การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
วันที่เขียน 2/4/2562 23:15:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 7:19:12
เปิดอ่าน: 3095 ครั้ง

การเรียนการสอนในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการบรรยาย เป็นการลงมือปฏิบัติ ซึ่งวิธีการหนึ่ง คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมด้วย

จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ในวันที่ 15 16 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์(สุขุมวิท 11) จ. กรุงเทพมหานคร นั้น  ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยาย เรื่องการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนิรุทธ์  สติมั่น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ได้รับฟังการบรรยายเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการเรียนการสอน โดย ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม  รวมทั้งได้ทำ Workshop หัวข้อการเลือกใช้เทคโนโลยี ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีให้ตรงใจนักศึกษา  ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ และได้รับทราบวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความสนใจ และเข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น เช่น การใช้เกม JUNGLE PANG เพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายในการเรียน การใช้โปรแกรม kahoot ในการเรียนการสอน รวมถึงการจัดการเรียนการสอนผ่าน padlet ที่นักศึกษาจะสามารถเรียนนอกห้องเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ หรือการทำ QR code เพื่อใช้ download เอกสารประกอบการสอนได้ง่ายยิ่งขึ้น จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันจะต้องปรับให้เข้ากับความสนใจของผู้เรียนให้มากขึ้น ลดเวลาในการบรรยายลง และหากิจกรรมหรือวิธีการที่ทำให้นักศึกษาสนใจเนื้อหาวิชาเพื่มมากขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าคาดว่าจะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่ วิทยากรได้นำมาถ่ายทอดไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การใช้งาน ChatGPT » เทคนิคการใช้ AI: Chat GPT ช่วยทำงานวิจัยให้สำเร็จ
การใช้งาน ChatGPT ในงานวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการโต้ตอบกับ ChatGPT เป็นภาษาอังกฤษ ที่สามารถรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่งทั่วโลก ขณะที่การโต้ตอบด้วยภาษาไทยยังม...
AI  ChatGPT  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 18/7/2567 10:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 1:52:31   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 1:09:59   เปิดอ่าน 47  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/7/2567 14:46:44   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/7/2567 3:47:24   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/7/2567 10:03:46   เปิดอ่าน 73  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง