|
|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
405
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 0:29:13
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
405
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 0:29:13
|
|
|
|
|
|
|
|
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
»
กิจกรรมนักศึกษา กับการใช้เทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
|
โลกในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมนักศึกษานั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นทำให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เป็นเครื่องมือฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และรู้จักคิด รู้จักวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดการทำงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถวางระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ฯลฯ
|
คำสำคัญ :
กิจกรรมนักศึกษา วิชาชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9853
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐภัทร ดาวสุข
วันที่เขียน
9/9/2562 9:57:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 14:47:42
|
|
|
|
|
|
|
รายงานเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICDAMT2017
»
เทคโนโลยีคลาวด์
|
ศาสตราจารย์อีริค ซุย ได้กล่าวถึงการจัดการความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเศรษฐกิจดิจิทัล ไว้ว่า การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัลที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและฮาร์ดแวร์มีความจำเป็นในการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการ ในการประชุมครั้งนี้ ท่านได้กล่าวถึงพลังของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆต่อการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่อของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ การทำงานขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนและจัดส่งการให้บริการความรู้ได้อย่างยืดหยุ่นโดยอาศัยการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มคนบนโลกออนไลน์ให้ช่วยกันระดมสมอง ความคิด การกระจายงานให้เป็นหน่วยย่อย ๆ และการแก้ไขปัญหาโดยการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถนำศักยภาพของคลาวด์มาใช้ประโยชน์ การเรียนรู้ที่เป็นทฤษฎีและไม่ใช่ทฤษฎีจะได้จากการวิจัยทางด้านบิ๊กดาต้าเป็นสำคัญ ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากบิ๊กดาต้าที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ สถานประกอบการเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม โรงงามอุตสาหกรรมยานยนต์และสถานประกอบการค้าปลีก บิ๊กดาต้าไม่ได้ประสบความสำเร็จในการใช้วิเคราะห์เท่านั้น แต่ส่งผลให้สามารถประมาณการในอนาคตได้อย่างถูกต้องด้วย อัลกอริทึ่มใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งในการพูดครั้งนี้จะรวมถึงข้อเสนอแนะของการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล
|
คำสำคัญ :
การประมวลผลกลุ่มเมฆ คลาวด์เทคโนโลยี
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2848
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ก่องกาญจน์ ดุลยไชย
วันที่เขียน
15/3/2560 13:07:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:40:54
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|