การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 22/4/2566 22:36:53     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 6:28:42
เปิดอ่าน: 1128 ครั้ง

การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ในวันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยี และสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทำให้ทราบว่าผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาเครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากเดิมราคาแพง และต้องสั่งอะไหล่จากต่างประเทศ ผู้วิจัยใช้เวลาพัฒนาเรื่อยมาเป็นเวลากว่า 15 ปี เพื่อให้เหมาะแก่การใช้งานได้จริง ตรงกับความต้องการของบริษัทที่เป็นตัวแทนผลิตและจำหน่าย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน มีการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย และมีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน มีการทำวิจัยเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์อื่น ตีพิมพ์งานวิจัยสำหรับข้อมูลที่เปิดเผยได้ เมื่อทำนวัตกรรมแล้วต้องมีการจดสิทธิบัตร เป็นต้นแบบเชิงพาณิชย์ และมีการร่วมมือกับบริษัทที่มีศักยภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาวัสดุแอโนดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงาน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐปนีย์ สารครศรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบถึงแบตเตอรี่ชนิดต่าง ๆ และข้อดีของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และผู้วิจัยสามารถผลิตได้เองจากพืชที่มีความแข็ง ใบไม้ แกลบข้าวเป็นสารพวกซิลิกา เป้าหมายการวิจัยคือพัฒนาวัสดุแอโนดโดยใช้วัตถุดิบในประเทศ ประสิทธิภาพสูง ความจุไฟฟ้าสูง ราคาประหยัด ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้กับรถสกูตเตอร์ เป็นต้น • ได้รับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการกลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ ภาคโปสเตอร์ ทำให้ทราบแนวทางการวิจัยของนักศึกษา โดยงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจะเป็นงานวิจัยที่เห็นการนำไปใช้ประโยชน์ได้ชัด มีการทำวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง และความรู้ความเข้าใจของผู้นำเสนอ 2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นแนวทางการทำวิจัยในรายวิชา คศ 492 โครงงาน วท 497 สหกิจศึกษา และวท 498 การเรียนรู้อิสระ 3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) • ทำให้บุคลากรมีแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป • ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เกิดความสามัคคีมากขึ้น

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การใช้งาน ChatGPT » เทคนิคการใช้ AI: Chat GPT ช่วยทำงานวิจัยให้สำเร็จ
การใช้งาน ChatGPT ในงานวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการโต้ตอบกับ ChatGPT เป็นภาษาอังกฤษ ที่สามารถรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่งทั่วโลก ขณะที่การโต้ตอบด้วยภาษาไทยยังม...
AI  ChatGPT  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 18/7/2567 10:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 1:52:31   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 1:09:59   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 14:46:44   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 3:47:24   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/7/2567 10:03:46   เปิดอ่าน 73  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง