแพ้รุนแรงในเด็ก

         หัวข้อ ใช่ชีวิตอย่างไร? ไม่ประมาทท่ามกลาง COVID-19

                “ เตรียมตัว เตรียมบ้าน เตรียมชุมชน”

     เตรียมตัว

  • อยู่อย่างตระหนัก แต่อย่าตระหนก
  • ห่างกันนิด อย่าชิดเกิน
  • มาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลต้องเคร่งครัด
  • รอบรู้ ทันข่าว ทันสถานการณ์
  • รู้เท่าทันมาตรและปฎิบัติตามมาตรการ VUCA

                V = Vaccine

                U = Universal Prevention

                C = COVID Free setting (ความปลอดภัยในองค์กร)

                A = Antigen Test Kit (ATK) first

 มาตรการส่วนบุคคล

  • ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น
  • เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น 1-2 เมตร
  • สวมหน้ากาก 2 ชั้น หน้ากากอนามัยทับหน้ากากผ้า
  • ล้างมือบ่อย
  • เลี่ยงการสัมผัสใบหน้า
  • ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี เลี่ยงออกนอกบ้าน
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่สัมผัสประจำ เช่น บานจับ ประตู หน้าต่าง
  • แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่

เตรียมชุมชน

  • ทีมโควิดหมู่บ้าน / ชุมชน
  • สอดส่องพื้นที่ / ติดตามกลุ่มเสี่ยง / ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

การล้างมือด้วย Alcohol gel เมือล้างมือทิ้งไว้ 15-20 นาที

หน้ากาก N95

  • สำหรับบุคคลทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
  • สามารถป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีอนุภาคขนาดเล็กน้อยกว่า 3 ไมครอนได้
  • สามารถใช้ได้นาน 3 สัปดาห์

        หัวข้อ New Normal : ชีวิตวิถีใหม่

  • การสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา แคะจมูก ไม่ควรทำ
  • อาบน้ำทันทีและแปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อกลับมาถึงบ้าน
  • หยิบจับสารพัด ต้องล้างมือ หรือพ่น alcohol
  • พบแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ป่วยแล้ว ควรกักตัวอยู่บ้าน
  • ไม่ควรกินอาหารดิบ หรืออาหารปรุงสุกที่ทิ้งไว้นาน
  • ห่างปาร์ตี้ หรืองานสังสรรค์ทุกชนิด
  • ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะวิ่งออกกำลังกาย เสี่ยงร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • ออกกำลังกายไม่พูดคุยกัน ควรออกกำลังกายคนเดียว
  • ใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดพื้นผิว เมื่อเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่ในอากาศแห้ง อบอ้าว ไม่เกิน 30 นาที เชื้อจะตาย

 

       ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

       1.การเรียน การสอน

           สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาการเรียน การสอน วิชา ชว 330 จุลชีววิทยาทั้งในส่วนบรรยายเช่น หัวข้อการเจริญและการสืบพันธุ์ของจุลินทรีย์ หัวข้อเอนไซม์และหัวข้อเมทาบอลิซึม และการสอนปฏิบัติติการวิชาจุลชีววิทยาทั้งในรูปแบบ online และ onsite ในทุกๆหัวข้อ  เช่น หัวข้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไป หัวข้อเมเทบอลิซึม หัวข้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม และหัวข้อการตรวจสอบจุลินทรีย์ในน้ำนม

       2.การวิจัย

  2.1) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ในเทคนิคการปลอดเชื้อ (sterilization) ขณะทำงานวิจัยด้านจุลชีววิทยา เช่น

  1. การถ่ายเชื้อลงในหลอดอาหาร หรืออาหารเลี้ยงเชื้อใหม่
  2. เทคนิคการเทเพลท (plate count technique)
  3. การทดสอบการต้านจุลชีพด้วยวิธี Agar disc diffusion
  4. การทดสอบการต้านจุลชีพด้วยวิธี Minimal Inhibitory Concentration (MIC)
  5. การตรวจสอบแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์และราทั้งหมด (Total count) เพื่อตรวจสอบจุลินทรีย์ในต้นแบบผลิตภัณฑ์ชานมกระชายเหลืองและกาแฟกระชายเหลือง จำนวน 4 ชนิด ได้แก่

          5.1 เครื่องดื่มธัญพืชชาอัสสัมผสมกระชายขาว 3 อิน 1

  •   5.2  เครื่องดื่มธัญพืชชาอัสสัมผสมกระชายขาวและเบอรี่ 3 อิน 1
  •   5.3  กาแฟผสมกระชายขาว 3 อิน 1
  •   5.4  กาแฟผสมกระชายขาวและเบอรี่ 3 อิน 1

        2.2) นำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมปฏิบัติการมาพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนโครงการ “ลำพูนโมเดล” เสนอต่อ บพท.

               (ผู้ร่วมวิจัย ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไย)

        2.3) องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมปฏิบัติการมาพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วนโครงการ “ลำพูนเมืองน่าอยู่ สร้างสรรค์ สุขภาพ” เสนอต่อ จ.ลำพูน

    3. การถ่ายทอดเทคโนโลยี

  • การผลิตสื่อ เช่น clip VDO กระชายขาวสมุนไพรพื้นบ้านประโยชน์และคุณค่า หรือ clip VDO ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญพืชกระชายขาวและการแฟผสมกระชายขาว
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ณ. ศูนย์กสิกรรมไร้สารพิษสู่ความยั่งยืนบ้านดงเจริญชัย .หนองแหย่ง อ. สันทราย จ.เชียงใหม่

 

  • ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • 1. การถ่ายทอดเทคโนโลยี       

            การผลิตสื่อ เช่น clip VDO กระชายขาวสมุนไพรพื้นบ้านประโยชน์และคุณค่า หรือ clip VDO ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญพืชกระชายขาวและการแฟผสมกระชายขาว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแนะนำงานวิจัยของบุคลากรในหลักสูตร หรืองานวิจัยของบุคคลากรในคณะวิทยาศาสตร์

       2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในร้าน Science Shop และร้านตลาดแม่โจ้ 2477

           ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกระชายขาว นำมาจำหน่าย ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จัดสรรให้เป็นรายได้ให้แก่หลักสูตรและคณะ สำหรับต้นแบบผลิตภัรฑืเครื่องดื่มกระชายขาว ที่จำหน่ายในร้านตลาด 2477 ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์จัดสรรให้เป็นรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัย

  1. เครื่องดื่มธัญพืชชาอัสสัมผสมกระชายขาว 3 อิน 1
  2. เครื่องดื่มธัญพืชชาอัสสัมผสมกระชายขาวและเบอรี่ 3 อิน 1
  3. กาแฟผสมกระชายขาว 3 อิน 1
  4. กาแฟผสมกระชายขาวและเบอรี่ 3 อิน 1

      3. นักศึกษาผู้ช่วยวิจัย สังกัดหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์

      1) ช่วยวิจัยด้านการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทดสอบด้วยวิธี Agar disc diffusion, MIC, MBC สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม “เมื่อชีวิตใกล้ชิด COVID-19” ใช้กับงานวิจัยของตนเองในส่วนของเทคนิคการปลอดเชื้อ (Sterilize Technique) รวมถึงเทคนิคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ได้

      2) ช่วยออกแบบแผ่นผับแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกระชายขาว สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ PGPR อัดเม็ด รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์สินค้า ฉลากสินค้า ในงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาได้

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:23:19   เปิดอ่าน 200  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง